Articles
ในโลกยุคโควิดที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและรักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้การติดต่อสื่อสารหรือการทำงานร่วมกันมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพกายและสุขภาพใจที่น่ากลัวเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบ Work From Home ที่ทำให้พนักงานไม่สามารถแยกชีวิตระหว่างบ้านและที่ทำงานออกจากกันได้ จนก่อให้เกิดความเครียดสะสม และภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) หรือการขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงานก็อาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น Metaverse จึงเข้ามามีบทบาทในการแบ่งแยกชีวิตที่บ้านและที่ทำงานอย่างชัดเจน ช่วยทำลายกำแพงการสื่อสารระหว่างคุณกับเพื่อร่วมงาน รวมไปถึงช่วยเสกให้ไอเดียใหม่ๆ ของคุณกลายเป็นจริงในโลกเสมือนจริงได้อีกด้วย แล้ว Metaverse คืออะไร? จะมาช่วยเปลี่ยนอนาคตของโลกการทำงานได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ Table of Contents Metaverse คืออะไร? Metaverse คือ โลกเสมือนจริง (Virtual World) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งปัน โต้ตอบ และการแสดงปฏิสัมพันธ์ต่างๆ อย่างไร้รอยต่อของผู้คนทั่วโลก ทั้งการเล่นเกม การทำงาน การสร้าง-ซื้อ-ขายสินทรัพย์เสมือน และการพูดคุยหรือแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ โดยทั้งหมดสามารถทำได้ผ่าน "อวตาร" เสมือนจริง หากยังเห็นภาพไม่ชัดเจนคุณอาจลองนึกถึง Minecraft เกมแนวโลกเสมือนจริงขวัญใจผู้เล่นทั่วโลก การันตีด้วยด้วยยอดผู้เล่นมากถึง 100 ล้านบัญชีต่อเดือน ที่ผู้เล่นสามารถจำลองอวตารของตัวเอง และเลือกทำในสิ่งที่ผู้เล่นต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจโลก 3 มิติที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้ขีดจำกัด การค้นหาและเก็บเกี่ยววัตถุดิบเพื่อคราฟต์ไอเทม การสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ การตะลุยด่านหรือแข่งขันกับอวตารคนอื่น และเนื่องจากตัวเกมไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ Minecraft เป็นเกมที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นอย่างไม่จำกัด รวมไปถึงอิสระในการดัดแปลงระบบเกมอีกด้วย หรือจะเป็น Bondee แอปโซเชียลมีเดียที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ซึ่งภายในแอปจะนำเสนอ Metaverse ในแง่ของการสร้างปฏิสัมพันธ์ และจำลองการใช้ชีวิตร่วมกันกับเพื่อน โดยสามารถสร้างอวตารที่สื่อถึงตัวตนของผู้เล่น สร้างบ้านเพื่อให้เพื่อนมาเยี่ยมชม สร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วยการกดเพิ่มเพื่อน แชท แชร์สถานะ ส่งรูปภาพ และแชร์สตอรี่ นอกจากนี้ยังสามารถหาเพื่อนใหม่ด้วยการทิ้งข้อความไว้ในขวดกลางทะเล ให้ผู้เล่นคนอื่นที่เก็บขวดได้ทำความรู้จักคุณ จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า Metaverse สามารถเชื่อมต่อโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกดิจิทัลได้อย่างไร้รอยต่อ และเป็นเทคโนโลยีที่ผู้คนยอมรับและใช้อย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่องค์กรต่างๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทในโลก Metaverse รวมไปถึงการนำ Metaverse ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอีกด้วย เพราะฉะนั้นในส่วนถัดไปเราจะมาเจาะลึกโลกของการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปหลังจากนำ Metaverse เข้ามาพัฒนากัน 3 อนาคตของโลกการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนด้วย Metaverse 1. Work From Home จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไปด้วย Metaverse Metaverse ช่วยสร้างอวตารที่สามารถเลียนแบบประสบการณ์การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการพบปะและตอบโต้ระหว่างกันแบบเรียลไทม์ การกระทำระหว่างอวตารกับวัตถุดิจิทัล หรือการจัดประชุมในโลกเสมือนจริง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้โดยไม่รู้สึกเครียด นอกจากนี้อวตารของคุณจะสื่อถึงสถานะของคุณ เช่น พักกลางวัน อยู่ในที่ประชุม หรือติดธุระอื่น ทำให้คุณไม่ต้องกดดันตัวเองให้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาจากการทำงาน Work From Home Metaverse ยังช่วยให้สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้นจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานได้ดั่งใจอีกด้วย...
All articles
March 20, 2023
2 mins read
Imposter Sysndrome ภาวะทางใจของคนทำงานจำนวนมากที่แม้จะสร้างผลงานได้ดีแค่ไหน ก็ไม่รู้สึกว่าความสำเร็จนั้นมาจากความสามารถของตัวเอง ทำให้ Self-esteem ของผู้ทำงานลดลงจนอาจส่งผลกระทบต่อ productivity ในการทำงานและก่อเป็นปัญหาอื่นๆ ในที่สุด ซึ่งการจัดการปัญหาดังกล่าวสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการสังเกต 5 สัญญาณ เมื่อคุณกำลังเจอ Imposter Syndrome พร้อมเทคนิคการรับมือ Table of Contents รู้จักกับ Imposter Syndrome Imposter Sysndrome หรือที่รู้จักกันในชื่อ ”โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง” เป็นภาวะการขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองและขาดการยอมรับในความสำเร็จที่ตนได้รับ ซึ่งผลการวิจัยจาก American Psychological Association เผยว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่า 70% เคยประสบกับ Imposter Syndrome ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต โดยการปล่อยปะละเลยอาการ Imposter Syndrome ไว้โดยไม่ได้ใส่ใจ อาจส่งผลกระทบต่อทั้งตัวคุณเองและองค์กรในหลายแง่มุม ผลกระทบต่อตนเอง ติดอยู่ใน Comfort Zone เพราะกลัวทำผลงานได้ไม่ดี แยกเวลาในการใช้ชีวิตส่วนตัวออกจากเวลาทำงานไม่ได้เพราะต้องทำงานไม่รู้จบสิ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าและอาการวิตกกังวลจากความเครียดสะสม ผลกระทบต่อองค์กร Productivity ในการทำงานลดลงเนื่องจากสภาพจิตใจของพนักงานที่ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง บรรยากาศในการทำงานย่ำแย่และเต็มไปด้วยความกดดัน องค์กรมีค่าใช้จ่ายด้านพนักงานสูงขึ้นแต่มีวัฒนธรรมองค์กรที่แย่ลง เนื่องจากมีการหมุนเวียนของพนักงานที่ลาออกสูงขึ้น สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณมีโอกาสเป็น Imposter Syndrome 1. ไม่ยินดีกับความสำเร็จของตนเอง ทุ่มเทกับงานจนประสบความสำเร็จ แต่กลับไม่ยินดีกับผลลัพธ์ที่ได้มา รู้สึกว่าความสามารถของตนยังไม่คู่ควรกับความชื่นชมหรือโอกาสที่ได้รับ และคิดว่าคนอื่นๆ ในสังคมดูไม่กังขาในตัวเองและมั่นใจในความสามารถของพวกเขาเหลือเกิน ในขณะที่คุณยังคงเคลือบแคลงในความสามารถของตัวเอง 2. มักคิดว่าความสำเร็จของคุณเกิดจากปัจจัยอื่นมากกว่า คุณเชื่อว่าความสำเร็จที่ได้รับเกิดจากโชคช่วย ความผิดพลาดของระบบหรือจากข้อได้เปรียบต่างๆ มากกว่าความสามารถของตน รู้สึกกระอักกระอ่วนเหมือนกับว่าตัวเองโกงการแข่งขันจนได้รับชัยชนะมาแม้ว่าความพยายามที่ผ่านมาของคุณจะเด่นชัดแค่ไหนก็ตาม 3. เริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ ได้ยาก เนื่องจากคิดว่าตนไม่เหมาะ การเริ่มต้นทำสิ่งใหม่และการรับกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นเรื่องยาก แม้จะมีการเตรียมพร้อมมาเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่สามารถบรรเทาความวิตกกังวลลงได้ คุณกลัวว่าจะทำสิ่งนั้นได้ไม่ดีเพราะตนไม่เก่งพอและไม่เหมาะสมกับโอกาสที่ได้รับมากเท่าคนอื่นๆ จนไปถึงไม่ยอมขยับขยายเพราะกลัวคนอื่นจะมองว่าตนไม่ได้เก่งทุกเรื่องอย่างที่เห็น 4. คิดเสมอว่าสิ่งที่ตนเองทำ ใครๆ ก็ทำได้ แม้จะประสบความสำเร็จ คุณกลับไม่คิดว่าตนมีความสามารถหรือพิเศษแต่อย่างใด เพราะความสำเร็จนั้นเป็นแค่เรื่องธรรมดาที่ใครก็ทำได้ จนไปถึงคิดว่าหากเป็นคนอื่นที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันก็คงจะทำได้สำเร็จไม่ต่างกัน 5. สิ่งที่ทำไปไม่สมบูรณ์แบบ ไม่ดีพอ แม้จะได้รับคำชมก็ตาม คุณมองว่าผลงานที่ได้ส่งมอบไปไม่สมบูรณ์แบบแม้จะได้รับคำชม ต้องพยายามมากกว่านี้เพื่อให้ผลงานออกมาดีมากขึ้นอีกและผลงานตอนนี้ไม่คู่ควรกับคำชมที่ได้รับ วิธีการรับมือ Imposter Syndrome เบื้องต้น 1. สำรวจว่าคุณ “ไม่เก่งพอ” จริงๆ รึเปล่า ทบทวนความคิด หยุดเชื่อการใช้ความรู้สึก แล้วหันไปสำรวจข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นจริงอย่างที่ความคิดพาไปหรือไม่ คุณไม่เก่งพอจริงๆ หรือแค่นั่นยังไม่ใช่จุดที่ใช่ คุณมีจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไรบ้าง ความพยายามที่ผ่านมาทำให้คุณได้อะไร และก้าวมาได้ไกลขนาดไหน 2. ปรับมุมมองเข้าหา Growth Mindset ต่อให้คุณยังไม่เก่งพอจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะมนุษย์เราสามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพในตัวได้ในทุกวันตราบใดที่คุณยังมุ่งมั่นที่จะก้าวไปข้างหน้า โดย Growth Mindset ก็เป็นหนึ่งแนวคิดที่สามารถแทนที่ความรู้สึกด้อยค่าในตนเองให้กลายเป็นแรงผลักดันที่จะช่วยให้คุณรู้ลึก เก่งจริงได้ 3. เริ่มทำสิ่งต่างๆ แม้ว่าจะไม่พร้อม แม้การเริ่มต้นใหม่จะเป็นเรื่องยากและคุณอาจไม่อยู่ในสถานการณ์ที่ชวนให้รู้สึกปลอดภัยจนรู้สึกว่าต้องทำได้ไม่ดี แต่คนที่ไม่เคยพลาดคือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย ความผิดพลาด อุบัติเหตุและโอกาสต่างๆ คือสิ่งที่ทุกคนต้องเจอเป็นเรื่องปกติ การเรียนรู้จากความผิดพลาดและลุกขึ้นใหม่ต่างหากคือสิ่งที่สร้างคนเก่งที่แท้จริง 4. ลดการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นมากเกินไปคือหนึ่งปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนความเชื่อมั่นใจตนเอง ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องธรรมชาติที่สิ่งมีชีวิตจะเปรียบเทียบกันและกันเพื่อการอยู่รอด แต่สำหรับมนุษย์ซึ่งมีความถนัดในรายบุคคลที่แตกต่างกันแล้ว การรู้เท่าทันความคิดและความรู้สึกของตัวเองเพื่อไม่ให้สูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเองไปเป็นเรื่องที่สำคัญมาก 5. พบจิตแพทย์ หากปัญหาที่เกิดขึ้นจาก Imposter Syndrome กระทบต่อการดำเนินชีวิตจนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง การเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการบำบัดต่างๆ อย่างตรงจุดจากผู้เชี่ยวชาญก็เป็นวิธีที่ดีที่สุด สรุป แม้ว่า Imposter Syndrome จะเกิดขึ้นได้กับทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานทั่วไป แต่มันก็ไม่ได้ถูกจัดเป็นโรคร้ายหรือความเจ็บป่วยทางจิตใจแต่อย่างใด เป็นเพียงภาวะความเครียดที่ถูกสร้างขึ้นมาในใจซึ่งคุณสามารถรับมือได้ด้วยตัวเองผ่านการปรับ Mindset การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการตกผลึกความคิด True VWORK ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มการทำงานออนไลน์ที่อำนวยความสะดวกให้พนักงานติดต่อสื่อสารและพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น ช่วยทำให้ทุกคนเกิดความเข้าใจกันได้กันได้ดียิ่งขึ้นแม้ทำงานห่างกัน เพื่อสนับสนุนหนทางให้พนักงานทุกคนสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณสนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ True VWORK อ้างอิง TED-Ed DR JING pobpad FWD missiontothemoon webmd verywellmind istrong pivotalsolutions
February 20, 2023
2 mins read
บริษัทสวัสดิการดีขนาดนี้ทำไมพนักงานยัง Burnout? ขึ้นเงินเดือนให้แล้วแต่ทำไมยังลาบ่อย? โบนัสก็เยอะทำไมพนักงานยังลาออก? สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทุกบริษัทกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เพราะรูปแบบการทำงานและเป้าหมายในการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่แตกต่างจากในอดีตอย่างสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ด้วย Employee Engagement แล้ว Employee Engagement คืออะไร? เราจะสร้าง Employee Engagement ที่ดีต่อพนักงานได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบให้คุณแน่นอน Table of Contents Employee Engagement คืออะไร? Employee Engagement คือ การมีส่วนร่วมหรือความผูกพันของพนักงานที่มีต่องานและองค์กร เป็นการแสดงออกถึงการให้ความร่วมมือกับกิจกรรมในองค์กรอย่างสมัครใจ ทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะมุ่งมั่นทุ่มเทต่อค่านิยม (Company Values) และเป้าหมายทางธุรกิจหลักขององค์กร (Company Goals) จนกลายเป็นความผูกพัน โดยพนักงานจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ตลอดจนรู้สึกในการเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน ก่อให้เกิดแรงพลักดันให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ และนำมาสู่ความจงรักภักดีต่อองค์กรในที่สุด เมื่ออ่านถึงตรงนี้คุณอาจจะคิดว่า Employee Engagement สามารถสร้างได้ด้วยการกำหนดเป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจน แต่ความจริงแล้วการสร้าง Employee Engagement ที่ดีต้องคำนึงถึงเป้าหมายชีวิตของพนักงาน (Life Goals) ด้วย เพราะฉะนั้นหากองค์กรไหนสามารถออกแบบเป้าหมายขององค์กรควบคู่ไปกับการตอบโจทย์เป้าหมายชีวิตของพนักงานได้เป็นอย่างดีก็จะสามารถสร้างพนักงานที่มีความสุข และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่งพร้อมมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรอย่างสม่ำเสมอได้ ถือได้ว่า Employee Engagement คือหนึ่งในวิธีการและเป็นหนทางสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรอย่างแท้จริง ทำไม Employee Engagement ถึงสำคัญต่อธุรกิจในยุคปัจจุบัน ปัจจุบันการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ Employee Engagement มีบทบาทต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยงานวิจัยด้านการมีส่วนร่วมของพนักงานของ Gallup ได้อธิบายประโยชน์ของ Employee Engagement ไว้ดังต่อไปนี้ 1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน (Productivity Improvement) องค์กรที่พนักงานพร้อมมีส่วนร่วมและมีความผูกพันต่องานและองค์กรจะมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าพนักงานทั่วไปถึง 18% นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นให้พนักงานเต็มใจสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมากกว่าเดิม 2 เท่าอีกด้วย 2. ช่วยลดอัตราพนักงานลาออกจากงาน (Higher Employee Retention) หากองค์กรให้ความสำคัญต่อพนักงานโดยการรับรู้ถึงความพยายามของพวกเขา และช่วยพลักดันให้พนักงานเติบโตในสายอาชีพอย่างมั่นคงจะส่งผลให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับงานที่ทำและพยายามทุ่มเทให้กับการทำงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรและพนักงานนี้เองที่ช่วยลดอัตราพนักงานลาออกได้ถึง 43% ในองค์กรที่มีอัตราการลาออกต่ำ และ 18% ในองค์กรที่มีอัตราการลาออกสูง 3. ช่วยสร้างกำไรให้บริษัทมากขึ้น (Improve Profit) พนักงานที่มีความผูกพันกับงานที่ทำและมีส่วนร่วมกับทีมจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้องค์กรสามารถสร้างผลกำไรให้ได้สูงถึง 23% เมื่อเทียบกับบริษัททั่วไป 4. ลูกค้าพึงพอใจในการบริการมากขึ้น (Improve Customer Satisfaction) พนักงานที่มี Employee Engagement ที่ดีมักจะมีความสุขในการทำงาน นอกจากนี้พวกเขายังส่งต่อความสุขไปยังลูกค้าผ่านการบริการที่ดีเยี่ยม ในขณะเดียวกันพวกเขาจะกระตือรือร้นในการดึงดูดลูกค้าใหม่อยู่เสมออีกด้วย โดยจากงานวิจัยพบว่าองค์กรที่มี Employee Engagement ที่ดีสามารถเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าได้มากถึง 10% ถึงตรงนี้คุณคงเข้าใจแล้วว่า Employee Engagement คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร? เพราะฉะนั้นเรามาดูเคล็ดลับที่จะทำให้พนักงานมีความสุข ทุ่มเทกับการทำงานอย่างเต็มที่ และอยากร่วมงานกับองค์กรไปนานๆ ในหัวข้อถัดไปกันเลย 5 เคล็ดลับมัดใจพนักงานด้วยการสร้าง Employee Engagement ที่ดี 1. การสื่อสารต้องดี และประสิทธิภาพ (Sufficiency Communication) การสื่อสารนับว่าเป็นหนึ่งในเคล็ดลับของความสำเร็จในการสร้าง Employee Engagement เพราะพนักงานในองค์กรที่มีการสื่อสารที่แข็งแกร่งจะทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าพนักงานในองค์กรที่ขาดการสื่อสาร ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจผิดระหว่างบุคคล การทำงานผิดพลาด และการเลื่อนกำหนดเวลาส่งงาน โดยองค์กรควรเริ่มต้นตั้งแต่การสร้างกระบวนการ Onboarding ที่ราบรื่น ซึ่งเป็นปราการด่านแรกที่สามารถสร้างความสนใจจากพนักงานได้ทันทีที่เข้าทำงาน ไปจนถึงการสื่อสารระหว่างพนักงานในองค์กร ในแต่ละวัน โดยเลือกช่องทางการสื่อสารให้เหมาะสมและเข้าถึงง่าย เช่น การใช้แพลตฟอร์มที่ช่วยให้พนักงานสามารถแชทและวิดีโอถึงเพื่อนร่วมงานได้ทันทีและทุกที่ ทำให้การทำงานร่วมกันราบรื่นยิ่งขึ้น 2. หมั่นชื่นชมและให้รางวัลในทุกๆ ความสำเร็จ (Praise and Reward) พนักงานจะรู้สึกภาคภูมิใจ กระตือรือร้น หลงใหล และมีกำลังใจในงานที่ทำก็ต่อเมื่อพวกเขารับรู้ว่าความพยายามของพวกเขามีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร เพราะฉะนั้นไม่ว่าผลงานของพวกเขาจะเล็กน้อยเพียงใดก็ควรได้รับการยกย่อง โดยอาจเริ่มต้นจากการชื่นชมด้วยคำว่า “ขอบคุณ” ไปจนถึงการให้รางวัลที่มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น ค่าตอบแทน สวัสดิการ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในออฟฟิศ และการให้รางวัลพนักงานดีเด่นประจำปี การชื่นชมและให้รางวัลยังสำคัญมากๆ ต่อพนักงานที่ Work from Home เพราะบ่อยครั้งที่ไม่มีใครมองเห็นความพยายามของพวกเขา เพราะฉะนั้นองค์กรควรมีแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สร้างปฏิสัมพันธ์ภายในองค์กร พร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและชื่นชมเพื่อนร่วมงานได้แบบเรียลไทม์ 3. สร้าง Teamwork ที่แข็งแกร่งและสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ (Teamwork & Working Environmental) ไม่มีพนักงานคนไหนอยากทำงานในองค์กรที่มีสิ่งแวดล้อมที่แย่ ซึ่งกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ หรือมีเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นองค์กรจึงควรสร้างสถานที่ทำงานที่มีความสุขและพนักงานมีส่วนร่วมกันอย่างแท้จริง โดยใส่ใจสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานเพื่ออำนวยความสะดวก และเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงสนับสนุนระบบการทำงานเป็นทีม เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมมือกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน ก่อให้เกิดความสามัคคีซึ่งเป็นพลังพลักดันให้องค์ก้าวหน้าและแข็งแกร่งขึ้น 4. สร้างพื้นที่เพื่อให้คนเก่งได้เติบโต (Create Opportunities For Growth) ถึงแม้ว่าองค์กรของคุณจะมีขนาดใหญ่ มีผลกำไรต่อปีมหาศาล และพนักงานมีความสุขในการทำงาน แต่ถ้าพวกเขาเริ่มรู้สึกมองไม่เห็นอนาคตและความก้าวหน้าของเขาในองค์กรนี้อีกต่อไป ก็อาจทำให้คนเก่งๆ หลายๆ คนตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อไปหาโอกาสที่ดีกว่า เพราะฉะนั้นการส่งเสริมและมอบพื้นที่ของการเติบโตในองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งการจัดการฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะให้กับพนักงาน การให้รางวัลพนักงานที่ทำหน้าที่ของตนได้ดี รวมไปถึงการให้โอกาสพนักงานได้ทดลองสลับหน้าที่หรือย้ายแผนกเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 5. สร้างตัวเลือกให้พนักงานได้ทำงานยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น (Create Flexible and Remote Work Options) ปัจจุบัน Work from Home กลายเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นหนึ่งในผลประโยชน์ในการจ้างงาน เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่เคยชินกับการทำงานระยะไกลในช่วงที่เกิดโรคระบาด ทำให้เมื่อสถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติพวกเขายังคงต้องการทำงานระยะไกลเพื่อรักษาความยืดหยุ่นในการทำงาน และรักษาสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-life Balance) ต่อไป โดยเฉพาะพนักงาน Gen...
February 20, 2023
2 mins read
สำหรับคนทำงานในหนึ่งวันอาจไม่ได้ทำเพียงแค่งานชิ้นเดียว เพราะแต่ละคนมีหลายหน้าที่ หลายความรับผิดชอบ ทำให้ต้องเจอปัญหามากมายภายในวัน โดยเฉพาะผู้บริหารที่อาจมีหลากหลายงานเข้ามาแทรก ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถรับมือได้ด้วยการทำ Priority Management แล้ว Priority Management คืออะไร? คุณควรเริ่มจากตรงไหน? บทความนี้มีคำตอบ Table of Contents เข้าใจ Priority Management ก่อนเริ่มการทำงานของคุณ Priority Management คือ แนวทางการจัดลำดับความสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้คุณ โดยช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มทางเลือกและลดจำนวนขั้นตอนการทำงานได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงช่วยจัดสรรตารางเวลาในชีวิตประจำวันคุณ ให้คุณสามารถใช้เวลากับงานที่มีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลดีต่อเป้าหมายระยะยาวของคุณ Priority Management ช่วยให้การทำงานในทีมราบรื่นขึ้นจริงไหม? บ่อยครั้งที่การทำงานร่วมกันในทีมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งปัญหานี้มีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ความสัมพันธ์ไม่ดีระหว่างคนในทีมทำให้ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบงาน ส่งผลให้การมอบหมายงานและการติดตามงานเป็นเรื่องยาก รวมไปถึงทีมไม่เข้าใจภาพรวมการทำงาน เพราะฉะนั้น Priority Management จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยลดความขัดแย้งในทีม ข้อดีของการประยุกต์ใช้ Priority Management ในทีม ช่วยให้คุณและทีมสามารถจัดการปริมาณงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ช่วยจัดสรรงานและเวลาการทำงานของทีม ทำให้ทีมสามารถเรียงลำดับงานที่มีความสำคัญมากน้อยได้ ส่งผลให้ประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น ช่วยให้การติดตามงานหรือโครงการต่างๆ เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้คุณและทีมเห็นภาพรวมกระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอน ทำให้สามารถประเมินหรือควบคุมเวลาทำงานแต่ละชิ้นงานหรือโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของทีม การเข้าใจขอบเขตการทำงานระหว่างกัน และความสามารถในการบริหารและเรียงลำดับความสำคัญของงาน ช่วยส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณและทีมดียิ่งขึ้น สร้าง Teamwork ที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงสามารถรับมือกับงานด่วนงานแทรกได้เป็นอย่างดี Priority Management แตกต่างจาก Time Management อย่างไร? แท้จริงแล้วทั้งสองมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีแก่นแนวคิดแตกต่างกันดังนี้ Priority Management (การจัดลำดับความสำคัญ) มุ่งเน้นที่การลำดับความสำคัญของงานจากมากไปน้อย โดยประเมินจาก 2 ปัจจัยหลักได้แก่ ความเร่งด่วนและความสำคัญ ซึ่งช่วยให้คุณจัดระเบียบงานตามจำนวนเวลาที่คุณมีได้อย่างลงตัวและมีประสิทธิภาพ Time Management (การบริหารเวลา) มุ่งเป้าไปที่การวางแผนงานและการควบคุมเวลา เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของคุณในเวลาที่จำกัด และช่วยคุณทำความเข้าใจความสามารถในการควบคุมเวลาของตัวเอง รวมไปถึงเข้าใจสาเหตุที่ไม่สามารถส่งงานตรงตามกำหนดได้ สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำ Priority Management 1. การจัดลำดับความสำคัญขึ้นอยู่กับตัวคุณเป็นหลัก การตั้งต้นด้วยคำถามว่า “อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตเรา?” จะทำให้คุณมองเห็นภาพกว้างและความสำคัญของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นงาน ตนเอง ครอบครัว ได้ชัดเจนก่อนเข้าสู่การจัดการความสำคัญของทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะในบางครั้งการจัด Priority Management คนอาจมองข้ามในส่วนของครอบครัวและการใช้ชีวิตไป ซึ่งทำให้เสียสมดุลในการใช้ชีวิตและไม่มีทิศทางในการทำงาน 2. งานทุกงานไม่ได้มีความสำคัญเท่ากัน ไม่ใช่ทุกงานที่สำคัญเท่ากัน เพราะฉะนั้นคุณควรจัด Priority Management โดยให้ความสำคัญกับงานที่ให้ผลตอบแทนสูงมากกว่างานที่ต้องใช้ทั้งความพยายามแต่กลับได้ผลตอบแทนต่ำ 3. จัดสรรเวลาเพื่อสร้างเวลา การจัดสรรเวลาที่ดีจะช่วยสร้างเวลาว่าง ทำให้คุณมีเวลาเรียนรู้ทักษะต่างๆ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้สามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดสรรเวลาที่ดีมาจากการเรียนรู้ตนเอง เข้าใจว่าตนเองถนัดสิ่งไหน และใช้เวลาเท่าไรในการจัดการงาน 3 หลักการจัดการความสำคัญอย่างง่าย 1. เข้าใจเป้าหมายก่อนลงมือทำ ก่อนที่จะจัดลำดับความสำคัญของงานคุณควรร่างเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงานล่วงหน้า โดยอาจจะเริ่มจากการถามตัวเองว่าต้องการประสบความสำเร็จอย่างไรในเดือนนี้หรือปีหน้า หลังจากนั้นคุณจะสามารถเลือกเป้าหมายระยะยาวที่คุณต้องการหรืออยากจะเป็นจากการทำงานได้อย่างชัดเจน และเมื่อคุณเข้าใจเป้าหมายระยะยาวแล้ว คุณจะสามารถกำหนดเป้าหมายระยะกลางและระยะสั้นและเขียนแผนโดยละเอียดเพื่อติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายได้ ตัวอย่างเช่น เป้าหมายระยะยาวของคุณคือการเป็น Content Manager เพราะฉะนั้นเป้าหมายระยะสั้นของคุณจึงอาจจะเป็นการศึกษารูปแบบการเขียนงานประเภทต่างๆ และฝึกเขียนบทความสัปดาห์ละ 4 บทความ ส่วนเป้าหมายระยะกลางอาจจะเป็นการเข้าอบรมคอร์สระยะยาว เช่น คอร์สอบรมการใช้เครื่องมือการตลาดออนไลน์และ SEO, คอร์ส Content Marketing และคอร์สพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในองค์กร 2. รู้จัก Say No เพื่อให้งานไปต่อ อย่าพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวคุณเอง หลายครั้งงานที่คุณได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบอาจเป็นงานที่คุณไม่ถนัด ส่งผลให้คุณใช้เวลากับงานมากเกินไป แต่ก็ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี และทำให้สุขภาพกายและใจคุณแย่ลงจากความผิดหวังในการทำงานและการหักโหมทำงานมากเกินควร เพราะฉะนั้นคุณควรย้อนกลับมามองจุดเริ่มต้นว่าสิ่งที่กำลังบริหารจัดการเป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยตัวคุณเองหรือไม่ หากเป็นสิ่งที่ต้องทำแต่คุณไม่มีความชำนาญในการทำสิ่งนั้นก็อาจจะกระจายงานให้เพื่อนร่วมงาน หรือ Outsource ทำแทนได้ เพราะคุณอาจใช้เวลาหนึ่งวันในการทำงาน แต่อีกฝ่ายที่มีความเชี่ยวชาญอาจใช้เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งการตัดสินใจ Say Yes หรือ Say No ควรใช้หลักการ Priority Management ในการตัดสินใจร่วมด้วย เพื่อให้คุณสามารถใช้เวลาน้อยลงกับงานที่ได้รับผลตอบแทนต่ำ และมีเวลามากขึ้นกับงานที่ให้ Impact สูง ซึ่งหลักการง่ายๆ คือ หลักการ 80/20 ที่สะท้อนให้เห็นว่า ในโลกของธุรกิจร้อยละ 80 ของยอดขายมักจะมากจากลูกค้าร้อยละ 20 เท่านั้น หลักการนี้จึงเป็นคำตอบว่าทำไมคุณควรพยายามทำงานให้เสร็จภายในขอบเขตความเชี่ยวชาญของคุณ และกระจายงานอื่นๆ ไปยังผู้เชี่ยวชาญคนอื่น 3. เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับเสมอ บางคนอาจจัดลำดับความสำคัญของงานโดยพิจารณาจากตำแหน่งหรือระดับความสัมพันธ์ของผู้ร้องขอ โดยเฉพาะหากผู้ร้องขอมีตำแหน่งสูงในองค์กร ลำดับความสำคัญของงานมักมีความสำคัญมากขึ้น หรือบางคนอาจให้ความสำคัญกับงานที่ใกล้ครบวันกำหนดส่งมากกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทำให้คุณไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีกับงานที่สำคัญได้ เพราะฉะนั้นคุณควรเปรียบเทียบเป้าหมาย ประเมินงานและเวลาของคุณก่อนรับงานเสมอ โดยหนึ่งในเมทริกซ์ที่ช่วยให้คุณทำ Priority Management ได้สะดวกยิ่งขึ้นคือ Eisenhower Matrix Eisenhower Matrix ตัวช่วยบริหารเวลา แก้ปัญหางานเร่งงานด่วน Eisenhower Matrix คือ เครื่องมือง่ายๆ ที่ช่วยจัดลำดับความสำคัญงานในแต่ละวัน โดยพิจารณาจากความเร่งด่วน ทำให้คุณสามารถพิจารณาผลลัพธ์ระยะยาวของงานประจำวัน สามารถแยกแยะงานที่สำคัญและงานไม่สำคัญออกอย่างชัดเจน และมุ่งเน้นไปยังงานที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ เพื่อให้คุณรู้ว่างานแบบไหนคุ้มค่าที่จะเริ่มทำทันที งานแบบไหนควรจัดสรรเวลามาทำ หรืองานแบบไหนทำทีหลังได้ ด้วยประโยชน์ในเรื่องการบริหารเวลาและการจัดลำดับความสำคัญทำให้ Eisenhower Matrix กลายเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ผู้บริหารและหัวหน้างานนำมาปรับใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้การทำ Priority Management มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย Eisenhower Matrix ถูกแบ่งตามหมวดหมู่งาน 4 ประเภทดังนี้ 1. Do it now: งานเร่งด่วนและสำคัญ งานประเภทนี้มักเป็นงานที่ต้องทำทันที งานที่ต้องทำภายในวันเดียวหรือไม่เกินวันถัดไป...
February 9, 2023
2 mins read
สำหรับคนทำงานในหนึ่งวันอาจไม่ได้ทำเพียงแค่งานชิ้นเดียว เพราะแต่ละคนมีหลายหน้าที่ หลายความรับผิดชอบ ทำให้ต้องเจอปัญหามากมายภายในวัน โดยเฉพาะผู้บริหารที่อาจมีหลากหลายงานเข้ามาแทรก ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถรับมือได้ด้วยการทำ Priority Management แล้ว Priority Management คืออะไร? คุณควรเริ่มจากตรงไหน? บทความนี้มีคำตอบ Table of Contents เข้าใจ Priority Management ก่อนเริ่มการทำงานของคุณ Priority Management คือ แนวทางการจัดลำดับความสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้คุณ โดยช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มทางเลือกและลดจำนวนขั้นตอนการทำงานได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงช่วยจัดสรรตารางเวลาในชีวิตประจำวันคุณ ให้คุณสามารถใช้เวลากับงานที่มีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลดีต่อเป้าหมายระยะยาวของคุณ Priority Management ช่วยให้การทำงานในทีมราบรื่นขึ้นจริงไหม? บ่อยครั้งที่การทำงานร่วมกันในทีมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งปัญหานี้มีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ความสัมพันธ์ไม่ดีระหว่างคนในทีมทำให้ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบงาน ส่งผลให้การมอบหมายงานและการติดตามงานเป็นเรื่องยาก รวมไปถึงทีมไม่เข้าใจภาพรวมการทำงาน เพราะฉะนั้น Priority Management จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยลดความขัดแย้งในทีม ข้อดีของการประยุกต์ใช้ Priority Management ในทีม ช่วยให้คุณและทีมสามารถจัดการปริมาณงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ช่วยจัดสรรงานและเวลาการทำงานของทีม ทำให้ทีมสามารถเรียงลำดับงานที่มีความสำคัญมากน้อยได้ ส่งผลให้ประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น ช่วยให้การติดตามงานหรือโครงการต่างๆ เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้คุณและทีมเห็นภาพรวมกระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอน ทำให้สามารถประเมินหรือควบคุมเวลาทำงานแต่ละชิ้นงานหรือโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของทีม การเข้าใจขอบเขตการทำงานระหว่างกัน และความสามารถในการบริหารและเรียงลำดับความสำคัญของงาน ช่วยส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณและทีมดียิ่งขึ้น สร้าง Teamwork ที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงสามารถรับมือกับงานด่วนงานแทรกได้เป็นอย่างดี Priority Management แตกต่างจาก Time Management อย่างไร? แท้จริงแล้วทั้งสองมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีแก่นแนวคิดแตกต่างกันดังนี้ Priority Management (การจัดลำดับความสำคัญ) มุ่งเน้นที่การลำดับความสำคัญของงานจากมากไปน้อย โดยประเมินจาก 2 ปัจจัยหลักได้แก่ ความเร่งด่วนและความสำคัญ ซึ่งช่วยให้คุณจัดระเบียบงานตามจำนวนเวลาที่คุณมีได้อย่างลงตัวและมีประสิทธิภาพ Time Management (การบริหารเวลา) มุ่งเป้าไปที่การวางแผนงานและการควบคุมเวลา เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของคุณในเวลาที่จำกัด และช่วยคุณทำความเข้าใจความสามารถในการควบคุมเวลาของตัวเอง รวมไปถึงเข้าใจสาเหตุที่ไม่สามารถส่งงานตรงตามกำหนดได้ สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำ Priority Management 1. การจัดลำดับความสำคัญขึ้นอยู่กับตัวคุณเป็นหลัก การตั้งต้นด้วยคำถามว่า “อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตเรา?” จะทำให้คุณมองเห็นภาพกว้างและความสำคัญของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นงาน ตนเอง ครอบครัว ได้ชัดเจนก่อนเข้าสู่การจัดการความสำคัญของทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะในบางครั้งการจัด Priority Management คนอาจมองข้ามในส่วนของครอบครัวและการใช้ชีวิตไป ซึ่งทำให้เสียสมดุลในการใช้ชีวิตและไม่มีทิศทางในการทำงาน 2. งานทุกงานไม่ได้มีความสำคัญเท่ากัน ไม่ใช่ทุกงานที่สำคัญเท่ากัน เพราะฉะนั้นคุณควรจัด Priority Management โดยให้ความสำคัญกับงานที่ให้ผลตอบแทนสูงมากกว่างานที่ต้องใช้ทั้งความพยายามแต่กลับได้ผลตอบแทนต่ำ 3. จัดสรรเวลาเพื่อสร้างเวลา การจัดสรรเวลาที่ดีจะช่วยสร้างเวลาว่าง ทำให้คุณมีเวลาเรียนรู้ทักษะต่างๆ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้สามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดสรรเวลาที่ดีมาจากการเรียนรู้ตนเอง เข้าใจว่าตนเองถนัดสิ่งไหน และใช้เวลาเท่าไรในการจัดการงาน 3 หลักการจัดการความสำคัญอย่างง่าย 1. เข้าใจเป้าหมายก่อนลงมือทำ ก่อนที่จะจัดลำดับความสำคัญของงานคุณควรร่างเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงานล่วงหน้า โดยอาจจะเริ่มจากการถามตัวเองว่าต้องการประสบความสำเร็จอย่างไรในเดือนนี้หรือปีหน้า หลังจากนั้นคุณจะสามารถเลือกเป้าหมายระยะยาวที่คุณต้องการหรืออยากจะเป็นจากการทำงานได้อย่างชัดเจน และเมื่อคุณเข้าใจเป้าหมายระยะยาวแล้ว คุณจะสามารถกำหนดเป้าหมายระยะกลางและระยะสั้นและเขียนแผนโดยละเอียดเพื่อติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายได้ ตัวอย่างเช่น เป้าหมายระยะยาวของคุณคือการเป็น Content Manager เพราะฉะนั้นเป้าหมายระยะสั้นของคุณจึงอาจจะเป็นการศึกษารูปแบบการเขียนงานประเภทต่างๆ และฝึกเขียนบทความสัปดาห์ละ 4 บทความ ส่วนเป้าหมายระยะกลางอาจจะเป็นการเข้าอบรมคอร์สระยะยาว เช่น คอร์สอบรมการใช้เครื่องมือการตลาดออนไลน์และ SEO, คอร์ส Content Marketing และคอร์สพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในองค์กร 2. รู้จัก Say No เพื่อให้งานไปต่อ อย่าพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวคุณเอง หลายครั้งงานที่คุณได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบอาจเป็นงานที่คุณไม่ถนัด ส่งผลให้คุณใช้เวลากับงานมากเกินไป แต่ก็ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี และทำให้สุขภาพกายและใจคุณแย่ลงจากความผิดหวังในการทำงานและการหักโหมทำงานมากเกินควร เพราะฉะนั้นคุณควรย้อนกลับมามองจุดเริ่มต้นว่าสิ่งที่กำลังบริหารจัดการเป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยตัวคุณเองหรือไม่ หากเป็นสิ่งที่ต้องทำแต่คุณไม่มีความชำนาญในการทำสิ่งนั้นก็อาจจะกระจายงานให้เพื่อนร่วมงาน หรือ Outsource ทำแทนได้ เพราะคุณอาจใช้เวลาหนึ่งวันในการทำงาน แต่อีกฝ่ายที่มีความเชี่ยวชาญอาจใช้เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งการตัดสินใจ Say Yes หรือ Say No ควรใช้หลักการ Priority Management ในการตัดสินใจร่วมด้วย เพื่อให้คุณสามารถใช้เวลาน้อยลงกับงานที่ได้รับผลตอบแทนต่ำ และมีเวลามากขึ้นกับงานที่ให้ Impact สูง ซึ่งหลักการง่ายๆ คือ หลักการ 80/20 ที่สะท้อนให้เห็นว่า ในโลกของธุรกิจร้อยละ 80 ของยอดขายมักจะมากจากลูกค้าร้อยละ 20 เท่านั้น หลักการนี้จึงเป็นคำตอบว่าทำไมคุณควรพยายามทำงานให้เสร็จภายในขอบเขตความเชี่ยวชาญของคุณ และกระจายงานอื่นๆ ไปยังผู้เชี่ยวชาญคนอื่น 3. เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับเสมอ บางคนอาจจัดลำดับความสำคัญของงานโดยพิจารณาจากตำแหน่งหรือระดับความสัมพันธ์ของผู้ร้องขอ โดยเฉพาะหากผู้ร้องขอมีตำแหน่งสูงในองค์กร ลำดับความสำคัญของงานมักมีความสำคัญมากขึ้น หรือบางคนอาจให้ความสำคัญกับงานที่ใกล้ครบวันกำหนดส่งมากกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทำให้คุณไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีกับงานที่สำคัญได้ เพราะฉะนั้นคุณควรเปรียบเทียบเป้าหมาย ประเมินงานและเวลาของคุณก่อนรับงานเสมอ โดยหนึ่งในเมทริกซ์ที่ช่วยให้คุณทำ Priority Management ได้สะดวกยิ่งขึ้นคือ Eisenhower Matrix Eisenhower Matrix ตัวช่วยบริหารเวลา แก้ปัญหางานเร่งงานด่วน Eisenhower Matrix คือ เครื่องมือง่ายๆ ที่ช่วยจัดลำดับความสำคัญงานในแต่ละวัน โดยพิจารณาจากความเร่งด่วน ทำให้คุณสามารถพิจารณาผลลัพธ์ระยะยาวของงานประจำวัน สามารถแยกแยะงานที่สำคัญและงานไม่สำคัญออกอย่างชัดเจน และมุ่งเน้นไปยังงานที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ เพื่อให้คุณรู้ว่างานแบบไหนคุ้มค่าที่จะเริ่มทำทันที งานแบบไหนควรจัดสรรเวลามาทำ หรืองานแบบไหนทำทีหลังได้ ด้วยประโยชน์ในเรื่องการบริหารเวลาและการจัดลำดับความสำคัญทำให้ Eisenhower Matrix กลายเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ผู้บริหารและหัวหน้างานนำมาปรับใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้การทำ Priority Management มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย Eisenhower Matrix ถูกแบ่งตามหมวดหมู่งาน 4 ประเภทดังนี้ 1. Do it now: งานเร่งด่วนและสำคัญ งานประเภทนี้มักเป็นงานที่ต้องทำทันที งานที่ต้องทำภายในวันเดียวหรือไม่เกินวันถัดไป...
February 1, 2023
2 mins read
Co-working Space เป็นพื้นที่ทำงานรูปแบบใหม่ที่สร้างมาเพื่อการทำงานโดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันความนิยมในการใช้บริการ Co-working Space ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองกับรูปแบบการทำงานที่กลายเป็น Remote Working ภายหลังสถานการณ์โควิท-19 มากขึ้น นอกจากนี้การทำงานใน Co-working Space ยังมีข้อดีในหลายด้านซึ่งสถานที่ทำงานรูปแบบอื่นไม่สามารถทำได้ Table of Contents Co-working Space กับเทรนด์การทำงานในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่า Co-working Space เป็นพื้นที่ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการทำงานที่ครบครัน ซึ่งมักตั้งอยู่บริเวณแนวรถไฟฟ้าหรือแหล่งชุมชนที่สะดวกต่อการเดินทาง โดยผู้ที่มาใช้บริการ Co-working Space มีทั้งบุคคลทั่วไป บริษัท Start-up จนไปถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฯลฯ ซึ่งการสำรวจของ Upwork พบว่าแม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิท-19 จะจบลงแล้ว บริษัทกว่า 61.9% ยังคงต้องการที่จะสนับสนุนให้มีการทำงานจากที่ไหนก็ได้เพิ่มขึ้นต่อไป ส่งผลให้จำนวน Remote Workers มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทรนด์รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปนี้ ส่งผลให้ Co-working Space เป็นมากกว่าสถานที่นั่งทำงานสำหรับทุกคน ด้วย 7 ข้อดีของการทำงานที่ Co-working Space สำหรับ Remote Workers! 7 ข้อดีของการทำงานที่ Co-Working Space 1. สร้างแรงบันดาลใจจากบรรยากาศการทำงานที่แตกต่าง การเปลี่ยนบรรยากาศในการทำงานไปอยู่ในพื้นที่ใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับการทำงาน นอกจากจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานได้จริงแล้ว การสำรวจของ GCUC ยังพบว่า 84% ของผู้ทำงานรู้สึกมีแรงกระตุ้นในการทำงานมากยิ่งขึ้นเมื่อทำงานใน Co-working Space อีกด้วย เพราะการทำงานที่ Co-working Space ลดสิ่งยั่วยุต่างๆ ที่อาจดึงความสนใจไปจากการทำงาน ทำให้ผู้ทำงานสามารถโฟกัสกับสิ่งที่กำลังทำได้มากกว่าการทำงานใน Home Office 2. มีโอกาสได้พบผู้คนใหม่ๆ ซึ่งมีความสนใจเดียวกัน การมาทำงานที่ Co-working Space นอกจากจะช่วยให้ไม่เหงาแล้ว ยังช่วยให้มีโอกาสพบกับคนที่หลากหลาย เพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้คนที่มีความเชี่ยวชาญและแนวคิดที่แตกต่างทั้งภายในและนอกอุตสาหกรรม โดยการสำรวจของ Smallbiz พบว่ากว่า 82% ของผู้ตอบแบบสอบถามมี Professional Network เพิ่มขึ้นหลังจากการใช้งาน Co-working Space นี่จึงเป็นหนึ่งวิธีการเพิ่มคอนเน็กชันทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการ Start up และ SME นิยมใช้ 3. สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานที่ครบครัน แม้ว่า Remote workers จะทำงานจากสถานที่ใดก็ได้ แต่การมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับการทำงานอย่างครบครันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ การทำงานที่ Co-working Space มักจะมีโต๊ะและเก้าอี้ที่มีความสูงเหมาะกับการนั่งทำงาน รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น เครื่องปริ้นท์เอกสาร ปลั๊กไฟและสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทำให้ที่ Co-working Space สนับสนุนการทำงานได้ดีกว่าร้านกาแฟ ซึ่งบางสถานที่อาจถึงขั้นมีห้องประชุมแยกและเครื่องมือขั้นสูงอย่าง 3D model printer จัดไว้ให้บริการเพื่อความสะดวกทีเดียว 4. อาหารและเครื่องดื่มพร้อมให้บริการ Co-working Space ส่วนมากจะจัดหาอาหารและเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ น้ำดื่มและขนมไว้จำหน่ายหรือบริการภายในร้านเพื่อความสะดวกของผู้ทำงาน แต่ด้วยทำเลซึ่งสามารถเดินทางได้สะดวก ทำให้บริเวณโดยรอบ Co-working Space จะมีแนวโน้มที่จะมีร้านอาหารและร้านค้าต่างๆ สูง Remote Workers จึงไม่ต้องกังวลว่าจะขาดอาหาร ของว่างแก้หิวหรือกาแฟง่วงระหว่างวันเลย 5. ราคาถูกกว่าเช่าออฟฟิศรายเดือน ค่าเช่าออฟฟิศรายเดือนในย่าน CBD (Central Business District) ของกรุงเทพฯ ที่ทั้งเดินทางได้สะดวกและอยู่ใน สภาพดี มีค่าเฉลี่ยสูงถึง 810 บาท/ตร.ม. ประกอบกับข้อมูลค่าเฉลี่ยของความกว้างพื้นที่ทำงานที่เหมาะสมคือ 1:10 นั่นหมายความว่าหนักงาน 1 คนมีค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่ราวๆ 8,100 บาท ในขณะที่ค่าเช่า Co-working Space แบบรายเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 3,000 บาทเท่านั้น 6. ไม่ผูกมัด ทำให้เปลี่ยนสถานที่ได้อย่างยืดหยุ่น การเช่าออฟฟิศรายเดือนมีข้อกำหนดซับซ้อนและผูกมัดผู้เช่าหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ค่ามัดจำ ระยะเวลาในการเช่า จนไปถึงค่าปรับต่างๆ ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ส่งผลให้ผู้เช่าไม่สามารถเปลี่ยนสถานที่ทำงานตามความต้องการส่วนบุคคลได้เมื่อต้องการ แต่ Co-working Space ที่มีตัวเลือกในการทำสัญญาที่หลากหลาย คือมีทั้งการใช้บริการรายวันที่ไม่ผูกมัดจนไปถึงการทำสัญญาระยะยาว ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเปลี่ยนสถานที่ทำงานได้อย่างยืดหยุ่น 7. แบ่งพื้นที่ทำงานและพักผ่อนได้อย่างชัดเจน การสำรวจของ Microsoft ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของคนในประเทศสหราชอาณาจักรพบว่ากว่า 86% ของผู้ WFH มีปัญหากับการแบ่งแยกระหว่างเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว ซึ่งการแบ่งพื้นที่ทำงานและพื้นที่พักผ่อนออกจากกันให้ชัดเจนก็เป็นหนึ่งวิธีที่ได้รับการแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยการทำงานที่ Co-working Space ก็เป็นหนึ่งตัวเลือกที่ดีต่อการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ในการทำงานและการพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพ สรุป สำหรับ Remote Workers แล้ว การทำงานที่ Co-working Space ก็เป็นหนึ่งตัวเลือกที่มีข้อดีหลากหลายซึ่งตอบโจทย์ชีวิตการทำงานที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน โดยสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สนับสนุนการทำงานรูปแบบ Remote Work ได้เป็นอย่างดี โดย True VROOM ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสนับสนุนการทำงานระยะไกลที่ครบครัน ช่วยให้คุณสามารถสร้างการประชุมออนไลน์ได้จากทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือ Co-working Space! มาพร้อมกับฟังก์ชันต่างๆ ครบครัน รองรับผู้คนจำนวนมาก เพื่อให้งานของคุณดำเนินต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุด เต็มประสิทธิภาพ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM อ้างอิง Squaretalk flexas.com DropDesk Brand...
February 1, 2023
2 mins read
Company Culture คือหนึ่งในรากฐานสำคัญที่ช่วยให้บริษัทสามารถอยู่ได้ในระยะยาว การมีวัฒนธรรมที่ดีนอกจากจะเสริมสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในบริษัท ยังช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขอีกด้วย และสิ่งที่น่าสนใจคือนอกจากจะส่งผลกับสภาพภายในองค์กรแล้ว การมี Company Culture ที่ดียังส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงานที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นด้วย Table of Contents อะไรคือ Company Culture Company Culture หรือ วัฒนธรรมองค์กร คือ แนวทาง ระบบ ระเบียบ ไปจนถึงพฤติกรรมของคนในองค์กรที่หล่อหลอมกันจนเป็นความคุ้นชิน และกลายเป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจขององค์กรนั้นๆ และแน่นอนว่าวัฒนธรรมองค์กรมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ ตามทัศนคติของผู้บริหารไปจนถึงการกระทำของคนในองค์กร เราจึงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากมายขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง และในขณะเดียวกันก็มีองค์กรที่แทบไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดหาก Company Culture มีความแข็งแรง หรือเชื่อมโยงกับสิ่งที่เป็นกฎเกณฑ์ขององค์กรดังกล่าว Company Culture ส่งผลอย่างไรต่อ Employee Productivity Company Culture เปรียบเสมือนรากฐานในการทำงานที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมไปยัง Employee Productivity (ผลิตภาพของพนักงาน) ขึ้นอยู่กับว่า Culture ดังกล่าวเป็นอย่างไร เช่น หาก Company Culture สนับสนุนการแสดงออกภายในบริษัท ก็มีแนวโน้มที่พนักงานจะนำเสนอสิ่งต่างๆ หรือมุมมองใหม่ๆ ตามแบบฉบับของตนเองมากขึ้น แต่ถ้า Culture ของบริษัทดังกล่าวเน้นการสั่งการแบบทางเดียว ก็จะปิดโอกาสในการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ เน้นให้พนักงานทำตามคำสั่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีความเหมาะสมแตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท การวางแผนสร้าง Employee Productivity ให้ดียิ่งขึ้น ก็เปรียบเสมือนการผลักดัน Performance ของพนักงานให้ก้าวหน้ามากขึ้น ในส่วนนี้จึงเป็นหน้าที่ของฝั่งองค์กรด้วยที่ต้องเตรียม Company Culture เพื่อสนับสนุนการทำงานในระยะยยาว ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมองค์ความรู้ ความสะดวกในการทำงาน หรือแม้แต่ความสุขของพนักงาน ผลสำรวจจาก Gallup ในช่วงปี 2017 พบว่าพนักงานที่มีความสุขจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนำเสนอ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นว่าการสร้าง Culture ที่ส่งผลถึงความสุขโดยรวมของพนักงานเกิดขึ้นมาสักพักใหญ่แล้ว Company Culture ที่ดียังส่งผลอะไรอีกบ้าง ? แน่นอนว่ามีหลายข้อด้วยกัน ดังนี้ ความสำคัญด้านต่างๆ ของวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 1. พนักงานมีความภักดีกับองค์กร การที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีนอกจากจะเป็นการสร้างบรรยากาศและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแล้ว ผลที่ได้ตามมาคือพนักงานที่มีความสุข เกิดความรัก ความภักดีกับองค์กรมากขึ้น และแน่นอนว่าความรักความชอบเหล่านี้ส่งผลโดยตรงกับจำนวนพนักงาน และอาจทำให้พนักงานอยู่กับบริษัทยาวนานขึ้น 2. สร้างการเติบโตให้กับบริษัท ดังที่ผลสำรวจของ Gallup ช่วงปี 2017 กล่าวไว้ข้างต้น คือพนักงานที่มีความสุขจะช่วยทำให้ความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพการนำเสนอดี แน่นอนว่ามันก็จะส่งผลให้บริษัทเติบโตได้มากยิ่งขึ้น ยิ่งพนักงานมีความภักดีด้วยแล้วยิ่งลดอัตราการลาออกของพนักงานได้ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก 3. ส่งผลดีต่อใจบริการต่อลูกค้า Company Culture ที่ดีไม่เพียงส่งผลดีต่อพนักงานเท่านั้น แต่จะทำให้พนักงานเหล่านั้นมีความรักความเข้าใจในงาน และมีความยินดีที่จะส่งต่อผลิตภัณฑ์และบริการดีๆ สร้าง Customer Experience ที่ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย การสร้าง Company Culture อย่างมีคุณภาพ วัฒนธรรมองค์กรสร้างได้ ขอเพียงแค่ผู้บริหารและคนในองค์กรมีความใส่ใจ ซึ่งในแต่ละองค์กรล้วนมีจุดมุ่งหมายและบุคลากรที่ต่างกัน เราจึงนำวิธีการสร้าง Company Culture แบบกว้างๆ มานำเสนอเพื่อให้การสร้าง Company Culture ของคุณเป็นระเบียบและทรงประสิทธิภาพมากขึ้น 1. ประเมินองค์ประกอบต่างๆ ขององค์กร ตรวจสอบองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นหากมีการตั้งหรือปรับเปลี่ยน Company Culture โดยมีตัวอย่างดังนี้ วิสัยทัศน์องค์กร กฎเกณฑ์ต่างๆ ภายองค์กร บุคลากรภายในองค์กร รูปแบบการทำงาน เนื่องจาก Company Culture เป็นสิ่งละเอียดอ่อนและมีความลึกซึ้ง ดังนั้นการสร้าง Company Culture ที่ดีที่สุดคือการเข้าใจบุคลกรและส่วนต่างๆ เป็นอย่างดี แล้วค่อยให้วัฒนธรรมต่างๆ ฝังรากลึกลงไป จะดีกว่าการตั้งกฎหรือบีบบังคับในการทำสิ่งต่างๆ 2. พูดคุยสอบถามกับบุคลากรต่างๆ เนื่องจากการวาง หรือเปลี่ยนแปลง Company Culture จะส่งผลกับคนทั้งองค์กร ดังนั้นนอกจากการสังเกต ควรสอบถามจากคนในองค์กรโดยตรง ถึงความต้องการ วิสัยทัศน์ หรือสิ่งที่อยากให้เปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น 3. วางโครงสร้าง Company Culture เบื้องต้น นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์และวางโครงสร้าง Company Culture ของคุณ โดยเฉพาะในส่วนของกฎเกณฑ์ และสิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติ เช่น การเข้าร่วมประชุมก่อนเวลา การจดบันทึกการประชุม แนวทางการคุยกับลูกค้า หรือแม้แต่แนวทางการสังสรรค์ขององค์กร ซึ่งแน่นอนว่าอะไรที่ยืดหยุ่นได้ หรือเป็นส่วนการสันทนาการอาจละไว้ แล้วค่อยๆ สอดแทรกไปในกิจกรรมต่างๆ เพื่อหล่อหลอมคนในบริษัทแทน 4. ประกาศ Company Culture ดำเนินการประกาศ Company Culture ที่เป็นส่วนใหญ่ หรือสำคัญ เช่นสิ่งที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ เวลา หรือสิ่งใดก็ตามที่กระทบกับบุคลากรภายในองค์กร 5. ติดตามผล สำรวจและติดตามผลของการมี Company Culture ตามที่ระบุไปเป็นระยะๆ เพื่อทำให้รู้ว่าได้ผลลัพธ์อย่างไร และหากมีปัญหาต้องแก้ไขตรงไหน เพื่อให้วัฒนธรรมบริษัทที่ได้มีความแข็งแรง และเป็นพลังงานบวกให้แก่คนในองค์กรมากที่สุด ตัวอย่างการสร้าง Company Culture ที่น่าสนใจ 1. Microsoft Culture ของ Microsoft ให้ความสำคัญกับ Growth Mindset อย่างมาก โดยเน้นการกระตุ้นให้บุคลากรในที่ทำงานมีความสนใจในการทำเรื่องใหม่เสมอๆ รวมถึงการสร้างความแตกต่างให้ออกมาในแต่ละผลงาน และในขณะเดียวกันก็ผลักดันบุคลากรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญกว่าคือพนักงานต้องเข้าถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี โดยทางบริษัทจะมีการแชร์ความรู้ต่างๆ ผ่านวิดีโอคอลและ Town...
January 25, 2023
2 mins read
การทำงานที่บ้านหรือ Work from Home เป็นหนึ่งในวิธีการทำงานยอดนิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่การจราจรไม่ค่อยเอื้ออำนวยเท่าใดนัก ทว่าสิ่งที่ตามมาคือ การทำงานที่บ้านอาจทำให้เกิดความห่างเหินของพนักงานได้ง่าย การนำเทคโนโลยี Virtual Workplace มาประยุกต์ใช้นอกจากจะทำให้งานมีสีสันมากขึ้น ยังช่วยให้พนักงานของคุณใกล้ชิดกันง่ายขึ้นอีกด้วย รู้จักกับ Virtual Workplace Virtual Workplace คือ ที่ทำงานเสมือนที่มีความสามารถทุกอย่างใกล้เคียงกับการทำงานออฟฟิศจริงๆ เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานสนทนา พรีเซนต์ และทดลองทำสิ่งต่างๆ ผ่านฟังก์ชันต่างๆ เพื่อทำให้การทำงานออนไลน์นั้นสมบูรณ์แบบที่สุด นอกจากการทำงานออนไลน์ผ่านโปรแกรมต่างๆ Virtual Workplace ยังมีอีกหนึ่งความหมาย คือ การเปิดสถานที่ทำงานที่ไม่มีโต๊ะนั่งตายตัว ทุกคนสามารถเข้ามาทำงานโดยล็อกอินจากอุปกรณ์ตรงจุดไหนก็ได้ ทำให้พนักงานไม่จำเป็นต้องมาที่บริษัทพร้อมกันทุกคน แต่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยในบทความนี้เราจะเน้นการพูดถึง Virtual Office แบบแรกที่เป็นการทำงานออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเป็นหลัก Table of Contents ข้อดีของ Virtual Workplace 1. เข้าถึงที่ทำงานได้ง่าย การทำงานด้วย Virtual Workplace จะเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหน เมื่อไร ก็ได้ ขอแค่มีการบริหารจัดการเวลา และระบบการทำงานได้ดีพอ ซึ่ง Virtual Workplace ในปัจจุบันมีการจัดสรรแบ่งห้องให้ทุกคนสามารถพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น แชร์ไฟล์หรือหน้าจอได้สะดวก พร้อมฟังก์ชันมากมายที่น่าสนใจ 2. เพิ่มความใกล้ชิดให้คนในทีม การมี Virtual Workplace เปรียบเสมือนการที่ให้คนในทีมของคุณเข้ามารวมตัวกันโดยมีโลกเสมือนเป็นจุดศูนย์กลาง ช่วยกลบจุดอ่อนของการทำงานออนไลน์ที่ผู้คนไม่สื่อสารกันได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อผู้คนออนไลน์พร้อมๆ ย่อมมีแนวโน้มที่คนเหล่านั้นจะพูดคุย ปรึกษาหารือกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องอื่นๆ เพิ่มความสนิทชิดเชื้อที่อาจหาได้ยากหากทำงานและนัดประชุมเป็นครั้งๆ 3. สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่าย Virtual Workplace ไม่ได้เป็นแค่สถานที่สำหรับประชุมงาน แต่ยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้มากมายไม่ว่าคุณจะเปิดกล้องหรือปิดกล้อง เช่น Gather.town ที่ทำ Virtual Workplace ในรูปแบบเกม RPG ที่เรามีตัวละครเสมือนเพื่อให้พูดคุยกับคนอื่นๆ และสามารถเล่นเกมต่างๆ ร่วมกันได้อีกด้วย ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้ Virtual Workplace 1. องค์กรที่ทำงานแบบ Work from Home 100% การทำงานที่บ้านแบบ 100% อาจทำให้คนในองค์กรนั้นห่างเหิน ไม่รู้จักกัน รวมถึงสามารถกำหนด แจกจ่ายงาน ไปจนถึงสร้างวัฒนธรรมองค์กรต่างๆ ได้ยาก การใช้งาน Virtual Workplace จะช่วยแก้ไขปัญหาส่วนนี้ได้ง่ายขึ้น ด้วยการเปลี่ยนทุกอย่างเข้าสู่โลกเสมือน ทำให้ผู้คนมารวมตัวกันได้สะดวกยิ่งขึ้น 2. ทีมที่ทำงานแบบ Hybrid Work แม้ว่าจะไม่ได้เป็นการทำงานออนไลน์แบบ 100% แต่สำหรับทีมที่ทำงานแบบ Hybrid Work เองก็เหมาะสำหรับที่จะใช้งาน Virtual Workplace เช่นเดียวกัน เนื่องจากจะทำให้คนทั้งบริษัทสามารถทำงานได้เสมือนนั่งอยู่ในที่ทำงานเดียวกัน 3. พนักงาน Freelance สำหรับสายงาน Freelance เองก็สามารถเข้าร่วมใช้งาน Virtual Workplace ได้ และอาจจะดีกว่าที่คิดด้วย เนื่องจากคนทำงานสามารถติดต่อประสานงานกับบุคลากรต่างๆ ในบริษัทได้อย่างรวดเร็ว สามารถสอบถามความเห็นและแนวทางต่างๆ ได้ง่าย สำหรับ Virtual Workplace บางแห่งยังช่วยในการติดตามงาน วางตารางการทำงานอย่างละเอียด ทำให้งานสาย Freelance สามารถทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างของ Virtual Workplace True VWORK เป็นหนึ่งใน Virtual Workplace ที่น่าสนใจสำหรับการทำงานแบบ Work from Home และ Work from Anywhere อย่างมาก เนื่องจากมีฟังก์ชันพื้นฐานต่างๆ ครบถ้วน เหมาะสำหรับการทำงาน โดยมีการทำงานเบื้องต้นดังนี้ การจัดสรรสารบบพนักงาน การบริหารจัดการงาน ศูนย์กลางการติดต่อสื่อสาร อนุมัติเอกสารออนไลน์ แบบฟอร์มออนไลน์ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ เช็กอินเข้างาน ฟังก์ชันต่างๆ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานจากที่ไหน เมื่อไรก็ได้ ด้วยระบบออนไลน์คุณภาพจาก True ทำให้ VWORK เป็นแพลตฟอร์มทำงานที่ช่วยผลักดันองค์กรของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สรุป Virtual Workplace เป็นตัวเลือกการทำงานยุคใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพมาก ที่จะช่วยให้คนในบริษัทของคุณสามารถติดต่อสื่อสารได้ง่าย และใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเต็มเวลา พาร์ทไทม์ หรือฟรีแลนซ์ก็สามารถใช้งานได้ True VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มการทำงานคุณภาพสูงจาก True ที่จะช่วยให้การทำงานของคุณง่าย ไม่มีสะดุด พร้อมฟังก์ชันช่วยเหลือต่างๆ อีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK อ้างอิง Kumospace Techsaurce tandem
January 25, 2023
2 mins read
การพรีเซนต์งานที่ดีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความน่าสนใจให้กับผลงาน เพราะการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เป็นแค่การบอกเนื้อหาที่อยากสื่อเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับงานและสามารถโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณนำเสนอได้เป็นอย่างมาก แม้จะไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาพร้อมกับความมั่นใจในการสื่อสาร แต่ทักษะการพรีเซนต์งานอย่างมืออาชีพเป็นเรื่องที่สามารถสร้างได้ ด้วย 5 เคล็ดลับพรีเซนต์งานที่จะช่วยให้คุณมั่นใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น! Table of Contents เคล็ดลับพรีเซนต์งานที่คุณควรรู้ 1. เปิดตัวให้น่าสนใจและเข้าใจง่าย Vanessa Van Edwards นักวิจัยจาก Science of People ได้ให้ความเห็นว่า ความประทับใจแรกเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยในการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังเป็นอย่างมาก ช่วงเวลาเพียง 7 วินาทีหลังจากที่พบหน้ากันอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในความสำเร็จและความล้มเหลวได้เลยทีเดียว การเลือกการเปิดตัวที่มีความโดดเด่น กล่าวประโยคที่เข้าใจได้ง่าย ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ฟัง โดยคุณอาจเริ่มง่ายๆ เช่น การยกคำพูดของคนดังที่กลุ่มผู้ฟังส่วนมากอาจรู้จัก หรือเปิดด้วยประโยคคำถาม ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ และสร้างอารมณ์ร่วมก่อนการแสดงผลงาน เป็นอีกหนึ่งในวิธีที่ดีในการพรีเซนต์ นอกเหนือจากนั้นคุณควรมี Agenda การพูดให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าพวกเขากำลังจะได้รับฟังอะไร หรืออย่างน้อยๆ ตัวคุณเองจะได้รู้ว่าต้องพูดอะไร และจบตรงไหน เพื่อให้การพรีเซนต์ทั้งหมดมีประสิทธิภาพ 2. สื่อสารด้วยภาพ การพรีเซนต์งานไม่ได้เป็นการขึ้นแสดงเดี่ยวไมโครโฟนที่เน้นผู้พูดเป็นหลัก หากแต่เป็นการนำเสนอสิ่งที่ต้องการด้วยวิธีการต่างๆ มากมายโดยคาดหวังว่าผู้ฟังจะได้บางสิ่งบางอย่างกลับไป ดังนั้นภาพ หรือสไลด์ประกอบย่อมเป็นสิ่งจำเป็น สไลด์ที่ดีควรเป็นเพียงองค์ประกอบเสริมที่ช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพและนึกตามได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่จุดดึงความสนใจ การใช้ภาพประกอบที่สามารถสื่อความหมายให้ตรงกับเรื่องที่คุณต้องการสื่อสารในแต่ละบูลเล็ทจึงเป็นหนึ่งวิธีที่จะตรึงใจผู้ฟังให้จดจำเนื้อหาที่คุณพูดได้มากกว่า เรื่องดังกล่าวสอดคล้องกับการทดสอบความจำมนุษย์ของนักชีววิทยาระดับโมเลกุลอย่าง John Medina ที่เผยว่าการสื่อสารด้วยรูปภาพสามารถเพิ่มความสามารถในการจดจำเนื้อหาให้กับผู้ฟังได้มากกว่าการใช้ตัวอักษรสูงถึง 65% ทำให้เห็นชัดว่าการมีภาพประกอบที่เหมาะสมสำคัญกว่าการอัดเนื้อหาเยอะๆ ลงในสไลด์ 3. ใช้โทนเสียงที่เหมาะสม การใช้โทนเสียงสูงต่ำที่มีความแตกต่างกันและการเว้นจังหวะเพื่อเน้นความสำคัญของข้อความคือวิธีใช้เสียงที่มีพลังในการโน้มน้าวใจคนฟังอย่างแท้จริง โดยศาสตราจารย์ด้านการตลาดอย่าง Wharton และ Jonah Berger ได้เผยว่าผู้ที่ใช้ระดับโทนเสียงที่แตกต่างกันในการพูดจะมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ทำให้สามารถนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าการควบคุมโทนเสียงในช่วงเวลาที่ตื่นเต้นจะม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณสามารถควบคุมน้ำเสียงให้มีความเหมาะสมได้ด้วยการฝึกควบคุมลมหายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อเรียกพลังและกล้าที่จะพูดออกไปอย่างเต็มที่ 4. ภาษากายที่มั่นใจและเป็นธรรมชาติ ภาษากายคือสิ่งแรกที่ผู้ฟังสามารถสังเกตเห็นได้จากผู้นำเสนอ ซึ่งการแสดงออกถึงความมั่นใจในสิ่งที่พูดจะช่วยเสริมสร้างบุคลิคภาพที่ดีและเป็นมืออาชีพให้ผู้พูดได้เป็นอย่างมาก วิธีการสื่อสารภาษากายที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือนั้นได้แก่ ท่าทางการยืน ก่อนการนำเสนอ ท่าทางการยืนที่มั่นคงสามารถช่วยลดความวิตกกังวลผ่านการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน Testosterone คือ การวางมือไว้ที่ด้านข้างของสะโพก เชิดคางและยืดอกขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำเสนอมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ระหว่างการนำเสนอ ท่าทางการยืนที่ดีจะช่วยให้ผู้พูดดูผ่าเผยอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคือ การยืนตรง หน้าอกผายและไหล่ผึ่ง ที่แสดงถึงความมั่นใจ ตั้งใจ และเป็นจุดดึงสายตาของผู้คนได้ดี สีหน้าและการสบตา การเลือกใช้สีหน้าให้สอดคล้องกับ Mood&Tone ของเรื่องที่นำเสนอควบคู่ไปกับการใช้ Eye Contact เพื่อสื่อสารความรู้สึก ความเชื่อมั่นและพลังในตัวคุณให้กับผู้ฟังเป็นวิธีการสื่อสารที่เป็นธรรมชาติ โดยคุณสามารถใช้การมองกวาดทั่วห้องและสลับกับการมองผู้ฟังเป็นรายคนประมาณคนละ 3-5 วินาทีเพื่อสร้างการสื่อสารอารมณ์ให้ดูเป็นธรรมชาติ วิธีการวางมือ การวางมือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของการสร้างบุคลิคภาพที่ดี ซึ่งวิธีการวางมือระหว่างพรีเซนต์ที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้พูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ ได้แก่ การแบมือทั้งสองข้าง การวางมือไว้บริเวณหน้าท้อง การใช้มือนับเลขและการผายมือให้เหมาะกับเนื้อหาและจังหวะการพูด 5. ฝึกฝนและพัฒนาซ้ำๆ การฝึกฝนซ้ำๆ จะช่วยสร้างความมั่นใจและความคุ้นเคยให้กับร่างกายของคุณ ทั้งในด้านของการจดจำเนื้อหาและความทรงจำของกล้ามเนื้อ ซึ่งความคุ้นช่วยให้การพูดของคุณเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การฝึกฝนผ่านการจำลองสถานการณ์นำเสนอจริงกับคนจริงๆ หรือการอัดวิดิโอยังช่วยให้ผู้พูดทราบแนวทางการพัฒนาทักษะการพูดจากมุมมองที่แตกต่างแต่เป็นตัวเองได้อีกด้วย สรุป การพรีเซนต์งานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจจะช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับคุณได้เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องห้ามลืมคือการที่ดีเนื้อหาการพรีเซนต์ที่น่าสนใจเพื่อทำให้ดึงดูดผู้คนได้มากยิ่งขึ้น และแน่นอนว่าการพรีเซน์งานที่ดีต้องมีตัวช่วยเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม การนำเสนองานผ่าน True VROOM ห้องประชุมออนไลน์ยุคใหม่ฝีมือคนไทย จะช่วยให้คุณสามารถนำเสนองานได้อย่างราบรื่นไม่มีสะดุด ด้วยฟังก์ชันช่วยงานที่หลากหลาย รองรับคนจำนวนมาก ทำให้คุณสามารถสร้างการพรีเซนต์ที่มีคุณภาพในแบบของคุณเองได้อย่างแน่นอน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM อ้างอิง Mission to the Moon JobsDB Techsaurce-Connext Mudium.com
March 20, 2023
2 mins read
Imposter Sysndrome ภาวะทางใจของคนทำงานจำนวนมากที่แม้จะสร้างผลงานได้ดีแค่ไหน ก็ไม่รู้สึกว่าความสำเร็จนั้นมาจากความสามารถของตัวเอง ทำให้ Self-esteem ของผู้ทำงานลดลงจนอาจส่งผลกระทบต่อ productivity ในการทำงานและก่อเป็นปัญหาอื่นๆ ในที่สุด ซึ่งการจัดการปัญหาดังกล่าวสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการสังเกต 5 สัญญาณ เมื่อคุณกำลังเจอ Imposter Syndrome พร้อมเทคนิคการรับมือ Table of Contents รู้จักกับ Imposter Syndrome Imposter Sysndrome หรือที่รู้จักกันในชื่อ ”โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง” เป็นภาวะการขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองและขาดการยอมรับในความสำเร็จที่ตนได้รับ ซึ่งผลการวิจัยจาก American Psychological Association เผยว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่า 70% เคยประสบกับ Imposter Syndrome ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต โดยการปล่อยปะละเลยอาการ Imposter Syndrome ไว้โดยไม่ได้ใส่ใจ อาจส่งผลกระทบต่อทั้งตัวคุณเองและองค์กรในหลายแง่มุม ผลกระทบต่อตนเอง ติดอยู่ใน Comfort Zone เพราะกลัวทำผลงานได้ไม่ดี แยกเวลาในการใช้ชีวิตส่วนตัวออกจากเวลาทำงานไม่ได้เพราะต้องทำงานไม่รู้จบสิ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าและอาการวิตกกังวลจากความเครียดสะสม ผลกระทบต่อองค์กร Productivity ในการทำงานลดลงเนื่องจากสภาพจิตใจของพนักงานที่ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง บรรยากาศในการทำงานย่ำแย่และเต็มไปด้วยความกดดัน องค์กรมีค่าใช้จ่ายด้านพนักงานสูงขึ้นแต่มีวัฒนธรรมองค์กรที่แย่ลง เนื่องจากมีการหมุนเวียนของพนักงานที่ลาออกสูงขึ้น สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณมีโอกาสเป็น Imposter Syndrome 1. ไม่ยินดีกับความสำเร็จของตนเอง ทุ่มเทกับงานจนประสบความสำเร็จ แต่กลับไม่ยินดีกับผลลัพธ์ที่ได้มา รู้สึกว่าความสามารถของตนยังไม่คู่ควรกับความชื่นชมหรือโอกาสที่ได้รับ และคิดว่าคนอื่นๆ ในสังคมดูไม่กังขาในตัวเองและมั่นใจในความสามารถของพวกเขาเหลือเกิน ในขณะที่คุณยังคงเคลือบแคลงในความสามารถของตัวเอง 2. มักคิดว่าความสำเร็จของคุณเกิดจากปัจจัยอื่นมากกว่า คุณเชื่อว่าความสำเร็จที่ได้รับเกิดจากโชคช่วย ความผิดพลาดของระบบหรือจากข้อได้เปรียบต่างๆ มากกว่าความสามารถของตน รู้สึกกระอักกระอ่วนเหมือนกับว่าตัวเองโกงการแข่งขันจนได้รับชัยชนะมาแม้ว่าความพยายามที่ผ่านมาของคุณจะเด่นชัดแค่ไหนก็ตาม 3. เริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ ได้ยาก เนื่องจากคิดว่าตนไม่เหมาะ การเริ่มต้นทำสิ่งใหม่และการรับกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นเรื่องยาก แม้จะมีการเตรียมพร้อมมาเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่สามารถบรรเทาความวิตกกังวลลงได้ คุณกลัวว่าจะทำสิ่งนั้นได้ไม่ดีเพราะตนไม่เก่งพอและไม่เหมาะสมกับโอกาสที่ได้รับมากเท่าคนอื่นๆ จนไปถึงไม่ยอมขยับขยายเพราะกลัวคนอื่นจะมองว่าตนไม่ได้เก่งทุกเรื่องอย่างที่เห็น 4. คิดเสมอว่าสิ่งที่ตนเองทำ ใครๆ ก็ทำได้ แม้จะประสบความสำเร็จ คุณกลับไม่คิดว่าตนมีความสามารถหรือพิเศษแต่อย่างใด เพราะความสำเร็จนั้นเป็นแค่เรื่องธรรมดาที่ใครก็ทำได้ จนไปถึงคิดว่าหากเป็นคนอื่นที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันก็คงจะทำได้สำเร็จไม่ต่างกัน 5. สิ่งที่ทำไปไม่สมบูรณ์แบบ ไม่ดีพอ แม้จะได้รับคำชมก็ตาม คุณมองว่าผลงานที่ได้ส่งมอบไปไม่สมบูรณ์แบบแม้จะได้รับคำชม ต้องพยายามมากกว่านี้เพื่อให้ผลงานออกมาดีมากขึ้นอีกและผลงานตอนนี้ไม่คู่ควรกับคำชมที่ได้รับ วิธีการรับมือ Imposter Syndrome เบื้องต้น 1. สำรวจว่าคุณ “ไม่เก่งพอ” จริงๆ รึเปล่า ทบทวนความคิด หยุดเชื่อการใช้ความรู้สึก แล้วหันไปสำรวจข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นจริงอย่างที่ความคิดพาไปหรือไม่ คุณไม่เก่งพอจริงๆ หรือแค่นั่นยังไม่ใช่จุดที่ใช่ คุณมีจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไรบ้าง ความพยายามที่ผ่านมาทำให้คุณได้อะไร และก้าวมาได้ไกลขนาดไหน 2. ปรับมุมมองเข้าหา Growth Mindset ต่อให้คุณยังไม่เก่งพอจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะมนุษย์เราสามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพในตัวได้ในทุกวันตราบใดที่คุณยังมุ่งมั่นที่จะก้าวไปข้างหน้า โดย Growth Mindset ก็เป็นหนึ่งแนวคิดที่สามารถแทนที่ความรู้สึกด้อยค่าในตนเองให้กลายเป็นแรงผลักดันที่จะช่วยให้คุณรู้ลึก เก่งจริงได้ 3. เริ่มทำสิ่งต่างๆ แม้ว่าจะไม่พร้อม แม้การเริ่มต้นใหม่จะเป็นเรื่องยากและคุณอาจไม่อยู่ในสถานการณ์ที่ชวนให้รู้สึกปลอดภัยจนรู้สึกว่าต้องทำได้ไม่ดี แต่คนที่ไม่เคยพลาดคือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย ความผิดพลาด อุบัติเหตุและโอกาสต่างๆ คือสิ่งที่ทุกคนต้องเจอเป็นเรื่องปกติ การเรียนรู้จากความผิดพลาดและลุกขึ้นใหม่ต่างหากคือสิ่งที่สร้างคนเก่งที่แท้จริง 4. ลดการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นมากเกินไปคือหนึ่งปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนความเชื่อมั่นใจตนเอง ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องธรรมชาติที่สิ่งมีชีวิตจะเปรียบเทียบกันและกันเพื่อการอยู่รอด แต่สำหรับมนุษย์ซึ่งมีความถนัดในรายบุคคลที่แตกต่างกันแล้ว การรู้เท่าทันความคิดและความรู้สึกของตัวเองเพื่อไม่ให้สูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเองไปเป็นเรื่องที่สำคัญมาก 5. พบจิตแพทย์ หากปัญหาที่เกิดขึ้นจาก Imposter Syndrome กระทบต่อการดำเนินชีวิตจนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง การเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการบำบัดต่างๆ อย่างตรงจุดจากผู้เชี่ยวชาญก็เป็นวิธีที่ดีที่สุด สรุป แม้ว่า Imposter Syndrome จะเกิดขึ้นได้กับทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานทั่วไป แต่มันก็ไม่ได้ถูกจัดเป็นโรคร้ายหรือความเจ็บป่วยทางจิตใจแต่อย่างใด เป็นเพียงภาวะความเครียดที่ถูกสร้างขึ้นมาในใจซึ่งคุณสามารถรับมือได้ด้วยตัวเองผ่านการปรับ Mindset การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการตกผลึกความคิด True VWORK ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มการทำงานออนไลน์ที่อำนวยความสะดวกให้พนักงานติดต่อสื่อสารและพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น ช่วยทำให้ทุกคนเกิดความเข้าใจกันได้กันได้ดียิ่งขึ้นแม้ทำงานห่างกัน เพื่อสนับสนุนหนทางให้พนักงานทุกคนสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณสนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ True VWORK อ้างอิง TED-Ed DR JING pobpad FWD missiontothemoon webmd verywellmind istrong pivotalsolutions
February 20, 2023
2 mins read
บริษัทสวัสดิการดีขนาดนี้ทำไมพนักงานยัง Burnout? ขึ้นเงินเดือนให้แล้วแต่ทำไมยังลาบ่อย? โบนัสก็เยอะทำไมพนักงานยังลาออก? สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทุกบริษัทกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เพราะรูปแบบการทำงานและเป้าหมายในการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่แตกต่างจากในอดีตอย่างสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ด้วย Employee Engagement แล้ว Employee Engagement คืออะไร? เราจะสร้าง Employee Engagement ที่ดีต่อพนักงานได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบให้คุณแน่นอน Table of Contents Employee Engagement คืออะไร? Employee Engagement คือ การมีส่วนร่วมหรือความผูกพันของพนักงานที่มีต่องานและองค์กร เป็นการแสดงออกถึงการให้ความร่วมมือกับกิจกรรมในองค์กรอย่างสมัครใจ ทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะมุ่งมั่นทุ่มเทต่อค่านิยม (Company Values) และเป้าหมายทางธุรกิจหลักขององค์กร (Company Goals) จนกลายเป็นความผูกพัน โดยพนักงานจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ตลอดจนรู้สึกในการเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน ก่อให้เกิดแรงพลักดันให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ และนำมาสู่ความจงรักภักดีต่อองค์กรในที่สุด เมื่ออ่านถึงตรงนี้คุณอาจจะคิดว่า Employee Engagement สามารถสร้างได้ด้วยการกำหนดเป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจน แต่ความจริงแล้วการสร้าง Employee Engagement ที่ดีต้องคำนึงถึงเป้าหมายชีวิตของพนักงาน (Life Goals) ด้วย เพราะฉะนั้นหากองค์กรไหนสามารถออกแบบเป้าหมายขององค์กรควบคู่ไปกับการตอบโจทย์เป้าหมายชีวิตของพนักงานได้เป็นอย่างดีก็จะสามารถสร้างพนักงานที่มีความสุข และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่งพร้อมมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรอย่างสม่ำเสมอได้ ถือได้ว่า Employee Engagement คือหนึ่งในวิธีการและเป็นหนทางสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรอย่างแท้จริง ทำไม Employee Engagement ถึงสำคัญต่อธุรกิจในยุคปัจจุบัน ปัจจุบันการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ Employee Engagement มีบทบาทต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยงานวิจัยด้านการมีส่วนร่วมของพนักงานของ Gallup ได้อธิบายประโยชน์ของ Employee Engagement ไว้ดังต่อไปนี้ 1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน (Productivity Improvement) องค์กรที่พนักงานพร้อมมีส่วนร่วมและมีความผูกพันต่องานและองค์กรจะมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าพนักงานทั่วไปถึง 18% นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นให้พนักงานเต็มใจสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมากกว่าเดิม 2 เท่าอีกด้วย 2. ช่วยลดอัตราพนักงานลาออกจากงาน (Higher Employee Retention) หากองค์กรให้ความสำคัญต่อพนักงานโดยการรับรู้ถึงความพยายามของพวกเขา และช่วยพลักดันให้พนักงานเติบโตในสายอาชีพอย่างมั่นคงจะส่งผลให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับงานที่ทำและพยายามทุ่มเทให้กับการทำงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรและพนักงานนี้เองที่ช่วยลดอัตราพนักงานลาออกได้ถึง 43% ในองค์กรที่มีอัตราการลาออกต่ำ และ 18% ในองค์กรที่มีอัตราการลาออกสูง 3. ช่วยสร้างกำไรให้บริษัทมากขึ้น (Improve Profit) พนักงานที่มีความผูกพันกับงานที่ทำและมีส่วนร่วมกับทีมจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้องค์กรสามารถสร้างผลกำไรให้ได้สูงถึง 23% เมื่อเทียบกับบริษัททั่วไป 4. ลูกค้าพึงพอใจในการบริการมากขึ้น (Improve Customer Satisfaction) พนักงานที่มี Employee Engagement ที่ดีมักจะมีความสุขในการทำงาน นอกจากนี้พวกเขายังส่งต่อความสุขไปยังลูกค้าผ่านการบริการที่ดีเยี่ยม ในขณะเดียวกันพวกเขาจะกระตือรือร้นในการดึงดูดลูกค้าใหม่อยู่เสมออีกด้วย โดยจากงานวิจัยพบว่าองค์กรที่มี Employee Engagement ที่ดีสามารถเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าได้มากถึง 10% ถึงตรงนี้คุณคงเข้าใจแล้วว่า Employee Engagement คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร? เพราะฉะนั้นเรามาดูเคล็ดลับที่จะทำให้พนักงานมีความสุข ทุ่มเทกับการทำงานอย่างเต็มที่ และอยากร่วมงานกับองค์กรไปนานๆ ในหัวข้อถัดไปกันเลย 5 เคล็ดลับมัดใจพนักงานด้วยการสร้าง Employee Engagement ที่ดี 1. การสื่อสารต้องดี และประสิทธิภาพ (Sufficiency Communication) การสื่อสารนับว่าเป็นหนึ่งในเคล็ดลับของความสำเร็จในการสร้าง Employee Engagement เพราะพนักงานในองค์กรที่มีการสื่อสารที่แข็งแกร่งจะทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าพนักงานในองค์กรที่ขาดการสื่อสาร ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจผิดระหว่างบุคคล การทำงานผิดพลาด และการเลื่อนกำหนดเวลาส่งงาน โดยองค์กรควรเริ่มต้นตั้งแต่การสร้างกระบวนการ Onboarding ที่ราบรื่น ซึ่งเป็นปราการด่านแรกที่สามารถสร้างความสนใจจากพนักงานได้ทันทีที่เข้าทำงาน ไปจนถึงการสื่อสารระหว่างพนักงานในองค์กร ในแต่ละวัน โดยเลือกช่องทางการสื่อสารให้เหมาะสมและเข้าถึงง่าย เช่น การใช้แพลตฟอร์มที่ช่วยให้พนักงานสามารถแชทและวิดีโอถึงเพื่อนร่วมงานได้ทันทีและทุกที่ ทำให้การทำงานร่วมกันราบรื่นยิ่งขึ้น 2. หมั่นชื่นชมและให้รางวัลในทุกๆ ความสำเร็จ (Praise and Reward) พนักงานจะรู้สึกภาคภูมิใจ กระตือรือร้น หลงใหล และมีกำลังใจในงานที่ทำก็ต่อเมื่อพวกเขารับรู้ว่าความพยายามของพวกเขามีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร เพราะฉะนั้นไม่ว่าผลงานของพวกเขาจะเล็กน้อยเพียงใดก็ควรได้รับการยกย่อง โดยอาจเริ่มต้นจากการชื่นชมด้วยคำว่า “ขอบคุณ” ไปจนถึงการให้รางวัลที่มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น ค่าตอบแทน สวัสดิการ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในออฟฟิศ และการให้รางวัลพนักงานดีเด่นประจำปี การชื่นชมและให้รางวัลยังสำคัญมากๆ ต่อพนักงานที่ Work from Home เพราะบ่อยครั้งที่ไม่มีใครมองเห็นความพยายามของพวกเขา เพราะฉะนั้นองค์กรควรมีแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สร้างปฏิสัมพันธ์ภายในองค์กร พร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและชื่นชมเพื่อนร่วมงานได้แบบเรียลไทม์ 3. สร้าง Teamwork ที่แข็งแกร่งและสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ (Teamwork & Working Environmental) ไม่มีพนักงานคนไหนอยากทำงานในองค์กรที่มีสิ่งแวดล้อมที่แย่ ซึ่งกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ หรือมีเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นองค์กรจึงควรสร้างสถานที่ทำงานที่มีความสุขและพนักงานมีส่วนร่วมกันอย่างแท้จริง โดยใส่ใจสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานเพื่ออำนวยความสะดวก และเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงสนับสนุนระบบการทำงานเป็นทีม เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมมือกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน ก่อให้เกิดความสามัคคีซึ่งเป็นพลังพลักดันให้องค์ก้าวหน้าและแข็งแกร่งขึ้น 4. สร้างพื้นที่เพื่อให้คนเก่งได้เติบโต (Create Opportunities For Growth) ถึงแม้ว่าองค์กรของคุณจะมีขนาดใหญ่ มีผลกำไรต่อปีมหาศาล และพนักงานมีความสุขในการทำงาน แต่ถ้าพวกเขาเริ่มรู้สึกมองไม่เห็นอนาคตและความก้าวหน้าของเขาในองค์กรนี้อีกต่อไป ก็อาจทำให้คนเก่งๆ หลายๆ คนตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อไปหาโอกาสที่ดีกว่า เพราะฉะนั้นการส่งเสริมและมอบพื้นที่ของการเติบโตในองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งการจัดการฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะให้กับพนักงาน การให้รางวัลพนักงานที่ทำหน้าที่ของตนได้ดี รวมไปถึงการให้โอกาสพนักงานได้ทดลองสลับหน้าที่หรือย้ายแผนกเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 5. สร้างตัวเลือกให้พนักงานได้ทำงานยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น (Create Flexible and Remote Work Options) ปัจจุบัน Work from Home กลายเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นหนึ่งในผลประโยชน์ในการจ้างงาน เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่เคยชินกับการทำงานระยะไกลในช่วงที่เกิดโรคระบาด ทำให้เมื่อสถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติพวกเขายังคงต้องการทำงานระยะไกลเพื่อรักษาความยืดหยุ่นในการทำงาน และรักษาสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-life Balance) ต่อไป โดยเฉพาะพนักงาน Gen...
February 20, 2023
2 mins read
สำหรับคนทำงานในหนึ่งวันอาจไม่ได้ทำเพียงแค่งานชิ้นเดียว เพราะแต่ละคนมีหลายหน้าที่ หลายความรับผิดชอบ ทำให้ต้องเจอปัญหามากมายภายในวัน โดยเฉพาะผู้บริหารที่อาจมีหลากหลายงานเข้ามาแทรก ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถรับมือได้ด้วยการทำ Priority Management แล้ว Priority Management คืออะไร? คุณควรเริ่มจากตรงไหน? บทความนี้มีคำตอบ Table of Contents เข้าใจ Priority Management ก่อนเริ่มการทำงานของคุณ Priority Management คือ แนวทางการจัดลำดับความสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้คุณ โดยช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มทางเลือกและลดจำนวนขั้นตอนการทำงานได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงช่วยจัดสรรตารางเวลาในชีวิตประจำวันคุณ ให้คุณสามารถใช้เวลากับงานที่มีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลดีต่อเป้าหมายระยะยาวของคุณ Priority Management ช่วยให้การทำงานในทีมราบรื่นขึ้นจริงไหม? บ่อยครั้งที่การทำงานร่วมกันในทีมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งปัญหานี้มีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ความสัมพันธ์ไม่ดีระหว่างคนในทีมทำให้ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบงาน ส่งผลให้การมอบหมายงานและการติดตามงานเป็นเรื่องยาก รวมไปถึงทีมไม่เข้าใจภาพรวมการทำงาน เพราะฉะนั้น Priority Management จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยลดความขัดแย้งในทีม ข้อดีของการประยุกต์ใช้ Priority Management ในทีม ช่วยให้คุณและทีมสามารถจัดการปริมาณงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ช่วยจัดสรรงานและเวลาการทำงานของทีม ทำให้ทีมสามารถเรียงลำดับงานที่มีความสำคัญมากน้อยได้ ส่งผลให้ประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น ช่วยให้การติดตามงานหรือโครงการต่างๆ เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้คุณและทีมเห็นภาพรวมกระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอน ทำให้สามารถประเมินหรือควบคุมเวลาทำงานแต่ละชิ้นงานหรือโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของทีม การเข้าใจขอบเขตการทำงานระหว่างกัน และความสามารถในการบริหารและเรียงลำดับความสำคัญของงาน ช่วยส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณและทีมดียิ่งขึ้น สร้าง Teamwork ที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงสามารถรับมือกับงานด่วนงานแทรกได้เป็นอย่างดี Priority Management แตกต่างจาก Time Management อย่างไร? แท้จริงแล้วทั้งสองมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีแก่นแนวคิดแตกต่างกันดังนี้ Priority Management (การจัดลำดับความสำคัญ) มุ่งเน้นที่การลำดับความสำคัญของงานจากมากไปน้อย โดยประเมินจาก 2 ปัจจัยหลักได้แก่ ความเร่งด่วนและความสำคัญ ซึ่งช่วยให้คุณจัดระเบียบงานตามจำนวนเวลาที่คุณมีได้อย่างลงตัวและมีประสิทธิภาพ Time Management (การบริหารเวลา) มุ่งเป้าไปที่การวางแผนงานและการควบคุมเวลา เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของคุณในเวลาที่จำกัด และช่วยคุณทำความเข้าใจความสามารถในการควบคุมเวลาของตัวเอง รวมไปถึงเข้าใจสาเหตุที่ไม่สามารถส่งงานตรงตามกำหนดได้ สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำ Priority Management 1. การจัดลำดับความสำคัญขึ้นอยู่กับตัวคุณเป็นหลัก การตั้งต้นด้วยคำถามว่า “อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตเรา?” จะทำให้คุณมองเห็นภาพกว้างและความสำคัญของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นงาน ตนเอง ครอบครัว ได้ชัดเจนก่อนเข้าสู่การจัดการความสำคัญของทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะในบางครั้งการจัด Priority Management คนอาจมองข้ามในส่วนของครอบครัวและการใช้ชีวิตไป ซึ่งทำให้เสียสมดุลในการใช้ชีวิตและไม่มีทิศทางในการทำงาน 2. งานทุกงานไม่ได้มีความสำคัญเท่ากัน ไม่ใช่ทุกงานที่สำคัญเท่ากัน เพราะฉะนั้นคุณควรจัด Priority Management โดยให้ความสำคัญกับงานที่ให้ผลตอบแทนสูงมากกว่างานที่ต้องใช้ทั้งความพยายามแต่กลับได้ผลตอบแทนต่ำ 3. จัดสรรเวลาเพื่อสร้างเวลา การจัดสรรเวลาที่ดีจะช่วยสร้างเวลาว่าง ทำให้คุณมีเวลาเรียนรู้ทักษะต่างๆ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้สามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดสรรเวลาที่ดีมาจากการเรียนรู้ตนเอง เข้าใจว่าตนเองถนัดสิ่งไหน และใช้เวลาเท่าไรในการจัดการงาน 3 หลักการจัดการความสำคัญอย่างง่าย 1. เข้าใจเป้าหมายก่อนลงมือทำ ก่อนที่จะจัดลำดับความสำคัญของงานคุณควรร่างเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงานล่วงหน้า โดยอาจจะเริ่มจากการถามตัวเองว่าต้องการประสบความสำเร็จอย่างไรในเดือนนี้หรือปีหน้า หลังจากนั้นคุณจะสามารถเลือกเป้าหมายระยะยาวที่คุณต้องการหรืออยากจะเป็นจากการทำงานได้อย่างชัดเจน และเมื่อคุณเข้าใจเป้าหมายระยะยาวแล้ว คุณจะสามารถกำหนดเป้าหมายระยะกลางและระยะสั้นและเขียนแผนโดยละเอียดเพื่อติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายได้ ตัวอย่างเช่น เป้าหมายระยะยาวของคุณคือการเป็น Content Manager เพราะฉะนั้นเป้าหมายระยะสั้นของคุณจึงอาจจะเป็นการศึกษารูปแบบการเขียนงานประเภทต่างๆ และฝึกเขียนบทความสัปดาห์ละ 4 บทความ ส่วนเป้าหมายระยะกลางอาจจะเป็นการเข้าอบรมคอร์สระยะยาว เช่น คอร์สอบรมการใช้เครื่องมือการตลาดออนไลน์และ SEO, คอร์ส Content Marketing และคอร์สพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในองค์กร 2. รู้จัก Say No เพื่อให้งานไปต่อ อย่าพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวคุณเอง หลายครั้งงานที่คุณได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบอาจเป็นงานที่คุณไม่ถนัด ส่งผลให้คุณใช้เวลากับงานมากเกินไป แต่ก็ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี และทำให้สุขภาพกายและใจคุณแย่ลงจากความผิดหวังในการทำงานและการหักโหมทำงานมากเกินควร เพราะฉะนั้นคุณควรย้อนกลับมามองจุดเริ่มต้นว่าสิ่งที่กำลังบริหารจัดการเป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยตัวคุณเองหรือไม่ หากเป็นสิ่งที่ต้องทำแต่คุณไม่มีความชำนาญในการทำสิ่งนั้นก็อาจจะกระจายงานให้เพื่อนร่วมงาน หรือ Outsource ทำแทนได้ เพราะคุณอาจใช้เวลาหนึ่งวันในการทำงาน แต่อีกฝ่ายที่มีความเชี่ยวชาญอาจใช้เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งการตัดสินใจ Say Yes หรือ Say No ควรใช้หลักการ Priority Management ในการตัดสินใจร่วมด้วย เพื่อให้คุณสามารถใช้เวลาน้อยลงกับงานที่ได้รับผลตอบแทนต่ำ และมีเวลามากขึ้นกับงานที่ให้ Impact สูง ซึ่งหลักการง่ายๆ คือ หลักการ 80/20 ที่สะท้อนให้เห็นว่า ในโลกของธุรกิจร้อยละ 80 ของยอดขายมักจะมากจากลูกค้าร้อยละ 20 เท่านั้น หลักการนี้จึงเป็นคำตอบว่าทำไมคุณควรพยายามทำงานให้เสร็จภายในขอบเขตความเชี่ยวชาญของคุณ และกระจายงานอื่นๆ ไปยังผู้เชี่ยวชาญคนอื่น 3. เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับเสมอ บางคนอาจจัดลำดับความสำคัญของงานโดยพิจารณาจากตำแหน่งหรือระดับความสัมพันธ์ของผู้ร้องขอ โดยเฉพาะหากผู้ร้องขอมีตำแหน่งสูงในองค์กร ลำดับความสำคัญของงานมักมีความสำคัญมากขึ้น หรือบางคนอาจให้ความสำคัญกับงานที่ใกล้ครบวันกำหนดส่งมากกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทำให้คุณไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีกับงานที่สำคัญได้ เพราะฉะนั้นคุณควรเปรียบเทียบเป้าหมาย ประเมินงานและเวลาของคุณก่อนรับงานเสมอ โดยหนึ่งในเมทริกซ์ที่ช่วยให้คุณทำ Priority Management ได้สะดวกยิ่งขึ้นคือ Eisenhower Matrix Eisenhower Matrix ตัวช่วยบริหารเวลา แก้ปัญหางานเร่งงานด่วน Eisenhower Matrix คือ เครื่องมือง่ายๆ ที่ช่วยจัดลำดับความสำคัญงานในแต่ละวัน โดยพิจารณาจากความเร่งด่วน ทำให้คุณสามารถพิจารณาผลลัพธ์ระยะยาวของงานประจำวัน สามารถแยกแยะงานที่สำคัญและงานไม่สำคัญออกอย่างชัดเจน และมุ่งเน้นไปยังงานที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ เพื่อให้คุณรู้ว่างานแบบไหนคุ้มค่าที่จะเริ่มทำทันที งานแบบไหนควรจัดสรรเวลามาทำ หรืองานแบบไหนทำทีหลังได้ ด้วยประโยชน์ในเรื่องการบริหารเวลาและการจัดลำดับความสำคัญทำให้ Eisenhower Matrix กลายเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ผู้บริหารและหัวหน้างานนำมาปรับใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้การทำ Priority Management มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย Eisenhower Matrix ถูกแบ่งตามหมวดหมู่งาน 4 ประเภทดังนี้ 1. Do it now: งานเร่งด่วนและสำคัญ งานประเภทนี้มักเป็นงานที่ต้องทำทันที งานที่ต้องทำภายในวันเดียวหรือไม่เกินวันถัดไป...
February 9, 2023
2 mins read
สำหรับคนทำงานในหนึ่งวันอาจไม่ได้ทำเพียงแค่งานชิ้นเดียว เพราะแต่ละคนมีหลายหน้าที่ หลายความรับผิดชอบ ทำให้ต้องเจอปัญหามากมายภายในวัน โดยเฉพาะผู้บริหารที่อาจมีหลากหลายงานเข้ามาแทรก ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถรับมือได้ด้วยการทำ Priority Management แล้ว Priority Management คืออะไร? คุณควรเริ่มจากตรงไหน? บทความนี้มีคำตอบ Table of Contents เข้าใจ Priority Management ก่อนเริ่มการทำงานของคุณ Priority Management คือ แนวทางการจัดลำดับความสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้คุณ โดยช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มทางเลือกและลดจำนวนขั้นตอนการทำงานได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงช่วยจัดสรรตารางเวลาในชีวิตประจำวันคุณ ให้คุณสามารถใช้เวลากับงานที่มีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลดีต่อเป้าหมายระยะยาวของคุณ Priority Management ช่วยให้การทำงานในทีมราบรื่นขึ้นจริงไหม? บ่อยครั้งที่การทำงานร่วมกันในทีมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งปัญหานี้มีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ความสัมพันธ์ไม่ดีระหว่างคนในทีมทำให้ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบงาน ส่งผลให้การมอบหมายงานและการติดตามงานเป็นเรื่องยาก รวมไปถึงทีมไม่เข้าใจภาพรวมการทำงาน เพราะฉะนั้น Priority Management จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยลดความขัดแย้งในทีม ข้อดีของการประยุกต์ใช้ Priority Management ในทีม ช่วยให้คุณและทีมสามารถจัดการปริมาณงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ช่วยจัดสรรงานและเวลาการทำงานของทีม ทำให้ทีมสามารถเรียงลำดับงานที่มีความสำคัญมากน้อยได้ ส่งผลให้ประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น ช่วยให้การติดตามงานหรือโครงการต่างๆ เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้คุณและทีมเห็นภาพรวมกระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอน ทำให้สามารถประเมินหรือควบคุมเวลาทำงานแต่ละชิ้นงานหรือโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของทีม การเข้าใจขอบเขตการทำงานระหว่างกัน และความสามารถในการบริหารและเรียงลำดับความสำคัญของงาน ช่วยส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณและทีมดียิ่งขึ้น สร้าง Teamwork ที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงสามารถรับมือกับงานด่วนงานแทรกได้เป็นอย่างดี Priority Management แตกต่างจาก Time Management อย่างไร? แท้จริงแล้วทั้งสองมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีแก่นแนวคิดแตกต่างกันดังนี้ Priority Management (การจัดลำดับความสำคัญ) มุ่งเน้นที่การลำดับความสำคัญของงานจากมากไปน้อย โดยประเมินจาก 2 ปัจจัยหลักได้แก่ ความเร่งด่วนและความสำคัญ ซึ่งช่วยให้คุณจัดระเบียบงานตามจำนวนเวลาที่คุณมีได้อย่างลงตัวและมีประสิทธิภาพ Time Management (การบริหารเวลา) มุ่งเป้าไปที่การวางแผนงานและการควบคุมเวลา เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของคุณในเวลาที่จำกัด และช่วยคุณทำความเข้าใจความสามารถในการควบคุมเวลาของตัวเอง รวมไปถึงเข้าใจสาเหตุที่ไม่สามารถส่งงานตรงตามกำหนดได้ สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำ Priority Management 1. การจัดลำดับความสำคัญขึ้นอยู่กับตัวคุณเป็นหลัก การตั้งต้นด้วยคำถามว่า “อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตเรา?” จะทำให้คุณมองเห็นภาพกว้างและความสำคัญของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นงาน ตนเอง ครอบครัว ได้ชัดเจนก่อนเข้าสู่การจัดการความสำคัญของทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะในบางครั้งการจัด Priority Management คนอาจมองข้ามในส่วนของครอบครัวและการใช้ชีวิตไป ซึ่งทำให้เสียสมดุลในการใช้ชีวิตและไม่มีทิศทางในการทำงาน 2. งานทุกงานไม่ได้มีความสำคัญเท่ากัน ไม่ใช่ทุกงานที่สำคัญเท่ากัน เพราะฉะนั้นคุณควรจัด Priority Management โดยให้ความสำคัญกับงานที่ให้ผลตอบแทนสูงมากกว่างานที่ต้องใช้ทั้งความพยายามแต่กลับได้ผลตอบแทนต่ำ 3. จัดสรรเวลาเพื่อสร้างเวลา การจัดสรรเวลาที่ดีจะช่วยสร้างเวลาว่าง ทำให้คุณมีเวลาเรียนรู้ทักษะต่างๆ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้สามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดสรรเวลาที่ดีมาจากการเรียนรู้ตนเอง เข้าใจว่าตนเองถนัดสิ่งไหน และใช้เวลาเท่าไรในการจัดการงาน 3 หลักการจัดการความสำคัญอย่างง่าย 1. เข้าใจเป้าหมายก่อนลงมือทำ ก่อนที่จะจัดลำดับความสำคัญของงานคุณควรร่างเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงานล่วงหน้า โดยอาจจะเริ่มจากการถามตัวเองว่าต้องการประสบความสำเร็จอย่างไรในเดือนนี้หรือปีหน้า หลังจากนั้นคุณจะสามารถเลือกเป้าหมายระยะยาวที่คุณต้องการหรืออยากจะเป็นจากการทำงานได้อย่างชัดเจน และเมื่อคุณเข้าใจเป้าหมายระยะยาวแล้ว คุณจะสามารถกำหนดเป้าหมายระยะกลางและระยะสั้นและเขียนแผนโดยละเอียดเพื่อติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายได้ ตัวอย่างเช่น เป้าหมายระยะยาวของคุณคือการเป็น Content Manager เพราะฉะนั้นเป้าหมายระยะสั้นของคุณจึงอาจจะเป็นการศึกษารูปแบบการเขียนงานประเภทต่างๆ และฝึกเขียนบทความสัปดาห์ละ 4 บทความ ส่วนเป้าหมายระยะกลางอาจจะเป็นการเข้าอบรมคอร์สระยะยาว เช่น คอร์สอบรมการใช้เครื่องมือการตลาดออนไลน์และ SEO, คอร์ส Content Marketing และคอร์สพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในองค์กร 2. รู้จัก Say No เพื่อให้งานไปต่อ อย่าพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวคุณเอง หลายครั้งงานที่คุณได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบอาจเป็นงานที่คุณไม่ถนัด ส่งผลให้คุณใช้เวลากับงานมากเกินไป แต่ก็ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี และทำให้สุขภาพกายและใจคุณแย่ลงจากความผิดหวังในการทำงานและการหักโหมทำงานมากเกินควร เพราะฉะนั้นคุณควรย้อนกลับมามองจุดเริ่มต้นว่าสิ่งที่กำลังบริหารจัดการเป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยตัวคุณเองหรือไม่ หากเป็นสิ่งที่ต้องทำแต่คุณไม่มีความชำนาญในการทำสิ่งนั้นก็อาจจะกระจายงานให้เพื่อนร่วมงาน หรือ Outsource ทำแทนได้ เพราะคุณอาจใช้เวลาหนึ่งวันในการทำงาน แต่อีกฝ่ายที่มีความเชี่ยวชาญอาจใช้เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งการตัดสินใจ Say Yes หรือ Say No ควรใช้หลักการ Priority Management ในการตัดสินใจร่วมด้วย เพื่อให้คุณสามารถใช้เวลาน้อยลงกับงานที่ได้รับผลตอบแทนต่ำ และมีเวลามากขึ้นกับงานที่ให้ Impact สูง ซึ่งหลักการง่ายๆ คือ หลักการ 80/20 ที่สะท้อนให้เห็นว่า ในโลกของธุรกิจร้อยละ 80 ของยอดขายมักจะมากจากลูกค้าร้อยละ 20 เท่านั้น หลักการนี้จึงเป็นคำตอบว่าทำไมคุณควรพยายามทำงานให้เสร็จภายในขอบเขตความเชี่ยวชาญของคุณ และกระจายงานอื่นๆ ไปยังผู้เชี่ยวชาญคนอื่น 3. เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับเสมอ บางคนอาจจัดลำดับความสำคัญของงานโดยพิจารณาจากตำแหน่งหรือระดับความสัมพันธ์ของผู้ร้องขอ โดยเฉพาะหากผู้ร้องขอมีตำแหน่งสูงในองค์กร ลำดับความสำคัญของงานมักมีความสำคัญมากขึ้น หรือบางคนอาจให้ความสำคัญกับงานที่ใกล้ครบวันกำหนดส่งมากกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทำให้คุณไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีกับงานที่สำคัญได้ เพราะฉะนั้นคุณควรเปรียบเทียบเป้าหมาย ประเมินงานและเวลาของคุณก่อนรับงานเสมอ โดยหนึ่งในเมทริกซ์ที่ช่วยให้คุณทำ Priority Management ได้สะดวกยิ่งขึ้นคือ Eisenhower Matrix Eisenhower Matrix ตัวช่วยบริหารเวลา แก้ปัญหางานเร่งงานด่วน Eisenhower Matrix คือ เครื่องมือง่ายๆ ที่ช่วยจัดลำดับความสำคัญงานในแต่ละวัน โดยพิจารณาจากความเร่งด่วน ทำให้คุณสามารถพิจารณาผลลัพธ์ระยะยาวของงานประจำวัน สามารถแยกแยะงานที่สำคัญและงานไม่สำคัญออกอย่างชัดเจน และมุ่งเน้นไปยังงานที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ เพื่อให้คุณรู้ว่างานแบบไหนคุ้มค่าที่จะเริ่มทำทันที งานแบบไหนควรจัดสรรเวลามาทำ หรืองานแบบไหนทำทีหลังได้ ด้วยประโยชน์ในเรื่องการบริหารเวลาและการจัดลำดับความสำคัญทำให้ Eisenhower Matrix กลายเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ผู้บริหารและหัวหน้างานนำมาปรับใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้การทำ Priority Management มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย Eisenhower Matrix ถูกแบ่งตามหมวดหมู่งาน 4 ประเภทดังนี้ 1. Do it now: งานเร่งด่วนและสำคัญ งานประเภทนี้มักเป็นงานที่ต้องทำทันที งานที่ต้องทำภายในวันเดียวหรือไม่เกินวันถัดไป...
February 1, 2023
2 mins read
Co-working Space เป็นพื้นที่ทำงานรูปแบบใหม่ที่สร้างมาเพื่อการทำงานโดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันความนิยมในการใช้บริการ Co-working Space ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองกับรูปแบบการทำงานที่กลายเป็น Remote Working ภายหลังสถานการณ์โควิท-19 มากขึ้น นอกจากนี้การทำงานใน Co-working Space ยังมีข้อดีในหลายด้านซึ่งสถานที่ทำงานรูปแบบอื่นไม่สามารถทำได้ Table of Contents Co-working Space กับเทรนด์การทำงานในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่า Co-working Space เป็นพื้นที่ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการทำงานที่ครบครัน ซึ่งมักตั้งอยู่บริเวณแนวรถไฟฟ้าหรือแหล่งชุมชนที่สะดวกต่อการเดินทาง โดยผู้ที่มาใช้บริการ Co-working Space มีทั้งบุคคลทั่วไป บริษัท Start-up จนไปถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฯลฯ ซึ่งการสำรวจของ Upwork พบว่าแม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิท-19 จะจบลงแล้ว บริษัทกว่า 61.9% ยังคงต้องการที่จะสนับสนุนให้มีการทำงานจากที่ไหนก็ได้เพิ่มขึ้นต่อไป ส่งผลให้จำนวน Remote Workers มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทรนด์รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปนี้ ส่งผลให้ Co-working Space เป็นมากกว่าสถานที่นั่งทำงานสำหรับทุกคน ด้วย 7 ข้อดีของการทำงานที่ Co-working Space สำหรับ Remote Workers! 7 ข้อดีของการทำงานที่ Co-Working Space 1. สร้างแรงบันดาลใจจากบรรยากาศการทำงานที่แตกต่าง การเปลี่ยนบรรยากาศในการทำงานไปอยู่ในพื้นที่ใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับการทำงาน นอกจากจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานได้จริงแล้ว การสำรวจของ GCUC ยังพบว่า 84% ของผู้ทำงานรู้สึกมีแรงกระตุ้นในการทำงานมากยิ่งขึ้นเมื่อทำงานใน Co-working Space อีกด้วย เพราะการทำงานที่ Co-working Space ลดสิ่งยั่วยุต่างๆ ที่อาจดึงความสนใจไปจากการทำงาน ทำให้ผู้ทำงานสามารถโฟกัสกับสิ่งที่กำลังทำได้มากกว่าการทำงานใน Home Office 2. มีโอกาสได้พบผู้คนใหม่ๆ ซึ่งมีความสนใจเดียวกัน การมาทำงานที่ Co-working Space นอกจากจะช่วยให้ไม่เหงาแล้ว ยังช่วยให้มีโอกาสพบกับคนที่หลากหลาย เพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้คนที่มีความเชี่ยวชาญและแนวคิดที่แตกต่างทั้งภายในและนอกอุตสาหกรรม โดยการสำรวจของ Smallbiz พบว่ากว่า 82% ของผู้ตอบแบบสอบถามมี Professional Network เพิ่มขึ้นหลังจากการใช้งาน Co-working Space นี่จึงเป็นหนึ่งวิธีการเพิ่มคอนเน็กชันทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการ Start up และ SME นิยมใช้ 3. สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานที่ครบครัน แม้ว่า Remote workers จะทำงานจากสถานที่ใดก็ได้ แต่การมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับการทำงานอย่างครบครันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ การทำงานที่ Co-working Space มักจะมีโต๊ะและเก้าอี้ที่มีความสูงเหมาะกับการนั่งทำงาน รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น เครื่องปริ้นท์เอกสาร ปลั๊กไฟและสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทำให้ที่ Co-working Space สนับสนุนการทำงานได้ดีกว่าร้านกาแฟ ซึ่งบางสถานที่อาจถึงขั้นมีห้องประชุมแยกและเครื่องมือขั้นสูงอย่าง 3D model printer จัดไว้ให้บริการเพื่อความสะดวกทีเดียว 4. อาหารและเครื่องดื่มพร้อมให้บริการ Co-working Space ส่วนมากจะจัดหาอาหารและเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ น้ำดื่มและขนมไว้จำหน่ายหรือบริการภายในร้านเพื่อความสะดวกของผู้ทำงาน แต่ด้วยทำเลซึ่งสามารถเดินทางได้สะดวก ทำให้บริเวณโดยรอบ Co-working Space จะมีแนวโน้มที่จะมีร้านอาหารและร้านค้าต่างๆ สูง Remote Workers จึงไม่ต้องกังวลว่าจะขาดอาหาร ของว่างแก้หิวหรือกาแฟง่วงระหว่างวันเลย 5. ราคาถูกกว่าเช่าออฟฟิศรายเดือน ค่าเช่าออฟฟิศรายเดือนในย่าน CBD (Central Business District) ของกรุงเทพฯ ที่ทั้งเดินทางได้สะดวกและอยู่ใน สภาพดี มีค่าเฉลี่ยสูงถึง 810 บาท/ตร.ม. ประกอบกับข้อมูลค่าเฉลี่ยของความกว้างพื้นที่ทำงานที่เหมาะสมคือ 1:10 นั่นหมายความว่าหนักงาน 1 คนมีค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่ราวๆ 8,100 บาท ในขณะที่ค่าเช่า Co-working Space แบบรายเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 3,000 บาทเท่านั้น 6. ไม่ผูกมัด ทำให้เปลี่ยนสถานที่ได้อย่างยืดหยุ่น การเช่าออฟฟิศรายเดือนมีข้อกำหนดซับซ้อนและผูกมัดผู้เช่าหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ค่ามัดจำ ระยะเวลาในการเช่า จนไปถึงค่าปรับต่างๆ ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ส่งผลให้ผู้เช่าไม่สามารถเปลี่ยนสถานที่ทำงานตามความต้องการส่วนบุคคลได้เมื่อต้องการ แต่ Co-working Space ที่มีตัวเลือกในการทำสัญญาที่หลากหลาย คือมีทั้งการใช้บริการรายวันที่ไม่ผูกมัดจนไปถึงการทำสัญญาระยะยาว ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเปลี่ยนสถานที่ทำงานได้อย่างยืดหยุ่น 7. แบ่งพื้นที่ทำงานและพักผ่อนได้อย่างชัดเจน การสำรวจของ Microsoft ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของคนในประเทศสหราชอาณาจักรพบว่ากว่า 86% ของผู้ WFH มีปัญหากับการแบ่งแยกระหว่างเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว ซึ่งการแบ่งพื้นที่ทำงานและพื้นที่พักผ่อนออกจากกันให้ชัดเจนก็เป็นหนึ่งวิธีที่ได้รับการแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยการทำงานที่ Co-working Space ก็เป็นหนึ่งตัวเลือกที่ดีต่อการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ในการทำงานและการพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพ สรุป สำหรับ Remote Workers แล้ว การทำงานที่ Co-working Space ก็เป็นหนึ่งตัวเลือกที่มีข้อดีหลากหลายซึ่งตอบโจทย์ชีวิตการทำงานที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน โดยสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สนับสนุนการทำงานรูปแบบ Remote Work ได้เป็นอย่างดี โดย True VROOM ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสนับสนุนการทำงานระยะไกลที่ครบครัน ช่วยให้คุณสามารถสร้างการประชุมออนไลน์ได้จากทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือ Co-working Space! มาพร้อมกับฟังก์ชันต่างๆ ครบครัน รองรับผู้คนจำนวนมาก เพื่อให้งานของคุณดำเนินต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุด เต็มประสิทธิภาพ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM อ้างอิง Squaretalk flexas.com DropDesk Brand...
February 1, 2023
2 mins read
Company Culture คือหนึ่งในรากฐานสำคัญที่ช่วยให้บริษัทสามารถอยู่ได้ในระยะยาว การมีวัฒนธรรมที่ดีนอกจากจะเสริมสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในบริษัท ยังช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขอีกด้วย และสิ่งที่น่าสนใจคือนอกจากจะส่งผลกับสภาพภายในองค์กรแล้ว การมี Company Culture ที่ดียังส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงานที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นด้วย Table of Contents อะไรคือ Company Culture Company Culture หรือ วัฒนธรรมองค์กร คือ แนวทาง ระบบ ระเบียบ ไปจนถึงพฤติกรรมของคนในองค์กรที่หล่อหลอมกันจนเป็นความคุ้นชิน และกลายเป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจขององค์กรนั้นๆ และแน่นอนว่าวัฒนธรรมองค์กรมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ ตามทัศนคติของผู้บริหารไปจนถึงการกระทำของคนในองค์กร เราจึงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากมายขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง และในขณะเดียวกันก็มีองค์กรที่แทบไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดหาก Company Culture มีความแข็งแรง หรือเชื่อมโยงกับสิ่งที่เป็นกฎเกณฑ์ขององค์กรดังกล่าว Company Culture ส่งผลอย่างไรต่อ Employee Productivity Company Culture เปรียบเสมือนรากฐานในการทำงานที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมไปยัง Employee Productivity (ผลิตภาพของพนักงาน) ขึ้นอยู่กับว่า Culture ดังกล่าวเป็นอย่างไร เช่น หาก Company Culture สนับสนุนการแสดงออกภายในบริษัท ก็มีแนวโน้มที่พนักงานจะนำเสนอสิ่งต่างๆ หรือมุมมองใหม่ๆ ตามแบบฉบับของตนเองมากขึ้น แต่ถ้า Culture ของบริษัทดังกล่าวเน้นการสั่งการแบบทางเดียว ก็จะปิดโอกาสในการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ เน้นให้พนักงานทำตามคำสั่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีความเหมาะสมแตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท การวางแผนสร้าง Employee Productivity ให้ดียิ่งขึ้น ก็เปรียบเสมือนการผลักดัน Performance ของพนักงานให้ก้าวหน้ามากขึ้น ในส่วนนี้จึงเป็นหน้าที่ของฝั่งองค์กรด้วยที่ต้องเตรียม Company Culture เพื่อสนับสนุนการทำงานในระยะยยาว ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมองค์ความรู้ ความสะดวกในการทำงาน หรือแม้แต่ความสุขของพนักงาน ผลสำรวจจาก Gallup ในช่วงปี 2017 พบว่าพนักงานที่มีความสุขจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนำเสนอ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นว่าการสร้าง Culture ที่ส่งผลถึงความสุขโดยรวมของพนักงานเกิดขึ้นมาสักพักใหญ่แล้ว Company Culture ที่ดียังส่งผลอะไรอีกบ้าง ? แน่นอนว่ามีหลายข้อด้วยกัน ดังนี้ ความสำคัญด้านต่างๆ ของวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 1. พนักงานมีความภักดีกับองค์กร การที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีนอกจากจะเป็นการสร้างบรรยากาศและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแล้ว ผลที่ได้ตามมาคือพนักงานที่มีความสุข เกิดความรัก ความภักดีกับองค์กรมากขึ้น และแน่นอนว่าความรักความชอบเหล่านี้ส่งผลโดยตรงกับจำนวนพนักงาน และอาจทำให้พนักงานอยู่กับบริษัทยาวนานขึ้น 2. สร้างการเติบโตให้กับบริษัท ดังที่ผลสำรวจของ Gallup ช่วงปี 2017 กล่าวไว้ข้างต้น คือพนักงานที่มีความสุขจะช่วยทำให้ความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพการนำเสนอดี แน่นอนว่ามันก็จะส่งผลให้บริษัทเติบโตได้มากยิ่งขึ้น ยิ่งพนักงานมีความภักดีด้วยแล้วยิ่งลดอัตราการลาออกของพนักงานได้ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก 3. ส่งผลดีต่อใจบริการต่อลูกค้า Company Culture ที่ดีไม่เพียงส่งผลดีต่อพนักงานเท่านั้น แต่จะทำให้พนักงานเหล่านั้นมีความรักความเข้าใจในงาน และมีความยินดีที่จะส่งต่อผลิตภัณฑ์และบริการดีๆ สร้าง Customer Experience ที่ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย การสร้าง Company Culture อย่างมีคุณภาพ วัฒนธรรมองค์กรสร้างได้ ขอเพียงแค่ผู้บริหารและคนในองค์กรมีความใส่ใจ ซึ่งในแต่ละองค์กรล้วนมีจุดมุ่งหมายและบุคลากรที่ต่างกัน เราจึงนำวิธีการสร้าง Company Culture แบบกว้างๆ มานำเสนอเพื่อให้การสร้าง Company Culture ของคุณเป็นระเบียบและทรงประสิทธิภาพมากขึ้น 1. ประเมินองค์ประกอบต่างๆ ขององค์กร ตรวจสอบองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นหากมีการตั้งหรือปรับเปลี่ยน Company Culture โดยมีตัวอย่างดังนี้ วิสัยทัศน์องค์กร กฎเกณฑ์ต่างๆ ภายองค์กร บุคลากรภายในองค์กร รูปแบบการทำงาน เนื่องจาก Company Culture เป็นสิ่งละเอียดอ่อนและมีความลึกซึ้ง ดังนั้นการสร้าง Company Culture ที่ดีที่สุดคือการเข้าใจบุคลกรและส่วนต่างๆ เป็นอย่างดี แล้วค่อยให้วัฒนธรรมต่างๆ ฝังรากลึกลงไป จะดีกว่าการตั้งกฎหรือบีบบังคับในการทำสิ่งต่างๆ 2. พูดคุยสอบถามกับบุคลากรต่างๆ เนื่องจากการวาง หรือเปลี่ยนแปลง Company Culture จะส่งผลกับคนทั้งองค์กร ดังนั้นนอกจากการสังเกต ควรสอบถามจากคนในองค์กรโดยตรง ถึงความต้องการ วิสัยทัศน์ หรือสิ่งที่อยากให้เปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น 3. วางโครงสร้าง Company Culture เบื้องต้น นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์และวางโครงสร้าง Company Culture ของคุณ โดยเฉพาะในส่วนของกฎเกณฑ์ และสิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติ เช่น การเข้าร่วมประชุมก่อนเวลา การจดบันทึกการประชุม แนวทางการคุยกับลูกค้า หรือแม้แต่แนวทางการสังสรรค์ขององค์กร ซึ่งแน่นอนว่าอะไรที่ยืดหยุ่นได้ หรือเป็นส่วนการสันทนาการอาจละไว้ แล้วค่อยๆ สอดแทรกไปในกิจกรรมต่างๆ เพื่อหล่อหลอมคนในบริษัทแทน 4. ประกาศ Company Culture ดำเนินการประกาศ Company Culture ที่เป็นส่วนใหญ่ หรือสำคัญ เช่นสิ่งที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ เวลา หรือสิ่งใดก็ตามที่กระทบกับบุคลากรภายในองค์กร 5. ติดตามผล สำรวจและติดตามผลของการมี Company Culture ตามที่ระบุไปเป็นระยะๆ เพื่อทำให้รู้ว่าได้ผลลัพธ์อย่างไร และหากมีปัญหาต้องแก้ไขตรงไหน เพื่อให้วัฒนธรรมบริษัทที่ได้มีความแข็งแรง และเป็นพลังงานบวกให้แก่คนในองค์กรมากที่สุด ตัวอย่างการสร้าง Company Culture ที่น่าสนใจ 1. Microsoft Culture ของ Microsoft ให้ความสำคัญกับ Growth Mindset อย่างมาก โดยเน้นการกระตุ้นให้บุคลากรในที่ทำงานมีความสนใจในการทำเรื่องใหม่เสมอๆ รวมถึงการสร้างความแตกต่างให้ออกมาในแต่ละผลงาน และในขณะเดียวกันก็ผลักดันบุคลากรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญกว่าคือพนักงานต้องเข้าถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี โดยทางบริษัทจะมีการแชร์ความรู้ต่างๆ ผ่านวิดีโอคอลและ Town...
January 25, 2023
2 mins read
การทำงานที่บ้านหรือ Work from Home เป็นหนึ่งในวิธีการทำงานยอดนิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่การจราจรไม่ค่อยเอื้ออำนวยเท่าใดนัก ทว่าสิ่งที่ตามมาคือ การทำงานที่บ้านอาจทำให้เกิดความห่างเหินของพนักงานได้ง่าย การนำเทคโนโลยี Virtual Workplace มาประยุกต์ใช้นอกจากจะทำให้งานมีสีสันมากขึ้น ยังช่วยให้พนักงานของคุณใกล้ชิดกันง่ายขึ้นอีกด้วย รู้จักกับ Virtual Workplace Virtual Workplace คือ ที่ทำงานเสมือนที่มีความสามารถทุกอย่างใกล้เคียงกับการทำงานออฟฟิศจริงๆ เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานสนทนา พรีเซนต์ และทดลองทำสิ่งต่างๆ ผ่านฟังก์ชันต่างๆ เพื่อทำให้การทำงานออนไลน์นั้นสมบูรณ์แบบที่สุด นอกจากการทำงานออนไลน์ผ่านโปรแกรมต่างๆ Virtual Workplace ยังมีอีกหนึ่งความหมาย คือ การเปิดสถานที่ทำงานที่ไม่มีโต๊ะนั่งตายตัว ทุกคนสามารถเข้ามาทำงานโดยล็อกอินจากอุปกรณ์ตรงจุดไหนก็ได้ ทำให้พนักงานไม่จำเป็นต้องมาที่บริษัทพร้อมกันทุกคน แต่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยในบทความนี้เราจะเน้นการพูดถึง Virtual Office แบบแรกที่เป็นการทำงานออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเป็นหลัก Table of Contents ข้อดีของ Virtual Workplace 1. เข้าถึงที่ทำงานได้ง่าย การทำงานด้วย Virtual Workplace จะเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหน เมื่อไร ก็ได้ ขอแค่มีการบริหารจัดการเวลา และระบบการทำงานได้ดีพอ ซึ่ง Virtual Workplace ในปัจจุบันมีการจัดสรรแบ่งห้องให้ทุกคนสามารถพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น แชร์ไฟล์หรือหน้าจอได้สะดวก พร้อมฟังก์ชันมากมายที่น่าสนใจ 2. เพิ่มความใกล้ชิดให้คนในทีม การมี Virtual Workplace เปรียบเสมือนการที่ให้คนในทีมของคุณเข้ามารวมตัวกันโดยมีโลกเสมือนเป็นจุดศูนย์กลาง ช่วยกลบจุดอ่อนของการทำงานออนไลน์ที่ผู้คนไม่สื่อสารกันได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อผู้คนออนไลน์พร้อมๆ ย่อมมีแนวโน้มที่คนเหล่านั้นจะพูดคุย ปรึกษาหารือกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องอื่นๆ เพิ่มความสนิทชิดเชื้อที่อาจหาได้ยากหากทำงานและนัดประชุมเป็นครั้งๆ 3. สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่าย Virtual Workplace ไม่ได้เป็นแค่สถานที่สำหรับประชุมงาน แต่ยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้มากมายไม่ว่าคุณจะเปิดกล้องหรือปิดกล้อง เช่น Gather.town ที่ทำ Virtual Workplace ในรูปแบบเกม RPG ที่เรามีตัวละครเสมือนเพื่อให้พูดคุยกับคนอื่นๆ และสามารถเล่นเกมต่างๆ ร่วมกันได้อีกด้วย ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้ Virtual Workplace 1. องค์กรที่ทำงานแบบ Work from Home 100% การทำงานที่บ้านแบบ 100% อาจทำให้คนในองค์กรนั้นห่างเหิน ไม่รู้จักกัน รวมถึงสามารถกำหนด แจกจ่ายงาน ไปจนถึงสร้างวัฒนธรรมองค์กรต่างๆ ได้ยาก การใช้งาน Virtual Workplace จะช่วยแก้ไขปัญหาส่วนนี้ได้ง่ายขึ้น ด้วยการเปลี่ยนทุกอย่างเข้าสู่โลกเสมือน ทำให้ผู้คนมารวมตัวกันได้สะดวกยิ่งขึ้น 2. ทีมที่ทำงานแบบ Hybrid Work แม้ว่าจะไม่ได้เป็นการทำงานออนไลน์แบบ 100% แต่สำหรับทีมที่ทำงานแบบ Hybrid Work เองก็เหมาะสำหรับที่จะใช้งาน Virtual Workplace เช่นเดียวกัน เนื่องจากจะทำให้คนทั้งบริษัทสามารถทำงานได้เสมือนนั่งอยู่ในที่ทำงานเดียวกัน 3. พนักงาน Freelance สำหรับสายงาน Freelance เองก็สามารถเข้าร่วมใช้งาน Virtual Workplace ได้ และอาจจะดีกว่าที่คิดด้วย เนื่องจากคนทำงานสามารถติดต่อประสานงานกับบุคลากรต่างๆ ในบริษัทได้อย่างรวดเร็ว สามารถสอบถามความเห็นและแนวทางต่างๆ ได้ง่าย สำหรับ Virtual Workplace บางแห่งยังช่วยในการติดตามงาน วางตารางการทำงานอย่างละเอียด ทำให้งานสาย Freelance สามารถทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างของ Virtual Workplace True VWORK เป็นหนึ่งใน Virtual Workplace ที่น่าสนใจสำหรับการทำงานแบบ Work from Home และ Work from Anywhere อย่างมาก เนื่องจากมีฟังก์ชันพื้นฐานต่างๆ ครบถ้วน เหมาะสำหรับการทำงาน โดยมีการทำงานเบื้องต้นดังนี้ การจัดสรรสารบบพนักงาน การบริหารจัดการงาน ศูนย์กลางการติดต่อสื่อสาร อนุมัติเอกสารออนไลน์ แบบฟอร์มออนไลน์ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ เช็กอินเข้างาน ฟังก์ชันต่างๆ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานจากที่ไหน เมื่อไรก็ได้ ด้วยระบบออนไลน์คุณภาพจาก True ทำให้ VWORK เป็นแพลตฟอร์มทำงานที่ช่วยผลักดันองค์กรของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สรุป Virtual Workplace เป็นตัวเลือกการทำงานยุคใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพมาก ที่จะช่วยให้คนในบริษัทของคุณสามารถติดต่อสื่อสารได้ง่าย และใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเต็มเวลา พาร์ทไทม์ หรือฟรีแลนซ์ก็สามารถใช้งานได้ True VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มการทำงานคุณภาพสูงจาก True ที่จะช่วยให้การทำงานของคุณง่าย ไม่มีสะดุด พร้อมฟังก์ชันช่วยเหลือต่างๆ อีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK อ้างอิง Kumospace Techsaurce tandem
January 25, 2023
2 mins read
การพรีเซนต์งานที่ดีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความน่าสนใจให้กับผลงาน เพราะการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เป็นแค่การบอกเนื้อหาที่อยากสื่อเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับงานและสามารถโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณนำเสนอได้เป็นอย่างมาก แม้จะไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาพร้อมกับความมั่นใจในการสื่อสาร แต่ทักษะการพรีเซนต์งานอย่างมืออาชีพเป็นเรื่องที่สามารถสร้างได้ ด้วย 5 เคล็ดลับพรีเซนต์งานที่จะช่วยให้คุณมั่นใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น! Table of Contents เคล็ดลับพรีเซนต์งานที่คุณควรรู้ 1. เปิดตัวให้น่าสนใจและเข้าใจง่าย Vanessa Van Edwards นักวิจัยจาก Science of People ได้ให้ความเห็นว่า ความประทับใจแรกเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยในการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังเป็นอย่างมาก ช่วงเวลาเพียง 7 วินาทีหลังจากที่พบหน้ากันอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในความสำเร็จและความล้มเหลวได้เลยทีเดียว การเลือกการเปิดตัวที่มีความโดดเด่น กล่าวประโยคที่เข้าใจได้ง่าย ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ฟัง โดยคุณอาจเริ่มง่ายๆ เช่น การยกคำพูดของคนดังที่กลุ่มผู้ฟังส่วนมากอาจรู้จัก หรือเปิดด้วยประโยคคำถาม ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ และสร้างอารมณ์ร่วมก่อนการแสดงผลงาน เป็นอีกหนึ่งในวิธีที่ดีในการพรีเซนต์ นอกเหนือจากนั้นคุณควรมี Agenda การพูดให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าพวกเขากำลังจะได้รับฟังอะไร หรืออย่างน้อยๆ ตัวคุณเองจะได้รู้ว่าต้องพูดอะไร และจบตรงไหน เพื่อให้การพรีเซนต์ทั้งหมดมีประสิทธิภาพ 2. สื่อสารด้วยภาพ การพรีเซนต์งานไม่ได้เป็นการขึ้นแสดงเดี่ยวไมโครโฟนที่เน้นผู้พูดเป็นหลัก หากแต่เป็นการนำเสนอสิ่งที่ต้องการด้วยวิธีการต่างๆ มากมายโดยคาดหวังว่าผู้ฟังจะได้บางสิ่งบางอย่างกลับไป ดังนั้นภาพ หรือสไลด์ประกอบย่อมเป็นสิ่งจำเป็น สไลด์ที่ดีควรเป็นเพียงองค์ประกอบเสริมที่ช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพและนึกตามได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่จุดดึงความสนใจ การใช้ภาพประกอบที่สามารถสื่อความหมายให้ตรงกับเรื่องที่คุณต้องการสื่อสารในแต่ละบูลเล็ทจึงเป็นหนึ่งวิธีที่จะตรึงใจผู้ฟังให้จดจำเนื้อหาที่คุณพูดได้มากกว่า เรื่องดังกล่าวสอดคล้องกับการทดสอบความจำมนุษย์ของนักชีววิทยาระดับโมเลกุลอย่าง John Medina ที่เผยว่าการสื่อสารด้วยรูปภาพสามารถเพิ่มความสามารถในการจดจำเนื้อหาให้กับผู้ฟังได้มากกว่าการใช้ตัวอักษรสูงถึง 65% ทำให้เห็นชัดว่าการมีภาพประกอบที่เหมาะสมสำคัญกว่าการอัดเนื้อหาเยอะๆ ลงในสไลด์ 3. ใช้โทนเสียงที่เหมาะสม การใช้โทนเสียงสูงต่ำที่มีความแตกต่างกันและการเว้นจังหวะเพื่อเน้นความสำคัญของข้อความคือวิธีใช้เสียงที่มีพลังในการโน้มน้าวใจคนฟังอย่างแท้จริง โดยศาสตราจารย์ด้านการตลาดอย่าง Wharton และ Jonah Berger ได้เผยว่าผู้ที่ใช้ระดับโทนเสียงที่แตกต่างกันในการพูดจะมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ทำให้สามารถนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าการควบคุมโทนเสียงในช่วงเวลาที่ตื่นเต้นจะม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณสามารถควบคุมน้ำเสียงให้มีความเหมาะสมได้ด้วยการฝึกควบคุมลมหายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อเรียกพลังและกล้าที่จะพูดออกไปอย่างเต็มที่ 4. ภาษากายที่มั่นใจและเป็นธรรมชาติ ภาษากายคือสิ่งแรกที่ผู้ฟังสามารถสังเกตเห็นได้จากผู้นำเสนอ ซึ่งการแสดงออกถึงความมั่นใจในสิ่งที่พูดจะช่วยเสริมสร้างบุคลิคภาพที่ดีและเป็นมืออาชีพให้ผู้พูดได้เป็นอย่างมาก วิธีการสื่อสารภาษากายที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือนั้นได้แก่ ท่าทางการยืน ก่อนการนำเสนอ ท่าทางการยืนที่มั่นคงสามารถช่วยลดความวิตกกังวลผ่านการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน Testosterone คือ การวางมือไว้ที่ด้านข้างของสะโพก เชิดคางและยืดอกขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำเสนอมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ระหว่างการนำเสนอ ท่าทางการยืนที่ดีจะช่วยให้ผู้พูดดูผ่าเผยอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคือ การยืนตรง หน้าอกผายและไหล่ผึ่ง ที่แสดงถึงความมั่นใจ ตั้งใจ และเป็นจุดดึงสายตาของผู้คนได้ดี สีหน้าและการสบตา การเลือกใช้สีหน้าให้สอดคล้องกับ Mood&Tone ของเรื่องที่นำเสนอควบคู่ไปกับการใช้ Eye Contact เพื่อสื่อสารความรู้สึก ความเชื่อมั่นและพลังในตัวคุณให้กับผู้ฟังเป็นวิธีการสื่อสารที่เป็นธรรมชาติ โดยคุณสามารถใช้การมองกวาดทั่วห้องและสลับกับการมองผู้ฟังเป็นรายคนประมาณคนละ 3-5 วินาทีเพื่อสร้างการสื่อสารอารมณ์ให้ดูเป็นธรรมชาติ วิธีการวางมือ การวางมือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของการสร้างบุคลิคภาพที่ดี ซึ่งวิธีการวางมือระหว่างพรีเซนต์ที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้พูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ ได้แก่ การแบมือทั้งสองข้าง การวางมือไว้บริเวณหน้าท้อง การใช้มือนับเลขและการผายมือให้เหมาะกับเนื้อหาและจังหวะการพูด 5. ฝึกฝนและพัฒนาซ้ำๆ การฝึกฝนซ้ำๆ จะช่วยสร้างความมั่นใจและความคุ้นเคยให้กับร่างกายของคุณ ทั้งในด้านของการจดจำเนื้อหาและความทรงจำของกล้ามเนื้อ ซึ่งความคุ้นช่วยให้การพูดของคุณเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การฝึกฝนผ่านการจำลองสถานการณ์นำเสนอจริงกับคนจริงๆ หรือการอัดวิดิโอยังช่วยให้ผู้พูดทราบแนวทางการพัฒนาทักษะการพูดจากมุมมองที่แตกต่างแต่เป็นตัวเองได้อีกด้วย สรุป การพรีเซนต์งานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจจะช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับคุณได้เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องห้ามลืมคือการที่ดีเนื้อหาการพรีเซนต์ที่น่าสนใจเพื่อทำให้ดึงดูดผู้คนได้มากยิ่งขึ้น และแน่นอนว่าการพรีเซน์งานที่ดีต้องมีตัวช่วยเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม การนำเสนองานผ่าน True VROOM ห้องประชุมออนไลน์ยุคใหม่ฝีมือคนไทย จะช่วยให้คุณสามารถนำเสนองานได้อย่างราบรื่นไม่มีสะดุด ด้วยฟังก์ชันช่วยงานที่หลากหลาย รองรับคนจำนวนมาก ทำให้คุณสามารถสร้างการพรีเซนต์ที่มีคุณภาพในแบบของคุณเองได้อย่างแน่นอน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM อ้างอิง Mission to the Moon JobsDB Techsaurce-Connext Mudium.com