Articles
ในโลกยุคโควิดที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและรักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้การติดต่อสื่อสารหรือการทำงานร่วมกันมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพกายและสุขภาพใจที่น่ากลัวเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบ Work From Home ที่ทำให้พนักงานไม่สามารถแยกชีวิตระหว่างบ้านและที่ทำงานออกจากกันได้ จนก่อให้เกิดความเครียดสะสม และภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) หรือการขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงานก็อาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น Metaverse จึงเข้ามามีบทบาทในการแบ่งแยกชีวิตที่บ้านและที่ทำงานอย่างชัดเจน ช่วยทำลายกำแพงการสื่อสารระหว่างคุณกับเพื่อร่วมงาน รวมไปถึงช่วยเสกให้ไอเดียใหม่ๆ ของคุณกลายเป็นจริงในโลกเสมือนจริงได้อีกด้วย แล้ว Metaverse คืออะไร? จะมาช่วยเปลี่ยนอนาคตของโลกการทำงานได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ Table of Contents Metaverse คืออะไร? Metaverse คือ โลกเสมือนจริง (Virtual World) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งปัน โต้ตอบ และการแสดงปฏิสัมพันธ์ต่างๆ อย่างไร้รอยต่อของผู้คนทั่วโลก ทั้งการเล่นเกม การทำงาน การสร้าง-ซื้อ-ขายสินทรัพย์เสมือน และการพูดคุยหรือแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ โดยทั้งหมดสามารถทำได้ผ่าน "อวตาร" เสมือนจริง หากยังเห็นภาพไม่ชัดเจนคุณอาจลองนึกถึง Minecraft เกมแนวโลกเสมือนจริงขวัญใจผู้เล่นทั่วโลก การันตีด้วยด้วยยอดผู้เล่นมากถึง 100 ล้านบัญชีต่อเดือน ที่ผู้เล่นสามารถจำลองอวตารของตัวเอง และเลือกทำในสิ่งที่ผู้เล่นต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจโลก 3 มิติที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้ขีดจำกัด การค้นหาและเก็บเกี่ยววัตถุดิบเพื่อคราฟต์ไอเทม การสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ การตะลุยด่านหรือแข่งขันกับอวตารคนอื่น และเนื่องจากตัวเกมไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ Minecraft เป็นเกมที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นอย่างไม่จำกัด รวมไปถึงอิสระในการดัดแปลงระบบเกมอีกด้วย หรือจะเป็น Bondee แอปโซเชียลมีเดียที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ซึ่งภายในแอปจะนำเสนอ Metaverse ในแง่ของการสร้างปฏิสัมพันธ์ และจำลองการใช้ชีวิตร่วมกันกับเพื่อน โดยสามารถสร้างอวตารที่สื่อถึงตัวตนของผู้เล่น สร้างบ้านเพื่อให้เพื่อนมาเยี่ยมชม สร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วยการกดเพิ่มเพื่อน แชท แชร์สถานะ ส่งรูปภาพ และแชร์สตอรี่ นอกจากนี้ยังสามารถหาเพื่อนใหม่ด้วยการทิ้งข้อความไว้ในขวดกลางทะเล ให้ผู้เล่นคนอื่นที่เก็บขวดได้ทำความรู้จักคุณ จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า Metaverse สามารถเชื่อมต่อโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกดิจิทัลได้อย่างไร้รอยต่อ และเป็นเทคโนโลยีที่ผู้คนยอมรับและใช้อย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่องค์กรต่างๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทในโลก Metaverse รวมไปถึงการนำ Metaverse ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอีกด้วย เพราะฉะนั้นในส่วนถัดไปเราจะมาเจาะลึกโลกของการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปหลังจากนำ Metaverse เข้ามาพัฒนากัน 3 อนาคตของโลกการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนด้วย Metaverse 1. Work From Home จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไปด้วย Metaverse Metaverse ช่วยสร้างอวตารที่สามารถเลียนแบบประสบการณ์การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการพบปะและตอบโต้ระหว่างกันแบบเรียลไทม์ การกระทำระหว่างอวตารกับวัตถุดิจิทัล หรือการจัดประชุมในโลกเสมือนจริง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้โดยไม่รู้สึกเครียด นอกจากนี้อวตารของคุณจะสื่อถึงสถานะของคุณ เช่น พักกลางวัน อยู่ในที่ประชุม หรือติดธุระอื่น ทำให้คุณไม่ต้องกดดันตัวเองให้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาจากการทำงาน Work From Home Metaverse ยังช่วยให้สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้นจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานได้ดั่งใจอีกด้วย...
All articles
August 4, 2022
2 mins read
เมื่อพูดถึงการทำงานในยุคปัจจุบัน การเพิ่ม Productivity ให้กับตนเองกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ที่จะทำให้องค์กรเติบโตขึ้น แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าว และนี่คือ 7 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการสร้าง Productivity 1.เงินเดือนเป็นสิ่งที่สะท้อน Productivity Productivity เป็นเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และแน่นอนว่าย่อมมีเรื่องเงินเดือนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้พนักงานหรือแม้แต่ผู้บริหารองค์กรบางรายมองว่าเงินเดือนเป็นสิ่งที่สะท้อน Productivity ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกเสียทีเดียว เงินเดือนเป็นสิ่งที่มีการคำนวณจากปัจจัยต่างๆ มากมาย ทั้งตำแหน่งหน้าที่ ความคาดหวัง ไปจนถึงความสามารถ มีหลายกรณีที่พนักงานได้รับเงินเดือนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นแม้ว่าจะมี Performance ที่ดี การให้เงินเดือนสูงๆ จึงเป็นหนึ่งกลยุทธ์หลักในการรักษาไว้ซึ่งพนักงานที่มีความสามารถ แต่ไม่ว่าจะทำผลงานดีหรือไม่ พนักงานก็ยังคงได้รับเงินส่วนนี้เท่าเดิมเสมอ ดังนั้นจำนวนเงินเดือนจึงไม่ใช่เครื่องสะท้อน Productivity แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแรงจูงใจในการทำงานเท่านั้น 2.Multitasking คือวิธีการทำงานที่ดี หลายคนน่าจะคุ้นชินกับการ Multitasking หรือหมายถึงการทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน แต่จากการศึกษาของ University of London พบว่าการทำงานแบบ Multitasking ไม่ได้มีส่วนช่วยให้คุณสามารถทำงานได้เสร็จไวขึ้น เพราะการทำงานแบบนี้ยังสร้างประสิทธิผลน้อยกว่าการจดจ่ออยู่กับการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้การทำงานสลับไปมาหลายงานในเวลาเดียวกันยังมีส่วนในการทำลายความคิดสร้างสรรค์และ IQ ซึ่งเป็นขุมพลังสำคัญของการสร้าง Productivity ในการทำงานอีกด้วย Table of Contents 3.Productivity เป็นสิ่งที่วัดได้ยาก “คนนั้นทำงานเก่ง คนนี้ทำงานดี” คำพูดเหล่านี้ทำให้ Productivity หรือผลิตผลมักอยู่ในรูปของนามธรรมทำให้หลายคนคิดว่าการวัดระดับ Productivity ออกมาเป็นรูปธรรมเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้อย่างเสมอภาค เพราะแต่ละตำแหน่งงานก็มีหน้าที่ สภาวะแวดล้อมและทักษะที่ใช้ในการทำงานซึ่งแตกต่างกัน โดยในความจริงแล้ว การวัด Productivity เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ไม่ยากด้วยมาตราฐานการวัด Productivity แบบต่างๆ ผ่านการใช้กรอบแนวคิดที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น MBO KPI หรือ OKR ก็ล้วนเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะในการทำงานทั้งสิ้น 4.คนเก่งต้องทำงานเองคนเดียว คนเก่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทุกบริษัทต้องการ แต่การเป็นคนเก่งที่ทำงานคนเดียวเท่านั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ตอบสนองต่อแนวคิด Productivity ได้ดีนัก เพราะการทำงานด้วยตัวคนเดียวมีข้อจำกัดด้านภาระงานที่สามารถรับผิดชอบได้ การทำงานเป็นทีมจึงเป็นวิธีการทำงานที่ช่วยทลายข้อจำกัดในด้านของปริมาณภาระงานอันมากมายในโปรเจ็คใหญ่ๆ ซึ่งมักจะมีงานหลายประเภทและแต่ละงานก็เหมาะกับคนที่มีความถนัดแตกต่างกัน และการทำงานเป็นทีมยังช่วยพัฒนาทักษะในการบริหารความสัมพันธ์และการสื่อสาร ซึ่งต่างออกไปจากการทำงานเพียงคนเดียวอีกด้วย 5.คนทำงานเก่งไม่จำเป็นต้องแสดงออกเก่ง คุณเคยเจ็บใจหรือไม่เวลาเห็นคนทำงานไม่เก่งแต่มีทักษะการสื่อสารเป็นเลิศสามารถเสกงานแย่ๆ ให้กลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงได้ทันตาเห็น การแสดงออกเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจและประทับใจในงานของคุณมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากเป็นคนที่ทำงานเก่งแล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องต่อยอดคือทักษะการพรีเซนต์ การแสดงออกต่อหน้าผู้คน และการสื่อสารอย่างมีคุณภาพเพื่อเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จต่างๆ ในอนาคต 6.คนที่ทำงานมีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วย สำหรับการทำงานในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ทุกคนใช้เครื่องมือช่วยเหลือในการทำงานแล้ว การไม่ใช้งานเครื่องมือช่วยอาจจะลด Productivity ในการทำงานลง เพราะเครื่องมือเหล่านี้สามารถร่นระยะเวลาในการทำงานที่มีรูปแบบตายตัวหรืองานที่ต้องทำเป็นประจำลงได้เป็นอย่างมาก ซึ่งงานซ้ำๆ จำเจพวกนี้นี่แหละ ที่ทำให้คุณไม่มีเวลาในการสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆ ดังนั้นหากมีเครื่องมือช่วยงานที่เหมาะสมกับลักษณะงานหรือสามารถเชื่อมโยงไอเดียที่แตกต่างของคุณกับทีมได้ ก็อย่ารีรอที่จะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่ม Productivity ให้กับงานของคุณเลย 7.Productivity สำคัญที่สุดในการทำงาน แน่นอนว่า Productivity เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้งานของคุณออกมามีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามการบริหารคุณภาพชีวิตให้มีความสมดุลและสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบตัวเอาไว้ได้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะคุณภาพชีวิตที่ดี และการบริหารจัดการเวลาที่พอเหมาะจะส่งผลโดยตรงให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราดีขึ้น แน่นอนว่าสิ่งเหล่านั้นจะช่วยผลักดันคุณภาพการทำงาน ความสัมพันธ์ในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อทั้งตัวพนักงานและองค์กรในระยะยาวอีกด้วย สรุป แนวคิดการสร้าง Productivity ในแต่ละบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผลิตภาพของคนในบริษัทเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องถูกปูความเข้าใจตั้งแต่รากฐาน เพื่อทำให้เข้าใจภาพรวมตรงกันว่าเป้าหมายของบริษัทคืออะไร และทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ บุคลากรแต่ละคนจึงสามารถทำตนเองให้มี Productivity ได้อย่างเหมาะสมที่สุด แน่นอนว่าเครื่องมือเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน การมีตัวช่วยที่ดีสำหรับประชุมงานและการสื่อสารภายในทีมที่มีประสิทธิภาพจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เพิ่ม Productivity ในบริษัทได้อย่างชัดเจน ซึ่ง True VROOM เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของคุณได้มากขึ้น ตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ และทดลองใช้งานได้ฟรีที่ True VROOM
August 4, 2022
< 1 min read
ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน Happy Workplace คือสิ่งที่ทุกคนต้องการ นอกจากจะช่วยคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยังสามารถรักษาคนในทีมให้อยากทำงานกับเราไปนาน ๆ ได้อีกด้วย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากทำให้คนในทีมมีความสุข ลองทำตามวิธีนี้ดูสิ อาจได้ผลลัพธ์ที่ใช่ก็ได้! Table of Contents 1. เลือกจ้างคนที่อัธยาศัยดี เข้ากับคนในองค์กรได้สิ่งที่จะส่งเสริม Happy Workplace ให้คงที่ได้อย่างยาวนาน คือ การเลือกจ้างคนที่อัธยาศัยดีและเข้ากับคนในองค์กรได้ตั้งแต่แรก แต่ก็ต้องไม่มองข้ามความสามารถในการทำงานด้วย ในทางกลับกันหากเลือกจ้างคนที่เก่งที่สุดแต่ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ไม่หัวเราะหรือไม่มีท่าทีโต้ตอบที่เป็นมิตร ก็อาจสร้างบรรยากาศที่ไม่ดีให้กับคนในองค์กรถึงขั้นทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้เลย2. กระตุ้นให้คนในทีมพูดคุยหรือทักทายกันการทักทายกันเป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาอื่น ๆ ที่ช่วยสร้างความสนิทสนมได้ดียิ่งขึ้น และยังทำให้บรรยากาศในวันถัด ๆ ไปเป็นกันเองและผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้คนในทีมแฮปปี้กับการทำงาน ลองนึกภาพเวลาเราได้อยู่กับเพื่อนร่วมงานที่สนิทสนมและคุ้นเคยกันจะมีความสุขขนาดไหน 3. อย่าทำงาน 40+ ชั่วโมงทั้งสัปดาห์ ชวนกันทำกิจกรรมบ้างลองนึกภาพคนในทีมของคุณนั่งทำงานอย่างเดียววันละ 8 ชั่วโมงติดต่อกัน 5 วัน คงรู้สึกเครียดไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะ เพราะฉะนั้น ควรสร้าง Happy Workplace ด้วยการชวนกันทำกิจกรรมผ่อนคลายบ้าง จะเป็นการเล่นเกม ดูหนัง หรือสั่งอาหารมาทานด้วยกันก็ได้ เพียงแบ่งเวลาให้กับสิ่งเหล่านี้ไม่กี่ชั่วโมงในหนึ่งสัปดาห์ อาจช่วยให้พวกเขามีความสุขและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย4. แสดงออกว่าเราใส่ใจคนในทีมมากแค่ไหนEmpathy คือ ปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิด Happy Workplace จะรู้สึกดีแค่ไหนหากมีคนคอยเอาใจใส่และเข้าใจคุณเสมอไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น คนในทีมของคุณก็ต้องการสิ่งนั้นเช่นกัน เพราะฉะนั้น คอยหมั่นถามเรื่องราวต่าง ๆ กับพวกเขาว่า วันนี้เป็นยังไงบ้าง สบายดีไหม ทานข้าวหรือยัง งานติดปัญหาอะไรหรือเปล่า อยากให้ช่วยตรงไหนไหม หากมีปัญหาก็เข้าไปให้ความช่วยเหลือ จะช่วยให้เขารับรู้ถึงความใส่ใจที่เรามีให้ได้และทำงานได้อย่างมีความสุข5. ส่งเสริมให้พวกเขาคิดถึงเป้าหมาย ไม่ต้องคิดเรื่องงานตลอดเวลาเคล็ดลับหนึ่งที่ช่วยสร้างความสุขในการทำงาน คือ การส่งเสริมให้คนในทีมคิดถึงเป้าหมายของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องคิดถึงงานที่อยู่ตรงหน้าตลอดเวลา เพราะบางครั้งงานก็อาจทำให้พวกเขารู้สึกท้อถอยและห่อเหี่ยวได้ หากพวกเขาสามารถค้นเจอเป้าหมาย เราก็ควรที่จะสนับสนุนเขาให้ทำได้สำเร็จ 6. ให้ความสำคัญกับข้อดี พร้อมช่วยแก้ไขข้อด้อยทุกคนมีทั้งข้อดีและข้อด้อย แต่ถ้าจะส่งเสริม Happy Workplace คุณควรให้ความสำคัญกับข้อดีด้วยการชื่นชมพวกเขาเมื่อทำงานดี และหยุดพูดคำว่า “แต่” ต่อท้าย เช่น “ทำดีนะ แต่ว่า…” ทางที่ดีควรเป็นการให้คำแนะนำจะดีกว่า เช่น “ทำดีมาก ๆ เพิ่มส่วนนี้อีกนิดนึงนะจะเพอร์เฟกต์เลย” ดูคล้ายกันแต่ให้ความรู้สึกต่างกันอย่างสิ้นเชิง7. ให้รางวัลเป็นการตอบแทนการทำงานอย่างเหมาะสมรางวัลมักเป็นสิ่งที่ทำให้คนแสดงความสุขออกมาได้เห็นชัดที่สุด เมื่อพวกเขาทำงานแล้วผลตอบรับออกมาดี คุณก็ควรที่จะให้รางวัลเป็นการตอบแทน จะเป็นการให้ของขวัญ การเลื่อนตำแหน่ง การเพิ่มเงินเดือน หรือการแจกโบนัสก็ได้ สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้าง Happy Workplace ได้อย่างดีเลยล่ะสรุปลองสร้าง Happy Workplace ด้วยการเลือกคนที่อัธยาศัยดี กระตุ้นให้เกิดการพูดคุยกัน หากิจกรรมผ่อนคลายระหว่างทำงาน วิธีนี้อาจช่วยคนในทีมของคุณอาจมีความสุขมากขึ้นก็ได้ แต่ถ้าอยากให้พวกเขามีความสุขมากขึ้นไปอีก เราต้องไม่ลืมที่จะแสดงความใส่ใจ ความเข้าใจ และส่งเสริมให้พวกเขาคิดถึงเป้าหมายของตัวเองอยู่เสมอ รวมถึงหมั่นชมเวลาเขาทำงานดีและช่วยพัฒนาข้อด้อยไปพร้อม ๆ กันที่สำคัญ คือ ควรให้รางวัลเป็นการตอบแทนเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน ยิ่งไปกว่านั้น ต้องสอบถามและฟังความคิดเห็นของพวกเขาด้วย เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้อย่างตรงจุดแทนที่จะคิดเองคนเดียวว่าพวกเขาต้องการอะไร
August 4, 2022
2 mins read
จุดสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิต หรือ Work-Life Balance ได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจัดสรรเวลาการทำงานแบบมีคุณภาพ ในขณะเดียวกันก็ต้องการเวลาพักผ่อนที่เพียงพอเช่นกันแต่การทำงานที่มีความสมดุลเช่นนี้จะสามารถทำได้จริงหรือไม่ และแนวคิด Work-Life Balance จะส่งผลกระทบอย่างไรกับรูปแบบการทำงานในอนาคต บทความนี้มีคำตอบให้กับคุณWork-Life Balance เมื่อ “งาน” ต้องผสานกับ “ชีวิต”จุดเริ่มต้นของการตามหา Work-Life Balance ของคนจำนวนมากเกิดจากการค้นพบว่างานของตัวเองนั้น “เยอะเกินไป” จนไม่สามารถจัดสรรเวลาไปทำสิ่งอื่นได้ ซึ่งส่งกระทบโดยตรงต่อความเครียด ความสามารถในการทำงาน จนนำไปสู่การตัดสินใจลาออกของพนักงานผลสำรวจช่วงปี 2015 พบว่าคนไทยทำงานเฉลี่ย 50.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 48 ชั่วโมงของคนทั่วโลก และตัวเลขดังกล่าวก็นับว่าสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของเอเชียอีกด้วยแต่วัฒนธรรมการทำงานหนักนี้กำลังถูกท้าทาย เมื่อบริษัท Microsoft ประเทศญี่ปุ่นได้ทดลองให้พนักงานทำงานเพียง 4 วันต่อสัปดาห์ และไม่สนับสนุนให้ทำงานล่วงเวลา ผลปรากฎว่าพนักงานมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนั่นเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าการทำงานหนักอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป และชีวิตแบบ Work-Life Balance สามารถทำได้หากมีการจัดสรรเวลาที่ดีพอ Table of Contents หนทางสู่การสร้าง Work-Life Balanceแม้ Work-Life Balance จะสามารถทำได้จริง แต่สิ่งที่ทุกคนควรคำนึงเป็นอย่างยิ่งคือความสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้ที่จะกำหนดความพอดีระหว่างสองสิ่งนี้ได้ก็คือตัวของคุณเอง ซึ่งคุณสามารถเริ่มต้นหาจุดสมดุลของชีวิตได้ด้วยวิธีการดังนี้1. ตั้งข้อสังเกตในการใช้ชีวิตก่อนเริ่มต้นสร้าง Work-Life Balance ให้ตนเอง อาจลองตั้งข้อสังเกตตามด้วยคำถามว่า คุณมีความสุขในการทำงานปัจจุบันไหม มีเวลาพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ คุณภาพชีวิตและการทำงานของคุณเป็นอย่างไรบ้าง หากคุณพบว่าตนเองพอใจกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน และการทำงานไม่ได้ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตจนเกินไป การตามหา Work-Life Balance อาจไม่ได้จำเป็นมากนักแต่ถ้าคุณพบว่าตนเองมีสภาพแย่ลงจากการทำงาน ไม่ว่าจะร่างกาย จิตใจ หรือมีอาการ Burnout เป็นระยะ ๆ การปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่จุดสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานจะเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง2. หาจุดสมดุลของชีวิตและการทำงานไม่มีสิ่งใดในโลกที่ Perfect การ Work-Life Balance ก็เช่นกัน ไม่มีงานไหนที่สบายไปตลอด และไม่ควรมีงานไหนที่หนักจนทำลายชีวิต หลังจากการตั้งข้อสังเกตคุณควรมองหาจุดสมดุลระหว่างการทำงานในปัจจุบันของตนเอง เช่น การทำงาน 9 ชั่วโมง ต่อวันอาจมากเกินไป ลองปรับจุดสมดุลอยู่ที่ 8 ชั่วโมงอาจเหมาะสมกว่าหรือไม่ 3. วางแผนสร้าง Work-Life Balanceเมื่อคุณพบจุดสมดุลของการใช้ชีวิตและการทำงาน สิ่งต่อมาที่ต้องทำคือการวางแผนเพื่อสร้าง Work-Life Balance เป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการมองหางานที่ชอบ และมีชั่วโมงการทำงานตอบโจทย์ของคุณ วางแผนในการหยุดยาวเพื่อชาร์จพลัง รวมถึงสิ่งสำคัญที่สุดคือ “การขีดเส้นแบ่งระหว่างเวลาการทำงานกับการใช้ชีวิต”4. พยายามปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการเปลี่ยนแปลงนั้นยากเสมอ โดยเฉพาะกับคนที่มีข้อจำกัดในด้านต่างๆ แต่สุดท้ายแล้วคุณก็จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการวางแผนจัดสรร Work-Life Balance ของตัวเอง ซึ่งอาจเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการใช้เวลาพักผ่อนในวันหยุดให้เต็มที่ ไม่ตอบอีเมลนอกเวลางาน หาเวลาออกกำลังกาย และให้ความสำคัญกับสุขภาพตัวเองเป็นหลัก รวมถึงหางานใหม่ที่ตอบโจทย์สมดุลชีวิตของตนเอง5. ตรวจสอบตัวเองอีกรอบ“มีเพียงคุณเท่านั้นที่กำหนด Work-Life Balance ของตนเองได้” หลังจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาคุณอาจลองตั้งคำถามกับตัวเองอีกรอบว่าการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาของเราตอบโจทย์หรือยัง มีอะไรที่สามารถพัฒนา ปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การใช้ชีวิตและการทำงานไปในเวลาเดียวกันได้บ้าง ถ้าคุณยังไม่พอใจ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรที่จะลองตามหาหนทางใหม่ ๆ เพื่อทำให้การ Work-Life Balance เหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุด สรุปWork-Life Balance เป็นสิ่งที่สามารถทำได้จริง และคุณเองก็สามารถทำได้ด้วย 5 ขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ ตั้งแต่การสังเกตตัวเอง หาจุดสมดุล วางแผน ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และกลับมาย้อนมองตนเองอีกรอบ ซึ่งแน่นอนว่าความสมดุลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน คุณควรเลือกวิถีชีวิตที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด ไม่จำเป็นต้องเลียนแบบวิถีชีวิตของคนอื่น ๆ แต่อย่างใดหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่สามารถทำให้การทำงานของคุณมี Work-Life Balance ดีขึ้นได้ คือ การสื่อสารที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ ซึ่ง True VROOM เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของคุณได้มากขึ้น สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ และทดลองใช้งานได้ฟรีที่ True VROOM
August 4, 2022
2 mins read
หลังสถานการณ์ของ Covid-19 เริ่มบรรเทาลง หลายบริษัทเริ่มให้พนักงานกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ บ้างก็ยังคง Work from Home กันอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นคำถามว่าบริษัทควรให้พนักงาน Work from Home ต่อหรือไม่หากสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ADP Research Institute สถาบันวิจัยด้านตลาดแรงงานได้เปิดรายงาน People at Work 2022: A Global Workforce View ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานกว่า 32,000 คน รวม 17 ประเทศ พบว่า 64% บอกว่าอาจย้ายงานถ้าต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีผลสำรวจอีกว่า 80% ของพนักงานต้องการ Work from Home บ้างในบางครั้ง และมากกว่า 1 ใน 3 ยอมให้ลดค่าจ้างเพื่อแลกกับการได้ทำงานที่บ้าน “ยิ่ง Work from Home นานขึ้น คนยิ่งยอมรับการทำงานรูปแบบนี้มากขึ้น” อย่างไรก็ตาม บริษัทจะเลือกว่าควร Work from Home ต่อหรือไม่ คุณต้องดูเหตุผลว่าทำไมถึงควรและไม่ควร และเปรียบเทียบดูว่าแบบไหนดีกว่ากันทั้งต่อบริษัทและพนักงานด้วย Table of Contents เหตุผลที่บริษัทควร Work from Home ต่อ เมื่อพนักงานแสดงความต้องการว่าอยาก Work from Home ต่อไป นั่นหมายความว่าการ Work from Home มีข้อดีหลายอย่างที่ส่งผลในแง่บวกต่อการใช้ชีวิต ได้แก่ 1. ช่วยให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการการสำรวจของ FlexJobs พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 65% รู้สึกว่าการ Work from Home สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับการทำงานรูปแบบเดิม เนื่องจากมีข้อดีในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะความยืดหยุ่นในการทำงาน 2. ช่วยลดความเครียดจากการเดินทาง ความเครียดจากปัญหาฝนตก รถติด น้ำท่วมกะทันหัน รวมถึงความรู้สึกถูกเบียดแน่นบนรถไฟฟ้าที่ต้องหายใจรดต้นคอกันอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพนักงาน รวมถึงกระทบต่อรายได้ที่ปัญหาดังกล่าวอาจทำให้ไปทำงานสายจนถูกหักเงินเดือน ซึ่งการ Work from Home ทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลงได้จริง ๆ และยังส่งผลให้สุขภาพจิตของบรรดาพนักงานดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 3. ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งของบริษัทและพนักงาน เมื่อไม่ได้เดินทางไปออฟฟิศก็จะประหยัดค่าเดินทาง รวมถึงค่าอาหารที่อาจถูกลงเพราะสามารถทำทานเองได้ที่บ้าน ซึ่งสามารถทานได้หลายมื้อหลายคนอีกด้วย อีกทั้งบริษัทเองก็ได้ประหยัดค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่าออฟฟิศ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น 4. สื่อสารกันได้ง่ายกว่าช่วงแรก ๆ ช่วงที่ Work from Home ใหม่ ๆ มักจะติดขัดหลายอย่าง แถมไม่ได้เจอหน้าและพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานน้อยลงจนพนักงานบางคนโอดโอยว่าขอกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ แต่หลังจากคนก็เริ่มคุ้นชินมากขึ้น และเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารอัปเดตฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การทำงานที่บ้านมากขึ้น กลายเป็นว่าคนเริ่มสนุกกับการใช้งานและรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องไปออฟฟิศก็สามารถสื่อสารกันได้อย่างราบรื่น 5. ช่วยเพิ่มความพึงพอใจของพนักงาน ผู้ตอบแบบสอบถาม 76% กล่าวว่าอยากทำงานกับนายจ้างคนเดิมมากขึ้นหากมีทางเลือกในการทำงานที่ยืดหยุ่น นั่นแสดงว่า Work from Home หรือ Work From Anywhere สร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้ และยังทำให้พวกเขาอยากทำงานกับเราไปนาน ๆ ด้วย เหตุผลที่บริษัทไม่ควร Work from Home แม้ Work from Home จะมีข้อดี แต่อาจเป็นข้อเสียสำหรับบางคนด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง ได้แก่ 1. ประสิทธิภาพของงานลดลง เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมที่เสียงดัง อากาศที่ร้อนอบอ้าว อุปกรณ์และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ รวมถึงอินเทอร์เน็ต อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้ บางคนถึงขั้นไม่สามารถทำงานในเวลางานปกติได้จนต้องหอบงานมาทำกลางดึก ซึ่งอาจทำให้สูญเสีย Work Life Balance แทนที่จะทำงานได้ดีขึ้น 2. สื่อสารผิดพลาดบ่อย ใช้เวลาพูดคุยกันนานขึ้น ต้องยอมรับว่าการพูดคุยโดยไม่ได้เจอหน้ากันอาจทำให้การสื่อสารผิดพลาดบ่อย ส่งผลให้งานที่ทำผิดพลาดตามไปด้วย เท่านั้นยังไม่พอ การ Work from Home อาจทำให้พนักงานต้องใช้เวลาในการพูดคุยกันนานขึ้นเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ซึ่งอาจกินเวลางานหลักจนทำให้งานนั้น ๆ ล่าช้า เสร็จไม่ตรงตามไทม์ไลน์ 3. พลาดโอกาสในการทำงานร่วมกัน การที่พนักงานไม่ได้ทำงานร่วมกันนอกจากจะทำให้ความสนิทสนมน้อยลง ยังลดโอกาสในการเรียนรู้งานของเพื่อนร่วมทีมด้วย หรือต่อให้สามารถเรียนรู้ได้แต่ก็ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าไรนัก นอกจากนี้ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็อาจช่วยเหลือได้ยาก เพราะบางงานแก้ปัญหาได้ไม่สะดวกเมื่อต้อง Work from Home 4. พนักงานต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น ปัญหาที่ตามมาของ Work from Home คือค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าอินเทอร์เน็ตที่จำเป็นต้องจ่ายเพิ่ม บางคนคิดว่าเป็นการนำเงินค่าเดินทางมาจ่ายแทนค่าเหล่านี้ แต่สุดท้ายกลับแพงกว่าที่คิดเอาไว้ ยังไม่รวมค่าอุปกรณ์สำนักงานอย่างโต๊ะและเก้าอี้ที่ต้องซื้อใหม่อีก นี่จึงเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของพนักงานที่อาจส่งผลต่อคุณภาพของงานด้วยเช่นกัน 5. เกิดอคติระหว่างพนักงาน เพราะรู้สึกว่า Work from Home แล้วทำงานไม่เท่ากัน ความยืดหยุ่นเป็นข้อดีของ Work from Home แต่อาจมีช่องโหว่ที่ทำให้พนักงานบางส่วนเกิดความสงสัยว่าเพื่อนคนอื่นทำงานหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดจากการจัดสรรงานและมีช่วงเวลาในการทำงานที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดโอกาสเข้าใจผิดได้ง่ายขึ้น ทางออกสำหรับบริษัทในยุคปัจจุบันเมื่อรูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป 1. ทำความเข้าใจธรรมชาติของพนักงานมากขึ้น องค์กรจำเป็นต้องรู้ว่าพนักงานของตนเองเป็นอย่างไรเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการได้อย่างตรงจุด...
August 4, 2022
2 mins read
การทำงานจากบ้าน (Work from Home) และการทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from Anywhere) กลายเป็นเทรนด์สำคัญในยุคปัจจุบันจากภาวะโรคระบาด COVID-19 และแม้ว่าสถานการณ์โรคภัยดังกล่าวจะเริ่มดีขึ้นบ้างแต่การทำงานโดยไม่ต้องเข้าบริษัทกลับยังคงความนิยมอยู่ และนำมาซึ่งเทรนด์ใหม่ที่เป็นการผสมผสานการทำงานหลากหลายรูปแบบอย่าง Hybrid Working Hybrid Working ความลงตัวของการทำงานสมัยใหม่ Hybrid Working คือ รูปแบบการทำงานที่ผสมผสานกันระหว่างการไปบริษัทแบบดั้งเดิม กับการทำงานจากที่ไหนก็ได้ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงานที่มากขึ้น แต่ยังคงการทำงานในรูปแบบองค์กรที่ค่อนข้างเหนียวแน่นเอาไว้ โดยการทำงานแบบ Hybrid Working ของแต่ละองค์กรจะมีความแตกต่างกันออกไปตามนโยบายของผู้บริหาร บางบริษัทมีการจัดกลุ่มพนักงานเพื่อแบ่งแยกชัดเจนระหว่างพนักงานที่ต้องทำงานในออฟฟิศ 100% และพนักงานที่สามารถทำงานแบบ Hybrid Working ได้ ส่วนบางบริษัทที่มีความยืดหยุ่นสูง ก็อาจปล่อยพนักงานทำงานของตนเองโดยไม่ควบคุมอะไรเลย ใช้แค่การประชุมอัปเดตงานช่วงต้น-ปลายสัปดาห์เท่านั้น Table of Contents กระแสการทำงาน Hybrid Working ในช่วงที่ผ่านมา เหตุผลที่การทำงานแบบ Hybrid Working ยังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าสถานการณ์ Covid-19 จะเริ่มดีขึ้นแล้ว เป็นผลมาจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่ พนักงานส่วนมากพอใจที่ได้รับอิสระในการเลือกสถานที่ทำงาน พนักงานไม่ต้องเผชิญกับสภาวะการจราจรติดขัดในทุก ๆ วัน เครื่องมือสำหรับ Remote Work มีคุณภาพมากขึ้นในราคาที่เหมาะสม ซึ่งบริษัทใหญ่ระดับโลกอย่าง Google, Facebook และ Microsoft ต่างก็มีนโยบาย Hybrid Working ด้วยกันแทบทั้งสิ้น และกระแสการทำงานรูปแบบดังกล่าวก็ยังกระจายไปในหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย ซึ่งจากผลสำรวจของ intuition.com พบว่า 83% ของพนักงานที่ตอบแบบสอบถามต้องการทำงานแบบ Hybrid Working สำหรับทีมงาน True VWORLD ก็มีการทำงานในรูปแบบของ Hybrid Working อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงที่ Covid-19 ระบาดระลอกแรกจวบจนปัจจุบัน โดยผสมผสานความอิสระให้คนในทีมสามารถทำงานจากบ้าน หรือที่ไหน ๆ ก็ได้ผ่านแพลตฟอร์ม True VWORK รวมกับการสานสัมพันธ์ในองค์กรเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวา ทั้งในรูปแบบการนัดเข้าออฟฟิศสัปดาห์ละวันเพื่อพบปะกันตามความต้องการของคนในทีม การเช็คอิน และทำ 1-1 Session เพื่อติดตามอัปเดตชีวิตผ่าน True VROOM ทำให้การทำงานยังคงมีประสิทธิภาพ และพนักงานมีความสุขในการทำงานไปในเวลาเดียวกัน ข้อดีของการทำงานแบบ Hybrid Working 1. มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ความโดดเด่นของ Hybrid Working คือการที่พนักงานได้รับอิสระในการทำงานมากยิ่งขึ้น หลายคนสามารถทำงานจากบ้านตนเอง สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือแม้แต่ต่างประเทศได้ ภายใต้ข้อตกลงที่กำหนดไว้ของบริษัท ทำให้พนักงานเกิดความผ่อนคลายมากขึ้น 2. ดึงดูดบุคลากรจากหลากหลายพื้นที่ Hybrid Working ยังมีส่วนช่วยอย่างมากในเรื่องการสรรหาบุคลากร เพราะเปิดโอกาสและดึงดูดให้บุคลากรที่มีศักยภาพแต่อยู่ไกลบริษัทสนใจสมัครเข้าร่วมงานโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้าออฟฟิศ ทำให้บริษัทมีโอกาสได้บุคลากรคุณภาพจากหลากหลายพื้นที่มากขึ้น 3. ลดค่าใช้จ่ายขององค์กรในระยะยาว การทำงานแบบ Hybrid Working ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของบริษัทอย่างมาก ทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภคภายในออฟฟิศ ขนาดของออฟฟิศ ทำให้มีโอกาสนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาองค์กรในด้านอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น ความท้าทายของการทำงานแบบ Hybrid Working 1. การทำงานบางส่วนอาจมีความยุ่งยากมากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำงานแบบ Hybrid Working อาจนำพาความยุ่งยากบางอย่างให้กับบริษัท ทั้งจากความไม่คุ้นชินทางเทคโนโลยีของพนักงาน การอัปเกรดซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์เพื่อรองรับการทำงานที่บ้าน การเก็บข้อมูลเป็นเอกสาร การทำงานกับเครื่องจักรขนาดใหญ่ ไปจนถึงการพูดคุยกับลูกค้า ซึ่งในปัจจุบันได้มีการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Cloud Computing เพื่อเก็บและประมวลผลข้อมูล การใช้ IoT ร่วมกับเครื่องจักรในโรงงานขนาดใหญ่ และการใช้ระบบ CRM (Customer Relationship Management) ในการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า เพื่อให้การทำงานแบบ Hybrid Working ดียิ่งขึ้นไปอีก 2. ประสิทธิภาพการสื่อสารที่อาจไม่เทียบเท่าเก่า การสื่อสารคือองค์ประกอบหลักสำหรับการทำงานทุกยุคสมัย การทำงานในออฟฟิศเดียวกันจะทำให้พนักงานแต่ละแผนกต่างไปมาหาสู่ มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น หากมีปัญหาอะไรก็สามารถไถ่ถามกันได้ง่าย ๆ แต่การทำงานแบบ Hybrid Working อาจทำให้การสื่อสารอย่างใกล้ชิดสนิทสนมเป็นไปได้ยากขึ้น โดยเฉพาะพนักงานใหม่ที่ยังไม่รู้จักกันดี 3. วัฒนธรรมองค์กรแบบเก่ากำลังถูกท้าทาย “ทำงานต้องไปออฟฟิศ” เปรียบเสมือนภาพจำของพนักงานยุคก่อน Covid วัฒนธรรมองค์กร และแนวทางการบริหารจัดการบุคคลส่วนใหญ่จึงมีแนวโน้มที่จะตอบสนอง “พนักงานที่อยู่ออฟฟิศ” เป็นหลัก การทำงานแบบ Hybrid Working จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เหล่าผู้บริหารต้องคิดเผื่อ “พนักงานที่ไม่ได้เข้าออฟฟิศ” มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงาน และนโยบายการทำงานร่วมกับทีม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้บริหารองค์กรทั้งใหญ่ และเล็กจำเป็นต้องทำการบ้านอย่างเข้มข้น เพื่อให้กระบวนการทำงานทั้งหมดมีประสิทธิภาพที่สุด เทคโนโลยีเพื่อการทำงานแบบ Hybrid Working เทคโนโลยีด้านการจัดการบุคลากร เช่น การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการดูแลพนักงาน บริหารจัดการวันลา รวมถึงจัดการผลตอบแทนต่าง ๆ เทคโนโลยีด้านเอกสาร เช่น การใช้งานเอกสารออนไลน์แทนเอกสารที่เป็นกระดาษ การทำงานบน Cloud แทนการพิมพ์เอกสารลงในคอมพิวเตอร์ปกติ เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เช่น การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Google Meet, True VWORK และTrue VROOM ในการสื่อสารและการส่งข้อมูล สรุป Hybrid Working กลายเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สำคัญสำหรับการทำงานในไทย ซึ่งผู้บริหารและพนักงานของทุกบริษัทจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงในอนาคต นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่มีคุณภาพ สามารถตอบสนองการทำงานยุคใหม่ได้ดี True VWORLD...
August 4, 2022
3 mins read
“เทคโนโลยีในอนาคต” อาจฟังดูล้ำสมัยสำหรับคนจำนวนมาก บ้างก็อาจนึกถึงรถยนต์บินได้ บ้างก็อาจนึกถึงสมาร์ทโฟนที่ไม่จำเป็นต้องชาร์จอีกต่อไป แต่สำหรับวงการธุรกิจ เทคโนโลยีอาจไม่จำเป็นต้องล้ำหน้าถึงขั้นนั้นเสมอไป แต่เป็นการต่อยอดเทคโนโลยีปัจจุบันเพื่อส่งต่อไปยังอนาคตได้อย่างมีคุณภาพบทความนี้จะพาคุณไปพบกับ 7 เทคโนโลยีในอนาคตที่น่าสนใจและอาจส่งผลกระทบกับธุรกิจของคุณอย่างคาดไม่ถึง Table of Contents เทคโนโลยีในอนาคตที่คนทำธุรกิจควรรู้จัก1. Remote Work and MoreRemote Work และ Remote Communication เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีการทำงานและการสื่อสารแบบออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก จากเหตุการณ์ Covid-19 ที่ทำให้คนจำนวนมากต้องทำงานที่บ้านและติดต่อสื่อสารกันผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ แทนคนจำนวนมากมองว่า Remote Work อาจหายไปหลังจากสถานการณ์ Covid-19 ดีขึ้น แต่ในความเป็นจริง แนวโน้มของการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเข้าสู่ Remote Work 100% กลับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆเนื่องจากในอนาคต Remote work อาจขยายขอบเขตไปมากกว่าที่เราเคยคิดไว้ ทั้งในส่วนของการทำงานที่ช่วยให้คุณสามารถควบคุมเครื่องจักรหรือทำงานยาก ๆ ได้แม้ว่าจะอยู่ที่บ้าน รวมไปถึงการจัดการปัญหาความใกล้ชิดของพนักงานที่ทำงานทางไกลด้วยการเชื่อมโยงเข้ากับเทคโนโลยี Virtual Reality มากขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถเห็นหน้ากันหรือสัมผัสกันได้โดยไม่ต้องอยู่ที่เดียวกันส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไรการทำงานแบบ Work from Home จะกลายเป็น New Normal สำหรับคนรุ่นใหม่ ทำให้ธุรกิจที่ยังทำงานแบบเดิมอยู่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนสู่ Remote Work มากขึ้นการรับพนักงานอาจไม่จำเป็นต้องรับคนในพื้นที่ใกล้เคียงบริษัทอีกต่อไป ขอเพียงมีคุณสมบัติและความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งที่เปิดรับเพราะทำงานจากที่ไหนก็ได้ออฟฟิศในโลกแห่งความเป็นจริงอาจไม่จำเป็นสำหรับอนาคต เมื่อผู้คนสามารถทำงานจากที่บ้านหรือร้านกาแฟก็ได้ สำหรับประเทศไทยทาง True Corporation เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีนี้ จึงสร้างแพลตฟอร์ม True VWORLD ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น VWORK แพลตฟอร์มการทำงานสำหรับองค์กร VLEARN สำหรับการจัดสอนออนไลน์ และ VROOM ที่รองรับการประชุมออนไลน์อย่างมีคุณภาพ โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORLD2. Smarter Business IntelligenceBusiness Intelligence (BI) เทคโนโลยีที่ทำการวิเคราะห์ธุรกิจโดยอ้างอิงจากข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ และนำเสนอต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เห็นภาพรวมการดำเนินงานของธุรกิจในมิติต่าง ๆ ทำให้ผู้บริหารรับรู้ข้อมูลเชิงลึกได้ง่าย สามารถคาดการณ์ความเป็นไปได้ และช่วยในการตัดสินใจปรับเปลี่ยนนโยบายของธุรกิจได้รวดเร็วและตรงจุดมากยิ่งขึ้นการใช้งาน Business Intelligence อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สาเหตุที่หยิบยกมาพูดถึงในบทความนี้ เนื่องจากความสามารถของ Business Intelligence ในยุคปัจจุบันและยุคอนาคต ครอบคลุมการจัดการปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น รูปแบบของผู้บริโภคที่หลากหลาย และการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติของคนในสังคมนอกจากนี้ Business Intelligence ยังมีโอกาสต่อยอดให้ล้ำสมัยยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ Embedded Business Intelligence ที่เป็นการผสาน Business Intelligence เข้ากับซอฟต์แวร์ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายใช้งานอยู่ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการตลาดในอนาคตมากยิ่งขึ้นส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไรการตัดสินใจของผู้บริหารจะสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เนื่องจาก Business Intelligence ทำให้การอ่านและตีความข้อมูลต่าง ๆ ง่ายกว่าเดิมการแข่งขันระหว่างธุรกิจจะรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการที่สามารถใช้งาน Business Intelligence รูปแบบใหม่ ๆ ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นได้ มีโอกาสที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพมากกว่าผู้ประกอบการที่ไม่มีการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว3. New Customer Communication ToolsCustomer Communication Tools หรือ เครื่องมือสำหรับการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ถูกปรับเปลี่ยนอย่างมากเมื่อเข้าสู่ยุค Digital Disruption บริษัทน้อยใหญ่ได้หยิบยกเครื่องมือติดต่อสื่อสารลูกค้าหลากหลายรูปแบบขึ้นมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น Knowledge Base, Live Chat, Status Page, CRM รวมถึง Social Listening ด้วยอัตราส่วนการเติบโตของ Customer Relation Tools จะสอดคล้องกับการเติบโตของ Remote Work คือมีการใช้งานมากขึ้นในช่วง Covid-19 เมื่อผู้คนออกไปไหนมาไหนไม่ได้ ทาง Project.co มีการประเมินว่าการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าในช่วงปี 2022 มีการใช้ Email 51% และ ช่องทางออนไลน์อื่นๆ 31% เป็นช่องทางหลัก ในขณะที่การใช้งานโทรศัพท์มีเพียง 7% และการนัดเจอหน้ากันมีเพียง 5% เท่านั้นในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีอย่าง Metaverse มีความสำคัญกับโลกเสมือนมากขึ้น ก็อาจส่งผลให้ Customer Communication Tools เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าจับตามองอย่างยิ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไรธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทยอาจจำเป็นต้องปรับตัวมากขึ้น เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของลูกค้ารุ่นใหม่ที่คุ้นชินกับการสื่อสารผ่าน Customer Communication Tools ต่าง ๆ ซึ่งมีความรวดเร็วและสามารถตอบสนองต่อลูกค้าได้ดีการดำเนินธุรกิจในอนาคตอาจใช้คนน้อยลง และใช้ Customer Communication Tools มาสนับสนุนในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการบริการลูกค้า (Customer Services) การติดต่อสื่อสาร และการแก้ปัญหาสินค้าและบริการเบื้องต้น 4. Artificial Intelligence Next GenArtificial intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ อาจเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการจำนวนมากคุ้นเคย และมองว่าเป็นเทคโนโลยีธรรมดา ๆ เพราะในปัจจุบัน AI สามารถเข้าถึงได้ง่าย และมีราคาค่อนข้างถูกทว่าการใช้งาน AI มีแนวโน้มจะพัฒนามากขึ้นเนื่องจากข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นในช่วง Digital Disruption รวมถึงสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 โดยคาดการณ์ว่าตลาด AI ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 309.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 และมีการพัฒนา AI รูปแบบต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไรการผลิตมีโอกาสใช้มนุษย์น้อยลง เนื่องจากความฉลาดของ AI ครอบคลุมการทำงานโดยรวมภายในองค์กรมากขึ้นการจ้างงานบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทางเกี่ยวกับ...
August 4, 2022
3 mins read
7 Case Studies ตัวอย่างที่ดีต่อการทํางานเป็นทีม ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือบริษัทใหญ่ การทำงานเป็นทีมย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่การรวมคนมากมายที่แตกต่างกันย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย เราจึงขอนำเสนอ 7 Case Studies ที่น่าสนใจจากบริษัทใหญ่ ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือพนักงานก็สามารถศึกษาและนำไปใช้ได้ Table of Contents 1.เป้าหมาย คือ ปัจจัยสำคัญของคำว่าทีม อยากให้การทำงานเป็นทีมประสบความสำเร็จได้ องค์กรจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายของทีมให้ชัดเจน ทั้งเป้าหมายในการทำงาน รวมถึงเป้าหมายในการซัพพอร์ตบริษัทด้านอื่นๆ เพื่อทำให้คนในทีมเห็นภาพกว้าง และประโยชน์ในการทำงานตามความรับผิดชอบของตนเองชัดเจนยิ่งขึ้น Case Study ที่น่าสนใจ: Gojek บริษัทเจ้าของแอปพลิเคชันเรียกรถชื่อดังมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างแบรนด์ว่าต้องการอำนวยความสะดวกให้กับคนในอินโดนีเซีย และในขณะเดียวกันก็อยากแก้ปัญหารถติดภายในประเทศด้วย ทางบริษัทจึงประกาศเป้าหมายดังกล่าวให้คนในทีมรับรู้ร่วมกันและมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป้าหมายที่ชัดเจนนี้ทำให้ Gojek เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่เติบโตได้ท่ามกลางคู่แข่งมากมายในระดับโลก 2. การทำงานเป็นทีมที่ดีไม่จำเป็นต้องใหญ่ ยิ่งบริษัทเติบโตยิ่งต้องมีคนเยอะ แต่การทำงานเป็นทีมอาจไม่จำเป็นต้องใช้คนมากขนาดล้นห้องประชุม การทำงานที่ดีควรมีจำนวนคนที่เหมาะสม และบุคลากรเหล่านั้นควรเป็นคนที่มีบทบาทในการทำงานดังกล่าวจริง ๆ ไม่เช่นนั้นการบริหารจัดการรวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการทำงานต่าง ๆ ก็จะทำได้ยากขึ้นด้วย Case Study ที่น่าสนใจ: Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับแนวคิดนี้ เห็นได้จากการนำเสนอแนวคิดที่ว่าการทำงานเป็นทีม หรือการประชุมทีมที่ดี ควรมีจำนวนคนให้พอดีกับพิซซ่าสองถาด ไม่จำเป็นต้องมีมากกว่านั้นเพื่อป้องกันการสับสนในคำสั่ง ลดความซับซ้อนในการทำงาน รวมถึงในบางครั้งทีมขนาดเล็กยังทำให้ทุกคนในทีมสามารถแสดงศักยภาพ และนำเสนอความคิดเห็นได้หลากหลาย ช่วยให้ทีมเติบโตอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 3. ประชุมไม่ต้องถี่ การทำงานเป็นทีมที่ดีควรคุยเท่าที่จำเป็น หนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกับการทำงานเป็นทีมมากที่สุดคือการประชุม พนักงานจำนวนมากพบว่าการประชุมต่าง ๆ มีมากเกินไปจนอาจกระทบกับเวลาในการทำงาน เพราะบางครั้งการประชุมก็กินเวลามากเกินความจำเป็น ซึ่งการทำงานเป็นทีมที่ดีควรกำหนดจำนวนการประชุมให้พอเหมาะ Case Study ที่น่าสนใจ: Elon Musk ผู้ก่อตั้ง และ CEO ชื่อดังของ SpaceX ได้กำหนดให้พนักงาน “ออกจากห้องประชุม” ได้เลยหากการประชุมนั้นไม่ได้มีส่วนช่วยในการทำงานของตัวเอง พร้อมยืนยันว่าไม่ใช่พฤติกรรมที่หยาบคาย แต่กลับเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานด้วยซ้ำ และนั่นก็ทำให้ทีมงานของ SpaceX และ Tesla สามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 4. การสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างทีมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก การเมืองและความขัดแย้งระหว่างบุคลากรเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การทำงานเป็นทีมไม่ก้าวหน้า เพราะในบางครั้งเพียงแค่การ “คุยกันได้” ระหว่างทีมอาจไม่เพียงพอ แต่องค์กรจำเป็นต้องมีการสานสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรให้แน่นแฟ้น เพื่อให้การทำงานทั้งหมดราบรื่นในระยะยาว Case Study ที่น่าสนใจ: Warby Parker แบรนด์แว่นตาออนไลน์ยอดนิยมจากสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เห็นได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางบริษัทจัดขึ้น เพื่อให้พนักงานเข้าร่วม โดยอ้างอิงจากความสนใจของคนในทีมเป็นหลัก รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานพูดคุยกันมากขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์ในองค์กรแข็งแกร่ง 3. New Customer Communication Tools Customer Communication Tools หรือ เครื่องมือสำหรับการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ถูกปรับเปลี่ยนอย่างมากเมื่อเข้าสู่ยุค Digital Disruption บริษัทน้อยใหญ่ได้หยิบยกเครื่องมือติดต่อสื่อสารลูกค้าหลากหลายรูปแบบขึ้นมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น Knowledge Base, Live Chat, Status Page, CRM รวมถึง Social Listening ด้วย อัตราส่วนการเติบโตของ Customer Relation Tools จะสอดคล้องกับการเติบโตของ Remote Work คือมีการใช้งานมากขึ้นในช่วง Covid-19 เมื่อผู้คนออกไปไหนมาไหนไม่ได้ ทาง Project.co มีการประเมินว่าการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าในช่วงปี 2022 มีการใช้ Email 51% และ ช่องทางออนไลน์อื่นๆ 31% เป็นช่องทางหลัก ในขณะที่การใช้งานโทรศัพท์มีเพียง 7% และการนัดเจอหน้ากันมีเพียง 5% เท่านั้น ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีอย่าง Metaverse มีความสำคัญกับโลกเสมือนมากขึ้น ก็อาจส่งผลให้ Customer Communication Tools เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร ธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทยอาจจำเป็นต้องปรับตัวมากขึ้น เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของลูกค้ารุ่นใหม่ที่คุ้นชินกับการสื่อสารผ่าน Customer Communication Tools ต่าง ๆ ซึ่งมีความรวดเร็วและสามารถตอบสนองต่อลูกค้าได้ดี การดำเนินธุรกิจในอนาคตอาจใช้คนน้อยลง และใช้ Customer Communication Tools มาสนับสนุนในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการบริการลูกค้า (Customer Services) การติดต่อสื่อสาร และการแก้ปัญหาสินค้าและบริการเบื้องต้น 4. Artificial Intelligence Next Gen Artificial intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ อาจเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการจำนวนมากคุ้นเคย และมองว่าเป็นเทคโนโลยีธรรมดา ๆ เพราะในปัจจุบัน AI สามารถเข้าถึงได้ง่าย และมีราคาค่อนข้างถูก ทว่าการใช้งาน AI มีแนวโน้มจะพัฒนามากขึ้นเนื่องจากข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นในช่วง Digital Disruption รวมถึงสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 โดยคาดการณ์ว่าตลาด AI ทั่วโลกจะมีมุลค่าสูงถึง 309.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 และมีการพัฒนา AI รูปแบบต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร การผลิตมีโอกาสใช้มนุษย์น้อยลง เนื่องจากความฉลาดของ AI ครอบคลุมการทำงานโดยรวมภายในองค์กรมากขึ้น การจ้างงานบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทางเกี่ยวกับ AI มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมถึงอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้นเช่นกัน การใช้ AI เข้าช่วยจะมีบทบาทกับองค์กรแทบทุกขนาดเนื่องจากเป็นการทำงานที่ปราศจากอคติ ทำให้มีขั้นตอนที่โปร่งใส ตรวจสอบได้...
August 4, 2022
2 mins read
เมื่อพูดถึงการทำงานในยุคปัจจุบัน การเพิ่ม Productivity ให้กับตนเองกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ที่จะทำให้องค์กรเติบโตขึ้น แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าว และนี่คือ 7 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการสร้าง Productivity 1.เงินเดือนเป็นสิ่งที่สะท้อน Productivity Productivity เป็นเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และแน่นอนว่าย่อมมีเรื่องเงินเดือนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้พนักงานหรือแม้แต่ผู้บริหารองค์กรบางรายมองว่าเงินเดือนเป็นสิ่งที่สะท้อน Productivity ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกเสียทีเดียว เงินเดือนเป็นสิ่งที่มีการคำนวณจากปัจจัยต่างๆ มากมาย ทั้งตำแหน่งหน้าที่ ความคาดหวัง ไปจนถึงความสามารถ มีหลายกรณีที่พนักงานได้รับเงินเดือนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นแม้ว่าจะมี Performance ที่ดี การให้เงินเดือนสูงๆ จึงเป็นหนึ่งกลยุทธ์หลักในการรักษาไว้ซึ่งพนักงานที่มีความสามารถ แต่ไม่ว่าจะทำผลงานดีหรือไม่ พนักงานก็ยังคงได้รับเงินส่วนนี้เท่าเดิมเสมอ ดังนั้นจำนวนเงินเดือนจึงไม่ใช่เครื่องสะท้อน Productivity แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแรงจูงใจในการทำงานเท่านั้น 2.Multitasking คือวิธีการทำงานที่ดี หลายคนน่าจะคุ้นชินกับการ Multitasking หรือหมายถึงการทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน แต่จากการศึกษาของ University of London พบว่าการทำงานแบบ Multitasking ไม่ได้มีส่วนช่วยให้คุณสามารถทำงานได้เสร็จไวขึ้น เพราะการทำงานแบบนี้ยังสร้างประสิทธิผลน้อยกว่าการจดจ่ออยู่กับการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้การทำงานสลับไปมาหลายงานในเวลาเดียวกันยังมีส่วนในการทำลายความคิดสร้างสรรค์และ IQ ซึ่งเป็นขุมพลังสำคัญของการสร้าง Productivity ในการทำงานอีกด้วย Table of Contents 3.Productivity เป็นสิ่งที่วัดได้ยาก “คนนั้นทำงานเก่ง คนนี้ทำงานดี” คำพูดเหล่านี้ทำให้ Productivity หรือผลิตผลมักอยู่ในรูปของนามธรรมทำให้หลายคนคิดว่าการวัดระดับ Productivity ออกมาเป็นรูปธรรมเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้อย่างเสมอภาค เพราะแต่ละตำแหน่งงานก็มีหน้าที่ สภาวะแวดล้อมและทักษะที่ใช้ในการทำงานซึ่งแตกต่างกัน โดยในความจริงแล้ว การวัด Productivity เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ไม่ยากด้วยมาตราฐานการวัด Productivity แบบต่างๆ ผ่านการใช้กรอบแนวคิดที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น MBO KPI หรือ OKR ก็ล้วนเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะในการทำงานทั้งสิ้น 4.คนเก่งต้องทำงานเองคนเดียว คนเก่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทุกบริษัทต้องการ แต่การเป็นคนเก่งที่ทำงานคนเดียวเท่านั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ตอบสนองต่อแนวคิด Productivity ได้ดีนัก เพราะการทำงานด้วยตัวคนเดียวมีข้อจำกัดด้านภาระงานที่สามารถรับผิดชอบได้ การทำงานเป็นทีมจึงเป็นวิธีการทำงานที่ช่วยทลายข้อจำกัดในด้านของปริมาณภาระงานอันมากมายในโปรเจ็คใหญ่ๆ ซึ่งมักจะมีงานหลายประเภทและแต่ละงานก็เหมาะกับคนที่มีความถนัดแตกต่างกัน และการทำงานเป็นทีมยังช่วยพัฒนาทักษะในการบริหารความสัมพันธ์และการสื่อสาร ซึ่งต่างออกไปจากการทำงานเพียงคนเดียวอีกด้วย 5.คนทำงานเก่งไม่จำเป็นต้องแสดงออกเก่ง คุณเคยเจ็บใจหรือไม่เวลาเห็นคนทำงานไม่เก่งแต่มีทักษะการสื่อสารเป็นเลิศสามารถเสกงานแย่ๆ ให้กลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงได้ทันตาเห็น การแสดงออกเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจและประทับใจในงานของคุณมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากเป็นคนที่ทำงานเก่งแล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องต่อยอดคือทักษะการพรีเซนต์ การแสดงออกต่อหน้าผู้คน และการสื่อสารอย่างมีคุณภาพเพื่อเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จต่างๆ ในอนาคต 6.คนที่ทำงานมีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วย สำหรับการทำงานในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ทุกคนใช้เครื่องมือช่วยเหลือในการทำงานแล้ว การไม่ใช้งานเครื่องมือช่วยอาจจะลด Productivity ในการทำงานลง เพราะเครื่องมือเหล่านี้สามารถร่นระยะเวลาในการทำงานที่มีรูปแบบตายตัวหรืองานที่ต้องทำเป็นประจำลงได้เป็นอย่างมาก ซึ่งงานซ้ำๆ จำเจพวกนี้นี่แหละ ที่ทำให้คุณไม่มีเวลาในการสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆ ดังนั้นหากมีเครื่องมือช่วยงานที่เหมาะสมกับลักษณะงานหรือสามารถเชื่อมโยงไอเดียที่แตกต่างของคุณกับทีมได้ ก็อย่ารีรอที่จะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่ม Productivity ให้กับงานของคุณเลย 7.Productivity สำคัญที่สุดในการทำงาน แน่นอนว่า Productivity เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้งานของคุณออกมามีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามการบริหารคุณภาพชีวิตให้มีความสมดุลและสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบตัวเอาไว้ได้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะคุณภาพชีวิตที่ดี และการบริหารจัดการเวลาที่พอเหมาะจะส่งผลโดยตรงให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราดีขึ้น แน่นอนว่าสิ่งเหล่านั้นจะช่วยผลักดันคุณภาพการทำงาน ความสัมพันธ์ในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อทั้งตัวพนักงานและองค์กรในระยะยาวอีกด้วย สรุป แนวคิดการสร้าง Productivity ในแต่ละบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผลิตภาพของคนในบริษัทเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องถูกปูความเข้าใจตั้งแต่รากฐาน เพื่อทำให้เข้าใจภาพรวมตรงกันว่าเป้าหมายของบริษัทคืออะไร และทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ บุคลากรแต่ละคนจึงสามารถทำตนเองให้มี Productivity ได้อย่างเหมาะสมที่สุด แน่นอนว่าเครื่องมือเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน การมีตัวช่วยที่ดีสำหรับประชุมงานและการสื่อสารภายในทีมที่มีประสิทธิภาพจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เพิ่ม Productivity ในบริษัทได้อย่างชัดเจน ซึ่ง True VROOM เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของคุณได้มากขึ้น ตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ และทดลองใช้งานได้ฟรีที่ True VROOM
August 4, 2022
< 1 min read
ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน Happy Workplace คือสิ่งที่ทุกคนต้องการ นอกจากจะช่วยคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยังสามารถรักษาคนในทีมให้อยากทำงานกับเราไปนาน ๆ ได้อีกด้วย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากทำให้คนในทีมมีความสุข ลองทำตามวิธีนี้ดูสิ อาจได้ผลลัพธ์ที่ใช่ก็ได้! Table of Contents 1. เลือกจ้างคนที่อัธยาศัยดี เข้ากับคนในองค์กรได้สิ่งที่จะส่งเสริม Happy Workplace ให้คงที่ได้อย่างยาวนาน คือ การเลือกจ้างคนที่อัธยาศัยดีและเข้ากับคนในองค์กรได้ตั้งแต่แรก แต่ก็ต้องไม่มองข้ามความสามารถในการทำงานด้วย ในทางกลับกันหากเลือกจ้างคนที่เก่งที่สุดแต่ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ไม่หัวเราะหรือไม่มีท่าทีโต้ตอบที่เป็นมิตร ก็อาจสร้างบรรยากาศที่ไม่ดีให้กับคนในองค์กรถึงขั้นทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้เลย2. กระตุ้นให้คนในทีมพูดคุยหรือทักทายกันการทักทายกันเป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาอื่น ๆ ที่ช่วยสร้างความสนิทสนมได้ดียิ่งขึ้น และยังทำให้บรรยากาศในวันถัด ๆ ไปเป็นกันเองและผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้คนในทีมแฮปปี้กับการทำงาน ลองนึกภาพเวลาเราได้อยู่กับเพื่อนร่วมงานที่สนิทสนมและคุ้นเคยกันจะมีความสุขขนาดไหน 3. อย่าทำงาน 40+ ชั่วโมงทั้งสัปดาห์ ชวนกันทำกิจกรรมบ้างลองนึกภาพคนในทีมของคุณนั่งทำงานอย่างเดียววันละ 8 ชั่วโมงติดต่อกัน 5 วัน คงรู้สึกเครียดไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะ เพราะฉะนั้น ควรสร้าง Happy Workplace ด้วยการชวนกันทำกิจกรรมผ่อนคลายบ้าง จะเป็นการเล่นเกม ดูหนัง หรือสั่งอาหารมาทานด้วยกันก็ได้ เพียงแบ่งเวลาให้กับสิ่งเหล่านี้ไม่กี่ชั่วโมงในหนึ่งสัปดาห์ อาจช่วยให้พวกเขามีความสุขและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย4. แสดงออกว่าเราใส่ใจคนในทีมมากแค่ไหนEmpathy คือ ปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิด Happy Workplace จะรู้สึกดีแค่ไหนหากมีคนคอยเอาใจใส่และเข้าใจคุณเสมอไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น คนในทีมของคุณก็ต้องการสิ่งนั้นเช่นกัน เพราะฉะนั้น คอยหมั่นถามเรื่องราวต่าง ๆ กับพวกเขาว่า วันนี้เป็นยังไงบ้าง สบายดีไหม ทานข้าวหรือยัง งานติดปัญหาอะไรหรือเปล่า อยากให้ช่วยตรงไหนไหม หากมีปัญหาก็เข้าไปให้ความช่วยเหลือ จะช่วยให้เขารับรู้ถึงความใส่ใจที่เรามีให้ได้และทำงานได้อย่างมีความสุข5. ส่งเสริมให้พวกเขาคิดถึงเป้าหมาย ไม่ต้องคิดเรื่องงานตลอดเวลาเคล็ดลับหนึ่งที่ช่วยสร้างความสุขในการทำงาน คือ การส่งเสริมให้คนในทีมคิดถึงเป้าหมายของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องคิดถึงงานที่อยู่ตรงหน้าตลอดเวลา เพราะบางครั้งงานก็อาจทำให้พวกเขารู้สึกท้อถอยและห่อเหี่ยวได้ หากพวกเขาสามารถค้นเจอเป้าหมาย เราก็ควรที่จะสนับสนุนเขาให้ทำได้สำเร็จ 6. ให้ความสำคัญกับข้อดี พร้อมช่วยแก้ไขข้อด้อยทุกคนมีทั้งข้อดีและข้อด้อย แต่ถ้าจะส่งเสริม Happy Workplace คุณควรให้ความสำคัญกับข้อดีด้วยการชื่นชมพวกเขาเมื่อทำงานดี และหยุดพูดคำว่า “แต่” ต่อท้าย เช่น “ทำดีนะ แต่ว่า…” ทางที่ดีควรเป็นการให้คำแนะนำจะดีกว่า เช่น “ทำดีมาก ๆ เพิ่มส่วนนี้อีกนิดนึงนะจะเพอร์เฟกต์เลย” ดูคล้ายกันแต่ให้ความรู้สึกต่างกันอย่างสิ้นเชิง7. ให้รางวัลเป็นการตอบแทนการทำงานอย่างเหมาะสมรางวัลมักเป็นสิ่งที่ทำให้คนแสดงความสุขออกมาได้เห็นชัดที่สุด เมื่อพวกเขาทำงานแล้วผลตอบรับออกมาดี คุณก็ควรที่จะให้รางวัลเป็นการตอบแทน จะเป็นการให้ของขวัญ การเลื่อนตำแหน่ง การเพิ่มเงินเดือน หรือการแจกโบนัสก็ได้ สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้าง Happy Workplace ได้อย่างดีเลยล่ะสรุปลองสร้าง Happy Workplace ด้วยการเลือกคนที่อัธยาศัยดี กระตุ้นให้เกิดการพูดคุยกัน หากิจกรรมผ่อนคลายระหว่างทำงาน วิธีนี้อาจช่วยคนในทีมของคุณอาจมีความสุขมากขึ้นก็ได้ แต่ถ้าอยากให้พวกเขามีความสุขมากขึ้นไปอีก เราต้องไม่ลืมที่จะแสดงความใส่ใจ ความเข้าใจ และส่งเสริมให้พวกเขาคิดถึงเป้าหมายของตัวเองอยู่เสมอ รวมถึงหมั่นชมเวลาเขาทำงานดีและช่วยพัฒนาข้อด้อยไปพร้อม ๆ กันที่สำคัญ คือ ควรให้รางวัลเป็นการตอบแทนเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน ยิ่งไปกว่านั้น ต้องสอบถามและฟังความคิดเห็นของพวกเขาด้วย เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้อย่างตรงจุดแทนที่จะคิดเองคนเดียวว่าพวกเขาต้องการอะไร
August 4, 2022
2 mins read
จุดสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิต หรือ Work-Life Balance ได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจัดสรรเวลาการทำงานแบบมีคุณภาพ ในขณะเดียวกันก็ต้องการเวลาพักผ่อนที่เพียงพอเช่นกันแต่การทำงานที่มีความสมดุลเช่นนี้จะสามารถทำได้จริงหรือไม่ และแนวคิด Work-Life Balance จะส่งผลกระทบอย่างไรกับรูปแบบการทำงานในอนาคต บทความนี้มีคำตอบให้กับคุณWork-Life Balance เมื่อ “งาน” ต้องผสานกับ “ชีวิต”จุดเริ่มต้นของการตามหา Work-Life Balance ของคนจำนวนมากเกิดจากการค้นพบว่างานของตัวเองนั้น “เยอะเกินไป” จนไม่สามารถจัดสรรเวลาไปทำสิ่งอื่นได้ ซึ่งส่งกระทบโดยตรงต่อความเครียด ความสามารถในการทำงาน จนนำไปสู่การตัดสินใจลาออกของพนักงานผลสำรวจช่วงปี 2015 พบว่าคนไทยทำงานเฉลี่ย 50.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 48 ชั่วโมงของคนทั่วโลก และตัวเลขดังกล่าวก็นับว่าสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของเอเชียอีกด้วยแต่วัฒนธรรมการทำงานหนักนี้กำลังถูกท้าทาย เมื่อบริษัท Microsoft ประเทศญี่ปุ่นได้ทดลองให้พนักงานทำงานเพียง 4 วันต่อสัปดาห์ และไม่สนับสนุนให้ทำงานล่วงเวลา ผลปรากฎว่าพนักงานมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนั่นเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าการทำงานหนักอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป และชีวิตแบบ Work-Life Balance สามารถทำได้หากมีการจัดสรรเวลาที่ดีพอ Table of Contents หนทางสู่การสร้าง Work-Life Balanceแม้ Work-Life Balance จะสามารถทำได้จริง แต่สิ่งที่ทุกคนควรคำนึงเป็นอย่างยิ่งคือความสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้ที่จะกำหนดความพอดีระหว่างสองสิ่งนี้ได้ก็คือตัวของคุณเอง ซึ่งคุณสามารถเริ่มต้นหาจุดสมดุลของชีวิตได้ด้วยวิธีการดังนี้1. ตั้งข้อสังเกตในการใช้ชีวิตก่อนเริ่มต้นสร้าง Work-Life Balance ให้ตนเอง อาจลองตั้งข้อสังเกตตามด้วยคำถามว่า คุณมีความสุขในการทำงานปัจจุบันไหม มีเวลาพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ คุณภาพชีวิตและการทำงานของคุณเป็นอย่างไรบ้าง หากคุณพบว่าตนเองพอใจกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน และการทำงานไม่ได้ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตจนเกินไป การตามหา Work-Life Balance อาจไม่ได้จำเป็นมากนักแต่ถ้าคุณพบว่าตนเองมีสภาพแย่ลงจากการทำงาน ไม่ว่าจะร่างกาย จิตใจ หรือมีอาการ Burnout เป็นระยะ ๆ การปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่จุดสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานจะเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง2. หาจุดสมดุลของชีวิตและการทำงานไม่มีสิ่งใดในโลกที่ Perfect การ Work-Life Balance ก็เช่นกัน ไม่มีงานไหนที่สบายไปตลอด และไม่ควรมีงานไหนที่หนักจนทำลายชีวิต หลังจากการตั้งข้อสังเกตคุณควรมองหาจุดสมดุลระหว่างการทำงานในปัจจุบันของตนเอง เช่น การทำงาน 9 ชั่วโมง ต่อวันอาจมากเกินไป ลองปรับจุดสมดุลอยู่ที่ 8 ชั่วโมงอาจเหมาะสมกว่าหรือไม่ 3. วางแผนสร้าง Work-Life Balanceเมื่อคุณพบจุดสมดุลของการใช้ชีวิตและการทำงาน สิ่งต่อมาที่ต้องทำคือการวางแผนเพื่อสร้าง Work-Life Balance เป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการมองหางานที่ชอบ และมีชั่วโมงการทำงานตอบโจทย์ของคุณ วางแผนในการหยุดยาวเพื่อชาร์จพลัง รวมถึงสิ่งสำคัญที่สุดคือ “การขีดเส้นแบ่งระหว่างเวลาการทำงานกับการใช้ชีวิต”4. พยายามปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการเปลี่ยนแปลงนั้นยากเสมอ โดยเฉพาะกับคนที่มีข้อจำกัดในด้านต่างๆ แต่สุดท้ายแล้วคุณก็จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการวางแผนจัดสรร Work-Life Balance ของตัวเอง ซึ่งอาจเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการใช้เวลาพักผ่อนในวันหยุดให้เต็มที่ ไม่ตอบอีเมลนอกเวลางาน หาเวลาออกกำลังกาย และให้ความสำคัญกับสุขภาพตัวเองเป็นหลัก รวมถึงหางานใหม่ที่ตอบโจทย์สมดุลชีวิตของตนเอง5. ตรวจสอบตัวเองอีกรอบ“มีเพียงคุณเท่านั้นที่กำหนด Work-Life Balance ของตนเองได้” หลังจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาคุณอาจลองตั้งคำถามกับตัวเองอีกรอบว่าการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาของเราตอบโจทย์หรือยัง มีอะไรที่สามารถพัฒนา ปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การใช้ชีวิตและการทำงานไปในเวลาเดียวกันได้บ้าง ถ้าคุณยังไม่พอใจ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรที่จะลองตามหาหนทางใหม่ ๆ เพื่อทำให้การ Work-Life Balance เหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุด สรุปWork-Life Balance เป็นสิ่งที่สามารถทำได้จริง และคุณเองก็สามารถทำได้ด้วย 5 ขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ ตั้งแต่การสังเกตตัวเอง หาจุดสมดุล วางแผน ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และกลับมาย้อนมองตนเองอีกรอบ ซึ่งแน่นอนว่าความสมดุลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน คุณควรเลือกวิถีชีวิตที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด ไม่จำเป็นต้องเลียนแบบวิถีชีวิตของคนอื่น ๆ แต่อย่างใดหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่สามารถทำให้การทำงานของคุณมี Work-Life Balance ดีขึ้นได้ คือ การสื่อสารที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ ซึ่ง True VROOM เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของคุณได้มากขึ้น สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ และทดลองใช้งานได้ฟรีที่ True VROOM
August 4, 2022
2 mins read
หลังสถานการณ์ของ Covid-19 เริ่มบรรเทาลง หลายบริษัทเริ่มให้พนักงานกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ บ้างก็ยังคง Work from Home กันอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นคำถามว่าบริษัทควรให้พนักงาน Work from Home ต่อหรือไม่หากสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ADP Research Institute สถาบันวิจัยด้านตลาดแรงงานได้เปิดรายงาน People at Work 2022: A Global Workforce View ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานกว่า 32,000 คน รวม 17 ประเทศ พบว่า 64% บอกว่าอาจย้ายงานถ้าต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีผลสำรวจอีกว่า 80% ของพนักงานต้องการ Work from Home บ้างในบางครั้ง และมากกว่า 1 ใน 3 ยอมให้ลดค่าจ้างเพื่อแลกกับการได้ทำงานที่บ้าน “ยิ่ง Work from Home นานขึ้น คนยิ่งยอมรับการทำงานรูปแบบนี้มากขึ้น” อย่างไรก็ตาม บริษัทจะเลือกว่าควร Work from Home ต่อหรือไม่ คุณต้องดูเหตุผลว่าทำไมถึงควรและไม่ควร และเปรียบเทียบดูว่าแบบไหนดีกว่ากันทั้งต่อบริษัทและพนักงานด้วย Table of Contents เหตุผลที่บริษัทควร Work from Home ต่อ เมื่อพนักงานแสดงความต้องการว่าอยาก Work from Home ต่อไป นั่นหมายความว่าการ Work from Home มีข้อดีหลายอย่างที่ส่งผลในแง่บวกต่อการใช้ชีวิต ได้แก่ 1. ช่วยให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการการสำรวจของ FlexJobs พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 65% รู้สึกว่าการ Work from Home สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับการทำงานรูปแบบเดิม เนื่องจากมีข้อดีในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะความยืดหยุ่นในการทำงาน 2. ช่วยลดความเครียดจากการเดินทาง ความเครียดจากปัญหาฝนตก รถติด น้ำท่วมกะทันหัน รวมถึงความรู้สึกถูกเบียดแน่นบนรถไฟฟ้าที่ต้องหายใจรดต้นคอกันอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพนักงาน รวมถึงกระทบต่อรายได้ที่ปัญหาดังกล่าวอาจทำให้ไปทำงานสายจนถูกหักเงินเดือน ซึ่งการ Work from Home ทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลงได้จริง ๆ และยังส่งผลให้สุขภาพจิตของบรรดาพนักงานดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 3. ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งของบริษัทและพนักงาน เมื่อไม่ได้เดินทางไปออฟฟิศก็จะประหยัดค่าเดินทาง รวมถึงค่าอาหารที่อาจถูกลงเพราะสามารถทำทานเองได้ที่บ้าน ซึ่งสามารถทานได้หลายมื้อหลายคนอีกด้วย อีกทั้งบริษัทเองก็ได้ประหยัดค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่าออฟฟิศ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น 4. สื่อสารกันได้ง่ายกว่าช่วงแรก ๆ ช่วงที่ Work from Home ใหม่ ๆ มักจะติดขัดหลายอย่าง แถมไม่ได้เจอหน้าและพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานน้อยลงจนพนักงานบางคนโอดโอยว่าขอกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ แต่หลังจากคนก็เริ่มคุ้นชินมากขึ้น และเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารอัปเดตฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การทำงานที่บ้านมากขึ้น กลายเป็นว่าคนเริ่มสนุกกับการใช้งานและรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องไปออฟฟิศก็สามารถสื่อสารกันได้อย่างราบรื่น 5. ช่วยเพิ่มความพึงพอใจของพนักงาน ผู้ตอบแบบสอบถาม 76% กล่าวว่าอยากทำงานกับนายจ้างคนเดิมมากขึ้นหากมีทางเลือกในการทำงานที่ยืดหยุ่น นั่นแสดงว่า Work from Home หรือ Work From Anywhere สร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้ และยังทำให้พวกเขาอยากทำงานกับเราไปนาน ๆ ด้วย เหตุผลที่บริษัทไม่ควร Work from Home แม้ Work from Home จะมีข้อดี แต่อาจเป็นข้อเสียสำหรับบางคนด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง ได้แก่ 1. ประสิทธิภาพของงานลดลง เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมที่เสียงดัง อากาศที่ร้อนอบอ้าว อุปกรณ์และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ รวมถึงอินเทอร์เน็ต อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้ บางคนถึงขั้นไม่สามารถทำงานในเวลางานปกติได้จนต้องหอบงานมาทำกลางดึก ซึ่งอาจทำให้สูญเสีย Work Life Balance แทนที่จะทำงานได้ดีขึ้น 2. สื่อสารผิดพลาดบ่อย ใช้เวลาพูดคุยกันนานขึ้น ต้องยอมรับว่าการพูดคุยโดยไม่ได้เจอหน้ากันอาจทำให้การสื่อสารผิดพลาดบ่อย ส่งผลให้งานที่ทำผิดพลาดตามไปด้วย เท่านั้นยังไม่พอ การ Work from Home อาจทำให้พนักงานต้องใช้เวลาในการพูดคุยกันนานขึ้นเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ซึ่งอาจกินเวลางานหลักจนทำให้งานนั้น ๆ ล่าช้า เสร็จไม่ตรงตามไทม์ไลน์ 3. พลาดโอกาสในการทำงานร่วมกัน การที่พนักงานไม่ได้ทำงานร่วมกันนอกจากจะทำให้ความสนิทสนมน้อยลง ยังลดโอกาสในการเรียนรู้งานของเพื่อนร่วมทีมด้วย หรือต่อให้สามารถเรียนรู้ได้แต่ก็ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าไรนัก นอกจากนี้ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็อาจช่วยเหลือได้ยาก เพราะบางงานแก้ปัญหาได้ไม่สะดวกเมื่อต้อง Work from Home 4. พนักงานต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น ปัญหาที่ตามมาของ Work from Home คือค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าอินเทอร์เน็ตที่จำเป็นต้องจ่ายเพิ่ม บางคนคิดว่าเป็นการนำเงินค่าเดินทางมาจ่ายแทนค่าเหล่านี้ แต่สุดท้ายกลับแพงกว่าที่คิดเอาไว้ ยังไม่รวมค่าอุปกรณ์สำนักงานอย่างโต๊ะและเก้าอี้ที่ต้องซื้อใหม่อีก นี่จึงเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของพนักงานที่อาจส่งผลต่อคุณภาพของงานด้วยเช่นกัน 5. เกิดอคติระหว่างพนักงาน เพราะรู้สึกว่า Work from Home แล้วทำงานไม่เท่ากัน ความยืดหยุ่นเป็นข้อดีของ Work from Home แต่อาจมีช่องโหว่ที่ทำให้พนักงานบางส่วนเกิดความสงสัยว่าเพื่อนคนอื่นทำงานหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดจากการจัดสรรงานและมีช่วงเวลาในการทำงานที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดโอกาสเข้าใจผิดได้ง่ายขึ้น ทางออกสำหรับบริษัทในยุคปัจจุบันเมื่อรูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป 1. ทำความเข้าใจธรรมชาติของพนักงานมากขึ้น องค์กรจำเป็นต้องรู้ว่าพนักงานของตนเองเป็นอย่างไรเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการได้อย่างตรงจุด...
August 4, 2022
2 mins read
การทำงานจากบ้าน (Work from Home) และการทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from Anywhere) กลายเป็นเทรนด์สำคัญในยุคปัจจุบันจากภาวะโรคระบาด COVID-19 และแม้ว่าสถานการณ์โรคภัยดังกล่าวจะเริ่มดีขึ้นบ้างแต่การทำงานโดยไม่ต้องเข้าบริษัทกลับยังคงความนิยมอยู่ และนำมาซึ่งเทรนด์ใหม่ที่เป็นการผสมผสานการทำงานหลากหลายรูปแบบอย่าง Hybrid Working Hybrid Working ความลงตัวของการทำงานสมัยใหม่ Hybrid Working คือ รูปแบบการทำงานที่ผสมผสานกันระหว่างการไปบริษัทแบบดั้งเดิม กับการทำงานจากที่ไหนก็ได้ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงานที่มากขึ้น แต่ยังคงการทำงานในรูปแบบองค์กรที่ค่อนข้างเหนียวแน่นเอาไว้ โดยการทำงานแบบ Hybrid Working ของแต่ละองค์กรจะมีความแตกต่างกันออกไปตามนโยบายของผู้บริหาร บางบริษัทมีการจัดกลุ่มพนักงานเพื่อแบ่งแยกชัดเจนระหว่างพนักงานที่ต้องทำงานในออฟฟิศ 100% และพนักงานที่สามารถทำงานแบบ Hybrid Working ได้ ส่วนบางบริษัทที่มีความยืดหยุ่นสูง ก็อาจปล่อยพนักงานทำงานของตนเองโดยไม่ควบคุมอะไรเลย ใช้แค่การประชุมอัปเดตงานช่วงต้น-ปลายสัปดาห์เท่านั้น Table of Contents กระแสการทำงาน Hybrid Working ในช่วงที่ผ่านมา เหตุผลที่การทำงานแบบ Hybrid Working ยังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าสถานการณ์ Covid-19 จะเริ่มดีขึ้นแล้ว เป็นผลมาจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่ พนักงานส่วนมากพอใจที่ได้รับอิสระในการเลือกสถานที่ทำงาน พนักงานไม่ต้องเผชิญกับสภาวะการจราจรติดขัดในทุก ๆ วัน เครื่องมือสำหรับ Remote Work มีคุณภาพมากขึ้นในราคาที่เหมาะสม ซึ่งบริษัทใหญ่ระดับโลกอย่าง Google, Facebook และ Microsoft ต่างก็มีนโยบาย Hybrid Working ด้วยกันแทบทั้งสิ้น และกระแสการทำงานรูปแบบดังกล่าวก็ยังกระจายไปในหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย ซึ่งจากผลสำรวจของ intuition.com พบว่า 83% ของพนักงานที่ตอบแบบสอบถามต้องการทำงานแบบ Hybrid Working สำหรับทีมงาน True VWORLD ก็มีการทำงานในรูปแบบของ Hybrid Working อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงที่ Covid-19 ระบาดระลอกแรกจวบจนปัจจุบัน โดยผสมผสานความอิสระให้คนในทีมสามารถทำงานจากบ้าน หรือที่ไหน ๆ ก็ได้ผ่านแพลตฟอร์ม True VWORK รวมกับการสานสัมพันธ์ในองค์กรเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวา ทั้งในรูปแบบการนัดเข้าออฟฟิศสัปดาห์ละวันเพื่อพบปะกันตามความต้องการของคนในทีม การเช็คอิน และทำ 1-1 Session เพื่อติดตามอัปเดตชีวิตผ่าน True VROOM ทำให้การทำงานยังคงมีประสิทธิภาพ และพนักงานมีความสุขในการทำงานไปในเวลาเดียวกัน ข้อดีของการทำงานแบบ Hybrid Working 1. มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ความโดดเด่นของ Hybrid Working คือการที่พนักงานได้รับอิสระในการทำงานมากยิ่งขึ้น หลายคนสามารถทำงานจากบ้านตนเอง สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือแม้แต่ต่างประเทศได้ ภายใต้ข้อตกลงที่กำหนดไว้ของบริษัท ทำให้พนักงานเกิดความผ่อนคลายมากขึ้น 2. ดึงดูดบุคลากรจากหลากหลายพื้นที่ Hybrid Working ยังมีส่วนช่วยอย่างมากในเรื่องการสรรหาบุคลากร เพราะเปิดโอกาสและดึงดูดให้บุคลากรที่มีศักยภาพแต่อยู่ไกลบริษัทสนใจสมัครเข้าร่วมงานโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้าออฟฟิศ ทำให้บริษัทมีโอกาสได้บุคลากรคุณภาพจากหลากหลายพื้นที่มากขึ้น 3. ลดค่าใช้จ่ายขององค์กรในระยะยาว การทำงานแบบ Hybrid Working ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของบริษัทอย่างมาก ทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภคภายในออฟฟิศ ขนาดของออฟฟิศ ทำให้มีโอกาสนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาองค์กรในด้านอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น ความท้าทายของการทำงานแบบ Hybrid Working 1. การทำงานบางส่วนอาจมีความยุ่งยากมากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำงานแบบ Hybrid Working อาจนำพาความยุ่งยากบางอย่างให้กับบริษัท ทั้งจากความไม่คุ้นชินทางเทคโนโลยีของพนักงาน การอัปเกรดซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์เพื่อรองรับการทำงานที่บ้าน การเก็บข้อมูลเป็นเอกสาร การทำงานกับเครื่องจักรขนาดใหญ่ ไปจนถึงการพูดคุยกับลูกค้า ซึ่งในปัจจุบันได้มีการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Cloud Computing เพื่อเก็บและประมวลผลข้อมูล การใช้ IoT ร่วมกับเครื่องจักรในโรงงานขนาดใหญ่ และการใช้ระบบ CRM (Customer Relationship Management) ในการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า เพื่อให้การทำงานแบบ Hybrid Working ดียิ่งขึ้นไปอีก 2. ประสิทธิภาพการสื่อสารที่อาจไม่เทียบเท่าเก่า การสื่อสารคือองค์ประกอบหลักสำหรับการทำงานทุกยุคสมัย การทำงานในออฟฟิศเดียวกันจะทำให้พนักงานแต่ละแผนกต่างไปมาหาสู่ มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น หากมีปัญหาอะไรก็สามารถไถ่ถามกันได้ง่าย ๆ แต่การทำงานแบบ Hybrid Working อาจทำให้การสื่อสารอย่างใกล้ชิดสนิทสนมเป็นไปได้ยากขึ้น โดยเฉพาะพนักงานใหม่ที่ยังไม่รู้จักกันดี 3. วัฒนธรรมองค์กรแบบเก่ากำลังถูกท้าทาย “ทำงานต้องไปออฟฟิศ” เปรียบเสมือนภาพจำของพนักงานยุคก่อน Covid วัฒนธรรมองค์กร และแนวทางการบริหารจัดการบุคคลส่วนใหญ่จึงมีแนวโน้มที่จะตอบสนอง “พนักงานที่อยู่ออฟฟิศ” เป็นหลัก การทำงานแบบ Hybrid Working จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เหล่าผู้บริหารต้องคิดเผื่อ “พนักงานที่ไม่ได้เข้าออฟฟิศ” มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงาน และนโยบายการทำงานร่วมกับทีม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้บริหารองค์กรทั้งใหญ่ และเล็กจำเป็นต้องทำการบ้านอย่างเข้มข้น เพื่อให้กระบวนการทำงานทั้งหมดมีประสิทธิภาพที่สุด เทคโนโลยีเพื่อการทำงานแบบ Hybrid Working เทคโนโลยีด้านการจัดการบุคลากร เช่น การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการดูแลพนักงาน บริหารจัดการวันลา รวมถึงจัดการผลตอบแทนต่าง ๆ เทคโนโลยีด้านเอกสาร เช่น การใช้งานเอกสารออนไลน์แทนเอกสารที่เป็นกระดาษ การทำงานบน Cloud แทนการพิมพ์เอกสารลงในคอมพิวเตอร์ปกติ เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เช่น การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Google Meet, True VWORK และTrue VROOM ในการสื่อสารและการส่งข้อมูล สรุป Hybrid Working กลายเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สำคัญสำหรับการทำงานในไทย ซึ่งผู้บริหารและพนักงานของทุกบริษัทจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงในอนาคต นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่มีคุณภาพ สามารถตอบสนองการทำงานยุคใหม่ได้ดี True VWORLD...
August 4, 2022
3 mins read
“เทคโนโลยีในอนาคต” อาจฟังดูล้ำสมัยสำหรับคนจำนวนมาก บ้างก็อาจนึกถึงรถยนต์บินได้ บ้างก็อาจนึกถึงสมาร์ทโฟนที่ไม่จำเป็นต้องชาร์จอีกต่อไป แต่สำหรับวงการธุรกิจ เทคโนโลยีอาจไม่จำเป็นต้องล้ำหน้าถึงขั้นนั้นเสมอไป แต่เป็นการต่อยอดเทคโนโลยีปัจจุบันเพื่อส่งต่อไปยังอนาคตได้อย่างมีคุณภาพบทความนี้จะพาคุณไปพบกับ 7 เทคโนโลยีในอนาคตที่น่าสนใจและอาจส่งผลกระทบกับธุรกิจของคุณอย่างคาดไม่ถึง Table of Contents เทคโนโลยีในอนาคตที่คนทำธุรกิจควรรู้จัก1. Remote Work and MoreRemote Work และ Remote Communication เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีการทำงานและการสื่อสารแบบออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก จากเหตุการณ์ Covid-19 ที่ทำให้คนจำนวนมากต้องทำงานที่บ้านและติดต่อสื่อสารกันผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ แทนคนจำนวนมากมองว่า Remote Work อาจหายไปหลังจากสถานการณ์ Covid-19 ดีขึ้น แต่ในความเป็นจริง แนวโน้มของการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเข้าสู่ Remote Work 100% กลับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆเนื่องจากในอนาคต Remote work อาจขยายขอบเขตไปมากกว่าที่เราเคยคิดไว้ ทั้งในส่วนของการทำงานที่ช่วยให้คุณสามารถควบคุมเครื่องจักรหรือทำงานยาก ๆ ได้แม้ว่าจะอยู่ที่บ้าน รวมไปถึงการจัดการปัญหาความใกล้ชิดของพนักงานที่ทำงานทางไกลด้วยการเชื่อมโยงเข้ากับเทคโนโลยี Virtual Reality มากขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถเห็นหน้ากันหรือสัมผัสกันได้โดยไม่ต้องอยู่ที่เดียวกันส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไรการทำงานแบบ Work from Home จะกลายเป็น New Normal สำหรับคนรุ่นใหม่ ทำให้ธุรกิจที่ยังทำงานแบบเดิมอยู่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนสู่ Remote Work มากขึ้นการรับพนักงานอาจไม่จำเป็นต้องรับคนในพื้นที่ใกล้เคียงบริษัทอีกต่อไป ขอเพียงมีคุณสมบัติและความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งที่เปิดรับเพราะทำงานจากที่ไหนก็ได้ออฟฟิศในโลกแห่งความเป็นจริงอาจไม่จำเป็นสำหรับอนาคต เมื่อผู้คนสามารถทำงานจากที่บ้านหรือร้านกาแฟก็ได้ สำหรับประเทศไทยทาง True Corporation เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีนี้ จึงสร้างแพลตฟอร์ม True VWORLD ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น VWORK แพลตฟอร์มการทำงานสำหรับองค์กร VLEARN สำหรับการจัดสอนออนไลน์ และ VROOM ที่รองรับการประชุมออนไลน์อย่างมีคุณภาพ โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORLD2. Smarter Business IntelligenceBusiness Intelligence (BI) เทคโนโลยีที่ทำการวิเคราะห์ธุรกิจโดยอ้างอิงจากข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ และนำเสนอต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เห็นภาพรวมการดำเนินงานของธุรกิจในมิติต่าง ๆ ทำให้ผู้บริหารรับรู้ข้อมูลเชิงลึกได้ง่าย สามารถคาดการณ์ความเป็นไปได้ และช่วยในการตัดสินใจปรับเปลี่ยนนโยบายของธุรกิจได้รวดเร็วและตรงจุดมากยิ่งขึ้นการใช้งาน Business Intelligence อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สาเหตุที่หยิบยกมาพูดถึงในบทความนี้ เนื่องจากความสามารถของ Business Intelligence ในยุคปัจจุบันและยุคอนาคต ครอบคลุมการจัดการปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น รูปแบบของผู้บริโภคที่หลากหลาย และการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติของคนในสังคมนอกจากนี้ Business Intelligence ยังมีโอกาสต่อยอดให้ล้ำสมัยยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ Embedded Business Intelligence ที่เป็นการผสาน Business Intelligence เข้ากับซอฟต์แวร์ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายใช้งานอยู่ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการตลาดในอนาคตมากยิ่งขึ้นส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไรการตัดสินใจของผู้บริหารจะสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เนื่องจาก Business Intelligence ทำให้การอ่านและตีความข้อมูลต่าง ๆ ง่ายกว่าเดิมการแข่งขันระหว่างธุรกิจจะรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการที่สามารถใช้งาน Business Intelligence รูปแบบใหม่ ๆ ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นได้ มีโอกาสที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพมากกว่าผู้ประกอบการที่ไม่มีการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว3. New Customer Communication ToolsCustomer Communication Tools หรือ เครื่องมือสำหรับการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ถูกปรับเปลี่ยนอย่างมากเมื่อเข้าสู่ยุค Digital Disruption บริษัทน้อยใหญ่ได้หยิบยกเครื่องมือติดต่อสื่อสารลูกค้าหลากหลายรูปแบบขึ้นมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น Knowledge Base, Live Chat, Status Page, CRM รวมถึง Social Listening ด้วยอัตราส่วนการเติบโตของ Customer Relation Tools จะสอดคล้องกับการเติบโตของ Remote Work คือมีการใช้งานมากขึ้นในช่วง Covid-19 เมื่อผู้คนออกไปไหนมาไหนไม่ได้ ทาง Project.co มีการประเมินว่าการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าในช่วงปี 2022 มีการใช้ Email 51% และ ช่องทางออนไลน์อื่นๆ 31% เป็นช่องทางหลัก ในขณะที่การใช้งานโทรศัพท์มีเพียง 7% และการนัดเจอหน้ากันมีเพียง 5% เท่านั้นในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีอย่าง Metaverse มีความสำคัญกับโลกเสมือนมากขึ้น ก็อาจส่งผลให้ Customer Communication Tools เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าจับตามองอย่างยิ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไรธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทยอาจจำเป็นต้องปรับตัวมากขึ้น เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของลูกค้ารุ่นใหม่ที่คุ้นชินกับการสื่อสารผ่าน Customer Communication Tools ต่าง ๆ ซึ่งมีความรวดเร็วและสามารถตอบสนองต่อลูกค้าได้ดีการดำเนินธุรกิจในอนาคตอาจใช้คนน้อยลง และใช้ Customer Communication Tools มาสนับสนุนในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการบริการลูกค้า (Customer Services) การติดต่อสื่อสาร และการแก้ปัญหาสินค้าและบริการเบื้องต้น 4. Artificial Intelligence Next GenArtificial intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ อาจเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการจำนวนมากคุ้นเคย และมองว่าเป็นเทคโนโลยีธรรมดา ๆ เพราะในปัจจุบัน AI สามารถเข้าถึงได้ง่าย และมีราคาค่อนข้างถูกทว่าการใช้งาน AI มีแนวโน้มจะพัฒนามากขึ้นเนื่องจากข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นในช่วง Digital Disruption รวมถึงสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 โดยคาดการณ์ว่าตลาด AI ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 309.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 และมีการพัฒนา AI รูปแบบต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไรการผลิตมีโอกาสใช้มนุษย์น้อยลง เนื่องจากความฉลาดของ AI ครอบคลุมการทำงานโดยรวมภายในองค์กรมากขึ้นการจ้างงานบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทางเกี่ยวกับ...
August 4, 2022
3 mins read
7 Case Studies ตัวอย่างที่ดีต่อการทํางานเป็นทีม ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือบริษัทใหญ่ การทำงานเป็นทีมย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่การรวมคนมากมายที่แตกต่างกันย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย เราจึงขอนำเสนอ 7 Case Studies ที่น่าสนใจจากบริษัทใหญ่ ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือพนักงานก็สามารถศึกษาและนำไปใช้ได้ Table of Contents 1.เป้าหมาย คือ ปัจจัยสำคัญของคำว่าทีม อยากให้การทำงานเป็นทีมประสบความสำเร็จได้ องค์กรจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายของทีมให้ชัดเจน ทั้งเป้าหมายในการทำงาน รวมถึงเป้าหมายในการซัพพอร์ตบริษัทด้านอื่นๆ เพื่อทำให้คนในทีมเห็นภาพกว้าง และประโยชน์ในการทำงานตามความรับผิดชอบของตนเองชัดเจนยิ่งขึ้น Case Study ที่น่าสนใจ: Gojek บริษัทเจ้าของแอปพลิเคชันเรียกรถชื่อดังมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างแบรนด์ว่าต้องการอำนวยความสะดวกให้กับคนในอินโดนีเซีย และในขณะเดียวกันก็อยากแก้ปัญหารถติดภายในประเทศด้วย ทางบริษัทจึงประกาศเป้าหมายดังกล่าวให้คนในทีมรับรู้ร่วมกันและมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป้าหมายที่ชัดเจนนี้ทำให้ Gojek เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่เติบโตได้ท่ามกลางคู่แข่งมากมายในระดับโลก 2. การทำงานเป็นทีมที่ดีไม่จำเป็นต้องใหญ่ ยิ่งบริษัทเติบโตยิ่งต้องมีคนเยอะ แต่การทำงานเป็นทีมอาจไม่จำเป็นต้องใช้คนมากขนาดล้นห้องประชุม การทำงานที่ดีควรมีจำนวนคนที่เหมาะสม และบุคลากรเหล่านั้นควรเป็นคนที่มีบทบาทในการทำงานดังกล่าวจริง ๆ ไม่เช่นนั้นการบริหารจัดการรวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการทำงานต่าง ๆ ก็จะทำได้ยากขึ้นด้วย Case Study ที่น่าสนใจ: Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับแนวคิดนี้ เห็นได้จากการนำเสนอแนวคิดที่ว่าการทำงานเป็นทีม หรือการประชุมทีมที่ดี ควรมีจำนวนคนให้พอดีกับพิซซ่าสองถาด ไม่จำเป็นต้องมีมากกว่านั้นเพื่อป้องกันการสับสนในคำสั่ง ลดความซับซ้อนในการทำงาน รวมถึงในบางครั้งทีมขนาดเล็กยังทำให้ทุกคนในทีมสามารถแสดงศักยภาพ และนำเสนอความคิดเห็นได้หลากหลาย ช่วยให้ทีมเติบโตอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 3. ประชุมไม่ต้องถี่ การทำงานเป็นทีมที่ดีควรคุยเท่าที่จำเป็น หนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกับการทำงานเป็นทีมมากที่สุดคือการประชุม พนักงานจำนวนมากพบว่าการประชุมต่าง ๆ มีมากเกินไปจนอาจกระทบกับเวลาในการทำงาน เพราะบางครั้งการประชุมก็กินเวลามากเกินความจำเป็น ซึ่งการทำงานเป็นทีมที่ดีควรกำหนดจำนวนการประชุมให้พอเหมาะ Case Study ที่น่าสนใจ: Elon Musk ผู้ก่อตั้ง และ CEO ชื่อดังของ SpaceX ได้กำหนดให้พนักงาน “ออกจากห้องประชุม” ได้เลยหากการประชุมนั้นไม่ได้มีส่วนช่วยในการทำงานของตัวเอง พร้อมยืนยันว่าไม่ใช่พฤติกรรมที่หยาบคาย แต่กลับเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานด้วยซ้ำ และนั่นก็ทำให้ทีมงานของ SpaceX และ Tesla สามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 4. การสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างทีมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก การเมืองและความขัดแย้งระหว่างบุคลากรเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การทำงานเป็นทีมไม่ก้าวหน้า เพราะในบางครั้งเพียงแค่การ “คุยกันได้” ระหว่างทีมอาจไม่เพียงพอ แต่องค์กรจำเป็นต้องมีการสานสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรให้แน่นแฟ้น เพื่อให้การทำงานทั้งหมดราบรื่นในระยะยาว Case Study ที่น่าสนใจ: Warby Parker แบรนด์แว่นตาออนไลน์ยอดนิยมจากสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เห็นได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางบริษัทจัดขึ้น เพื่อให้พนักงานเข้าร่วม โดยอ้างอิงจากความสนใจของคนในทีมเป็นหลัก รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานพูดคุยกันมากขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์ในองค์กรแข็งแกร่ง 3. New Customer Communication Tools Customer Communication Tools หรือ เครื่องมือสำหรับการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ถูกปรับเปลี่ยนอย่างมากเมื่อเข้าสู่ยุค Digital Disruption บริษัทน้อยใหญ่ได้หยิบยกเครื่องมือติดต่อสื่อสารลูกค้าหลากหลายรูปแบบขึ้นมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น Knowledge Base, Live Chat, Status Page, CRM รวมถึง Social Listening ด้วย อัตราส่วนการเติบโตของ Customer Relation Tools จะสอดคล้องกับการเติบโตของ Remote Work คือมีการใช้งานมากขึ้นในช่วง Covid-19 เมื่อผู้คนออกไปไหนมาไหนไม่ได้ ทาง Project.co มีการประเมินว่าการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าในช่วงปี 2022 มีการใช้ Email 51% และ ช่องทางออนไลน์อื่นๆ 31% เป็นช่องทางหลัก ในขณะที่การใช้งานโทรศัพท์มีเพียง 7% และการนัดเจอหน้ากันมีเพียง 5% เท่านั้น ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีอย่าง Metaverse มีความสำคัญกับโลกเสมือนมากขึ้น ก็อาจส่งผลให้ Customer Communication Tools เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร ธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทยอาจจำเป็นต้องปรับตัวมากขึ้น เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของลูกค้ารุ่นใหม่ที่คุ้นชินกับการสื่อสารผ่าน Customer Communication Tools ต่าง ๆ ซึ่งมีความรวดเร็วและสามารถตอบสนองต่อลูกค้าได้ดี การดำเนินธุรกิจในอนาคตอาจใช้คนน้อยลง และใช้ Customer Communication Tools มาสนับสนุนในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการบริการลูกค้า (Customer Services) การติดต่อสื่อสาร และการแก้ปัญหาสินค้าและบริการเบื้องต้น 4. Artificial Intelligence Next Gen Artificial intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ อาจเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการจำนวนมากคุ้นเคย และมองว่าเป็นเทคโนโลยีธรรมดา ๆ เพราะในปัจจุบัน AI สามารถเข้าถึงได้ง่าย และมีราคาค่อนข้างถูก ทว่าการใช้งาน AI มีแนวโน้มจะพัฒนามากขึ้นเนื่องจากข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นในช่วง Digital Disruption รวมถึงสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 โดยคาดการณ์ว่าตลาด AI ทั่วโลกจะมีมุลค่าสูงถึง 309.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 และมีการพัฒนา AI รูปแบบต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร การผลิตมีโอกาสใช้มนุษย์น้อยลง เนื่องจากความฉลาดของ AI ครอบคลุมการทำงานโดยรวมภายในองค์กรมากขึ้น การจ้างงานบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทางเกี่ยวกับ AI มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมถึงอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้นเช่นกัน การใช้ AI เข้าช่วยจะมีบทบาทกับองค์กรแทบทุกขนาดเนื่องจากเป็นการทำงานที่ปราศจากอคติ ทำให้มีขั้นตอนที่โปร่งใส ตรวจสอบได้...