TRUE VIRTUAL WORLD
Products

All-in-one secure video meeting, live streaming and collaboration tool for small business and large corporations

Learn more

Virtual workspace for individuals and teams to create and share easily from anywhere

Learn more

Integrated platform offering online classes and instruction for individuals, professionals and groups.

Learn more
Solutions
All Solutions

Individual

Be productive from home, office, and anywhere in between

Enterprise

Effective remote work solutions for small businesses to large corporations

Education

Powerful hybrid learning platform for education professionals and students

Government

Secure and transparent all-in-one workspace for government offices

Pricing
Resources
FAQs

Ebooks & Checklists

Articles
Book a Demo
Sign in
Sign Up For Free
Products
VROOM

All-in-one secure video meeting, live streaming and collaboration tool for small business and large corporations

VWORK

Virtual workspace for individuals and teams to create and share easily from anywhere

VLEARN

Integrated platform offering online classes and instruction for individuals, professionals and groups.

Solutions
All Solutions

Individual

Be productive from home, office, and anywhere in between

Enterprise

Effective remote work solutions for small businesses to large corporations

Education

Powerful hybrid learning platform for education professionals and students

Government

Secure and transparent all-in-one workspace for government offices

Pricing
Resources
FAQs

Ebooks & Checklists

Articles
Book a Demo
Sign in
VROOM

VWORK

VLEARN

Sign Up For Free
VROOM

VWORK

VLEARN

February 20, 2023
·
Knowledge
2 mins read

4 กลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นเจ้าตลาดด้วย Data Driven

SHARE

ในยุคที่ข้อมูลเปรียบเสมือนน้ำมันซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามหาศาล ทำให้ทุกบริษัทต้องการครอบครอง-ข้อมูลเพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน แต่หากมีแต่น้ำมัน ไม่มีการกลั่นกรองให้กลายเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้งานได้จริง ข้อมูลเหล่านั้นก็ไร้ประโยชน์ เพราะฉะนั้นบทความนี้เราจะพาคุณมารู้จัก Data Driven กลยุทธ์การนำข้อมูลมากลั่นกรองจนสามารถนำไปใช้ตัดสินใจขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าต่อไปได้

Table of Contents

ทำความรู้จักกับ Data Driven กลยุทธ์ขององค์กรที่ตอบโจทย์ในยุคนี้

Data Driven คือ การนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และตีความมาใช้ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโต ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการองค์กร การวางแผนการทำการตลาด และการปรับรูปแบบธุรกิจในอนาคต โดยข้อมูลจากการทำ Data Driven จะมีประโยชน์ ใช้งานได้จริง และแม่นยำมากกว่าการใช้สัญชาตญาณหรือความคิดเห็นส่วนตัว

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยมากกว่าเดิม เพราะในแต่ละองค์กรก็มีการนำข้อมูลมาใช้ตัดสินใจทางธุรกิจอยู่แล้ว แต่ความจริงแล้วข้อมูลส่วนใหญ่ที่นำมาใช้เป็นเพียงหลักฐานเพื่อยืนยันสมมติฐาน หรือยืนยันสัญชาตญาณของผู้ตัดสินใจเท่านั้น แตกต่างจาก Data Driven ที่นำข้อมูลมาวิเคราะห์และกลั่นกรอง ซึ่งนอกจากจะเป็นหลักฐานยืนยันแล้วยังสามารถใช้เป็นกฎเกณฑ์ในการตัดสินใจได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย Data Driven จึงสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่แม่นยำ

4-strategies-to-market-leadership-with-data-driven-01

Data Driven ดีต่อองค์กรอย่างไร?

แน่นอนว่าองค์กรที่ใช้ข้อมูลเป็นหัวใจหลักในการตัดสินใจทุกๆ กิจกรรมภายในองค์กร มักก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในทุกด้านขององค์กร เพราะฉะนั้นเรามาดูประโยชน์หลักของ Data Driven กันว่ามีอะไรบ้าง

1. ด้านพนักงาน

Data Driven ช่วยให้ทุกคนในองค์กรสามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น โดยสามารถหาโอกาสใหม่ๆ จากการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ รวมถึงสามารถสร้างระบบอัตโนมัติเพื่อให้พนักงานใช้ข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนหรือ Manual Work ลง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น

2. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

Data Driven ช่วยให้ HR สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการสรรหาพนักงาน และควบคุมค่าใช้จ่ายในการรับสมัครพนักงาน นอกจากนี้เมื่อสรรหาพนักงานได้แล้วยังสามารถใช้ข้อมูลเพื่อมอบประสบการณ์การ Onboarding ที่ราบรื่น ซึ่งช่วยสร้างความประทับใจระหว่างพนักงานและองค์กรได้เป็นอย่างดี

3. ด้านการตลาด

Data Driven ช่วยประมวลผลลัพธ์ของข้อมูลโดยไร้ซึ่งอคติ ทำให้การตัดสินใจดำเนินกิจกรรมมีเหตุผลและจุดประสงค์ที่ชัดเจน นำไปสู่การเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า สามารถสร้างโซลูชันหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะ สร้างโอกาสประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น และเพิ่มกลุ่มลูกค้าที่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์หรือองค์กรในที่สุด

4-strategies-to-market-leadership-with-data-driven-02

4 กลยุทธ์การทำ Data Driven อย่างมีประสิทธิภาพ

ชัดเจนว่าการประยุกต์ใช้ Data Driven นั้นส่งผลในหลากหลายมิติ ทั้งในมุมของการตัดสินใจภายในองค์กร การบริหารทรัพยากรบุคคล ไปจนถึงในแง่ของการวางแผนการตลาด แต่เราจะใช้ข้อมูลทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร นี่คือ 4 กลยุทธ์พื้นฐานที่องค์กรของคุณสามารถทำได้

1. กำหนดวิธีการและจุดประสงค์ก่อนเก็บข้อมูล (Data Collection)

หลายองค์กรมีข้อมูลมหาศาล แต่หากข้อมูลที่มีอยู่ไม่ถูกต้อง มีอคติแฝงในข้อมูล หรือข้อมูลซ้ำซ้อนเนื่องจากเก็บข้อมูลแยกส่วนและไม่มีนโยบายการแชร์ข้อมูลระหว่างกันในองค์กร ข้อมูลเหล่านั้นก็ไร้ประโยชน์ กลายเป็นข้อมูลขยะที่ไม่มีมาตรฐาน เพราะฉะนั้นองค์กรจึงต้องปรับโครงสร้างการเก็บข้อมูลใหม่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ และประหยัดเวลาในการนำไปใช้งานจริง

การปรับโครงสร้างควรเริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล แทนที่จะเป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลโดยไม่รู้ว่าต้องการนำข้อมูลไปทำอย่างไรต่อ องค์กรควรมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนสำหรับการเก็บรวบรวมและคาดการณ์ถึงการใช้งานข้อมูลล่วงหน้า โดยเริ่มจากการกำหนดคำถามสำคัญทางธุรกิจ ระบุความท้าทายในการรวบรวม กำหนดวิธีการจัดหา และรักษาข้อมูล รวมไปถึงวิธีการแปลงข้อมูลที่ได้มาให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึก และแม้ว่าการปฏิบัติตามนี้จะทำให้คุณได้ข้อมูลน้อยกว่าปกติ แต่รับรองว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลคุณภาพที่เชื่อถือได้ และนำไปใช้งานจริงได้แน่นอน

2. ทำให้ข้อมูลเข้าถึงง่ายและเรียลไทม์ (Data Access)

ข้อมูลที่องค์กรเก็บรวบรวมไว้จะต้องพร้อมใช้งานและเข้าถึงได้ทันที โดยถูกเก็บอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน และสามารถรวมเข้ากับข้อมูลอื่นๆ ได้ เพราะฉะนั้นการเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยองค์กรควรเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการสืบค้น การกรอง และการจัดกลุ่มข้อมูล เพื่อลดปริมาณข้อมูลดิบ และทำให้การรายงานและการวิเคราะห์มีประสิทธิภาพ ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกและทันท่วงทีจะช่วยให้พนักงานประหยัดเวลาในการทำงานมากยิ่งขึ้น พวกเขาสามารถมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและสมบูรณ์ และสามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีเหตุผล แทนที่จะใช้เวลาไปกับการเตรียมข้อมูล

3. ทุกคนในองค์กรมีอิสรภาพในการมองเห็นและใช้ข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด (Data Democratization)

การแยกเก็บข้อมูลเฉพาะภายในทีมหรือแชร์ให้เฉพาะนักวิเคราะห์และทีมเทคนิคขั้นสูง ทำให้การเข้าถึงและใช้งานข้อมูลต่างๆ ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรจึงควรสร้างและเผยแพร่วัฒนธรรมการแบ่งปันข้อมูลภายในองค์กรเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถมองเห็น เข้าถึง และรวมข้อมูลเข้าด้วยกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องปรึกษาหรือขออนุญาตจากนักวิเคราะห์ข้อมูลในแผนกไอที ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์ข้อมูลมีภาระในการทำงานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และเกิดความล่าช้าจาการรอนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจ

4. การรายงานและแจ้งเตือนคือสิ่งจำเป็น แต่การวิเคราะห์คือสิ่งสำคัญ (Reporting and Alerting is essential. But analysis is important.)

การรายงานและการแจ้งเตือนเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในทุกๆ องค์กร เนื่องจากการรายงานเป็นกระบวนการจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นข้อมูลสรุปเพื่อติดตามประสิทธิภาพและผลลัพธ์ ทำให้สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และสังเกตแนวโน้มในอนาคตได้ แต่หากต้องการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลอย่างแท้จริง องค์กรจะต้องสามารถวิเคราะห์และแปลงข้อมูลให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึก เพื่อค้นหาสาเหตุ และคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจและกำหนดทิศทางขององค์กรในอนาคต

สรุป

ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ทำให้แต่ละองค์กรต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อให้ตนเองอยู่รอด โดยหนึ่งในกลุยุทธ์ที่สำคัญคือการนำ Data Driven มาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยการนำข้อมูลที่รวบรวมมาผ่านการกลั่นกรองให้บริสุทธ์ ถูกต้อง และเป็นประโยชน์แก่องค์กรมากที่สุด Data Driven จึงถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรอย่างแท้จริง

แน่นอนว่าหากมีเฉพาะข้อมูลและความรู้ในการวิเคราะห์แต่ไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บบันทึกข้อมูล ก็อาจทำให้การปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเป็นไปได้ยาก True VWORK จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่น่าสนใจ เพราะมีฟังก์ชันที่ช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและเรียลไทม์ รวมไปถึงสามารถสื่อสารภายในทีมได้อย่างไร้รอยต่อ ทำให้การเก็บบันทึกข้อมูล การเข้าถึง และการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ไม่มีสะดุด โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK

อ้างอิง

  • Oreilly
  • Ipag.edu
  • Unscrambl
  • Unscrambl
  • Thestorythailand

Learn more about

VWORK

Create a remote work environment with easy collaboration and high productivity Start your free trial today.
Learn more
True VWORLD

True VWORLD

Tech Insight by True VWORLD
True VWORLD

True VWORLD

Tech Insight by True VWORLD

Suggested Reading

retrospective-meeting-thumbnail
April 24, 2023
·
Knowledge
April 24, 2023
< 1 min read

รู้จัก Retrospective ประชุมแบบหยุด คิด พิจารณา เพื่อพัฒนาทีม

Retrospective เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการประชุมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงบ่อยครั้งในยุคสมัยที่การสื่อสารเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนเริ่มมีทัศนคติที่เปิดกว้างมากขึ้น ยอมรับปัญหามากขึ้น การประชุมแบบ “เจาะลึก” ไปถึงแกนของปัญหาและทำการแก้ไขจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญทำความรู้จักกับการประชุมประเภทนี้แบบสั้นๆ พร้อมกับวิธีเตรียมการประชุมอย่างง่ายที่สามารถปรับใช้ในทีมได้ทันที ที่นี่! Table of Contents เจาะลึกเกี่ยวกับการประชุม RetrospectiveRetrospective คือ แนวทางการประชุมที่เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยน feedback การทำงานของทีมภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาเพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปอย่างซื่อตรงมากที่สุด โดยมีเป้าหมายในการประชุมเป็นการค้นหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมการประชุม Retrospective มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในทีมจะได้ทบทวนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของทีมในช่วงเวลาที่ผ่านมาร่วมกันอย่างเป็นระบบภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety)โดยในแต่ละการประชุมจะประกอบไปด้วยผู้ทำงานและบุคคลที่มีตำแหน่ง Scrum Master ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มาจากแนวคิดแบบ Scrum ที่มักจะมาคู่กับกรอบแนวคิดแบบ Agile เป็นผู้ควบคุมทิศทางการสนทนาให้อยู่ในเชิงบวก คอยตั้งประเด็นคำถาม จนไปถึงอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้กับการประชุม ส่งผลให้ทีมสามารถช่วยกันวางแผนเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานได้ตรงจุดและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น5 ขั้นตอน ประชุม Retrospective เพื่อการใช้งานจริง1. เตรียมความพร้อมขั้นตอนแรกในการประชุม Retrospective เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด คือการเตรียมความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ สถานที่และผู้เข้าร่วมการประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเตรียมบรรยากาศให้มีความผ่อนคลายและเหมาะกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้คน สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการเล่าเรื่องราวน่าสนุกหรือการเล่นเกมสบายๆ เพื่อลดช่องว่างระหว่างบุคคลและสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ ช่วยให้ผู้คนกล้าที่จะกล่าวถึงปัญหาที่พบในการทำงานอย่างตรงไปตรงมา กล้าขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ไม่สามารถรับมือได้ จนไปถึงกล้านำเสนอไอเดียแปลกใหม่อย่างไม่กลัวคำวิจารณ์ระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 15 นาที2. รวมรวมข้อมูลการรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี จะเป็นการสอบถามความคิดเห็นของผู้ทำงานแต่ละคนโดยตรงแล้วจึงให้ตอบด้วยปากเปล่า หรือจะสอบถามด้วยการแจก Post-it แล้วให้เวลาพวกเขาในการเรียบเรียงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในมุมมองของตัวเองพร้อมๆ กัน เพื่อตอบแต่ละคำถามที่ได้รับจาก Scrum Master (ผู้ดำเนินกิจกรรม และอำนวยความสะดวกของทีม) ลงในกระดาษก็สามารถทำได้ประเด็นสำคัญคือจะต้องใช้ชุดคำถามที่ทรงพลังหมายความว่าต้องกระชับแต่สื่อความหมายได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น ชุดคำถาม Four Ls ซึ่งประกอบไปด้วยWe liked: สิ่งที่ชอบและอยากให้เกิดขึ้นอีกWe learned: การเรียนรู้ใหม่และบทเรียนสำคัญที่ผ่านมาWe longed for: สิ่งที่ปราถนาจะให้เกิดขึ้น แต่ยังไม่เกิดWe loathed: สิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นและไม่อยากให้เกิดขึ้นซ้ำระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 30 นาที3. คัดเลือกประเด็นสำคัญขั้นตอนต่อมาหลังจากการรวบรวมกระดาษ Post-it ที่มีคำตอบ คือการจัดหมวดหมู่ปัญหาที่มีความใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน โดย Scrum Master จะเป็นผู้อธิบายปัญหาแต่ละกลุ่ม แล้วจึงเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยในรายละเอียดของแต่ละประเด็นปัญหาก่อนการโหวตเลือกปัญหาที่ทีมต้องการให้ความสำคัญมากที่สุด เพื่อที่จะหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันในขั้นตอนต่อไประยะเวลาที่ใช้ประมาณ 20 นาที 4. หาวิธีแก้ไขปัญหาและตัดสินใจร่วมกันเมื่อเลือกปัญหาที่ต้องการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว สมาชิกทุกคนในทีมจึงช่วยกันระดมสมอง (Brainstorm) เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาจแจกโพสอิทอีกหนึ่งรอบเพื่อให้ทุกคนได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง คิดและเขียนวิธีการแก้ปัญหาออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการระดมสมองแบบนี้นอกจากจะทำให้สมาชิกทุกคนมีสิทธิในการออกความคิดเห็นได้เท่ากันแล้ว งานวิจัยจาก Northwestern University ยังได้กล่าวว่าการระดมสมองผ่านการเขียนยังสามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าการระดมสมองทั่วไปถึง 42% อีกด้วย จากนั้นจึงเปิดโหวตเพื่อเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดมาเป็น Action item ของทีมระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 20 นาที5. สรุปการประชุมในช่วงสุดท้ายของการประชุม ผู้ที่เป็น Scrum Master ควรสรุปการประชุมทั้งหมดอีกครั้งว่าอะไรคือประเด็นที่ทีมเลือกจะพัฒนาในการทำงานรอบต่อไป ทีมมีแนวทางการแก้ไขอย่างไรและใครในทีมรับผิดชอบหน้าที่ใดเพิ่มเติมบ้าง จากนั้นจึงกล่าวปิดการประชุมด้วยการขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกคนที่เปิดใจในการแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการทำงานของทีมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 5 นาที เก็บ Insight ด้วยเทคนิคการประชุม Retrospectiveการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยทางจิตใจถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากสำหรับการประชุม Retrospective โดยหนึ่งเคล็ดลับในการประชุมที่ช่วยสร้างความสบายใจให้ผู้เข้าร่วม คือให้เชิญเฉพาะคนทำงานภายในทีมเท่านั้น ไม่ควรสร้างความกดดันในการแสดงความคิดเห็นให้กับผู้เข้าร่วมด้วยการพาหัวหน้างานมาประชุม และไม่ควรข้ามขั้นตอนการละลายพฤติกรรม ณ ตอนต้นการประชุมเพื่อประหยัดระยะเวลา เพราะอาจทำให้การประชุมครั้งนั้นไม่มีประสิทธิผลมากเท่าที่ควรจะเป็นสรุปการประชุม Retrospective เป็นหนึ่งวิธีการง่ายๆ แต่ทรงพลังที่นอกจากจะช่วยให้ทีมมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังทำให้ทราบปัญหาในการทำงานจริงที่ทำให้แก้ไขปัญหาได้ถูกจุดอีกด้วย และสำหรับยุคสมัยที่ต้องการการประชุมแบบมีประสิทธิภาพTrue VROOM จาก True VWORLD ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการประชุมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีฟังก์ชันครบครัน สะดวกรวดเร็ว พร้อมตอบสนองทุกความต้องการของคนในทีม ช่วยให้คุณจัดการประชุม Retrospective อย่างราบรื่น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM บริการการประชุมยุคใหม่เพื่อคุณโดยเฉพาะ อ้างอิงmedium.combrightsidepeople
Read More
Smart-goal-thumbnail
April 24, 2023
·
Knowledge
April 24, 2023
2 mins read

ตั้งเป้าหมายบริษัทให้ถึงเส้นชัยด้วยหลักการแบบ SMART Goal

หากบริษัทต้องการประสบความสำเร็จในแวดวงธุรกิจ แน่นอนว่าจะต้องมีการตั้งเป้าหมายเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จนั้น แต่จุดมุ่งหมายของความสำเร็จคืออะไร? และแผนปฎิบัติเพื่อประสบความสำเร็จนั้นมีอะไรบ้าง? สิ่งเหล่านี้คือสิ่งสำคัญและต้องทำให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดเพื่อให้คนในบริษัทเห็นภาพชัดเจนและเข้าใจตรงกัน การตั้ง SMART Goal จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนบริษัทให้บรรลุเป้าหมายในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จัก SMART Goal ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งความหมายและประโยชน์ของ SMART Goal รวมไปถึงวิธีการทำ SMART Goal ของบริษัทกัน Table of Contents SMART Goal คืออะไร? SMART Goal คือ การตั้งเป้าหมายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ โดยมีกรอบอ้างอิง (Framwork) เพื่อช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายและบรรลุผลลัพธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งที่ชี้เฉพาะ (Specific), สามารถวัดผลได้ (Measurable), มีความเป็นไปได้ (Achievable), สอดคล้องกับเป้าหมาย (Relevant), และมีระยะเวลาที่ชัดเจน (Time-based) ทำไมบริษัทควรนำ SMART Goal มาปฏิบัติ บางครั้งคุณอาจเคยเจอการตั้งเป้าหมายของบริษัทที่คลุมเครือและไม่มีทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการเพิ่มผลประกอบการ หรือการขยายสาขาเพิ่ม ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ไม่มีกลยุทธ์นี้ส่งผลให้บริษัทพบกับความล้มเหลวมานับไม่ถ้วน ดังนั้นบริษัทจึงควรตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goal เพื่อช่วยให้คุณและทีมสามารถขัดเกลาแนวคิด รู้แนวทางปฏิบัติ และสามารถจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย รวมไปถึงยังสามารถระบุจุดแข็ง-จุดอ่อนในการทำงาน และช่วยจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย นอกจากนี้ SMART Goal ยังช่วยส่งเสริมความโปร่งใสในการทำงาน ช่วยให้พนักงานทุกคนเข้าใจความรับผิดชอบของตนเอง และเมื่อพนักงานมีจุดโฟกัสที่ชัดเจนและสามารถติดตามความคืบหน้าได้แล้วก็จะมีแรงจูงใจในการทำงานมากยิ่งขึ้นนั่นเอง เมื่อรู้แล้วว่า SMART Goal มีประโยชน์อย่างไร ในส่วนถัดไปเราจะมาพูดถึงองค์ประกอบการตั้ง SMART Goal กันว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด องค์ประกอบ 5 ประการของ SMART Goal 1. S - Specific เป้าหมายของคุณควรเป็นสิ่งที่ชี้เฉพาะ ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ และมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์เฉพาะเจาะจง เพราะฉะนั้นก่อนตั้งเป้าหมายคุณควรตอบคำถามให้ได้ว่าคุณต้องการบรรลุผลลัพธ์อะไร และเพื่อช่วยให้คำตอบของคุณชัดเจนยิ่งขึ้น หลักการ 5W จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่คุณควรพิจารณาควบคู่ไปกับการกำหนดคำตอบของคุณอยู่เสมอ ซึ่งประกอบไปด้วย Who (ใคร) - ใครมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายนี้? คำถามนี้สำคัญมากหากคุณมีทีมงานเข้ามาเกี่ยวข้อง What (อะไร) - คุณต้องการทำอะไรให้สำเร็จ? ควรระบุได้อย่างแม่นยำและชัดเจน Where (ที่ไหน) - เป้าหมายนี้สามารถทำให้สำเร็จได้ที่ไหนบ้าง? When (เมื่อไร) - ช่วงระยะเวลาในการทำเป้าหมายให้ประสบความสำเร็จ โดยคุณควรมีกรอบเวลาอย่างชัดเจน Why (ทำไม) - ทำไมถึงต้องการทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ? ตัวอย่างการระบุเป้าหมายแบบ SMART Goal: แทนที่จะกำหนดว่า “บริษัทต้องการเพิ่มอัตราความพึงพอใจในการใช้บริการของลูกค้า” ควรเปลี่ยนมาเป็นเป้าหมายที่ SMART มากยิ่งขึ้นด้วยการกำหนดว่า “บริษัทต้องการเพิ่มคุณภาพการบริการลูกค้า ทั้งในด้านความรวดเร็วและความสุภาพของพนักงาน รวมไปถึงอบรมให้พนักงานเข้าใจในงานบริการของบริษัทให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราความพึงพอใจของลูกค้า 90% ภายในระยะเวลา 6 เดือน” 2. M - Measurable SMART Goal จะต้องวัดผลได้ โดยต้องระบุวิธีการและเกณฑ์ในการประเมินความคืบหน้า เพื่อให้คุณและทีมสามารถติดตามผลงานได้ครบถ้วน ในขณะเดียวกันการวัดผลนี้ยังช่วยให้คุณและทีมมั่นใจได้ว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้สามารถจับต้องและทำให้สำเร็จได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้การประเมินความคืบหน้ายังช่วยให้คุณและทีมมองเห็นงานย่อยที่คุณหรือทีมต้องทำในจุดต่างๆ ด้วย 3. A - Achievable SMART Goal ต้องเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย แต่สามารถเป็นจริงได้ เพื่อกระตุ้นคุณและทีมให้คิดหาแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยคุณสามารถประเมินว่าเป้าหมายจะบรรลุผลได้หรือไม่จากระยะเวลาของเป้าหมาย งบประมาณ และความพร้อมของทรัพยากร 4. R - Relevant เป้าหมายควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจ และสอดคล้องกับพันธกิจของบริษัท โดยการตั้งเป้าหมายที่ดีไม่ควรเป็นเพียงโจทย์ที่ต้องทำ แต่ควรเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้แก่บริษัทได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่คุณกำหนดเป้าหมายแบบ SMART Goal คุณควรคำนึงถึงความคุ้มค่าในการทำ จำนวนทรัพยากรและเวลาที่จะทำให้เป้าหมายออกมาสำเร็จ รวมไปถึงสถานการณ์ ณ ตอนนั้นว่าเหมาะสมที่จะลงมือทำหรือไม่ เช่น หากคุณต้องการเพิ่มยอดขาย 50% ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เป้าหมายนี้ก็อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ ทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนและไม่สร้างประโยชน์ใดๆ ให้แก่บริษัท 5. Time-based การตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goal ควรมีกรอบเวลาที่ชัดเจน และเป็นระยะเวลาที่เป็นจริงได้ โดยต้องประเมินควบคู่ไปกับทรัพยากรที่คุณมี หากคุณไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เป้าหมายนั้นก็จะกลายเป็นเป้าหมายที่เลื่อนลอย คุณจะผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ และจะกลายเป็นเป้าหมายที่ไม่สำคัญในที่สุด เพราะคุณไม่มีแรงจูงใจในการทำให้สำเร็จตามกรอบเวลา เพราะฉะนั้นการกำหนดกรอบเวลาในการทำจึงเป็นตัวช่วยพลักดันให้คุณกระตือรือร้นและรู้สึกต้องทำมันอย่างเร่งด่วน ซึ่งจะส่งผลให้คุณเข้าใกล้ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น เทคนิคการกำหนดกรอบเวลาแบบ SMART Goal: นอกจากจะกำหนดกรอบเวลาใหญ่ในการทำให้เป้าหมายบรรลุผลแล้ว คุณควรกำหนดกรอบเวลาเล็กๆ สำหรับเป้าหมายเล็กๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ด้วย เพื่อให้คุณสามารถติดตามผลการดำเนินการได้อย่างใกล้ชิด และมีกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายใหญ่ของคุณต้องใช้เวลา 1 ปีในการบรรลุผล คุณควรกำหนดเป้าหมายเล็กเพิ่มเติมว่าภายใน 4 เดือน หรือ 8 เดือนคุณต้องทำอะไรให้สำเร็จก่อน สรุป SMART Goal ไม่ใช่แค่การตั้งเป้าหมายธรรมดาๆ แต่เป็นการตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ผ่านกระบวนการชี้เฉพาะเป้าหมาย การประเมินและการวัดผล การพิจารณาความสอดคล้องและความคุ้มค่า และการกำหนดกรอบเวลาแห่งความสำเร็จ ซึ่งแน่นอนว่าการทำ SMART Goal ของบริษัทเป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้นจากการกำหนดหรือตัดสินใจของบุคคลเพียงคนเดียว เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการระดมความคิดจากคนในทีม และมีการประสานงานที่ราบรื่น ซึ่ง True VWORK ก็มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี โดยช่วยให้คุณและทีมแชทหรือวิดีโอคอลได้ตลอดเวลา บรอดแคสต์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างไม่มีสะดุด มอบหมายและติดตามสถานะการทำงานของทีมได้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมายที่เป็นตัวช่วยให้คุณสามารถทำงานร่วมกับทีมได้อย่าง SMART อีกด้วย...
Read More
May 23, 2022
·
May 23, 2022
4 mins read

VWORK Tutorial Block Extra Content

Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec...
Read More
May 23, 2022
·
May 23, 2022
2 mins read

VLEARN Tutorial Block Example

Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Table of Contents Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet.  ภาพประกอบ: Unsplash Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet.  "Showing clients analytical numbers about what happened and where isn't always enough. When I introduced visual insights into 'why' shoppers behave certain ways, specifically session recordings, I saw...
Read More

Stay up to date with the latest news and updates from
True VWORLD

  • 0-2700-8011

Monday – Sunday

8:00 a.m. to 6:00 p.m.

Products

VROOM

VWORK

VLEARN

  • VCLASS
  • VCOURSE

Solutions

Individual

Enterprise

Education

Government

Tutorials

Tutorials - VROOM

Tutorials - VWORK

Tutorials - VLEARN

Products

VROOM

VWORK

VLEARN

  • VCLASS
  • VCOURSE
Solutions

Individual

Enterprise

Education

Government

FAQs

Pricing

Articles

About us

Contact us

  • English
    • Thai

All Rights Reserved © True VWORLD.

Privacy Policy

Terms & Condition

VROOM
VWORK
VLEARN

All Rights Reserved © True VWorld.

  • English
    • Thai
We use cookies on our website. By clicking “Accept All”, you consent to the use of all the cookies.
Cookie SettingsAccept All
Manage consent

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may affect your browsing experience.
Necessary
Always Enabled
Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. These cookies ensure basic functionalities and security features of the website, anonymously.
CookieDurationDescription
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics".
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsThe cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional".
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary".
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other.
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance".
viewed_cookie_policy11 monthsThe cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data.
Functional
Functional cookies help to perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collect feedbacks, and other third-party features.
Performance
Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.
Analytics
Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.
Advertisement
Advertisement cookies are used to provide visitors with relevant ads and marketing campaigns. These cookies track visitors across websites and collect information to provide customized ads.
Others
Other uncategorized cookies are those that are being analyzed and have not been classified into a category as yet.
SAVE & ACCEPT