Articles
การทำงานที่บ้านหรือ Work from Home เป็นหนึ่งในวิธีการทำงานยอดนิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่การจราจรไม่ค่อยเอื้ออำนวยเท่าใดนัก ทว่าสิ่งที่ตามมาคือ การทำงานที่บ้านอาจทำให้เกิดความห่างเหินของพนักงานได้ง่าย การนำเทคโนโลยี Virtual Workplace มาประยุกต์ใช้นอกจากจะทำให้งานมีสีสันมากขึ้น ยังช่วยให้พนักงานของคุณใกล้ชิดกันง่ายขึ้นอีกด้วยรู้จักกับ Virtual WorkplaceVirtual Workplace คือ ที่ทำงานเสมือนที่มีความสามารถทุกอย่างใกล้เคียงกับการทำงานออฟฟิศจริงๆ เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานสนทนา พรีเซนต์ และทดลองทำสิ่งต่างๆ ผ่านฟังก์ชันต่างๆ เพื่อทำให้การทำงานออนไลน์นั้นสมบูรณ์แบบที่สุดนอกจากการทำงานออนไลน์ผ่านโปรแกรมต่างๆ Virtual Workplace ยังมีอีกหนึ่งความหมาย คือ การเปิดสถานที่ทำงานที่ไม่มีโต๊ะนั่งตายตัว ทุกคนสามารถเข้ามาทำงานโดยล็อกอินจากอุปกรณ์ตรงจุดไหนก็ได้ ทำให้พนักงานไม่จำเป็นต้องมาที่บริษัทพร้อมกันทุกคน แต่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพโดยในบทความนี้เราจะเน้นการพูดถึง Virtual Office แบบแรกที่เป็นการทำงานออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเป็นหลัก Table of Contents ข้อดีของ Virtual Workplace1. เข้าถึงที่ทำงานได้ง่าย การทำงานด้วย Virtual Workplace จะเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหน เมื่อไร ก็ได้ ขอแค่มีการบริหารจัดการเวลา และระบบการทำงานได้ดีพอ ซึ่ง Virtual Workplace ในปัจจุบันมีการจัดสรรแบ่งห้องให้ทุกคนสามารถพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น แชร์ไฟล์หรือหน้าจอได้สะดวก พร้อมฟังก์ชันมากมายที่น่าสนใจ2. เพิ่มความใกล้ชิดให้คนในทีมการมี Virtual Workplace เปรียบเสมือนการที่ให้คนในทีมของคุณเข้ามารวมตัวกันโดยมีโลกเสมือนเป็นจุดศูนย์กลาง ช่วยกลบจุดอ่อนของการทำงานออนไลน์ที่ผู้คนไม่สื่อสารกันได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อผู้คนออนไลน์พร้อมๆ ย่อมมีแนวโน้มที่คนเหล่านั้นจะพูดคุย ปรึกษาหารือกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องอื่นๆ เพิ่มความสนิทชิดเชื้อที่อาจหาได้ยากหากทำงานและนัดประชุมเป็นครั้งๆ3. สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายVirtual Workplace ไม่ได้เป็นแค่สถานที่สำหรับประชุมงาน แต่ยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้มากมายไม่ว่าคุณจะเปิดกล้องหรือปิดกล้อง เช่น Gather.town ที่ทำ Virtual Workplace ในรูปแบบเกม RPG ที่เรามีตัวละครเสมือนเพื่อให้พูดคุยกับคนอื่นๆ และสามารถเล่นเกมต่างๆ ร่วมกันได้อีกด้วย ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้ Virtual Workplace1. องค์กรที่ทำงานแบบ Work from Home 100%การทำงานที่บ้านแบบ 100% อาจทำให้คนในองค์กรนั้นห่างเหิน ไม่รู้จักกัน รวมถึงสามารถกำหนด แจกจ่ายงาน ไปจนถึงสร้างวัฒนธรรมองค์กรต่างๆ ได้ยาก การใช้งาน Virtual Workplace จะช่วยแก้ไขปัญหาส่วนนี้ได้ง่ายขึ้น ด้วยการเปลี่ยนทุกอย่างเข้าสู่โลกเสมือน ทำให้ผู้คนมารวมตัวกันได้สะดวกยิ่งขึ้น2. ทีมที่ทำงานแบบ Hybrid Workแม้ว่าจะไม่ได้เป็นการทำงานออนไลน์แบบ 100% แต่สำหรับทีมที่ทำงานแบบ Hybrid Work เองก็เหมาะสำหรับที่จะใช้งาน Virtual Workplace เช่นเดียวกัน เนื่องจากจะทำให้คนทั้งบริษัทสามารถทำงานได้เสมือนนั่งอยู่ในที่ทำงานเดียวกัน3. พนักงาน Freelanceสำหรับสายงาน Freelance เองก็สามารถเข้าร่วมใช้งาน Virtual Workplace ได้...
All articles
January 25, 2023
2 mins read
การทำงานที่บ้านหรือ Work from Home เป็นหนึ่งในวิธีการทำงานยอดนิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่การจราจรไม่ค่อยเอื้ออำนวยเท่าใดนัก ทว่าสิ่งที่ตามมาคือ การทำงานที่บ้านอาจทำให้เกิดความห่างเหินของพนักงานได้ง่าย การนำเทคโนโลยี Virtual Workplace มาประยุกต์ใช้นอกจากจะทำให้งานมีสีสันมากขึ้น ยังช่วยให้พนักงานของคุณใกล้ชิดกันง่ายขึ้นอีกด้วยรู้จักกับ Virtual WorkplaceVirtual Workplace คือ ที่ทำงานเสมือนที่มีความสามารถทุกอย่างใกล้เคียงกับการทำงานออฟฟิศจริงๆ เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานสนทนา พรีเซนต์ และทดลองทำสิ่งต่างๆ ผ่านฟังก์ชันต่างๆ เพื่อทำให้การทำงานออนไลน์นั้นสมบูรณ์แบบที่สุดนอกจากการทำงานออนไลน์ผ่านโปรแกรมต่างๆ Virtual Workplace ยังมีอีกหนึ่งความหมาย คือ การเปิดสถานที่ทำงานที่ไม่มีโต๊ะนั่งตายตัว ทุกคนสามารถเข้ามาทำงานโดยล็อกอินจากอุปกรณ์ตรงจุดไหนก็ได้ ทำให้พนักงานไม่จำเป็นต้องมาที่บริษัทพร้อมกันทุกคน แต่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพโดยในบทความนี้เราจะเน้นการพูดถึง Virtual Office แบบแรกที่เป็นการทำงานออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเป็นหลัก Table of Contents ข้อดีของ Virtual Workplace1. เข้าถึงที่ทำงานได้ง่าย การทำงานด้วย Virtual Workplace จะเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหน เมื่อไร ก็ได้ ขอแค่มีการบริหารจัดการเวลา และระบบการทำงานได้ดีพอ ซึ่ง Virtual Workplace ในปัจจุบันมีการจัดสรรแบ่งห้องให้ทุกคนสามารถพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น แชร์ไฟล์หรือหน้าจอได้สะดวก พร้อมฟังก์ชันมากมายที่น่าสนใจ2. เพิ่มความใกล้ชิดให้คนในทีมการมี Virtual Workplace เปรียบเสมือนการที่ให้คนในทีมของคุณเข้ามารวมตัวกันโดยมีโลกเสมือนเป็นจุดศูนย์กลาง ช่วยกลบจุดอ่อนของการทำงานออนไลน์ที่ผู้คนไม่สื่อสารกันได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อผู้คนออนไลน์พร้อมๆ ย่อมมีแนวโน้มที่คนเหล่านั้นจะพูดคุย ปรึกษาหารือกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องอื่นๆ เพิ่มความสนิทชิดเชื้อที่อาจหาได้ยากหากทำงานและนัดประชุมเป็นครั้งๆ3. สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายVirtual Workplace ไม่ได้เป็นแค่สถานที่สำหรับประชุมงาน แต่ยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้มากมายไม่ว่าคุณจะเปิดกล้องหรือปิดกล้อง เช่น Gather.town ที่ทำ Virtual Workplace ในรูปแบบเกม RPG ที่เรามีตัวละครเสมือนเพื่อให้พูดคุยกับคนอื่นๆ และสามารถเล่นเกมต่างๆ ร่วมกันได้อีกด้วย ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้ Virtual Workplace1. องค์กรที่ทำงานแบบ Work from Home 100%การทำงานที่บ้านแบบ 100% อาจทำให้คนในองค์กรนั้นห่างเหิน ไม่รู้จักกัน รวมถึงสามารถกำหนด แจกจ่ายงาน ไปจนถึงสร้างวัฒนธรรมองค์กรต่างๆ ได้ยาก การใช้งาน Virtual Workplace จะช่วยแก้ไขปัญหาส่วนนี้ได้ง่ายขึ้น ด้วยการเปลี่ยนทุกอย่างเข้าสู่โลกเสมือน ทำให้ผู้คนมารวมตัวกันได้สะดวกยิ่งขึ้น2. ทีมที่ทำงานแบบ Hybrid Workแม้ว่าจะไม่ได้เป็นการทำงานออนไลน์แบบ 100% แต่สำหรับทีมที่ทำงานแบบ Hybrid Work เองก็เหมาะสำหรับที่จะใช้งาน Virtual Workplace เช่นเดียวกัน เนื่องจากจะทำให้คนทั้งบริษัทสามารถทำงานได้เสมือนนั่งอยู่ในที่ทำงานเดียวกัน3. พนักงาน Freelanceสำหรับสายงาน Freelance เองก็สามารถเข้าร่วมใช้งาน Virtual Workplace ได้ และอาจจะดีกว่าที่คิดด้วย เนื่องจากคนทำงานสามารถติดต่อประสานงานกับบุคลากรต่างๆ ในบริษัทได้อย่างรวดเร็ว สามารถสอบถามความเห็นและแนวทางต่างๆ ได้ง่าย สำหรับ Virtual Workplace บางแห่งยังช่วยในการติดตามงาน วางตารางการทำงานอย่างละเอียด ทำให้งานสาย Freelance สามารถทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างของ Virtual WorkplaceTrue VWORK เป็นหนึ่งใน Virtual Workplace ที่น่าสนใจสำหรับการทำงานแบบ Work from Home และ Work from Anywhere อย่างมาก เนื่องจากมีฟังก์ชันพื้นฐานต่างๆ ครบถ้วน เหมาะสำหรับการทำงาน โดยมีการทำงานเบื้องต้นดังนี้การจัดสรรสารบบพนักงานการบริหารจัดการงานศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารอนุมัติเอกสารออนไลน์แบบฟอร์มออนไลน์พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้เช็กอินเข้างานฟังก์ชันต่างๆ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานจากที่ไหน เมื่อไรก็ได้ ด้วยระบบออนไลน์คุณภาพจาก True ทำให้ VWORK เป็นแพลตฟอร์มทำงานที่ช่วยผลักดันองค์กรของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดสรุปVirtual Workplace เป็นตัวเลือกการทำงานยุคใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพมาก ที่จะช่วยให้คนในบริษัทของคุณสามารถติดต่อสื่อสารได้ง่าย และใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเต็มเวลา พาร์ทไทม์ หรือฟรีแลนซ์ก็สามารถใช้งานได้True VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มการทำงานคุณภาพสูงจาก True ที่จะช่วยให้การทำงานของคุณง่าย ไม่มีสะดุด พร้อมฟังก์ชันช่วยเหลือต่างๆ อีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORKอ้างอิงKumospaceTechsaurcetandem
January 25, 2023
2 mins read
การพรีเซนต์งานที่ดีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความน่าสนใจให้กับผลงาน เพราะการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เป็นแค่การบอกเนื้อหาที่อยากสื่อเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับงานและสามารถโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณนำเสนอได้เป็นอย่างมากแม้จะไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาพร้อมกับความมั่นใจในการสื่อสาร แต่ทักษะการพรีเซนต์งานอย่างมืออาชีพเป็นเรื่องที่สามารถสร้างได้ ด้วย 5 เคล็ดลับพรีเซนต์งานที่จะช่วยให้คุณมั่นใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น! Table of Contents เคล็ดลับพรีเซนต์งานที่คุณควรรู้1. เปิดตัวให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายVanessa Van Edwards นักวิจัยจาก Science of People ได้ให้ความเห็นว่า ความประทับใจแรกเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยในการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังเป็นอย่างมาก ช่วงเวลาเพียง 7 วินาทีหลังจากที่พบหน้ากันอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในความสำเร็จและความล้มเหลวได้เลยทีเดียวการเลือกการเปิดตัวที่มีความโดดเด่น กล่าวประโยคที่เข้าใจได้ง่าย ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ฟัง โดยคุณอาจเริ่มง่ายๆ เช่น การยกคำพูดของคนดังที่กลุ่มผู้ฟังส่วนมากอาจรู้จัก หรือเปิดด้วยประโยคคำถาม ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ และสร้างอารมณ์ร่วมก่อนการแสดงผลงาน เป็นอีกหนึ่งในวิธีที่ดีในการพรีเซนต์นอกเหนือจากนั้นคุณควรมี Agenda การพูดให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าพวกเขากำลังจะได้รับฟังอะไร หรืออย่างน้อยๆ ตัวคุณเองจะได้รู้ว่าต้องพูดอะไร และจบตรงไหน เพื่อให้การพรีเซนต์ทั้งหมดมีประสิทธิภาพ 2. สื่อสารด้วยภาพการพรีเซนต์งานไม่ได้เป็นการขึ้นแสดงเดี่ยวไมโครโฟนที่เน้นผู้พูดเป็นหลัก หากแต่เป็นการนำเสนอสิ่งที่ต้องการด้วยวิธีการต่างๆ มากมายโดยคาดหวังว่าผู้ฟังจะได้บางสิ่งบางอย่างกลับไป ดังนั้นภาพ หรือสไลด์ประกอบย่อมเป็นสิ่งจำเป็นสไลด์ที่ดีควรเป็นเพียงองค์ประกอบเสริมที่ช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพและนึกตามได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่จุดดึงความสนใจ การใช้ภาพประกอบที่สามารถสื่อความหมายให้ตรงกับเรื่องที่คุณต้องการสื่อสารในแต่ละบูลเล็ทจึงเป็นหนึ่งวิธีที่จะตรึงใจผู้ฟังให้จดจำเนื้อหาที่คุณพูดได้มากกว่าเรื่องดังกล่าวสอดคล้องกับการทดสอบความจำมนุษย์ของนักชีววิทยาระดับโมเลกุลอย่าง John Medina ที่เผยว่าการสื่อสารด้วยรูปภาพสามารถเพิ่มความสามารถในการจดจำเนื้อหาให้กับผู้ฟังได้มากกว่าการใช้ตัวอักษรสูงถึง 65% ทำให้เห็นชัดว่าการมีภาพประกอบที่เหมาะสมสำคัญกว่าการอัดเนื้อหาเยอะๆ ลงในสไลด์3. ใช้โทนเสียงที่เหมาะสมการใช้โทนเสียงสูงต่ำที่มีความแตกต่างกันและการเว้นจังหวะเพื่อเน้นความสำคัญของข้อความคือวิธีใช้เสียงที่มีพลังในการโน้มน้าวใจคนฟังอย่างแท้จริง โดยศาสตราจารย์ด้านการตลาดอย่าง Wharton และ Jonah Berger ได้เผยว่าผู้ที่ใช้ระดับโทนเสียงที่แตกต่างกันในการพูดจะมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ทำให้สามารถนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าการควบคุมโทนเสียงในช่วงเวลาที่ตื่นเต้นจะม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณสามารถควบคุมน้ำเสียงให้มีความเหมาะสมได้ด้วยการฝึกควบคุมลมหายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อเรียกพลังและกล้าที่จะพูดออกไปอย่างเต็มที่ 4. ภาษากายที่มั่นใจและเป็นธรรมชาติภาษากายคือสิ่งแรกที่ผู้ฟังสามารถสังเกตเห็นได้จากผู้นำเสนอ ซึ่งการแสดงออกถึงความมั่นใจในสิ่งที่พูดจะช่วยเสริมสร้างบุคลิคภาพที่ดีและเป็นมืออาชีพให้ผู้พูดได้เป็นอย่างมาก วิธีการสื่อสารภาษากายที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือนั้นได้แก่ท่าทางการยืนก่อนการนำเสนอ ท่าทางการยืนที่มั่นคงสามารถช่วยลดความวิตกกังวลผ่านการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน Testosterone คือ การวางมือไว้ที่ด้านข้างของสะโพก เชิดคางและยืดอกขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำเสนอมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นระหว่างการนำเสนอ ท่าทางการยืนที่ดีจะช่วยให้ผู้พูดดูผ่าเผยอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคือ การยืนตรง หน้าอกผายและไหล่ผึ่ง ที่แสดงถึงความมั่นใจ ตั้งใจ และเป็นจุดดึงสายตาของผู้คนได้ดีสีหน้าและการสบตาการเลือกใช้สีหน้าให้สอดคล้องกับ Mood&Tone ของเรื่องที่นำเสนอควบคู่ไปกับการใช้ Eye Contact เพื่อสื่อสารความรู้สึก ความเชื่อมั่นและพลังในตัวคุณให้กับผู้ฟังเป็นวิธีการสื่อสารที่เป็นธรรมชาติ โดยคุณสามารถใช้การมองกวาดทั่วห้องและสลับกับการมองผู้ฟังเป็นรายคนประมาณคนละ 3-5 วินาทีเพื่อสร้างการสื่อสารอารมณ์ให้ดูเป็นธรรมชาติวิธีการวางมือการวางมือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของการสร้างบุคลิคภาพที่ดี ซึ่งวิธีการวางมือระหว่างพรีเซนต์ที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้พูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ ได้แก่ การแบมือทั้งสองข้าง การวางมือไว้บริเวณหน้าท้อง การใช้มือนับเลขและการผายมือให้เหมาะกับเนื้อหาและจังหวะการพูด 5. ฝึกฝนและพัฒนาซ้ำๆการฝึกฝนซ้ำๆ จะช่วยสร้างความมั่นใจและความคุ้นเคยให้กับร่างกายของคุณ ทั้งในด้านของการจดจำเนื้อหาและความทรงจำของกล้ามเนื้อ ซึ่งความคุ้นช่วยให้การพูดของคุณเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การฝึกฝนผ่านการจำลองสถานการณ์นำเสนอจริงกับคนจริงๆ หรือการอัดวิดิโอยังช่วยให้ผู้พูดทราบแนวทางการพัฒนาทักษะการพูดจากมุมมองที่แตกต่างแต่เป็นตัวเองได้อีกด้วยสรุปการพรีเซนต์งานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจจะช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับคุณได้เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องห้ามลืมคือการที่ดีเนื้อหาการพรีเซนต์ที่น่าสนใจเพื่อทำให้ดึงดูดผู้คนได้มากยิ่งขึ้น และแน่นอนว่าการพรีเซน์งานที่ดีต้องมีตัวช่วยเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมการนำเสนองานผ่าน True VROOM ห้องประชุมออนไลน์ยุคใหม่ฝีมือคนไทย จะช่วยให้คุณสามารถนำเสนองานได้อย่างราบรื่นไม่มีสะดุด ด้วยฟังก์ชันช่วยงานที่หลากหลาย รองรับคนจำนวนมาก ทำให้คุณสามารถสร้างการพรีเซนต์ที่มีคุณภาพในแบบของคุณเองได้อย่างแน่นอน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOMอ้างอิงMission to the MoonJobsDBTechsaurce-ConnextMudium.com
January 17, 2023
2 mins read
ทำไมต้องมี Agenda Meetingเชื่อว่าคนไม่น้อยคงเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยจะดีนักเกี่ยวกับการประชุม เช่น การถูกเรียกประชุมกะทันหัน ต้องเข้าร่วมการประชุมอย่างเร่งรีบทั้งที่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการประชุมในครั้งนั้นเลย หรือการที่เวลาที่ใช้ในการประชุมถูกใช้ไปอย่างยาวนานกับหัวข้อนอกเรื่องที่ไม่ได้นำไปสู่ข้อสรุปที่เราต้องการเสียทีจนกลายเป็นว่าสิ่งที่ได้จากการประชุมกลับเป็นการใช้เวลาและพลังงานไปกับการประชุมอย่างไม่คุ้มค่า และได้ผลตอบแทนกลับมาเป็นความเหนื่อยล้าและผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงผลลัพธ์แย่ๆเหล่านั้นได้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า Agenda Meeting Table of Contents รู้จักกับ Agenda MeetingAgenda Meeting หรือ วาระการประชุม คือ แผนการ เป้าหมาย สิ่งที่ผู้เข้าร่วมการประชุมคาดหวังที่จะได้ระหว่างการประชุม โดยมีการแจกแจงให้ผู้เข้าร่วมการประชุมว่าในการเข้าร่วมครั้งนี้จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างและต้องเตรียมตัวอย่างไรสำหรับการประชุมการวาง Agenda Meeting สามารถเขียนได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การใช้ Bullet เป็นข้อๆ หรือแม้แต่การทำตาราง ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับผู้ที่วางแผนการประชุมเป็นหลัก ทำไม Agenda ถึงสำคัญการที่เราจัดทำ Agenda Meeting หรือ วาระการประชุมนั้นสามารถทำให้การประชุมโดยองค์รวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประชุมที่ทางเป็นทางการหรือไม่ทางการ การประชุมที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากหรือน้อยเพียงใด โดย Agenda มีความสำคัญหลักๆ ดังนี้1. เป็นการกำหนดระยะเวลาการประชุมการวางวาระการประชุมเอาไว้ทำให้เราสามารถคาดประมาณสิ่งที่จะเกิดขึ้น และนำมาพิจารณาเวลาที่ควรจะใช้ไปกับส่วนต่างๆในการประชุม เช่น เนื้อหา การตอบข้อซักถาม ร่วมกันสรุปหาวิธีการ และใช้เป็นเกณฑ์ให้ผู้ดำเนินการประชุมควบคุมการอภิปรายให้เป็นไปตามกำหนดการให้ได้มากที่สุด2. ทำให้ผู้ประชุมรู้หัวข้อการประชุมทั้งหมดล่วงหน้าวาระการประชุมจะถูกแจกจ่ายให้กับผู้ที่ต้องเข้าร่วมการประชุมล่วงหน้าก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น ทำให้สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาล่วงหน้าได้และทำให้ง่ายต่อการดำเนินการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสะดวกอย่างยิ่งสำหรับการประชุมปกติจนถึงการนำเสนอผลงานต่างๆ3. ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับรู้ความรับผิดชอบของตนเองเมื่อทราบหัวข้อที่จะประชุมแล้วผู้ที่จะเข้าร่วมการประชุมก็จะสามารถเตรียมตัว จัดสรรเวลาให้ลงตัว เตรียมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการอภิปรายทำให้ลดภาระของผู้เข้าร่วมและช่วยให้ดำเนินการต่างๆได้อย่างทันท่วงที เทคนิคการวาง Agenda Meeting อย่างมีประสิทธิภาพ1. มีการกำหนดว่าใครร่วมประชุม ก่อนวาง Agenda Meeting ควรกำหนดบทบาทและระบุวัน เวลา สถานที่ให้ชัดเจน และแจ้งผู้ที่ต้องเข้าร่วมล่วงหน้าว่าใครที่จำเป็นจะต้องเข้าร่วมการประชุมเพื่อรับทราบข้อมูล ใครเป็นผู้ที่จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบหลังจากที่ได้ข้อสรุปแล้ว เป็นต้น เพื่อให้แต่ละคนมีเวลาสำหรับเตรียมตัวเข้าร่วมและทำให้การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่น2. มีจุดประสงค์การประชุมชัดเจน ว่าอยากที่จะได้อะไรจากการประชุมในแต่ละครั้ง อยากได้ความคิดเห็นเชิงลึกสำหรับหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน ต้องการหาตัวแทนในการรับผิดชอบ หรือเพียงอยากแจ้งให้ทราบเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน เป็นต้น3. วางหัวข้อให้กระชับ ไม่เวิ่นเว้อ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้เข้าร่วมการประชุมทุกคน จะให้ดีควรเป็นหัวข้อที่ส่งผลกระทบกับผู้เข้าร่วมทุกคนเพื่อการมีส่วนร่วมและความกระตือรือร้นในที่ประชุม4. ไม่ใส่หัวข้อเยอะจนเกินไป เพราะยิ่งหัวข้อมากขึ้นเวลาที่ใช้ก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย เวลาที่ยาวนานนอกจากจะทำให้เหนื่อยล้าแล้วยังง่ายต่อการหลุดออกจากสมาธิจนอาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้5. มีเอกสารประกอบที่จำเป็นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทำความเข้าใจล่วงหน้า อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้อ้างอิงจากแหล่งที่มาเดียวกันได้อีกด้วยสิ่งสำคัญเลยคือ “Agenda ไม่จำเป็นต้องดูทางการเสมอไป” เราสามารถปรับคำพูดและรูปแบบของ Agenda ให้มีความนุ่มนวล ไหลลื่น และเหมาะสมกับผู้เข้าร่วมประชุม เช่น การประชุมระหว่างเพื่อน การประชุมในทีมเล็กๆ หรือแม้แต่การประชุมแบบ 1-1 ก็ตาม ตัวอย่างการวาง Agendaหัวข้อการประชุม : วิธีลดความเครียดของพนักงานผู้เข้าร่วม : หัวหน้าทีม HR และพนักงานทุกคนในทีมวันที่ประชุม : 8 สิงหาคม 2565 เวลา : 13.00 - 15.00 น. สถานที่ : ห้องประชุม A บริษัท Aระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในบริษัทผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาวิธีการแก้ไข (Brainstorm)มอบหมายหน้าที่แต่ละคนในทีมสรุปผลการประชุม พร้อมระบุสิ่งที่ต้องทำต่อไปการวาง Agenda สามารถทำได้ง่ายๆ ตามที่ระบุไว้ข้างต้น และสามารถเพิ่มเติมสิ่งต่างๆ ได้ตามความเคร่งครัดและรูปแบบของการประชุม เช่น สามารกำหนดช่วงเวลาในการพูดของแต่ละหัวข้อ กำหนดผู้พูด หรือระบุเอกสารที่แนบมากับการประชุม เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวไหลลื่นยิ่งขึ้นสรุปจากข้อมูลทั้งหมดคงชัดเจนแล้วว่าการการวาง Agenda เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการประชุมจริงๆ และยังสามารถทำได้ง่ายๆ ซึ่งผู้ควบคุมการประชุมต้องมีเพื่อให้ช่วงเวลาการพูดคุยเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนมากที่สุดนอกจากการมี Agenda ที่ดีแล้ว การมีเทคโนโลยีซัพพอร์ตที่เหมาะสมก็สำคัญเช่นกัน ซึ่ง True VROOM เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมการประชุมที่น่าสนใจ ที่รองรับรูปแบบการประชุมที่หลากหลาย มีฟังก์ชันต่างๆ ครบครัน ทำให้ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงการประชุมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากคุณสนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ True VROOMอ้างอิงJob ThaiClickUpNuclio
December 20, 2022
2 mins read
“การบริหารเวลา” ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับคนทำงานในปัจจุบัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถจัดการเวลาของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นทำให้เกิดรูปแบบการบริหารเวลาขึ้นมากมาย และในบทความนี้เราจะพูดถึง Bullet Journal หรือ BUJO อีกเคล็ดการจัดการชีวิตในแต่ละวันของคุณได้ดียิ่งขึ้น Table of Contents Bullet Journal วิธีออกแบบช่วงเวลาชีวิตให้เหมาะกับคุณBullet Journal คือ การจัดระเบียบชีวิตและความคิดด้วยการจดบันทึกสิ่งต่างๆ ในรูปแบบของ Bullet ที่เป็นรูปแบบข้อความสั้นๆ เน้นเป็นหัวข้อที่มีรายละเอียดไม่ยาวมากนักเพื่อการทำความเข้าใจที่ง่ายและชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจดบันทึกรูปแบบนี้สามารถใส่สี ตาราง หรือตกแต่งได้ตามความเหมาะสมด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การจดบันทึกส่วนใหญ่มักทำในคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต แต่ Bullet Journal แบบดั้งเดิมคือการจดลงสมุด และในปัจจุบันก็มีสมุดสำหรับทำ Bullet Journal โดยเฉพาะขายมากมายเลยทีเดียว การใช้ BUJO ช่วยอะไรคุณได้บ้าง1. เตือนความจำถึงกิจกรรมสำคัญต่างๆการจดบันทึกที่ดีจะทำให้คุณจดจำรายละเอียดกิจกรรมสำคัญต่างๆ ที่คุณเคยทำไปแล้วหรือต้องทำในอนาคต ช่วยเก็บรายละเอียดในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน หรือแม้แต่การใช้ชีวิตได้ดีขึ้นเพราะการใช้ BUJO ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเรื่องงานเท่านั้น ยังสามารถใช้เพื่อบันทึกอาหารร้านโปรด เมนูอร่อยๆ หรือกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ตามชื่อ “Journal” นั่นเอง2. สร้างระเบียบวินัยให้กับตัวเองการจดบันทึกเป็นประจำจะช่วยสร้างระเบียบวินัยทั้งทางตรงและทางอ้อม Bullet Journal จะทำให้ตารางเวลาในชีวิตของคุณชัดเจนยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันการจดสิ่งต่างๆ เสมอๆ จะเป็นแรงจูงใจในการสร้างวินัยในการทำสิ่งต่างๆ อย่างต่อเนื่องในระยะยาว3. ทำให้การจัดสรรเวลาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากการเตือนความจำถึงกิจกรรมแล้ว Bullet Journal ที่ชัดเจนจะทำให้การจัดสรรเวลาอย่างเป็นประสิทธิภาพ เนื่องจาก Bullet Journal มักมีการแบ่งหมวดหมู่การเขียนในระดับวัน เดือน ไปจนถึงการวางกำหนดการในอนาคตเป็นปีๆ ตามความพอใจของคุณเอง ทำให้สามารถวางแผนระยะยาวล่วงหน้าได้ง่ายยิ่งขึ้น! การเขียน Bullet Journal ด้วยตัวคุณเองเราจะเขียน BUJO ได้อย่างไร ? แน่นอนว่าการเขียน Bullet Journal ไม่มีอะไรตายตัว เราสามารถเขียนในรูปแบบไหน แต่งเติมสีสันอะไรเข้าไปก็ได้ แต่คุณ Ryder Carroll บุคคลผู้รังสรรค์ Bullet Journal ขึ้นมาได้ให้ความเห็นว่าควรจดบันทึกลงในสมุดด้วยมือของคุณเอง เพราะจะทำให้เสริมสมาธิและมีความคิดสร้างสรรค์ได้ดีหากเทียบกับการพิมพ์ในโปรแกรมหรือแอปพลิเคชัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคนด้วยสิ่งที่ควรมีในการเริ่มต้นเขียน Bullet Journalสมุดอุปกรณ์การเขียน (หลายสียิ่งดี)องค์ประกอบเบื้องต้นของ Bullet Journalดังที่บอกว่าการเขียน Bullet Journal ไม่มีอะไรตายตัว แต่สิ่งเหล่านี้จะทำให้ Bullet Journal ของคุณสามารถอ่านย้อนหลังได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งมีดังต่อไปนี้ปฏิทิน จะวาดเองหรือปฎิทินเล็กๆ มาตัดแปะก็ไม่ผิด โดยขอแนะนำว่าทำไว้ด้านหน้าสุดของ BUJO เพื่อเป็นการวางสารบัญขนาดย่อมการกำหนดเลขหน้า สำหรับสมุดเปล่าที่ไม่มีเลขหน้าระบุสัญลักษณ์ส่วนตัว เช่น อีโมจิต่างๆ รูปหัวใจ กากบาท สำหรับระบุใน Journal ที่คุณรู้เองสิ่งที่ต้องทำ Task ต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือวางแผนว่าจะทำในอนาคตหากใครที่เคร่งๆ หน่อยก็สามารถเพิ่มสิ่งต่างๆ ได้ตามสไตล์ของคุณ เช่น To do list แบบละเอียด วางสารบัญ หรือแม้แต่ตัดแปะรูปที่สนใจลงใน Journal การทำ Journal เบื้องต้นสำหรับใครที่ไม่มีแผนหรือไอเดียในการทำ Jounal เลย นี่คือการทำ Journal แบบอ่านง่ายๆ Step by Step เพื่อคุณโดยเฉพาะเริ่มทำปฏิทินที่หน้าแรกๆ ดังที่บอกว่าจะเป็นการตัดแปะก็ได้ เพราะนี่คือ Journal ที่เปรียบเสมือนแผนการและบันทึกการเดินทางของคุณ ซึ่งการมีปฏิทินติดไว้ด้านในจะทำให้เราติดตามได้ว่ากิจกรรมใดเกิดขึ้นวันไหนบ้างลงลึกในรายละเอียดที่ต้องการทำ Journal กำหนดก่อนว่าจุดประสงค์สิ่งที่คุณจะทำ Journal นี้คืออะไร งาน การเรียน กิจกรรมการออกกำลังกาย หรือ แม้แต่บันทึกในช่วงเวลาที่คุณต้องอยู่บ้านแบบง่ายๆ แน่นอนคุณจะเขียนมันคล้ายๆ กับไดอารี่ส่วนตัวก็ได้เช่นกันรังสรรค์สิ่งต่างๆ ลงใน Journal ตามสไตล์คุณ ขอแนะนำว่าควรทำแบบ “เรียงวัน” ตามปฏิทิน เพื่อง่ายต่อการติดตาม หากคุณทำเป็นบันทึกการทำงาน อาจใช้เป็นการวาดตารางรายวัน และการติด Task ไว้ข้างๆ เพื่อวางแผนและติดตามการทำงานของตัวเอง หรือหากคุณทำเป็น “บันทึกอะไรก็ได้” ก็อาจใช้เป็นการใส่แค่วันที่ เพิ่มรูปที่ไปเที่ยวหรือถ่ายในวันนั้น แล้วเขียนอธิบายสั้นๆ ไว้เป็น Caption ก็ได้สิ่งสำคัญที่สุดคือการที่มีความเป็นคุณอยู่ใน Journal คุณสามารถใช้ปากกาหลากสีพร้อมรูปตัดแปะลงในบันทึกได้ ในขณะเดียวกันคุณก็สามารถเขียนปากกาสีเดียวทั้งเล่มก็ได้ สิ่งที่ควรทำคือการทำให้ BUJO “อ่านง่าย กระชับ” ไม่ต้องถึงขนาดไดอารี่ ให้สมกับความเป็น Bullet Journal สรุปการเขียน Bullet Journal ไม่จำเป็นต้องเป็นการวาดตารางเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ BUJO ต้องการคือการใส่ความเป็นตัวเองของคุณลงในบันทึก ทำให้สามารถเห็นรายละเอียดและจัดระเบียบชีวิตของตนเองได้มากที่สุด หรือแม้แต่เป็นบันทึกขำๆ ก็ทำได้เช่นกัน การไม่มีผิดไม่มีถูกนี้เองที่ทำให้ Bullet Journal มีเสน่ห์ และน่าสนใจสำหรับใครที่ต้องการวางตารางงาน กำหนดงานและการสื่อสารอย่างมีคุณภาพ True VWORK เองก็เป็นหนึ่งแพลตฟอร์มการทำงานที่น่าสนใจ เพื่อการจัดการเวลางานและเวลาพักผ่อนของคุณให้เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่เน้นความยืดหยุ่นในการทำงาน สามารถดูรายละเอียดได้ที่ True VWORKอ้างอิงLearn CorpOfficemateJobsdbElsa Rhae & Barron
December 19, 2022
2 mins read
มีปัญหาเรื่องการจัดสรรเวลา ? Time Blocking อาจช่วยคุณได้ ด้วยกรรมวิธีการจัดสรรเวลาเป็นบล็อกและเรียงสัดส่วนตามความเหมาะสม ที่จะช่วยให้คุณทำงานง่ายและเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น และนี่คือกรรมวิธีการบล็อกเวลาอย่างมีคุณภาพ พร้อมตัวอย่างการทำ Time Blocking จริง Table of Contents Time Blocking หลักการล็อกเวลาทำงานเบื้องต้น Time Blocking คือ การจัดสรรเวลาการทำงานและกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน โดยรวมกิจกรรมที่คล้ายกันหรือมีแนวทางการทำใกล้เคียงกันไว้เป็นสัดส่วน เพื่อทำให้สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน หรือโยกย้ายไปทำงานอื่นโดยไม่จำเป็น การทำ Time Blocking มีผลอย่างมากสำหรับคนที่ต้องการทำงานให้เสร็จเป็นอย่างๆ ทำให้มีโอกาสในการใช้เวลาได้คุ้มค่ามากขึ้น ทำไมเราจึงควรทำ Time Blocking 1. ทำให้สามารถจัดสรรเวลาได้อย่างเป็นระเบียบ 1 วันของแต่ละคนนั้นมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน และแน่นอนว่าทุกคนย่อมมีงานที่หลากหลายและแตกต่างของตัวเอง ซึ่งบางงานอาจจัดสรรให้เป็นระเบียบได้มากกว่าที่คิด เช่นงานเอกสาร การประชุม หรืองานที่มีการใช้เวลาแบบ Flexible การทำ Time Blocking จะทำให้คุณเห็นการเคลื่อนไหวของงานทั้งหมดแบบองค์รวม ทำให้สามารถจัดสรรประเภทงานที่ใกล้เคียงกันไว้ในช่วงเวลาใกล้กันได้ ทำให้การทำงานนั้นลื่นไหลยิ่งขึ้น หากงานประเภทใดเสร็จไว ก็สามารถดึงงานที่ใกล้เคียงกันมาทำต่อได้ทันที หากงานใดที่ช้าก็สามารถเลื่อนเข้า-ออกได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ 2. สร้างความมั่นใจในการควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของชีวิต สิ่งที่หลายคนประสบพบเจอในช่วงเวลาการทำงานคือรู้สึกว่าทำเท่าไรก็ไม่จบไม่สิ้นสักที การมี Time Blocking จะทำให้คุณสามารถควบคุมจังหวะชีวิตต่างๆ ได้ดีขึ้น รู้ว่าช่วงเวลาไหนควรทำงานอะไร หากมีการเปลี่ยนแปลงควรโยกย้าย จัดสรรเวลางานไปในช่วงเวลาไหนต่อ ที่สำคัญคือทำให้รู้ว่างานในวันนั้นเสร็จไปเท่าไรแล้วบ้าง ส่งผลให้คุณเกิดความมั่นใจในการทำงานและการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น 3. ช่วยให้โฟกัสกับกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ การทำ Block จะเป็นการกำหนด “ช่วงเวลาการทำสิ่งต่างๆ” ได้ชัดเจน ว่าช่วงไหนควรทำอะไร และแน่นอนว่ามันหมายถึงการบังคับกลายๆ ให้คนทำ Time Blocking จำเป็นต้องโฟกัสตารางเวลาเพื่อให้ทุกอย่างออกมาดีที่สุด ไม่เช่นนั้นตารางเวลาทั้งหมดจะรวน วิธีการทำ Time Blocking ง่ายๆ ที่คุณก็ทำได้ Time Blocking เป็นเทคนิคที่สำคัญแม้แต่ CEO ระดับโลกอย่าง Elon Musk เลือกใช้ แต่มันก็ไม่ใช่วิธีที่ยากเลย กลับกัน การทำ Time Blocking นั้นง่ายจนน่าตกใจเสียด้วยซ้ำไป โดยมีหลักการทำดังต่อไปนี้ 1. กำหนดสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน จุดเริ่มต้นของ Time Blocking คือการที่คุณรับรู้ว่า “คุณต้องทำอะไรบ้าง” ในแต่ละวัน โดยเป็นการทำล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 1 วัน เพื่อไม่ให้กิจกรรมต่างๆ นั้นมีความฉุกละหุกจนเกินไป แน่นอนว่าทุกอย่างต้องมีสิ่งที่เรียกว่า Deadline หรือเส้นตายในการทำงานเสมอ 2. ประเมินระยะเวลาในการทำสิ่งต่างๆ ต้องประเมินตารางเวลาของการทำงานรูปแบบต่างๆ ตามจริง เช่น การตอบ email ในช่วงเช้าควรใช้เวลากี่นาที การทำงานเอกสารควรใช้เวลากี่นาที โดยอิงตามการทำงานจริงซึ่งต้องซื่อสัตย์กับตัวเองในการวางตารางเวลาเสมอ 3. ปรับกล่องเวลาของคุณตามเหตุอันสมควร “ทุกอย่างไม่ได้เป็นไปตามตารางเสมอไป Time Blocking เองก็เช่นกัน” แน่นอนว่าสิ่งที่คุณทำได้ไม่ใช่แค่การปล่อยเวลาไหลไปและเมินสิ่งที่ควรจะเป็นไปตามตาราง แต่คุณควรวางแผนรับมือมันให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น การแจ้งกับคนอื่นๆ ในทีมเกี่ยวกับตารางเวลาสำคัญๆ ของคุณ การเขียนระบุเหตุผลแนบไว้ในตารางเวลาหากมีตารางไหนที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ควรจะเป็น 4. วางแผนและตรวจสอบการกำหนดเวลาเบื้องต้น ลงตารางเวลาทุกอย่างตามจริง และขอแนะนำว่าวางสิ่งที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ไว้ก่อน รวมถึงวางจังหวะเวลาให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณเอง เช่น หากคุณสามารถทำงานบางชิ้นได้ดีในช่วงเช้า ก็ขอแนะนำให้วางตารางดังกล่าวไว้เวลาเช้า เพื่อให้การทำงานชิ้นนั้นเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด 5. ลงแผนการในที่ๆ สามารถเห็นหรือตรวจสอบได้ ไม่ว่าคุณจะทำ Time Blocking ในที่แห่งใด ขอให้บันทึกตารางเวลานั้นลงในจุดที่ตนเองสามารถเห็นได้ง่าย ตรวจสอบได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นกระดาษที่ติดอยู่บริเวณโต๊ะทำงาน ไปจนถึงตารางเวลาที่ใส่ในสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ต การทำตารางเวลาให้เห็นชัดเจนจะเป็นการกระตุ้นให้คุณสามารถทำงานได้ตรงตามเป้าหมายได้ดี ตัวอย่าง Time Blocking การวางตาราง Time Blocking สามารถทำที่ไหนก็ได้ คุณอาจใช้โปรแกรม หรือกระดาษกับปากกาในการสรรสร้างตารางเวลาของตนเอง หากใครมองไม่ออกว่าควรวางอย่างไรลองนึกถึงตารางเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับ Time Blocking มากที่สุด โดยหนึ่งในอุปกรณ์ที่สามารถวาง Time Blocking ได้ยอดเยี่ยมคือ Google Calendar โดยคุณอาจทำให้ตารางเวลาต่างๆ ชัดเจนขึ้นด้วยการตั้งสีแยก ระหว่างการประชุม การทำงานทั่วไป และเวลาว่าง เพื่อให้สามารถสังเกตและตรวจสอบช่วงเวลาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งการใช้ Google Calendar นี้ยังสามารถแชร์ให้คนอื่นๆ รับรู้ตารางงานของคุณได้ถ้วนหน้าอีกด้วย สรุป การวาง Time Blocking ถือเป็นอีกหนึ่งหนทางสำหรับการทำงานอย่างมีคุณภาพ ที่สามารถทำให้คุณเห็นภาพรวมของงานทั้งหมด รับรู้ว่าช่วงเวลาไหนว่าง ไม่ว่าง และมีกิจกรรมใดทำบ้าง เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถดำเนินไปได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด และแน่นอนที่สุดนอกจากการวางตารางงานที่ดีแล้วการมีแพลตฟอร์มการทำงานที่ยอดเยี่ยมเองก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน True VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่รวบรวมทุกฟังก์ชันสำคัญ ใช้งานง่าย ทำให้ชีวิตของคุณสะดวกมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK อ้างอิง Rescuetime Monday.com Money Buffalo Podcast
September 29, 2022
2 mins read
Critical Thinking เป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญในยุคที่มีข้อมูลข่าวสารมากมายให้เลือกเสพ เพื่อป้องกันภัยอันตรายจากข่าวลวงที่เด็กๆ อาจพบในชีวิตประจำวัน ทักษะนี้มีความสำคัญแค่ไหน แล้วสามารถสร้างได้อย่างไรกันแน่ นี่คือคำตอบเพื่อการสร้าง Critical Thinking ที่มีประสิทธิภาพซึ่งคุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน Table of Contents Critical Thinking คืออะไร Critical Thinking หรือที่รู้จักกันในชื่อการคิดเชิงวิพากษ์ คือทักษะการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลด้วยวิจารณญาณ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะนี้นับเป็นหนึ่งในทักษะจำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 (21st-Century Skill) ที่เด็กๆ ควรพัฒนาโดยการจัดอันดับของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) เพราะ Critical Thinking จะช่วยให้เด็กๆ สามารถพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลและจัดการกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้อย่างตรงจุด นอกจาก Critical thinking จะกลายเป็นหนึ่งรากฐานอันแข็งแรงที่จะส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นแล้ว ยังเป็นหนึ่งในเกราะป้องกันภัยจากมิจฉาชีพและข่าวลวงต่างๆ บน Social Media ที่เด็กๆ สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นในยุคดิจิทัลอีกด้วย ปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้าง Critical Thinking การสร้าง Critical Thinking มีด้วยกันหลากหลายวิธี ซึ่งมีปัจจัยพื้นฐาน 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. การทำความเข้าใจ (Understanding) การทำความเข้าใจในข้อมูลต่างๆ เป็นองค์ประกอบแรกที่จะช่วยให้เกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลขึ้น โดยการพยายามทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ผ่านการสังเกต หรือการมีส่วนร่วม ไปจนถึงการจินตนาการจากข้อมูลที่รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยขยายขอบเขตความรู้ให้มีความลุ่มลึกมากขึ้น และยังช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้ผู้เรียนมีทัศนวิสัยที่กว้างขวางอีกด้วย 2. การวิเคราะห์ (Analysis) หลังจากที่เข้าใจข้อมูลต่างๆ แล้ว การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละชุดด้วยการใช้ตรรกะคือกระบวนการถัดไปที่ควรทำ โดยใช้หลักการของเหตุและผลเป็นพื้นฐานในการคิดต่อยอดและพิจารณาข้อมูลที่ได้รับมา ซึ่งมีหลักการคิดคร่าวๆ คือ ความน่าเชื่อถือ สังเกตรูปแบบของข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นข้อมูลประเภทใด สามารถเชื่อถือได้มาก น้อยเพียงใด มีพื้นฐานทางข้อเท็จจริงอย่างไรบ้าง เช่น ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติอาจน่าเชื่อถือกว่าข้อมูลที่มาจากความรู้สึกส่วนบุคคล ความสมเหตุสมผล หากข้อมูลที่ได้รับมามีบางส่วนที่ดูไม่สอดคล้องกัน หรือบางอย่างที่ดูไม่น่าเป็นไปได้ อาจจะต้องพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง ความเชื่อมโยงของแต่ละชุดข้อมูล ทำการวิเคราะห์ว่าข้อมูลแต่อย่างที่เราได้รับมามีความสัมพันธ์กันแบบใด อาจเริ่มด้วยการเชื่อมโยงเรื่องง่ายๆ ก่อน เพื่อให้เด็กๆ ชินกับการโยงเรื่องราว เช่น เพราะฝนตก (สาเหตุ) รถจึงติด (ผลลัพธ์) แล้วค่อยขยายไปในเรื่องที่ใหญ่ขึ้นและกว้างขึ้นในภายหลัง 3. อนุมานอย่างรอบด้าน (Inference) การอนุมาน คือการคาดการณ์ผลสรุปของข้อมูลที่ได้วิเคราะห์บนหลักเหตุผล เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยจะอนุมานอย่างรอบด้านได้จำเป็นต้องอาศัยทั้งตรรกะ ไหวพริบและความสร้างสรรค์ในการตั้งคำถาม ด้วยการคำนึงถึงความเป็นไปได้ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเหมือนกับการตั้งคำถามแบบโสเครติส (Socratic Questioning) ซึ่งเป็นวิธีตั้งคำถามเพื่อต่อยอดสู่คำตอบที่เป็นข้อเท็จจริง ยกตัวอย่าง ไฟดับ อาจเพราะหลอดไฟขาด ไฟตกหรือปัจจัยอื่นๆ แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานอื่นคือไม่ได้จ่ายค่าไฟมาหลายเดือน จึงอนุมานได้ว่าน่าจะโดนตัดไฟจึงควรไปชำระหนี้ค้างจ่ายเพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้อีกครั้ง อยากพัฒนา Critical Thinking ต้องทำอย่างไร? 1. ฝึกรวบรวมและคัดกรองข้อมูล การอ่านและการดูถือเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ที่ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถกระทำได้ หากต้องการฝึกในเรื่องของ Critical Thinking การฝึกให้เด็กรู้จักรวบรวมข้อมูล และคัดกรองสิ่งต่างๆ ว่าสิ่งใดสมเหตุสมผล สิ่งใดน่าเชื่อถือ จึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องใส่ใจ 2. ฝึกตั้งคำถามที่กระตุ้นการเรียนรู้ การตั้งคำถามที่ก่อให้เกิดความสงสัยในสิ่งเดิมๆ ชวนให้ขบคิดต่อและสร้างความตระหนักรู้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ อย่างเป็นธรรมชาติ หากไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร การตอบคำถามปลายเปิดหรือปัญหาเชาว์ต่างๆ เพื่อฝึกขบคิดก็เป็นวิธีที่สามารถช่วยเด็กๆ ให้มี Critical Thinking ที่มากขึ้นได้ 3. สร้างและทดสอบสมมติฐาน การสร้างสมมติฐานด้วยการอนุมานจากข้อมูลที่ได้ ไม่จำเป็นต้องทำให้เด็กๆ หาคำตอบที่ถูกต้องเสียทั้งหมด แต่เป็นการพัฒนากระบวนการคิด และการทดสอบ สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ หาคำตอบในสิ่งต่างๆ มากขึ้น และในขณะเดียวกันการสร้างและทดสอบสมมติฐานยังมีส่วนช่วยในการสร้างพื้นฐานความรู้ที่แน่นและแม่นยำกว่าเดิมอีกด้วย 4. สำรวจแนวคิดใหม่ๆ ผ่านการปรับมุมมอง การสำรวจมุมมองที่แตกต่างจากเดิมหรือการเรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ จะช่วยขยายมุมมองทางความคิดให้กว้างขึ้น ช่วยสร้างแรงบันดาลใจใหม่และยังมีผลให้เด็กๆ สามารถตั้งคำถามที่กระตุ้นการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการสำรวจแง่มุมใหม่นั้นสามารถเริ่มทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเส้นทางเดินกลับบ้าน การพูดคุยในเชิงลึก (Deep Conversation) หรือการจินตนาการว่าโลกที่ไม่มีแมลงตัวเล็กๆ อย่างผึ้งจะเป็นอย่างไร สรุป Critical Thinking เป็นทักษะที่สามารถสร้างได้ผ่านการฝึกฝนและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถทำได้ โดยวิธีการคิดแบบนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ตลอดชีวิตในทุกๆ สถานการณ์ และสำหรับการเรียนการสอนแล้วนอกจากการเรียนรู้ที่ดีย่อมต้องมีตัวช่วยที่มีคุณภาพด้วย True VLEARN แพลตฟอร์มห้องเรียนดิจิทัลจาก True VWORLD ที่สามารถจัดการเรียนการสอนได้แบบเรียลไทม์จากทุกสถานที่ นอกจากนี้ยังมี Learning Support และ E-Learning Hub บนเทคโนโลยีคลาวด์ที่มีความปลอดภัยของข้อมูลสูงจากทรู ช่วยให้ทุกการพัฒนาทักษะของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VLEARN อ้างอิง teflhongkong corporate.baseplayhouse medium.com faithandbacon thechapt goodmaterial palagrit startdee
September 29, 2022
2 mins read
Minutes of Meeting เป็นเครื่องมือสรุปการประชุมที่ช่วยให้การสื่อสารภายในองค์กรของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การสร้างสรุปการประชุมที่ดีจะต้องทำอย่างไร และมีทริคในการเขียนแบบไหนบ้าง มารู้จัก Minute of Meeting แบบเจาะลึกมากยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครบ จบ ทุกประเด็น! Table of Contents Minutes of Meeting คืออะไรMinutes of Meeting คือ บันทึกการประชุมที่มีการระบุรายสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ประชุมอย่างละเอียด โดยหัวใจสำคัญของการเขียนบันทึกการประชุมประกอบไปด้วยข้อมูลหรือแนวคิดสำคัญที่เกิดขึ้น บทสรุปที่มีการตัดสินใจร่วมกัน และรวมไปถึงหน้าที่ซึ่งมีการมอบหมายแก่บุคคลต่างๆ ให้รับผิดชอบภายหลังประชุมโดยคำว่า Minutes of Meeting มาจากรากศัพท์ในภาษาละติน คือการรวมกันของคำว่า “minuta” ที่แปลว่า “เล็กๆ” และคำว่า “scriptura” ที่แปลว่า “การเขียน” เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันจึงได้เป็นคำว่า “Minuta Scriptura” ที่แปลว่า“การเขียนบันทึกเล็กๆ” นั่นเองการเขียนบันทึกการประชุมจะต่างกับเอกสารอีกชนิดซึ่งมีชื่อเรียกคล้ายคลึงกันอย่างวาระการประชุม ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเห็นถึงทิศทางและภาพรวมของการประชุม ทำให้สามารถเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้าได้อย่างเหมาะสม สิ่งที่ขาดไม่ได้ของ Minutes of Meeting ที่ดีวัน เวลา สถานที่ ระบุวัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและอ้างอิงหัวข้อการประชุม เขียนหัวข้อการประชุม วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการประชุมแต่ละครั้งให้ชัดเจนแนวคิดหรือประเด็นที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องจดทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นหรือทุกคำพูดในที่ประชุม แต่เป็นการจดเฉพาะเรื่องสำคัญตามเป้าหมายที่เราวางเอาไว้ว่าอยากได้จากการประชุมครั้งนี้ข้อสรุป มติที่ประชุม หรือแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยควรตรวจสอบความเรียบร้อยของสาระสำคัญ และความถูกต้องของข้อมูลว่าครบถ้วนดีหรือไม่เพื่อเป็นการตรวจทานแนวทางปฏิบัติ และผู้รับผิดชอบ กำหนดการประชุมครั้งต่อไป เรื่องนี้จะสรุปเมื่อไหร่ อย่างน้อยควรระบุรายละเอียดในการติดตามความคืบหน้า และระบุผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนผู้จดบันทึกการประชุมที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรผู้จดไม่ควรมีหน้าที่หลักในการประชุม เพราะอาจทำให้จดบันทึกได้ไม่ครบ หรือหลุดประเด็นระหว่างการรับฟังหรือการแสดงความคิดเห็นได้ควรทราบวัตถุประสงค์/ หัวข้อ/ ประเด็นการประชุมล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับศัพท์เทคนิคและความเข้าใจในมติของผู้จดบันทึกการพิมพ์ หรือบันทึกเสียงก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ (หากได้รับอนุญาต) แต่ต่อให้สามารถบันทึกเสียงได้ ก็ควรจดบันทึกด้วยมือระหว่างประชุมด้วย แล้วจึงหมายเหตุเอาไว้ว่าข้อมูลดังกล่าวอยู่ในช่วงไหนของการประชุมสิ่งสำคัญ คือ ต้องจับใจความสำคัญให้ได้ และต้องบันทึกสิ่งสำคัญเหล่านั้นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจนเมื่อมีข้อสงสัยควรสอบถามให้เข้าใจ ไม่ควรทิ้งข้อสงสัยเอาไว้แล้วจดบันทึกอย่างคลุมเครือหากไม่สามารถหาโอกาสหรือจังหวะสอบถามในที่ประชุมได้ ให้จดคำถามที่ต้องการถาม แล้วนำคำถามเหล่านี้ไปถามภายหลังการประชุม และควรหาเวลาทบทวนบันทึกการประชุมซ้ำอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเรียบเรียงได้เข้าใจง่ายหรือไม่อย่าลืมทวนข้อมูลที่จดก่อนปิดประชุม เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้ทำสรุปแล้วส่งให้ทุกคนที่มีส่วนร่วม ตัวอย่างการเขียน Minutes of Meeting ผู้ไม่มาประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งไม่ได้มาประชุม โดยระบุให้ทราบว่าเป็นผู้แทนจากหน่วยงานใด พร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่สามารถมาประชุมหากทราบ ผู้เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่มาร่วมประชุมซึ่งไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม พร้อมหน่วยงานที่สังกัด (ถ้ามี) เริ่มประชุม ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุม ข้อความ ให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปกติให้เริ่มด้วยประธานกล่าวเปิดประชุมและเรื่องที่ประชุมกับมติหรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละเรื่อง ประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้ ผลลัพธ์จากการประชุมครั้งที่แล้ว (ถ้ามี) สิ่งที่ต้องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (ระบุเป็นหัวข้อ) สิ่งที่ต้องการการรับรองจากที่ประชุมในครั้งนี้ แนวคิดและประเด็นที่เกิดขึ้นในการประชุม ข้อสรุปในการประชุม สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อพร้อมผู้รับผิดชอบการประชุม เลิกประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เลิกประชุม ผู้จดรายงานการประชุม ให้เลขานุการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้จดรายงานการประชุมลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งพิมพ์ชื่อเต็มและนามสกุลใต้ลายมือชื่อในรายงานการประชุม แน่นอนว่าสำหรับการเขียน Minutes of Meeting ของทีมเล็กๆ อาจไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดมากมาย รวมไปถึงการใช้เครื่องมือด้านการประชุมสามารถตรวจสอบย้อนหลังไดว่าใครเข้าร่วมประชุมบ้าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือในส่วนของข้อความ เพื่อให้ทราบว่าการประชุมดำเนินไปอย่างไร หากจบประชุมแล้วต้องทำอย่างไรต่อ เพื่อให้ที่ประชุมได้ข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุด ประโยชน์ของการเขียน Minutes of Meeting ที่ดี1. ไม่พลาดทุกบทสรุปการบันทึกรายละเอียดการประชุมเอาไว้จะช่วยให้คุณไม่พลาดทุกบทสรุปสำคัญของแต่ละหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ควรเน้นย้ำหรือระมัดระวังเป็นพิเศษ รวมถึงมติที่เกิดขึ้นในที่ประชุมอย่างชัดเจน ทำให้สามารถลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้2. รู้ว่าใครต้องทำอะไรMinutes of Meeting ทำให้เราสามารถตรวจสอบมติการประชุมในครั้งนั้นๆ ได้ว่าใครมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านใดและทราบระยะเวลาที่กำหนดในการทำงาน ส่งผลให้ทุกคนในองค์กรสามารถเตรียมตัวได้สอดคล้องกับสิ่งที่ได้รับมอบหมาย3. ง่ายต่อการติดตามสืบเนื่องมาจากข้อที่แล้ว การทราบว่าใครรับผิดชอบส่วนไหนจะช่วยให้สามารถติดตามความคืบหน้าในการทำงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้นผ่านการติดต่อสอบถามกับผู้รับผิดชอบภาระงานโดยตรง4. เข้าใจตรงกันการตกหล่นของข้อมูลต่างๆ ในการประชุมเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วย Human Error ทำให้ผู้เข้าร่วมอาจพลาดข้อมูลบางอย่างหรือตามไม่ทันจนไม่เข้าใจมติของที่ประชุมว่ามีข้อสรุปเป็นอย่างไร โดยรายงานการประชุมคือหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรสามารถอ่านทำความเข้าใจในหัวข้อสำคัญต่างๆ และข้อสรุปย้อนหลังได้อย่างเข้าใจตรงกัน5. ลดความขัดแย้งในการทำงานการบันทึกผลการประชุมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเมื่อมีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้งต่างๆ เกิดขึ้น โดยให้ใช้สิ่งที่อยู่ในบันทึกในการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางในการทำงานให้ตรงกับสิ่งที่ได้ข้อสรุปร่วมกันมาแล้ว การทำงานร่วมกันอย่างมีหลักเกณฑ์อ้างอิงจึงช่วยลดความขัดแย้งในการทำงานทำให้การร่วมมือกันเป็นไปอย่างลื่นไหล6. ง่ายต่อการแบ่งปันข้อมูลในภายหลังหากผู้เข้าร่วมประชุมต้องท่องจำเนื้อหาการประชุมทั้งหมด นอกจากจะสร้างความไม่สะดวกสบายแล้วอาจนำไปสู่ความผิดพลาดได้ โดยการเขียน Minutes of Meeting จะทำให้สามารถทบทวนผลการประชุมและนำสรุปไปแจกจ่ายกับคนในทีมต่อเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน รวมถึงผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมยังสามารถเข้ามาอ่านและทำความเข้าใจในภายหลังได้อีกด้วยสรุปการเขียน Minutes of Meeting ที่ดี ไม่ใช่แค่การเขียนให้เยอะ แต่เป็นการจับใจความและรายละเอียดของกาประชุมต่างๆ เพื่อทำให้สามารถต่อยอดสิ่งที่ได้จากการพบเจอของคนในองค์กรได้อย่างมีคุณภาพสูงสุดแน่นอนว่านอกจากการเขียนแล้ว การมีเครื่องมือในการประชุมที่ดี สามารถติดต่อกันได้อย่างไม่มีสะดุดรวมถึงสามารถบันทึกการสนทนาต่างๆ ได้ จะทำให้การประชุมไหลลื่นยิ่งขึ้น True VROOM จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ที่จะเปลี่ยนการประชุมและการตรวจสอบเนื้อหาย้อนหลังสามารถทำได้ง่ายๆ ข้อมูลไม่ตกหล่น พร้อมฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ทำให้การพูดคุยของคุณง่ายยิ่งขึ้น สามารถดูรายละเอียดได้ที่ True VROOMอ้างอิงaroundmayblockditlongtunmansales100millionnuclinotodayifoundout
September 29, 2022
< 1 min read
ระบบเศรษฐกิจแบบ Gig Economy เกิดขึ้นจากการจ้างงานแบบเป็นครั้งคราวที่มากขึ้นในสังคมปัจจุบัน สอดคล้องกับทัศนคติการทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูงของคนรุ่นใหม่เพื่ออิสระที่มากยิ่งขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลของ Mastercard พบว่า Gig Economy ทั่วโลกจะเติบโตจากราวๆ 204,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 7 ล้านล้านบาท) ในปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 455,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 16 ล้านล้านบาท) ในปี 2023 ทำให้การจ้างงานแบบอิสระเป็นเทรนด์สำคัญของคนทำงานยุคใหม่ และนี่คือข้อมูลของ Gig Economy ที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ Table of Contents รู้จักกับ Gig EconomyGig Economy คือ ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบตลาดแรงงานเสรี ซึ่งมีผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เรียกว่า Gig Worker ที่รับจ้างทำงานจบเป็นงานๆ ไป โดยผู้รับจ้างส่วนใหญ่มักถูกเรียกว่าพนักงานพาร์ทไทม์หรือ Freelance แต่จริงๆ แล้วงานทั้งสองประเภทมีความแตกต่างที่มักถูกมองข้ามอยู่เล็กน้อย คือGig Worker เป็นเหมือนกับลูกจ้างชั่วคราวที่คอยทำงานให้กับแพลตฟอร์มตัวกลางFreelance เป็นเหมือนกับบริษัทที่ต้องบริหารลูกค้าและหาลูกค้ามาเติมให้กับธุรกิจด้วยตัวเองซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Gig Economy ถูกสนับสนุนด้วยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเป็นผลให้บริษัทต่างๆ พยายามตัดค่าใช้จ่ายด้านผลประโยชน์ของพนักงานออก บวกกับสภาวะการทำงานในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็วและยืดหยุ่น หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างแพลตฟอร์มตัวกลางต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จ้างและคนทำงานเข้าด้วยกัน เช่น Uber, Airbnb และ Fiverr เป็นต้น ทำไมต้อง Gig Economy1. ช่วยธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่ายKelly Services พบว่า 43% ของบริษัทที่จ้างงาน Gig Worker แทนการจ้างงานพนักงานประจำสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแรงงานได้ถึง 20% ในขณะที่การจ้างงานแบบเดิมๆ อาจสิ้นเปลืองมากกว่าถึง 30-40% ด้วยค่าใช้จ่ายระยะยาวอย่างผลประโยชน์พนักงาน ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการ ประกันสุขภาพหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมต่างๆ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวน Gig Worker ยังทำให้ธุรกิจมีอำนาจต่อรองในการจ้างแรงงานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย2. ยืดหยุ่นยิ่งกว่าไม่ว่าจะเป็นในแง่ของคนทำงานหรือผู้จ้างงาน Gig Economy จะช่วยให้การทำงานจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะ Gig Worker สามารถรับงานจำนวนไม่จำกัดในตารางเวลาที่ต้องการได้อย่างอิสระ เพียงแค่ต้องส่งงานให้ได้ในกำหนดระยะเวลาของภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาเท่านั้น และหากไม่พอใจกับงานที่ทำก็สามารถเปลี่ยนไปทำงานอื่นได้ทันทีเมื่อจบงาน ส่วนด้านผู้จ้างก็สามารถเปลี่ยน Gig Worker ให้เหมาะกับแต่ละโปรเจกต์ซึ่งมีความท้าทายแตกต่างกันได้อย่างอิสระ และหากผลงานของ Gig Worker ที่เคยจ้างไม่เป็นที่น่าพอใจก็สามารถเปลี่ยนคนทำงานได้ในเวลาไม่นานเช่นเดียวกัน3. ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นแต่ละโปรเจกต์ต่างมีความต้องการในความสามารถเฉพาะทางของผู้ทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งการจ้างงานแบบอิสระก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก เพราะบริษัทสามารถเลือกจ้าง Gig Worker ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมาะกับความต้องการของแต่ละโปรเจกต์ได้ ซึ่งแตกต่างไปจากการจ้างงานแบบประจำที่ต้องมอบหมายงานให้กับพนักงานที่อาจไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับการทำงานมากนัก ความท้าทายที่องค์กรต้องใส่ใจ1. การจัดทรัพยากรบุคคลที่ยากขึ้นการจ้างพนักงานชั่วคราวทำให้ผู้จ้างงานต้องแบกรับความท้าทายในการจัดหาทรัพยากรบุคคลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้บริษัทสามารถจัดหาพนักงานที่เหมาะสมให้ได้จำนวนเพียงพอต่อประมาณงานภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด นอกจากนี้การผลัดเปลี่ยนพนักงานในบริษัทไปเรื่อยๆ ยังส่งผลเสียต่อการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรอีกด้วย2. กฎหมายยังไม่ครอบคลุมกฎหมายการจ้างงานชั่วคราวในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดในนโยบาย ผลประโยชน์ สิทธิ และการคุ้มครองของผู้ทำงานอิสระที่ชัดเจน ส่งผลให้ Gig worker อาจมีความรู้สึกไม่มั่นคงในทางการเงินจนต้องรับงานปริมาณมากและไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์กรจึงจำเป็นต้องกำหนดจุดสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของบริษัทและพนักงานที่เหมาะสมด้วยตนเองสรุปด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันมีแนวโน้มว่า Gig Economy จะมีการเติบโตที่น่าจับตามองอย่างมาก ทว่ายังมีข้อจำกัดอีกพอสมควรในการทำงานระยะยาว โดยหนึ่งในสิ่งที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวคือเครื่องมือในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานได้ทั้งกับคนในองค์กรและ Gig WorkerTrue VWORK จาก True VWORLD ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เหมาะกับการทำงานที่มีอิสระอย่าง Gig Economy เพราะ VWORK รวมครบทุกฟังก์ชันจำเป็นในการทำงานไว้ในที่เดียว ตั้งแต่การเช็กอินเริ่มงาน การจัดประชุมออนไลน์ การสื่อสารภายในทีม กำหนดแผนงานจนไปถึงการส่งแบบฟอร์มอนุมัติ ทำให้การจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและครบครัน! โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORKอ้างอิงbangkokbanksmeth.jobsdbth.hrnote.asiapttexpressoworkpointtodayprachachattalance.techbrandinside.asia
January 25, 2023
2 mins read
การทำงานที่บ้านหรือ Work from Home เป็นหนึ่งในวิธีการทำงานยอดนิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่การจราจรไม่ค่อยเอื้ออำนวยเท่าใดนัก ทว่าสิ่งที่ตามมาคือ การทำงานที่บ้านอาจทำให้เกิดความห่างเหินของพนักงานได้ง่าย การนำเทคโนโลยี Virtual Workplace มาประยุกต์ใช้นอกจากจะทำให้งานมีสีสันมากขึ้น ยังช่วยให้พนักงานของคุณใกล้ชิดกันง่ายขึ้นอีกด้วยรู้จักกับ Virtual WorkplaceVirtual Workplace คือ ที่ทำงานเสมือนที่มีความสามารถทุกอย่างใกล้เคียงกับการทำงานออฟฟิศจริงๆ เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานสนทนา พรีเซนต์ และทดลองทำสิ่งต่างๆ ผ่านฟังก์ชันต่างๆ เพื่อทำให้การทำงานออนไลน์นั้นสมบูรณ์แบบที่สุดนอกจากการทำงานออนไลน์ผ่านโปรแกรมต่างๆ Virtual Workplace ยังมีอีกหนึ่งความหมาย คือ การเปิดสถานที่ทำงานที่ไม่มีโต๊ะนั่งตายตัว ทุกคนสามารถเข้ามาทำงานโดยล็อกอินจากอุปกรณ์ตรงจุดไหนก็ได้ ทำให้พนักงานไม่จำเป็นต้องมาที่บริษัทพร้อมกันทุกคน แต่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพโดยในบทความนี้เราจะเน้นการพูดถึง Virtual Office แบบแรกที่เป็นการทำงานออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเป็นหลัก Table of Contents ข้อดีของ Virtual Workplace1. เข้าถึงที่ทำงานได้ง่าย การทำงานด้วย Virtual Workplace จะเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหน เมื่อไร ก็ได้ ขอแค่มีการบริหารจัดการเวลา และระบบการทำงานได้ดีพอ ซึ่ง Virtual Workplace ในปัจจุบันมีการจัดสรรแบ่งห้องให้ทุกคนสามารถพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น แชร์ไฟล์หรือหน้าจอได้สะดวก พร้อมฟังก์ชันมากมายที่น่าสนใจ2. เพิ่มความใกล้ชิดให้คนในทีมการมี Virtual Workplace เปรียบเสมือนการที่ให้คนในทีมของคุณเข้ามารวมตัวกันโดยมีโลกเสมือนเป็นจุดศูนย์กลาง ช่วยกลบจุดอ่อนของการทำงานออนไลน์ที่ผู้คนไม่สื่อสารกันได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อผู้คนออนไลน์พร้อมๆ ย่อมมีแนวโน้มที่คนเหล่านั้นจะพูดคุย ปรึกษาหารือกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องอื่นๆ เพิ่มความสนิทชิดเชื้อที่อาจหาได้ยากหากทำงานและนัดประชุมเป็นครั้งๆ3. สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายVirtual Workplace ไม่ได้เป็นแค่สถานที่สำหรับประชุมงาน แต่ยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้มากมายไม่ว่าคุณจะเปิดกล้องหรือปิดกล้อง เช่น Gather.town ที่ทำ Virtual Workplace ในรูปแบบเกม RPG ที่เรามีตัวละครเสมือนเพื่อให้พูดคุยกับคนอื่นๆ และสามารถเล่นเกมต่างๆ ร่วมกันได้อีกด้วย ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้ Virtual Workplace1. องค์กรที่ทำงานแบบ Work from Home 100%การทำงานที่บ้านแบบ 100% อาจทำให้คนในองค์กรนั้นห่างเหิน ไม่รู้จักกัน รวมถึงสามารถกำหนด แจกจ่ายงาน ไปจนถึงสร้างวัฒนธรรมองค์กรต่างๆ ได้ยาก การใช้งาน Virtual Workplace จะช่วยแก้ไขปัญหาส่วนนี้ได้ง่ายขึ้น ด้วยการเปลี่ยนทุกอย่างเข้าสู่โลกเสมือน ทำให้ผู้คนมารวมตัวกันได้สะดวกยิ่งขึ้น2. ทีมที่ทำงานแบบ Hybrid Workแม้ว่าจะไม่ได้เป็นการทำงานออนไลน์แบบ 100% แต่สำหรับทีมที่ทำงานแบบ Hybrid Work เองก็เหมาะสำหรับที่จะใช้งาน Virtual Workplace เช่นเดียวกัน เนื่องจากจะทำให้คนทั้งบริษัทสามารถทำงานได้เสมือนนั่งอยู่ในที่ทำงานเดียวกัน3. พนักงาน Freelanceสำหรับสายงาน Freelance เองก็สามารถเข้าร่วมใช้งาน Virtual Workplace ได้ และอาจจะดีกว่าที่คิดด้วย เนื่องจากคนทำงานสามารถติดต่อประสานงานกับบุคลากรต่างๆ ในบริษัทได้อย่างรวดเร็ว สามารถสอบถามความเห็นและแนวทางต่างๆ ได้ง่าย สำหรับ Virtual Workplace บางแห่งยังช่วยในการติดตามงาน วางตารางการทำงานอย่างละเอียด ทำให้งานสาย Freelance สามารถทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างของ Virtual WorkplaceTrue VWORK เป็นหนึ่งใน Virtual Workplace ที่น่าสนใจสำหรับการทำงานแบบ Work from Home และ Work from Anywhere อย่างมาก เนื่องจากมีฟังก์ชันพื้นฐานต่างๆ ครบถ้วน เหมาะสำหรับการทำงาน โดยมีการทำงานเบื้องต้นดังนี้การจัดสรรสารบบพนักงานการบริหารจัดการงานศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารอนุมัติเอกสารออนไลน์แบบฟอร์มออนไลน์พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้เช็กอินเข้างานฟังก์ชันต่างๆ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานจากที่ไหน เมื่อไรก็ได้ ด้วยระบบออนไลน์คุณภาพจาก True ทำให้ VWORK เป็นแพลตฟอร์มทำงานที่ช่วยผลักดันองค์กรของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดสรุปVirtual Workplace เป็นตัวเลือกการทำงานยุคใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพมาก ที่จะช่วยให้คนในบริษัทของคุณสามารถติดต่อสื่อสารได้ง่าย และใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเต็มเวลา พาร์ทไทม์ หรือฟรีแลนซ์ก็สามารถใช้งานได้True VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มการทำงานคุณภาพสูงจาก True ที่จะช่วยให้การทำงานของคุณง่าย ไม่มีสะดุด พร้อมฟังก์ชันช่วยเหลือต่างๆ อีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORKอ้างอิงKumospaceTechsaurcetandem
January 25, 2023
2 mins read
การพรีเซนต์งานที่ดีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความน่าสนใจให้กับผลงาน เพราะการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เป็นแค่การบอกเนื้อหาที่อยากสื่อเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับงานและสามารถโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณนำเสนอได้เป็นอย่างมากแม้จะไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาพร้อมกับความมั่นใจในการสื่อสาร แต่ทักษะการพรีเซนต์งานอย่างมืออาชีพเป็นเรื่องที่สามารถสร้างได้ ด้วย 5 เคล็ดลับพรีเซนต์งานที่จะช่วยให้คุณมั่นใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น! Table of Contents เคล็ดลับพรีเซนต์งานที่คุณควรรู้1. เปิดตัวให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายVanessa Van Edwards นักวิจัยจาก Science of People ได้ให้ความเห็นว่า ความประทับใจแรกเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยในการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังเป็นอย่างมาก ช่วงเวลาเพียง 7 วินาทีหลังจากที่พบหน้ากันอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในความสำเร็จและความล้มเหลวได้เลยทีเดียวการเลือกการเปิดตัวที่มีความโดดเด่น กล่าวประโยคที่เข้าใจได้ง่าย ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ฟัง โดยคุณอาจเริ่มง่ายๆ เช่น การยกคำพูดของคนดังที่กลุ่มผู้ฟังส่วนมากอาจรู้จัก หรือเปิดด้วยประโยคคำถาม ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ และสร้างอารมณ์ร่วมก่อนการแสดงผลงาน เป็นอีกหนึ่งในวิธีที่ดีในการพรีเซนต์นอกเหนือจากนั้นคุณควรมี Agenda การพูดให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าพวกเขากำลังจะได้รับฟังอะไร หรืออย่างน้อยๆ ตัวคุณเองจะได้รู้ว่าต้องพูดอะไร และจบตรงไหน เพื่อให้การพรีเซนต์ทั้งหมดมีประสิทธิภาพ 2. สื่อสารด้วยภาพการพรีเซนต์งานไม่ได้เป็นการขึ้นแสดงเดี่ยวไมโครโฟนที่เน้นผู้พูดเป็นหลัก หากแต่เป็นการนำเสนอสิ่งที่ต้องการด้วยวิธีการต่างๆ มากมายโดยคาดหวังว่าผู้ฟังจะได้บางสิ่งบางอย่างกลับไป ดังนั้นภาพ หรือสไลด์ประกอบย่อมเป็นสิ่งจำเป็นสไลด์ที่ดีควรเป็นเพียงองค์ประกอบเสริมที่ช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพและนึกตามได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่จุดดึงความสนใจ การใช้ภาพประกอบที่สามารถสื่อความหมายให้ตรงกับเรื่องที่คุณต้องการสื่อสารในแต่ละบูลเล็ทจึงเป็นหนึ่งวิธีที่จะตรึงใจผู้ฟังให้จดจำเนื้อหาที่คุณพูดได้มากกว่าเรื่องดังกล่าวสอดคล้องกับการทดสอบความจำมนุษย์ของนักชีววิทยาระดับโมเลกุลอย่าง John Medina ที่เผยว่าการสื่อสารด้วยรูปภาพสามารถเพิ่มความสามารถในการจดจำเนื้อหาให้กับผู้ฟังได้มากกว่าการใช้ตัวอักษรสูงถึง 65% ทำให้เห็นชัดว่าการมีภาพประกอบที่เหมาะสมสำคัญกว่าการอัดเนื้อหาเยอะๆ ลงในสไลด์3. ใช้โทนเสียงที่เหมาะสมการใช้โทนเสียงสูงต่ำที่มีความแตกต่างกันและการเว้นจังหวะเพื่อเน้นความสำคัญของข้อความคือวิธีใช้เสียงที่มีพลังในการโน้มน้าวใจคนฟังอย่างแท้จริง โดยศาสตราจารย์ด้านการตลาดอย่าง Wharton และ Jonah Berger ได้เผยว่าผู้ที่ใช้ระดับโทนเสียงที่แตกต่างกันในการพูดจะมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ทำให้สามารถนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าการควบคุมโทนเสียงในช่วงเวลาที่ตื่นเต้นจะม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณสามารถควบคุมน้ำเสียงให้มีความเหมาะสมได้ด้วยการฝึกควบคุมลมหายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อเรียกพลังและกล้าที่จะพูดออกไปอย่างเต็มที่ 4. ภาษากายที่มั่นใจและเป็นธรรมชาติภาษากายคือสิ่งแรกที่ผู้ฟังสามารถสังเกตเห็นได้จากผู้นำเสนอ ซึ่งการแสดงออกถึงความมั่นใจในสิ่งที่พูดจะช่วยเสริมสร้างบุคลิคภาพที่ดีและเป็นมืออาชีพให้ผู้พูดได้เป็นอย่างมาก วิธีการสื่อสารภาษากายที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือนั้นได้แก่ท่าทางการยืนก่อนการนำเสนอ ท่าทางการยืนที่มั่นคงสามารถช่วยลดความวิตกกังวลผ่านการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน Testosterone คือ การวางมือไว้ที่ด้านข้างของสะโพก เชิดคางและยืดอกขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำเสนอมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นระหว่างการนำเสนอ ท่าทางการยืนที่ดีจะช่วยให้ผู้พูดดูผ่าเผยอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคือ การยืนตรง หน้าอกผายและไหล่ผึ่ง ที่แสดงถึงความมั่นใจ ตั้งใจ และเป็นจุดดึงสายตาของผู้คนได้ดีสีหน้าและการสบตาการเลือกใช้สีหน้าให้สอดคล้องกับ Mood&Tone ของเรื่องที่นำเสนอควบคู่ไปกับการใช้ Eye Contact เพื่อสื่อสารความรู้สึก ความเชื่อมั่นและพลังในตัวคุณให้กับผู้ฟังเป็นวิธีการสื่อสารที่เป็นธรรมชาติ โดยคุณสามารถใช้การมองกวาดทั่วห้องและสลับกับการมองผู้ฟังเป็นรายคนประมาณคนละ 3-5 วินาทีเพื่อสร้างการสื่อสารอารมณ์ให้ดูเป็นธรรมชาติวิธีการวางมือการวางมือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของการสร้างบุคลิคภาพที่ดี ซึ่งวิธีการวางมือระหว่างพรีเซนต์ที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้พูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ ได้แก่ การแบมือทั้งสองข้าง การวางมือไว้บริเวณหน้าท้อง การใช้มือนับเลขและการผายมือให้เหมาะกับเนื้อหาและจังหวะการพูด 5. ฝึกฝนและพัฒนาซ้ำๆการฝึกฝนซ้ำๆ จะช่วยสร้างความมั่นใจและความคุ้นเคยให้กับร่างกายของคุณ ทั้งในด้านของการจดจำเนื้อหาและความทรงจำของกล้ามเนื้อ ซึ่งความคุ้นช่วยให้การพูดของคุณเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การฝึกฝนผ่านการจำลองสถานการณ์นำเสนอจริงกับคนจริงๆ หรือการอัดวิดิโอยังช่วยให้ผู้พูดทราบแนวทางการพัฒนาทักษะการพูดจากมุมมองที่แตกต่างแต่เป็นตัวเองได้อีกด้วยสรุปการพรีเซนต์งานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจจะช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับคุณได้เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องห้ามลืมคือการที่ดีเนื้อหาการพรีเซนต์ที่น่าสนใจเพื่อทำให้ดึงดูดผู้คนได้มากยิ่งขึ้น และแน่นอนว่าการพรีเซน์งานที่ดีต้องมีตัวช่วยเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมการนำเสนองานผ่าน True VROOM ห้องประชุมออนไลน์ยุคใหม่ฝีมือคนไทย จะช่วยให้คุณสามารถนำเสนองานได้อย่างราบรื่นไม่มีสะดุด ด้วยฟังก์ชันช่วยงานที่หลากหลาย รองรับคนจำนวนมาก ทำให้คุณสามารถสร้างการพรีเซนต์ที่มีคุณภาพในแบบของคุณเองได้อย่างแน่นอน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOMอ้างอิงMission to the MoonJobsDBTechsaurce-ConnextMudium.com
January 17, 2023
2 mins read
ทำไมต้องมี Agenda Meetingเชื่อว่าคนไม่น้อยคงเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยจะดีนักเกี่ยวกับการประชุม เช่น การถูกเรียกประชุมกะทันหัน ต้องเข้าร่วมการประชุมอย่างเร่งรีบทั้งที่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการประชุมในครั้งนั้นเลย หรือการที่เวลาที่ใช้ในการประชุมถูกใช้ไปอย่างยาวนานกับหัวข้อนอกเรื่องที่ไม่ได้นำไปสู่ข้อสรุปที่เราต้องการเสียทีจนกลายเป็นว่าสิ่งที่ได้จากการประชุมกลับเป็นการใช้เวลาและพลังงานไปกับการประชุมอย่างไม่คุ้มค่า และได้ผลตอบแทนกลับมาเป็นความเหนื่อยล้าและผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงผลลัพธ์แย่ๆเหล่านั้นได้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า Agenda Meeting Table of Contents รู้จักกับ Agenda MeetingAgenda Meeting หรือ วาระการประชุม คือ แผนการ เป้าหมาย สิ่งที่ผู้เข้าร่วมการประชุมคาดหวังที่จะได้ระหว่างการประชุม โดยมีการแจกแจงให้ผู้เข้าร่วมการประชุมว่าในการเข้าร่วมครั้งนี้จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างและต้องเตรียมตัวอย่างไรสำหรับการประชุมการวาง Agenda Meeting สามารถเขียนได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การใช้ Bullet เป็นข้อๆ หรือแม้แต่การทำตาราง ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับผู้ที่วางแผนการประชุมเป็นหลัก ทำไม Agenda ถึงสำคัญการที่เราจัดทำ Agenda Meeting หรือ วาระการประชุมนั้นสามารถทำให้การประชุมโดยองค์รวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประชุมที่ทางเป็นทางการหรือไม่ทางการ การประชุมที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากหรือน้อยเพียงใด โดย Agenda มีความสำคัญหลักๆ ดังนี้1. เป็นการกำหนดระยะเวลาการประชุมการวางวาระการประชุมเอาไว้ทำให้เราสามารถคาดประมาณสิ่งที่จะเกิดขึ้น และนำมาพิจารณาเวลาที่ควรจะใช้ไปกับส่วนต่างๆในการประชุม เช่น เนื้อหา การตอบข้อซักถาม ร่วมกันสรุปหาวิธีการ และใช้เป็นเกณฑ์ให้ผู้ดำเนินการประชุมควบคุมการอภิปรายให้เป็นไปตามกำหนดการให้ได้มากที่สุด2. ทำให้ผู้ประชุมรู้หัวข้อการประชุมทั้งหมดล่วงหน้าวาระการประชุมจะถูกแจกจ่ายให้กับผู้ที่ต้องเข้าร่วมการประชุมล่วงหน้าก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น ทำให้สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาล่วงหน้าได้และทำให้ง่ายต่อการดำเนินการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสะดวกอย่างยิ่งสำหรับการประชุมปกติจนถึงการนำเสนอผลงานต่างๆ3. ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับรู้ความรับผิดชอบของตนเองเมื่อทราบหัวข้อที่จะประชุมแล้วผู้ที่จะเข้าร่วมการประชุมก็จะสามารถเตรียมตัว จัดสรรเวลาให้ลงตัว เตรียมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการอภิปรายทำให้ลดภาระของผู้เข้าร่วมและช่วยให้ดำเนินการต่างๆได้อย่างทันท่วงที เทคนิคการวาง Agenda Meeting อย่างมีประสิทธิภาพ1. มีการกำหนดว่าใครร่วมประชุม ก่อนวาง Agenda Meeting ควรกำหนดบทบาทและระบุวัน เวลา สถานที่ให้ชัดเจน และแจ้งผู้ที่ต้องเข้าร่วมล่วงหน้าว่าใครที่จำเป็นจะต้องเข้าร่วมการประชุมเพื่อรับทราบข้อมูล ใครเป็นผู้ที่จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบหลังจากที่ได้ข้อสรุปแล้ว เป็นต้น เพื่อให้แต่ละคนมีเวลาสำหรับเตรียมตัวเข้าร่วมและทำให้การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่น2. มีจุดประสงค์การประชุมชัดเจน ว่าอยากที่จะได้อะไรจากการประชุมในแต่ละครั้ง อยากได้ความคิดเห็นเชิงลึกสำหรับหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน ต้องการหาตัวแทนในการรับผิดชอบ หรือเพียงอยากแจ้งให้ทราบเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน เป็นต้น3. วางหัวข้อให้กระชับ ไม่เวิ่นเว้อ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้เข้าร่วมการประชุมทุกคน จะให้ดีควรเป็นหัวข้อที่ส่งผลกระทบกับผู้เข้าร่วมทุกคนเพื่อการมีส่วนร่วมและความกระตือรือร้นในที่ประชุม4. ไม่ใส่หัวข้อเยอะจนเกินไป เพราะยิ่งหัวข้อมากขึ้นเวลาที่ใช้ก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย เวลาที่ยาวนานนอกจากจะทำให้เหนื่อยล้าแล้วยังง่ายต่อการหลุดออกจากสมาธิจนอาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้5. มีเอกสารประกอบที่จำเป็นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทำความเข้าใจล่วงหน้า อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้อ้างอิงจากแหล่งที่มาเดียวกันได้อีกด้วยสิ่งสำคัญเลยคือ “Agenda ไม่จำเป็นต้องดูทางการเสมอไป” เราสามารถปรับคำพูดและรูปแบบของ Agenda ให้มีความนุ่มนวล ไหลลื่น และเหมาะสมกับผู้เข้าร่วมประชุม เช่น การประชุมระหว่างเพื่อน การประชุมในทีมเล็กๆ หรือแม้แต่การประชุมแบบ 1-1 ก็ตาม ตัวอย่างการวาง Agendaหัวข้อการประชุม : วิธีลดความเครียดของพนักงานผู้เข้าร่วม : หัวหน้าทีม HR และพนักงานทุกคนในทีมวันที่ประชุม : 8 สิงหาคม 2565 เวลา : 13.00 - 15.00 น. สถานที่ : ห้องประชุม A บริษัท Aระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในบริษัทผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาวิธีการแก้ไข (Brainstorm)มอบหมายหน้าที่แต่ละคนในทีมสรุปผลการประชุม พร้อมระบุสิ่งที่ต้องทำต่อไปการวาง Agenda สามารถทำได้ง่ายๆ ตามที่ระบุไว้ข้างต้น และสามารถเพิ่มเติมสิ่งต่างๆ ได้ตามความเคร่งครัดและรูปแบบของการประชุม เช่น สามารกำหนดช่วงเวลาในการพูดของแต่ละหัวข้อ กำหนดผู้พูด หรือระบุเอกสารที่แนบมากับการประชุม เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวไหลลื่นยิ่งขึ้นสรุปจากข้อมูลทั้งหมดคงชัดเจนแล้วว่าการการวาง Agenda เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการประชุมจริงๆ และยังสามารถทำได้ง่ายๆ ซึ่งผู้ควบคุมการประชุมต้องมีเพื่อให้ช่วงเวลาการพูดคุยเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนมากที่สุดนอกจากการมี Agenda ที่ดีแล้ว การมีเทคโนโลยีซัพพอร์ตที่เหมาะสมก็สำคัญเช่นกัน ซึ่ง True VROOM เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมการประชุมที่น่าสนใจ ที่รองรับรูปแบบการประชุมที่หลากหลาย มีฟังก์ชันต่างๆ ครบครัน ทำให้ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงการประชุมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากคุณสนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ True VROOMอ้างอิงJob ThaiClickUpNuclio
December 20, 2022
2 mins read
“การบริหารเวลา” ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับคนทำงานในปัจจุบัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถจัดการเวลาของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นทำให้เกิดรูปแบบการบริหารเวลาขึ้นมากมาย และในบทความนี้เราจะพูดถึง Bullet Journal หรือ BUJO อีกเคล็ดการจัดการชีวิตในแต่ละวันของคุณได้ดียิ่งขึ้น Table of Contents Bullet Journal วิธีออกแบบช่วงเวลาชีวิตให้เหมาะกับคุณBullet Journal คือ การจัดระเบียบชีวิตและความคิดด้วยการจดบันทึกสิ่งต่างๆ ในรูปแบบของ Bullet ที่เป็นรูปแบบข้อความสั้นๆ เน้นเป็นหัวข้อที่มีรายละเอียดไม่ยาวมากนักเพื่อการทำความเข้าใจที่ง่ายและชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจดบันทึกรูปแบบนี้สามารถใส่สี ตาราง หรือตกแต่งได้ตามความเหมาะสมด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การจดบันทึกส่วนใหญ่มักทำในคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต แต่ Bullet Journal แบบดั้งเดิมคือการจดลงสมุด และในปัจจุบันก็มีสมุดสำหรับทำ Bullet Journal โดยเฉพาะขายมากมายเลยทีเดียว การใช้ BUJO ช่วยอะไรคุณได้บ้าง1. เตือนความจำถึงกิจกรรมสำคัญต่างๆการจดบันทึกที่ดีจะทำให้คุณจดจำรายละเอียดกิจกรรมสำคัญต่างๆ ที่คุณเคยทำไปแล้วหรือต้องทำในอนาคต ช่วยเก็บรายละเอียดในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน หรือแม้แต่การใช้ชีวิตได้ดีขึ้นเพราะการใช้ BUJO ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเรื่องงานเท่านั้น ยังสามารถใช้เพื่อบันทึกอาหารร้านโปรด เมนูอร่อยๆ หรือกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ตามชื่อ “Journal” นั่นเอง2. สร้างระเบียบวินัยให้กับตัวเองการจดบันทึกเป็นประจำจะช่วยสร้างระเบียบวินัยทั้งทางตรงและทางอ้อม Bullet Journal จะทำให้ตารางเวลาในชีวิตของคุณชัดเจนยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันการจดสิ่งต่างๆ เสมอๆ จะเป็นแรงจูงใจในการสร้างวินัยในการทำสิ่งต่างๆ อย่างต่อเนื่องในระยะยาว3. ทำให้การจัดสรรเวลาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากการเตือนความจำถึงกิจกรรมแล้ว Bullet Journal ที่ชัดเจนจะทำให้การจัดสรรเวลาอย่างเป็นประสิทธิภาพ เนื่องจาก Bullet Journal มักมีการแบ่งหมวดหมู่การเขียนในระดับวัน เดือน ไปจนถึงการวางกำหนดการในอนาคตเป็นปีๆ ตามความพอใจของคุณเอง ทำให้สามารถวางแผนระยะยาวล่วงหน้าได้ง่ายยิ่งขึ้น! การเขียน Bullet Journal ด้วยตัวคุณเองเราจะเขียน BUJO ได้อย่างไร ? แน่นอนว่าการเขียน Bullet Journal ไม่มีอะไรตายตัว เราสามารถเขียนในรูปแบบไหน แต่งเติมสีสันอะไรเข้าไปก็ได้ แต่คุณ Ryder Carroll บุคคลผู้รังสรรค์ Bullet Journal ขึ้นมาได้ให้ความเห็นว่าควรจดบันทึกลงในสมุดด้วยมือของคุณเอง เพราะจะทำให้เสริมสมาธิและมีความคิดสร้างสรรค์ได้ดีหากเทียบกับการพิมพ์ในโปรแกรมหรือแอปพลิเคชัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคนด้วยสิ่งที่ควรมีในการเริ่มต้นเขียน Bullet Journalสมุดอุปกรณ์การเขียน (หลายสียิ่งดี)องค์ประกอบเบื้องต้นของ Bullet Journalดังที่บอกว่าการเขียน Bullet Journal ไม่มีอะไรตายตัว แต่สิ่งเหล่านี้จะทำให้ Bullet Journal ของคุณสามารถอ่านย้อนหลังได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งมีดังต่อไปนี้ปฏิทิน จะวาดเองหรือปฎิทินเล็กๆ มาตัดแปะก็ไม่ผิด โดยขอแนะนำว่าทำไว้ด้านหน้าสุดของ BUJO เพื่อเป็นการวางสารบัญขนาดย่อมการกำหนดเลขหน้า สำหรับสมุดเปล่าที่ไม่มีเลขหน้าระบุสัญลักษณ์ส่วนตัว เช่น อีโมจิต่างๆ รูปหัวใจ กากบาท สำหรับระบุใน Journal ที่คุณรู้เองสิ่งที่ต้องทำ Task ต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือวางแผนว่าจะทำในอนาคตหากใครที่เคร่งๆ หน่อยก็สามารถเพิ่มสิ่งต่างๆ ได้ตามสไตล์ของคุณ เช่น To do list แบบละเอียด วางสารบัญ หรือแม้แต่ตัดแปะรูปที่สนใจลงใน Journal การทำ Journal เบื้องต้นสำหรับใครที่ไม่มีแผนหรือไอเดียในการทำ Jounal เลย นี่คือการทำ Journal แบบอ่านง่ายๆ Step by Step เพื่อคุณโดยเฉพาะเริ่มทำปฏิทินที่หน้าแรกๆ ดังที่บอกว่าจะเป็นการตัดแปะก็ได้ เพราะนี่คือ Journal ที่เปรียบเสมือนแผนการและบันทึกการเดินทางของคุณ ซึ่งการมีปฏิทินติดไว้ด้านในจะทำให้เราติดตามได้ว่ากิจกรรมใดเกิดขึ้นวันไหนบ้างลงลึกในรายละเอียดที่ต้องการทำ Journal กำหนดก่อนว่าจุดประสงค์สิ่งที่คุณจะทำ Journal นี้คืออะไร งาน การเรียน กิจกรรมการออกกำลังกาย หรือ แม้แต่บันทึกในช่วงเวลาที่คุณต้องอยู่บ้านแบบง่ายๆ แน่นอนคุณจะเขียนมันคล้ายๆ กับไดอารี่ส่วนตัวก็ได้เช่นกันรังสรรค์สิ่งต่างๆ ลงใน Journal ตามสไตล์คุณ ขอแนะนำว่าควรทำแบบ “เรียงวัน” ตามปฏิทิน เพื่อง่ายต่อการติดตาม หากคุณทำเป็นบันทึกการทำงาน อาจใช้เป็นการวาดตารางรายวัน และการติด Task ไว้ข้างๆ เพื่อวางแผนและติดตามการทำงานของตัวเอง หรือหากคุณทำเป็น “บันทึกอะไรก็ได้” ก็อาจใช้เป็นการใส่แค่วันที่ เพิ่มรูปที่ไปเที่ยวหรือถ่ายในวันนั้น แล้วเขียนอธิบายสั้นๆ ไว้เป็น Caption ก็ได้สิ่งสำคัญที่สุดคือการที่มีความเป็นคุณอยู่ใน Journal คุณสามารถใช้ปากกาหลากสีพร้อมรูปตัดแปะลงในบันทึกได้ ในขณะเดียวกันคุณก็สามารถเขียนปากกาสีเดียวทั้งเล่มก็ได้ สิ่งที่ควรทำคือการทำให้ BUJO “อ่านง่าย กระชับ” ไม่ต้องถึงขนาดไดอารี่ ให้สมกับความเป็น Bullet Journal สรุปการเขียน Bullet Journal ไม่จำเป็นต้องเป็นการวาดตารางเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ BUJO ต้องการคือการใส่ความเป็นตัวเองของคุณลงในบันทึก ทำให้สามารถเห็นรายละเอียดและจัดระเบียบชีวิตของตนเองได้มากที่สุด หรือแม้แต่เป็นบันทึกขำๆ ก็ทำได้เช่นกัน การไม่มีผิดไม่มีถูกนี้เองที่ทำให้ Bullet Journal มีเสน่ห์ และน่าสนใจสำหรับใครที่ต้องการวางตารางงาน กำหนดงานและการสื่อสารอย่างมีคุณภาพ True VWORK เองก็เป็นหนึ่งแพลตฟอร์มการทำงานที่น่าสนใจ เพื่อการจัดการเวลางานและเวลาพักผ่อนของคุณให้เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่เน้นความยืดหยุ่นในการทำงาน สามารถดูรายละเอียดได้ที่ True VWORKอ้างอิงLearn CorpOfficemateJobsdbElsa Rhae & Barron
December 19, 2022
2 mins read
มีปัญหาเรื่องการจัดสรรเวลา ? Time Blocking อาจช่วยคุณได้ ด้วยกรรมวิธีการจัดสรรเวลาเป็นบล็อกและเรียงสัดส่วนตามความเหมาะสม ที่จะช่วยให้คุณทำงานง่ายและเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น และนี่คือกรรมวิธีการบล็อกเวลาอย่างมีคุณภาพ พร้อมตัวอย่างการทำ Time Blocking จริง Table of Contents Time Blocking หลักการล็อกเวลาทำงานเบื้องต้น Time Blocking คือ การจัดสรรเวลาการทำงานและกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน โดยรวมกิจกรรมที่คล้ายกันหรือมีแนวทางการทำใกล้เคียงกันไว้เป็นสัดส่วน เพื่อทำให้สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน หรือโยกย้ายไปทำงานอื่นโดยไม่จำเป็น การทำ Time Blocking มีผลอย่างมากสำหรับคนที่ต้องการทำงานให้เสร็จเป็นอย่างๆ ทำให้มีโอกาสในการใช้เวลาได้คุ้มค่ามากขึ้น ทำไมเราจึงควรทำ Time Blocking 1. ทำให้สามารถจัดสรรเวลาได้อย่างเป็นระเบียบ 1 วันของแต่ละคนนั้นมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน และแน่นอนว่าทุกคนย่อมมีงานที่หลากหลายและแตกต่างของตัวเอง ซึ่งบางงานอาจจัดสรรให้เป็นระเบียบได้มากกว่าที่คิด เช่นงานเอกสาร การประชุม หรืองานที่มีการใช้เวลาแบบ Flexible การทำ Time Blocking จะทำให้คุณเห็นการเคลื่อนไหวของงานทั้งหมดแบบองค์รวม ทำให้สามารถจัดสรรประเภทงานที่ใกล้เคียงกันไว้ในช่วงเวลาใกล้กันได้ ทำให้การทำงานนั้นลื่นไหลยิ่งขึ้น หากงานประเภทใดเสร็จไว ก็สามารถดึงงานที่ใกล้เคียงกันมาทำต่อได้ทันที หากงานใดที่ช้าก็สามารถเลื่อนเข้า-ออกได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ 2. สร้างความมั่นใจในการควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของชีวิต สิ่งที่หลายคนประสบพบเจอในช่วงเวลาการทำงานคือรู้สึกว่าทำเท่าไรก็ไม่จบไม่สิ้นสักที การมี Time Blocking จะทำให้คุณสามารถควบคุมจังหวะชีวิตต่างๆ ได้ดีขึ้น รู้ว่าช่วงเวลาไหนควรทำงานอะไร หากมีการเปลี่ยนแปลงควรโยกย้าย จัดสรรเวลางานไปในช่วงเวลาไหนต่อ ที่สำคัญคือทำให้รู้ว่างานในวันนั้นเสร็จไปเท่าไรแล้วบ้าง ส่งผลให้คุณเกิดความมั่นใจในการทำงานและการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น 3. ช่วยให้โฟกัสกับกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ การทำ Block จะเป็นการกำหนด “ช่วงเวลาการทำสิ่งต่างๆ” ได้ชัดเจน ว่าช่วงไหนควรทำอะไร และแน่นอนว่ามันหมายถึงการบังคับกลายๆ ให้คนทำ Time Blocking จำเป็นต้องโฟกัสตารางเวลาเพื่อให้ทุกอย่างออกมาดีที่สุด ไม่เช่นนั้นตารางเวลาทั้งหมดจะรวน วิธีการทำ Time Blocking ง่ายๆ ที่คุณก็ทำได้ Time Blocking เป็นเทคนิคที่สำคัญแม้แต่ CEO ระดับโลกอย่าง Elon Musk เลือกใช้ แต่มันก็ไม่ใช่วิธีที่ยากเลย กลับกัน การทำ Time Blocking นั้นง่ายจนน่าตกใจเสียด้วยซ้ำไป โดยมีหลักการทำดังต่อไปนี้ 1. กำหนดสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน จุดเริ่มต้นของ Time Blocking คือการที่คุณรับรู้ว่า “คุณต้องทำอะไรบ้าง” ในแต่ละวัน โดยเป็นการทำล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 1 วัน เพื่อไม่ให้กิจกรรมต่างๆ นั้นมีความฉุกละหุกจนเกินไป แน่นอนว่าทุกอย่างต้องมีสิ่งที่เรียกว่า Deadline หรือเส้นตายในการทำงานเสมอ 2. ประเมินระยะเวลาในการทำสิ่งต่างๆ ต้องประเมินตารางเวลาของการทำงานรูปแบบต่างๆ ตามจริง เช่น การตอบ email ในช่วงเช้าควรใช้เวลากี่นาที การทำงานเอกสารควรใช้เวลากี่นาที โดยอิงตามการทำงานจริงซึ่งต้องซื่อสัตย์กับตัวเองในการวางตารางเวลาเสมอ 3. ปรับกล่องเวลาของคุณตามเหตุอันสมควร “ทุกอย่างไม่ได้เป็นไปตามตารางเสมอไป Time Blocking เองก็เช่นกัน” แน่นอนว่าสิ่งที่คุณทำได้ไม่ใช่แค่การปล่อยเวลาไหลไปและเมินสิ่งที่ควรจะเป็นไปตามตาราง แต่คุณควรวางแผนรับมือมันให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น การแจ้งกับคนอื่นๆ ในทีมเกี่ยวกับตารางเวลาสำคัญๆ ของคุณ การเขียนระบุเหตุผลแนบไว้ในตารางเวลาหากมีตารางไหนที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ควรจะเป็น 4. วางแผนและตรวจสอบการกำหนดเวลาเบื้องต้น ลงตารางเวลาทุกอย่างตามจริง และขอแนะนำว่าวางสิ่งที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ไว้ก่อน รวมถึงวางจังหวะเวลาให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณเอง เช่น หากคุณสามารถทำงานบางชิ้นได้ดีในช่วงเช้า ก็ขอแนะนำให้วางตารางดังกล่าวไว้เวลาเช้า เพื่อให้การทำงานชิ้นนั้นเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด 5. ลงแผนการในที่ๆ สามารถเห็นหรือตรวจสอบได้ ไม่ว่าคุณจะทำ Time Blocking ในที่แห่งใด ขอให้บันทึกตารางเวลานั้นลงในจุดที่ตนเองสามารถเห็นได้ง่าย ตรวจสอบได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นกระดาษที่ติดอยู่บริเวณโต๊ะทำงาน ไปจนถึงตารางเวลาที่ใส่ในสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ต การทำตารางเวลาให้เห็นชัดเจนจะเป็นการกระตุ้นให้คุณสามารถทำงานได้ตรงตามเป้าหมายได้ดี ตัวอย่าง Time Blocking การวางตาราง Time Blocking สามารถทำที่ไหนก็ได้ คุณอาจใช้โปรแกรม หรือกระดาษกับปากกาในการสรรสร้างตารางเวลาของตนเอง หากใครมองไม่ออกว่าควรวางอย่างไรลองนึกถึงตารางเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับ Time Blocking มากที่สุด โดยหนึ่งในอุปกรณ์ที่สามารถวาง Time Blocking ได้ยอดเยี่ยมคือ Google Calendar โดยคุณอาจทำให้ตารางเวลาต่างๆ ชัดเจนขึ้นด้วยการตั้งสีแยก ระหว่างการประชุม การทำงานทั่วไป และเวลาว่าง เพื่อให้สามารถสังเกตและตรวจสอบช่วงเวลาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งการใช้ Google Calendar นี้ยังสามารถแชร์ให้คนอื่นๆ รับรู้ตารางงานของคุณได้ถ้วนหน้าอีกด้วย สรุป การวาง Time Blocking ถือเป็นอีกหนึ่งหนทางสำหรับการทำงานอย่างมีคุณภาพ ที่สามารถทำให้คุณเห็นภาพรวมของงานทั้งหมด รับรู้ว่าช่วงเวลาไหนว่าง ไม่ว่าง และมีกิจกรรมใดทำบ้าง เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถดำเนินไปได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด และแน่นอนที่สุดนอกจากการวางตารางงานที่ดีแล้วการมีแพลตฟอร์มการทำงานที่ยอดเยี่ยมเองก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน True VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่รวบรวมทุกฟังก์ชันสำคัญ ใช้งานง่าย ทำให้ชีวิตของคุณสะดวกมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK อ้างอิง Rescuetime Monday.com Money Buffalo Podcast
September 29, 2022
2 mins read
Critical Thinking เป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญในยุคที่มีข้อมูลข่าวสารมากมายให้เลือกเสพ เพื่อป้องกันภัยอันตรายจากข่าวลวงที่เด็กๆ อาจพบในชีวิตประจำวัน ทักษะนี้มีความสำคัญแค่ไหน แล้วสามารถสร้างได้อย่างไรกันแน่ นี่คือคำตอบเพื่อการสร้าง Critical Thinking ที่มีประสิทธิภาพซึ่งคุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน Table of Contents Critical Thinking คืออะไร Critical Thinking หรือที่รู้จักกันในชื่อการคิดเชิงวิพากษ์ คือทักษะการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลด้วยวิจารณญาณ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะนี้นับเป็นหนึ่งในทักษะจำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 (21st-Century Skill) ที่เด็กๆ ควรพัฒนาโดยการจัดอันดับของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) เพราะ Critical Thinking จะช่วยให้เด็กๆ สามารถพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลและจัดการกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้อย่างตรงจุด นอกจาก Critical thinking จะกลายเป็นหนึ่งรากฐานอันแข็งแรงที่จะส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นแล้ว ยังเป็นหนึ่งในเกราะป้องกันภัยจากมิจฉาชีพและข่าวลวงต่างๆ บน Social Media ที่เด็กๆ สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นในยุคดิจิทัลอีกด้วย ปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้าง Critical Thinking การสร้าง Critical Thinking มีด้วยกันหลากหลายวิธี ซึ่งมีปัจจัยพื้นฐาน 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. การทำความเข้าใจ (Understanding) การทำความเข้าใจในข้อมูลต่างๆ เป็นองค์ประกอบแรกที่จะช่วยให้เกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลขึ้น โดยการพยายามทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ผ่านการสังเกต หรือการมีส่วนร่วม ไปจนถึงการจินตนาการจากข้อมูลที่รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยขยายขอบเขตความรู้ให้มีความลุ่มลึกมากขึ้น และยังช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้ผู้เรียนมีทัศนวิสัยที่กว้างขวางอีกด้วย 2. การวิเคราะห์ (Analysis) หลังจากที่เข้าใจข้อมูลต่างๆ แล้ว การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละชุดด้วยการใช้ตรรกะคือกระบวนการถัดไปที่ควรทำ โดยใช้หลักการของเหตุและผลเป็นพื้นฐานในการคิดต่อยอดและพิจารณาข้อมูลที่ได้รับมา ซึ่งมีหลักการคิดคร่าวๆ คือ ความน่าเชื่อถือ สังเกตรูปแบบของข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นข้อมูลประเภทใด สามารถเชื่อถือได้มาก น้อยเพียงใด มีพื้นฐานทางข้อเท็จจริงอย่างไรบ้าง เช่น ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติอาจน่าเชื่อถือกว่าข้อมูลที่มาจากความรู้สึกส่วนบุคคล ความสมเหตุสมผล หากข้อมูลที่ได้รับมามีบางส่วนที่ดูไม่สอดคล้องกัน หรือบางอย่างที่ดูไม่น่าเป็นไปได้ อาจจะต้องพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง ความเชื่อมโยงของแต่ละชุดข้อมูล ทำการวิเคราะห์ว่าข้อมูลแต่อย่างที่เราได้รับมามีความสัมพันธ์กันแบบใด อาจเริ่มด้วยการเชื่อมโยงเรื่องง่ายๆ ก่อน เพื่อให้เด็กๆ ชินกับการโยงเรื่องราว เช่น เพราะฝนตก (สาเหตุ) รถจึงติด (ผลลัพธ์) แล้วค่อยขยายไปในเรื่องที่ใหญ่ขึ้นและกว้างขึ้นในภายหลัง 3. อนุมานอย่างรอบด้าน (Inference) การอนุมาน คือการคาดการณ์ผลสรุปของข้อมูลที่ได้วิเคราะห์บนหลักเหตุผล เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยจะอนุมานอย่างรอบด้านได้จำเป็นต้องอาศัยทั้งตรรกะ ไหวพริบและความสร้างสรรค์ในการตั้งคำถาม ด้วยการคำนึงถึงความเป็นไปได้ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเหมือนกับการตั้งคำถามแบบโสเครติส (Socratic Questioning) ซึ่งเป็นวิธีตั้งคำถามเพื่อต่อยอดสู่คำตอบที่เป็นข้อเท็จจริง ยกตัวอย่าง ไฟดับ อาจเพราะหลอดไฟขาด ไฟตกหรือปัจจัยอื่นๆ แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานอื่นคือไม่ได้จ่ายค่าไฟมาหลายเดือน จึงอนุมานได้ว่าน่าจะโดนตัดไฟจึงควรไปชำระหนี้ค้างจ่ายเพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้อีกครั้ง อยากพัฒนา Critical Thinking ต้องทำอย่างไร? 1. ฝึกรวบรวมและคัดกรองข้อมูล การอ่านและการดูถือเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ที่ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถกระทำได้ หากต้องการฝึกในเรื่องของ Critical Thinking การฝึกให้เด็กรู้จักรวบรวมข้อมูล และคัดกรองสิ่งต่างๆ ว่าสิ่งใดสมเหตุสมผล สิ่งใดน่าเชื่อถือ จึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องใส่ใจ 2. ฝึกตั้งคำถามที่กระตุ้นการเรียนรู้ การตั้งคำถามที่ก่อให้เกิดความสงสัยในสิ่งเดิมๆ ชวนให้ขบคิดต่อและสร้างความตระหนักรู้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ อย่างเป็นธรรมชาติ หากไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร การตอบคำถามปลายเปิดหรือปัญหาเชาว์ต่างๆ เพื่อฝึกขบคิดก็เป็นวิธีที่สามารถช่วยเด็กๆ ให้มี Critical Thinking ที่มากขึ้นได้ 3. สร้างและทดสอบสมมติฐาน การสร้างสมมติฐานด้วยการอนุมานจากข้อมูลที่ได้ ไม่จำเป็นต้องทำให้เด็กๆ หาคำตอบที่ถูกต้องเสียทั้งหมด แต่เป็นการพัฒนากระบวนการคิด และการทดสอบ สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ หาคำตอบในสิ่งต่างๆ มากขึ้น และในขณะเดียวกันการสร้างและทดสอบสมมติฐานยังมีส่วนช่วยในการสร้างพื้นฐานความรู้ที่แน่นและแม่นยำกว่าเดิมอีกด้วย 4. สำรวจแนวคิดใหม่ๆ ผ่านการปรับมุมมอง การสำรวจมุมมองที่แตกต่างจากเดิมหรือการเรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ จะช่วยขยายมุมมองทางความคิดให้กว้างขึ้น ช่วยสร้างแรงบันดาลใจใหม่และยังมีผลให้เด็กๆ สามารถตั้งคำถามที่กระตุ้นการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการสำรวจแง่มุมใหม่นั้นสามารถเริ่มทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเส้นทางเดินกลับบ้าน การพูดคุยในเชิงลึก (Deep Conversation) หรือการจินตนาการว่าโลกที่ไม่มีแมลงตัวเล็กๆ อย่างผึ้งจะเป็นอย่างไร สรุป Critical Thinking เป็นทักษะที่สามารถสร้างได้ผ่านการฝึกฝนและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถทำได้ โดยวิธีการคิดแบบนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ตลอดชีวิตในทุกๆ สถานการณ์ และสำหรับการเรียนการสอนแล้วนอกจากการเรียนรู้ที่ดีย่อมต้องมีตัวช่วยที่มีคุณภาพด้วย True VLEARN แพลตฟอร์มห้องเรียนดิจิทัลจาก True VWORLD ที่สามารถจัดการเรียนการสอนได้แบบเรียลไทม์จากทุกสถานที่ นอกจากนี้ยังมี Learning Support และ E-Learning Hub บนเทคโนโลยีคลาวด์ที่มีความปลอดภัยของข้อมูลสูงจากทรู ช่วยให้ทุกการพัฒนาทักษะของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VLEARN อ้างอิง teflhongkong corporate.baseplayhouse medium.com faithandbacon thechapt goodmaterial palagrit startdee
September 29, 2022
2 mins read
Minutes of Meeting เป็นเครื่องมือสรุปการประชุมที่ช่วยให้การสื่อสารภายในองค์กรของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การสร้างสรุปการประชุมที่ดีจะต้องทำอย่างไร และมีทริคในการเขียนแบบไหนบ้าง มารู้จัก Minute of Meeting แบบเจาะลึกมากยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครบ จบ ทุกประเด็น! Table of Contents Minutes of Meeting คืออะไรMinutes of Meeting คือ บันทึกการประชุมที่มีการระบุรายสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ประชุมอย่างละเอียด โดยหัวใจสำคัญของการเขียนบันทึกการประชุมประกอบไปด้วยข้อมูลหรือแนวคิดสำคัญที่เกิดขึ้น บทสรุปที่มีการตัดสินใจร่วมกัน และรวมไปถึงหน้าที่ซึ่งมีการมอบหมายแก่บุคคลต่างๆ ให้รับผิดชอบภายหลังประชุมโดยคำว่า Minutes of Meeting มาจากรากศัพท์ในภาษาละติน คือการรวมกันของคำว่า “minuta” ที่แปลว่า “เล็กๆ” และคำว่า “scriptura” ที่แปลว่า “การเขียน” เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันจึงได้เป็นคำว่า “Minuta Scriptura” ที่แปลว่า“การเขียนบันทึกเล็กๆ” นั่นเองการเขียนบันทึกการประชุมจะต่างกับเอกสารอีกชนิดซึ่งมีชื่อเรียกคล้ายคลึงกันอย่างวาระการประชุม ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเห็นถึงทิศทางและภาพรวมของการประชุม ทำให้สามารถเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้าได้อย่างเหมาะสม สิ่งที่ขาดไม่ได้ของ Minutes of Meeting ที่ดีวัน เวลา สถานที่ ระบุวัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและอ้างอิงหัวข้อการประชุม เขียนหัวข้อการประชุม วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการประชุมแต่ละครั้งให้ชัดเจนแนวคิดหรือประเด็นที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องจดทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นหรือทุกคำพูดในที่ประชุม แต่เป็นการจดเฉพาะเรื่องสำคัญตามเป้าหมายที่เราวางเอาไว้ว่าอยากได้จากการประชุมครั้งนี้ข้อสรุป มติที่ประชุม หรือแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยควรตรวจสอบความเรียบร้อยของสาระสำคัญ และความถูกต้องของข้อมูลว่าครบถ้วนดีหรือไม่เพื่อเป็นการตรวจทานแนวทางปฏิบัติ และผู้รับผิดชอบ กำหนดการประชุมครั้งต่อไป เรื่องนี้จะสรุปเมื่อไหร่ อย่างน้อยควรระบุรายละเอียดในการติดตามความคืบหน้า และระบุผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนผู้จดบันทึกการประชุมที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรผู้จดไม่ควรมีหน้าที่หลักในการประชุม เพราะอาจทำให้จดบันทึกได้ไม่ครบ หรือหลุดประเด็นระหว่างการรับฟังหรือการแสดงความคิดเห็นได้ควรทราบวัตถุประสงค์/ หัวข้อ/ ประเด็นการประชุมล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับศัพท์เทคนิคและความเข้าใจในมติของผู้จดบันทึกการพิมพ์ หรือบันทึกเสียงก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ (หากได้รับอนุญาต) แต่ต่อให้สามารถบันทึกเสียงได้ ก็ควรจดบันทึกด้วยมือระหว่างประชุมด้วย แล้วจึงหมายเหตุเอาไว้ว่าข้อมูลดังกล่าวอยู่ในช่วงไหนของการประชุมสิ่งสำคัญ คือ ต้องจับใจความสำคัญให้ได้ และต้องบันทึกสิ่งสำคัญเหล่านั้นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจนเมื่อมีข้อสงสัยควรสอบถามให้เข้าใจ ไม่ควรทิ้งข้อสงสัยเอาไว้แล้วจดบันทึกอย่างคลุมเครือหากไม่สามารถหาโอกาสหรือจังหวะสอบถามในที่ประชุมได้ ให้จดคำถามที่ต้องการถาม แล้วนำคำถามเหล่านี้ไปถามภายหลังการประชุม และควรหาเวลาทบทวนบันทึกการประชุมซ้ำอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเรียบเรียงได้เข้าใจง่ายหรือไม่อย่าลืมทวนข้อมูลที่จดก่อนปิดประชุม เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้ทำสรุปแล้วส่งให้ทุกคนที่มีส่วนร่วม ตัวอย่างการเขียน Minutes of Meeting ผู้ไม่มาประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งไม่ได้มาประชุม โดยระบุให้ทราบว่าเป็นผู้แทนจากหน่วยงานใด พร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่สามารถมาประชุมหากทราบ ผู้เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่มาร่วมประชุมซึ่งไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม พร้อมหน่วยงานที่สังกัด (ถ้ามี) เริ่มประชุม ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุม ข้อความ ให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปกติให้เริ่มด้วยประธานกล่าวเปิดประชุมและเรื่องที่ประชุมกับมติหรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละเรื่อง ประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้ ผลลัพธ์จากการประชุมครั้งที่แล้ว (ถ้ามี) สิ่งที่ต้องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (ระบุเป็นหัวข้อ) สิ่งที่ต้องการการรับรองจากที่ประชุมในครั้งนี้ แนวคิดและประเด็นที่เกิดขึ้นในการประชุม ข้อสรุปในการประชุม สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อพร้อมผู้รับผิดชอบการประชุม เลิกประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เลิกประชุม ผู้จดรายงานการประชุม ให้เลขานุการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้จดรายงานการประชุมลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งพิมพ์ชื่อเต็มและนามสกุลใต้ลายมือชื่อในรายงานการประชุม แน่นอนว่าสำหรับการเขียน Minutes of Meeting ของทีมเล็กๆ อาจไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดมากมาย รวมไปถึงการใช้เครื่องมือด้านการประชุมสามารถตรวจสอบย้อนหลังไดว่าใครเข้าร่วมประชุมบ้าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือในส่วนของข้อความ เพื่อให้ทราบว่าการประชุมดำเนินไปอย่างไร หากจบประชุมแล้วต้องทำอย่างไรต่อ เพื่อให้ที่ประชุมได้ข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุด ประโยชน์ของการเขียน Minutes of Meeting ที่ดี1. ไม่พลาดทุกบทสรุปการบันทึกรายละเอียดการประชุมเอาไว้จะช่วยให้คุณไม่พลาดทุกบทสรุปสำคัญของแต่ละหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ควรเน้นย้ำหรือระมัดระวังเป็นพิเศษ รวมถึงมติที่เกิดขึ้นในที่ประชุมอย่างชัดเจน ทำให้สามารถลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้2. รู้ว่าใครต้องทำอะไรMinutes of Meeting ทำให้เราสามารถตรวจสอบมติการประชุมในครั้งนั้นๆ ได้ว่าใครมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านใดและทราบระยะเวลาที่กำหนดในการทำงาน ส่งผลให้ทุกคนในองค์กรสามารถเตรียมตัวได้สอดคล้องกับสิ่งที่ได้รับมอบหมาย3. ง่ายต่อการติดตามสืบเนื่องมาจากข้อที่แล้ว การทราบว่าใครรับผิดชอบส่วนไหนจะช่วยให้สามารถติดตามความคืบหน้าในการทำงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้นผ่านการติดต่อสอบถามกับผู้รับผิดชอบภาระงานโดยตรง4. เข้าใจตรงกันการตกหล่นของข้อมูลต่างๆ ในการประชุมเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วย Human Error ทำให้ผู้เข้าร่วมอาจพลาดข้อมูลบางอย่างหรือตามไม่ทันจนไม่เข้าใจมติของที่ประชุมว่ามีข้อสรุปเป็นอย่างไร โดยรายงานการประชุมคือหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรสามารถอ่านทำความเข้าใจในหัวข้อสำคัญต่างๆ และข้อสรุปย้อนหลังได้อย่างเข้าใจตรงกัน5. ลดความขัดแย้งในการทำงานการบันทึกผลการประชุมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเมื่อมีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้งต่างๆ เกิดขึ้น โดยให้ใช้สิ่งที่อยู่ในบันทึกในการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางในการทำงานให้ตรงกับสิ่งที่ได้ข้อสรุปร่วมกันมาแล้ว การทำงานร่วมกันอย่างมีหลักเกณฑ์อ้างอิงจึงช่วยลดความขัดแย้งในการทำงานทำให้การร่วมมือกันเป็นไปอย่างลื่นไหล6. ง่ายต่อการแบ่งปันข้อมูลในภายหลังหากผู้เข้าร่วมประชุมต้องท่องจำเนื้อหาการประชุมทั้งหมด นอกจากจะสร้างความไม่สะดวกสบายแล้วอาจนำไปสู่ความผิดพลาดได้ โดยการเขียน Minutes of Meeting จะทำให้สามารถทบทวนผลการประชุมและนำสรุปไปแจกจ่ายกับคนในทีมต่อเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน รวมถึงผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมยังสามารถเข้ามาอ่านและทำความเข้าใจในภายหลังได้อีกด้วยสรุปการเขียน Minutes of Meeting ที่ดี ไม่ใช่แค่การเขียนให้เยอะ แต่เป็นการจับใจความและรายละเอียดของกาประชุมต่างๆ เพื่อทำให้สามารถต่อยอดสิ่งที่ได้จากการพบเจอของคนในองค์กรได้อย่างมีคุณภาพสูงสุดแน่นอนว่านอกจากการเขียนแล้ว การมีเครื่องมือในการประชุมที่ดี สามารถติดต่อกันได้อย่างไม่มีสะดุดรวมถึงสามารถบันทึกการสนทนาต่างๆ ได้ จะทำให้การประชุมไหลลื่นยิ่งขึ้น True VROOM จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ที่จะเปลี่ยนการประชุมและการตรวจสอบเนื้อหาย้อนหลังสามารถทำได้ง่ายๆ ข้อมูลไม่ตกหล่น พร้อมฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ทำให้การพูดคุยของคุณง่ายยิ่งขึ้น สามารถดูรายละเอียดได้ที่ True VROOMอ้างอิงaroundmayblockditlongtunmansales100millionnuclinotodayifoundout
September 29, 2022
< 1 min read
ระบบเศรษฐกิจแบบ Gig Economy เกิดขึ้นจากการจ้างงานแบบเป็นครั้งคราวที่มากขึ้นในสังคมปัจจุบัน สอดคล้องกับทัศนคติการทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูงของคนรุ่นใหม่เพื่ออิสระที่มากยิ่งขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลของ Mastercard พบว่า Gig Economy ทั่วโลกจะเติบโตจากราวๆ 204,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 7 ล้านล้านบาท) ในปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 455,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 16 ล้านล้านบาท) ในปี 2023 ทำให้การจ้างงานแบบอิสระเป็นเทรนด์สำคัญของคนทำงานยุคใหม่ และนี่คือข้อมูลของ Gig Economy ที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ Table of Contents รู้จักกับ Gig EconomyGig Economy คือ ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบตลาดแรงงานเสรี ซึ่งมีผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เรียกว่า Gig Worker ที่รับจ้างทำงานจบเป็นงานๆ ไป โดยผู้รับจ้างส่วนใหญ่มักถูกเรียกว่าพนักงานพาร์ทไทม์หรือ Freelance แต่จริงๆ แล้วงานทั้งสองประเภทมีความแตกต่างที่มักถูกมองข้ามอยู่เล็กน้อย คือGig Worker เป็นเหมือนกับลูกจ้างชั่วคราวที่คอยทำงานให้กับแพลตฟอร์มตัวกลางFreelance เป็นเหมือนกับบริษัทที่ต้องบริหารลูกค้าและหาลูกค้ามาเติมให้กับธุรกิจด้วยตัวเองซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Gig Economy ถูกสนับสนุนด้วยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเป็นผลให้บริษัทต่างๆ พยายามตัดค่าใช้จ่ายด้านผลประโยชน์ของพนักงานออก บวกกับสภาวะการทำงานในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็วและยืดหยุ่น หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างแพลตฟอร์มตัวกลางต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จ้างและคนทำงานเข้าด้วยกัน เช่น Uber, Airbnb และ Fiverr เป็นต้น ทำไมต้อง Gig Economy1. ช่วยธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่ายKelly Services พบว่า 43% ของบริษัทที่จ้างงาน Gig Worker แทนการจ้างงานพนักงานประจำสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแรงงานได้ถึง 20% ในขณะที่การจ้างงานแบบเดิมๆ อาจสิ้นเปลืองมากกว่าถึง 30-40% ด้วยค่าใช้จ่ายระยะยาวอย่างผลประโยชน์พนักงาน ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการ ประกันสุขภาพหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมต่างๆ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวน Gig Worker ยังทำให้ธุรกิจมีอำนาจต่อรองในการจ้างแรงงานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย2. ยืดหยุ่นยิ่งกว่าไม่ว่าจะเป็นในแง่ของคนทำงานหรือผู้จ้างงาน Gig Economy จะช่วยให้การทำงานจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะ Gig Worker สามารถรับงานจำนวนไม่จำกัดในตารางเวลาที่ต้องการได้อย่างอิสระ เพียงแค่ต้องส่งงานให้ได้ในกำหนดระยะเวลาของภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาเท่านั้น และหากไม่พอใจกับงานที่ทำก็สามารถเปลี่ยนไปทำงานอื่นได้ทันทีเมื่อจบงาน ส่วนด้านผู้จ้างก็สามารถเปลี่ยน Gig Worker ให้เหมาะกับแต่ละโปรเจกต์ซึ่งมีความท้าทายแตกต่างกันได้อย่างอิสระ และหากผลงานของ Gig Worker ที่เคยจ้างไม่เป็นที่น่าพอใจก็สามารถเปลี่ยนคนทำงานได้ในเวลาไม่นานเช่นเดียวกัน3. ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นแต่ละโปรเจกต์ต่างมีความต้องการในความสามารถเฉพาะทางของผู้ทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งการจ้างงานแบบอิสระก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก เพราะบริษัทสามารถเลือกจ้าง Gig Worker ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมาะกับความต้องการของแต่ละโปรเจกต์ได้ ซึ่งแตกต่างไปจากการจ้างงานแบบประจำที่ต้องมอบหมายงานให้กับพนักงานที่อาจไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับการทำงานมากนัก ความท้าทายที่องค์กรต้องใส่ใจ1. การจัดทรัพยากรบุคคลที่ยากขึ้นการจ้างพนักงานชั่วคราวทำให้ผู้จ้างงานต้องแบกรับความท้าทายในการจัดหาทรัพยากรบุคคลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้บริษัทสามารถจัดหาพนักงานที่เหมาะสมให้ได้จำนวนเพียงพอต่อประมาณงานภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด นอกจากนี้การผลัดเปลี่ยนพนักงานในบริษัทไปเรื่อยๆ ยังส่งผลเสียต่อการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรอีกด้วย2. กฎหมายยังไม่ครอบคลุมกฎหมายการจ้างงานชั่วคราวในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดในนโยบาย ผลประโยชน์ สิทธิ และการคุ้มครองของผู้ทำงานอิสระที่ชัดเจน ส่งผลให้ Gig worker อาจมีความรู้สึกไม่มั่นคงในทางการเงินจนต้องรับงานปริมาณมากและไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์กรจึงจำเป็นต้องกำหนดจุดสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของบริษัทและพนักงานที่เหมาะสมด้วยตนเองสรุปด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันมีแนวโน้มว่า Gig Economy จะมีการเติบโตที่น่าจับตามองอย่างมาก ทว่ายังมีข้อจำกัดอีกพอสมควรในการทำงานระยะยาว โดยหนึ่งในสิ่งที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวคือเครื่องมือในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานได้ทั้งกับคนในองค์กรและ Gig WorkerTrue VWORK จาก True VWORLD ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เหมาะกับการทำงานที่มีอิสระอย่าง Gig Economy เพราะ VWORK รวมครบทุกฟังก์ชันจำเป็นในการทำงานไว้ในที่เดียว ตั้งแต่การเช็กอินเริ่มงาน การจัดประชุมออนไลน์ การสื่อสารภายในทีม กำหนดแผนงานจนไปถึงการส่งแบบฟอร์มอนุมัติ ทำให้การจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและครบครัน! โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORKอ้างอิงbangkokbanksmeth.jobsdbth.hrnote.asiapttexpressoworkpointtodayprachachattalance.techbrandinside.asia