Articles
ในยุคที่มีการแข่งขันทางการตลาดอย่างเข้มข้น แน่นอนว่าแต่ละแบรนด์พยายามหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า และเพิ่มกำไรให้องค์กรของตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ยอดฮิตที่หลายๆ แบรนด์หันมาใช้กันก็คือการขยายช่องทางการขายผ่านไลฟ์สดนั่นเอง เพราะการไลฟ์สดช่วยให้แบรนด์ลงทุนน้อยลง แต่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสะดวกต่อการโปรโมต การขยายไลน์สินค้า และนำเสนอสินค้าใหม่ให้กับลูกค้าอีกด้วยแต่การไลฟ์สดให้ปังไม่ใช่แค่การกดปุ่ม "ถ่ายทอดสด" เท่านั้น เพราะฉะนั้นบทความนี้จึงมีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่สนามแห่งการไลฟ์สด และคว้าชัยชนะมาไว้ในมือได้อย่างมั่นใจ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูเคล็ด(ไม่)ลับ ที่จะช่วยให้คุณดึงดูดผู้ชมได้อยู่หมัด พร้อมสร้างยอดขายให้เติบโตผ่านการไลฟ์สดกันเลย Table of Contents เคล็ดลับที่ 1 : ทีมเวิร์กช่วยให้ไลฟ์สดประสบความสำเร็จทุกคนมีส่วนช่วยให้งานออกมาสำเร็จ เพราะฉะนั้นคุณจึงควรให้ความสำคัญกับทีมเวิร์กและการประสานงานที่ราบรื่นตลอดการทำงาน โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผน, การกำหนดหน้าที่และผู้รับผิดชอบส่วนต่างๆ, การสื่อสารเพื่ออัปเดตความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดประชุมทีมเพื่อเน้นย้ำแผนและสิ่งสำคัญอื่นๆ, การรายงานปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและวิธีขอความช่วยเหลือหากต้องการ รวมไปถึงการตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการไลฟ์สดทุกคนไม่ได้ลาหยุดหรือลาพักร้อนในวันไลฟ์สดซึ่งการจะทำงานและประสานงานอย่างราบรื่นได้คุณควรมีเครื่องมือในการประสานงาน เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสารไร้รอยต่อ ไม่ว่าทีมจะทำงานจากที่บ้านหรือที่ทำงานก็สามารถพูดคุยอัปเดตสถานการณ์ได้แบบเรียลไทม์ โดย True VWORK เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะมีทั้งฟีเจอร์ Communication Hub ที่จะช่วยให้คุณและทีมคุยหรือวิดีโอคอลหากันได้ทุกที่, Task Management ที่สามารถมอบหมายและติดตามสถานะการทำงานของทีมได้ และ Staff Directory ที่ช่วยบริการจัดการทีมจากระยะไกล ซึ่งรวมไปถึงบริหารวันลาหยุดด้วยเคล็ดลับที่ 2 : วางแผนคอนเทนต์ดี ไลฟ์สดก็มีชัยไปกว่าครึ่งแน่นอนว่าการเริ่มไลฟ์สดในแต่ละครั้ง ผู้ดำเนินการไลฟ์ต้องมีเป้าหมายในการไลฟ์อยู่แล้ว แต่จะสื่อสารไปถึงผู้ชมได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการวางแผนคอนเทนต์ว่าครอบคลุม ชัดเจน และตอบโจทย์เป้าหมายที่ตั้งไว้หรือยัง? เพราะฉะนั้นเราจึงมีหลักการง่ายๆ 3 ข้อที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ในการวางแผน สร้างคอนเทนต์ปังๆ ในแบบฉบับของคุณ ดังนี้Who: รู้จักกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง คุณต้องการสื่อสารให้ใครฟัง? ผู้ชมของคุณต้องการอะไร? ผู้ชมของคุณอยู่ที่ไหน? เป็นคนท้องถิ่นหรือชาวต่างชาติ? หากเป็นชาวต่างชาติ คุณต้องคำนึงเรื่องการใช้ภาษาที่สอง รวมไปถึงวันที่และเวลาในการไลฟ์สดเพราะผู้ชมอาจไม่ได้อยู่ Time zone เดียวกับคุณก็ได้What: เมื่อรู้แล้วว่าต้องการสื่อสารกับ “ใคร” ต่อมาก็ต้องวางแผนว่าคุณต้องการนำเสนออะไร? จะเล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงแบบไหน? ซึ่งการนำเสนอที่ดีจะต้อง สั้น กระชับ สร้าง Impact ได้ มีความเป็นธรรมชาติ และมีเอกลักษณ์ของตัวเอง เพื่อให้การไลฟ์สดของคุณไม่เหมือนใคร นอกจากนี้คุณควรคำนึงถึงสิ่งที่ผู้ชมจะได้รับจากคอนเทนต์ที่คุณส่งไปอีกด้วยWhere: ต่อมาคือการเลือกแพลตฟอร์มที่ใช่ ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับผู้ชมเป็นหลัก โดยผู้ชมที่มีความสนใจหรืออายุที่แตกต่างกัน มักจะมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียแตกต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นคุณจึงควรเลือกแพลตฟอร์มที่สามารถดึงดูดผู้ชมที่คุณต้องการสื่อสารมากที่สุด ซึ่งเราจะบอกความแตกต่างและวิธีการเลือกแพลตฟอร์มในการไลฟ์สดในส่วนถัดไป เคล็ดลับที่ 3 : เลือกแพลตฟอร์มสำหรับไลฟ์สดให้ปังหลังจากที่คุณรู้แล้วว่าจะทำคอนเทนต์อะไร และจะสื่อสารให้ใครฟัง ต่อมาคือการเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่ให้บริการสตรีมวิดีโอ และถ้าให้เราอธิบายทุกแพลตฟอร์มก็อาจจะทำให้บทความนี้ยาวเกินไป เพราะฉะนั้นเราจึงคัดเลือก 4 แพลตฟอร์มยอดนิยมมาให้คุณเลือกตัดสินใจใช้ดังนี้True VROOM Live Streamingบริการไลฟ์สดคุณภาพสูงจากทาง True ที่เชื่อมต่อคนทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน พร้อมฟังก์ชันที่ครบถ้วนในการสนับสนุนการนำเสนอการไลฟ์อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนำเสนองาน ประชุมกลุ่มทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จนถึงโฆษณาสินค้า True VROOM ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ตอบโจทย์เป็นอย่างดี...
All articles
September 29, 2022
< 1 min read
ระบบเศรษฐกิจแบบ Gig Economy เกิดขึ้นจากการจ้างงานแบบเป็นครั้งคราวที่มากขึ้นในสังคมปัจจุบัน สอดคล้องกับทัศนคติการทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูงของคนรุ่นใหม่เพื่ออิสระที่มากยิ่งขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลของ Mastercard พบว่า Gig Economy ทั่วโลกจะเติบโตจากราวๆ 204,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 7 ล้านล้านบาท) ในปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 455,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 16 ล้านล้านบาท) ในปี 2023 ทำให้การจ้างงานแบบอิสระเป็นเทรนด์สำคัญของคนทำงานยุคใหม่ และนี่คือข้อมูลของ Gig Economy ที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ Table of Contents รู้จักกับ Gig EconomyGig Economy คือ ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบตลาดแรงงานเสรี ซึ่งมีผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เรียกว่า Gig Worker ที่รับจ้างทำงานจบเป็นงานๆ ไป โดยผู้รับจ้างส่วนใหญ่มักถูกเรียกว่าพนักงานพาร์ทไทม์หรือ Freelance แต่จริงๆ แล้วงานทั้งสองประเภทมีความแตกต่างที่มักถูกมองข้ามอยู่เล็กน้อย คือGig Worker เป็นเหมือนกับลูกจ้างชั่วคราวที่คอยทำงานให้กับแพลตฟอร์มตัวกลางFreelance เป็นเหมือนกับบริษัทที่ต้องบริหารลูกค้าและหาลูกค้ามาเติมให้กับธุรกิจด้วยตัวเองซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Gig Economy ถูกสนับสนุนด้วยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเป็นผลให้บริษัทต่างๆ พยายามตัดค่าใช้จ่ายด้านผลประโยชน์ของพนักงานออก บวกกับสภาวะการทำงานในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็วและยืดหยุ่น หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างแพลตฟอร์มตัวกลางต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จ้างและคนทำงานเข้าด้วยกัน เช่น Uber, Airbnb และ Fiverr เป็นต้น ทำไมต้อง Gig Economy1. ช่วยธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่ายKelly Services พบว่า 43% ของบริษัทที่จ้างงาน Gig Worker แทนการจ้างงานพนักงานประจำสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแรงงานได้ถึง 20% ในขณะที่การจ้างงานแบบเดิมๆ อาจสิ้นเปลืองมากกว่าถึง 30-40% ด้วยค่าใช้จ่ายระยะยาวอย่างผลประโยชน์พนักงาน ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการ ประกันสุขภาพหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมต่างๆ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวน Gig Worker ยังทำให้ธุรกิจมีอำนาจต่อรองในการจ้างแรงงานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย2. ยืดหยุ่นยิ่งกว่าไม่ว่าจะเป็นในแง่ของคนทำงานหรือผู้จ้างงาน Gig Economy จะช่วยให้การทำงานจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะ Gig Worker สามารถรับงานจำนวนไม่จำกัดในตารางเวลาที่ต้องการได้อย่างอิสระ เพียงแค่ต้องส่งงานให้ได้ในกำหนดระยะเวลาของภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาเท่านั้น และหากไม่พอใจกับงานที่ทำก็สามารถเปลี่ยนไปทำงานอื่นได้ทันทีเมื่อจบงาน ส่วนด้านผู้จ้างก็สามารถเปลี่ยน Gig Worker ให้เหมาะกับแต่ละโปรเจกต์ซึ่งมีความท้าทายแตกต่างกันได้อย่างอิสระ และหากผลงานของ Gig Worker ที่เคยจ้างไม่เป็นที่น่าพอใจก็สามารถเปลี่ยนคนทำงานได้ในเวลาไม่นานเช่นเดียวกัน3. ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นแต่ละโปรเจกต์ต่างมีความต้องการในความสามารถเฉพาะทางของผู้ทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งการจ้างงานแบบอิสระก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก เพราะบริษัทสามารถเลือกจ้าง Gig Worker ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมาะกับความต้องการของแต่ละโปรเจกต์ได้ ซึ่งแตกต่างไปจากการจ้างงานแบบประจำที่ต้องมอบหมายงานให้กับพนักงานที่อาจไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับการทำงานมากนัก ความท้าทายที่องค์กรต้องใส่ใจ1. การจัดทรัพยากรบุคคลที่ยากขึ้นการจ้างพนักงานชั่วคราวทำให้ผู้จ้างงานต้องแบกรับความท้าทายในการจัดหาทรัพยากรบุคคลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้บริษัทสามารถจัดหาพนักงานที่เหมาะสมให้ได้จำนวนเพียงพอต่อประมาณงานภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด นอกจากนี้การผลัดเปลี่ยนพนักงานในบริษัทไปเรื่อยๆ ยังส่งผลเสียต่อการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรอีกด้วย2. กฎหมายยังไม่ครอบคลุมกฎหมายการจ้างงานชั่วคราวในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดในนโยบาย ผลประโยชน์ สิทธิ และการคุ้มครองของผู้ทำงานอิสระที่ชัดเจน ส่งผลให้ Gig worker อาจมีความรู้สึกไม่มั่นคงในทางการเงินจนต้องรับงานปริมาณมากและไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์กรจึงจำเป็นต้องกำหนดจุดสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของบริษัทและพนักงานที่เหมาะสมด้วยตนเองสรุปด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันมีแนวโน้มว่า Gig Economy จะมีการเติบโตที่น่าจับตามองอย่างมาก ทว่ายังมีข้อจำกัดอีกพอสมควรในการทำงานระยะยาว โดยหนึ่งในสิ่งที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวคือเครื่องมือในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานได้ทั้งกับคนในองค์กรและ Gig WorkerTrue VWORK จาก True VWORLD ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เหมาะกับการทำงานที่มีอิสระอย่าง Gig Economy เพราะ VWORK รวมครบทุกฟังก์ชันจำเป็นในการทำงานไว้ในที่เดียว ตั้งแต่การเช็กอินเริ่มงาน การจัดประชุมออนไลน์ การสื่อสารภายในทีม กำหนดแผนงานจนไปถึงการส่งแบบฟอร์มอนุมัติ ทำให้การจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและครบครัน! โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORKอ้างอิงbangkokbanksmeth.jobsdbth.hrnote.asiapttexpressoworkpointtodayprachachattalance.techbrandinside.asia
September 29, 2022
2 mins read
Soft Skill ได้กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับการจ้างงานในยุคปัจจุบัน ที่ส่งผลให้แนวทางการเลือกบุคลากรใหม่ๆ เข้ามาทำงานในบริษัทมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แค่เป็นคน “ทำงานเก่ง” อาจไม่พออีกต่อไป แต่คุณต้อง “มีความสามารถในเรื่องอื่นๆ” ด้วยอะไรคือ Soft Skill แล้วมี Hard Skill ไหม จะทำอย่างไรให้ประยุกต์ใช้งานสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน Table of Contents รู้จัก Soft Skill ทักษะที่มีความสำคัญมากกว่าที่คุณคาดคิดSoft Skill คือ ทักษะเกี่ยวกับอารมณ์และการเข้าสังคมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสายงานหรือสายอาชีพโดยตรง แต่สามารถประยุกต์ใช้เพื่อทำให้สามารถปฏิบัติงานต่างๆ ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น การปรึกษากันในที่ทำงาน การจัดการเวลาต่างๆ เป็นต้น มักเกิดจากประสบการณ์ในการใช้ชีวิตของคนๆ นั้น เคียงคู่ไปกับการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตSoft Skill ยังมีทักษะพี่น้องที่ใช้เคียงคู่กันมาคือ Hard Skill ที่จะเป็นทักษะสำหรับการปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ โดยตรง สามารถฝึกฝนได้ผ่านสถาบันการฝึกสอน หรือฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญในศาสตร์นั้นๆ ซึ่ง Soft Skill เริ่มปรากฏความสำคัญขึ้นมาเรื่อยๆ สอดคล้องกับช่วงเวลาที่งานต่างๆ เริ่มถูกแทนที่ด้วยระบบและปัญญาประดิษฐ์ เมื่อความสามารถในการทำงานบุคคลสามารถเสริมสร้างได้ด้วยระบบต่างๆ ความแตกต่างด้านนิสัยจึงเป็นสิ่งที่นายจ้างมากมายตามหาคนที่ทำงานด้วยได้ง่ายกว่า สื่อสารได้ดีกว่า และบุคคลผู้นั้นอาจกลายเป็นบุคลากรที่บริษัทมากมายต้องการตัวได้ไม่ยากโดย Soft Skill ที่คนรุ่นใหม่ควรใส่ใจสำหรับยุคนี้ได้แก่1. Self Management เมื่อบริษัทต่างๆ มีการปฏิรูปตนเองเข้าสู่แนวทางของการ Work from Home และ Work from Anywhere ที่พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ประเด็นสำคัญที่ตามมาคือ “แล้วพนักงานที่อยู่บ้านจะทำงานจริงหรือ”การจัดการตัวเอง หรือ Self Management จึงเป็นทักษะสำคัญลำดับต้นๆ สำหรับปี 2022 ที่หลายบริษัทให้ความสำคัญ เพื่อทำให้ทางบริษัทมั่นใจว่า “ต่อให้พนักงานเหล่านี้ทำงานที่บ้าน ก็ยังสามารถปฏิบัติงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายเฉกเช่นเดียวกับอยู่ในบริษัท”ซึ่งภายใต้หัวข้อของ Self Management ยังสามารถแบ่งย่อยออกได้มากมาย เช่นGoal Setting การตั้งเป้าหมายการทำงานในแต่ละช่วงเวลาอย่างเหมาะสมTime Management การจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพStress Management การจัดการความเครียดภายใต้ความกดดันในการทำงานซึ่งทักษะเหล่านี้ก็จะส่งผลไปยังการจัดการตนเองโดยรวม ซึ่งกลายเป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ทำบริษัทที่สามารถทำงานออนไลน์ เพราะต้องยอมรับว่านอกจากความสะดวกในการทำงานแล้ว การทำงานนอกบริษัทยังทำให้เราเจอสิ่งเร้ามากมาย ผู้ที่มี Self Management ที่ดีย่อมทำงานได้ดีกว่า 2. Critical ThinkingCritical Thinking หรือการคิดเชิงวิพากษ์ เป็นทักษะที่ฝ่ายบุคคลมักทดสอบผ่านการสัมภาษณ์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งสังเกตจากการตอบคำถาม การทำโจทย์ที่บริษัทมอบหมายให้ หรือแม้แต่การอีเมลโต้ตอบเพื่อสมัครงาน โดยฝ่ายบุคคลจะสังเกตว่าบุคลากรคนนั้นๆ สามารถ “วิเคราะห์” สิ่งที่ต้องการจะสื่อได้หรือไม่จะสังเกตได้ว่า Critical Thinking มักปรากฎในสื่อสังคมออนไลน์มากมาย โดยเฉพาะในบทบาทของการใช้ตรวจสอบข่าวปลอม ว่าผู้รับสารจำเป็นต้องคิดอย่างที่ถ้วนว่าสิ่งที่ตนเองได้รับมานั้นเป็นจริงหรือไม่Critical Thinking มีบทบาทอย่างไร ? ในการทำงานบริษัททักษะความคิดเชิงวิพากษ์จะส่งผลดังนี้ส่งผลต่อการวิเคราะห์การใช้ทักษะหรือเครื่องมือในการทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะเวลาที่เท่ากันหรือลดลงทำให้เห็นจุดบอดของระบบ สามารถบอกได้ว่าควรปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนบริษัทในด้านใดบ้างสามารถให้เหตุผลของการกระทำตนเองได้ รู้ถึงความสำคัญของงานแต่ละอย่างที่ตนเองกำลังทำอยู่หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังฝึกทักษะของตนเองอยู่ล่ะก็ ขอแนะนำว่าการฝึกฝนเรื่อง Critical Thinking จะสามารถช่วยคุณได้ไม่น้อยเลยทีเดียว3. Empathyทำไมความเห็นอกเห็นใจ หรือ Empathy จึงกลายเป็น Soft Skill ที่คนต้องการในช่วงปี 2022เรื่องนี้สามารถมองได้หลากหลายมุมเพราะจะเกี่ยวกับความนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งมี 2 ประเด็นหลักที่เราจะยกมาพูดคุยกัน คือในส่วนของความสามารถในการจัดการบุคลากรในองค์กร และความสามารถในการรับมือกับลูกค้าสำหรับความสามารถในการจัดการ ทางองค์กรจัดการการทำงานแบบไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง Catalyst มีการเปิดเผยข้อมูลผลสำรวจจากผู้คน 889 ว่ากลุ่มคนราว 86% มองว่าหากหัวหน้าของพวกตนมี Empathy ย่อมส่งผลให้ลูกน้องสามารถจัดการชีวิตตนเองได้ดีขึ้นตามไปด้วยในส่วนของการรับมือของลูกค้า แน่นอนว่าการมี Empathy จะส่งผลให้บุคลากรนั้นๆ เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น และรับมือลูกค้าได้ดี เพราะมีความเข้าใจเบื้องต้นว่าคนเหล่านั้นรู้สึกอย่างไร 4. Communicationการสื่อสารเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่แทบทุกอาชีพจำเป็นต้องใช้ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งเล็กหรือตำแหน่งใหญ่ บริษัทขนาดใดก็ตามย่อมต้องมีการสื่อสารอยู่ด้วยเสมอ ยิ่งการทำงานออนไลน์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตของทุกๆ คน ทักษะการสื่อสารที่ต้องใช้ยิ่งจำเป็นต้องหลากหลายมากขึ้น โดยทักษะการสื่อสารที่มีบทบาททั่วไปมีดังต่อไปนี้ทักษะการฟังจับใจความทักษะการนำเสนอผลงานทักษะการเขียนทักษะการให้ข้อเสนอแนะการมี Soft Skill ประเภท Communication นี้นอกจากจะทำให้คุณสามารถทำงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังมีส่วนส่งผลทางอ้อมในการพูดคุย ติดต่องานกับเพื่อนร่วมงานและลูกค้าได้ดีอีกด้วย 5. Teamworkหากต้องการประสบความสำเร็จท้ายสุดแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ “ทีม” ดังนั้นทักษะสุดท้ายที่บทความนี้จะนำเสนอคือการทำงานเป็นทีมหรือ Teamwork นั่นเองการทำงานเป็นทีมเป็นทักษะที่มีส่วนผสมของหลายสิ่งหลายอย่างเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร ความเข้าอกเข้าใจ การจัดการต่างๆ ไปจนถึงการให้ความร่วมมือเพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุดการมี Teamwork ที่ดีจะส่งผลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคนในทีมมีกำลังใจในการทำงานมากขึ้นสามารถจัดการเรื่องต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพทุกคนเห็นความสำคัญของงานลดการเกิดปัญหาภายในทีมยิ่งผู้ที่ต้องการจะก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น การสามารถสร้าง Teamwork ให้มีประสิทธิภาพทั้งกับตนเองและคนอื่นๆ ในทีมย่อมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียวสรุปการมีความสามารถย่อมทำให้คุณถูกหมายตาจากบริษัทจำนวนมาก แต่การที่คุณมี Soft Skill ที่ดี ย่อมทำให้คุณได้งานจากบริษัทที่ดียิ่งขึ้น และช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นในอนาคตแน่นอนว่า Skill ที่ดีย่อมมาพร้อมกับเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อการทำงานที่ราบรื่นไม่มีสะดุดโดยTrue VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์ชั้นนำที่น่าสนใจเพื่อการทำงานในยุคดิจิทัลที่ครบ จบทุกฟังก์ชัน ทั้งการประชุมและการทำงานต่างๆ ในออฟฟิศ โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK อ้างอิงcareers.scbnovoresumeindeedcnbccorporate.baseplayhouse
September 29, 2022
< 1 min read
Smart Office คือ ออฟฟิศที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน โดยคำนึงถึงความต้องการของพนักงานเป็นสำคัญ ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานเชิงบวกให้กับคนในออฟฟิศ ทำให้ทำงานได้รวดเร็ว มีคุณภาพยิ่งขึ้น และนี่คือ 7 เหตุผลที่ทำไมบริษัทของคุณควรมีการทำ Smart Office ของตนเองบ้าง Table of Contents 1. เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์กรSmart Office มีรูปแบบการจัดการที่หลากหลาย โดยจุดเด่นที่พบเห็นได้ชัดเจนคือความเปิดกว้างของออฟฟิศ เฟอร์นิเจอร์ทุกอย่างจะถูกจัดสรรอย่างพอเหมาะพอดีให้พนักงานสามารถสื่อสารกันได้ พร้อมกันนั้นยังมีการจัดสรรพื้นที่ส่วนกลางอย่างเป็นระบบทำให้ไม่ว่าจะนั่งอยู่ตรงไหนก็สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่การใช้งาน Smart Office ยังช่วยให้พนักงานสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่ายดายมากขึ้นผ่านระบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อมูล การประชุมร่วมกับพนักงานคนอื่นๆ ที่ทำงานอยู่ห่างไกล ทำให้การแลกเปลี่ยนความรู้และการสานความสัมพันธ์เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น 2. การประสานงานเป็นไปอย่างรวดเร็วการปรับเปลี่ยนออฟฟิศของคุณให้ล้ำสมัยและรวดเร็วกว่าเก่าด้วยเทคโนโลยีต่างๆ จะช่วยให้การประสานงานภายในบริษัทเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการประสานงานของฝ่ายต่างๆ ที่ในอดีตจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบมากมาย แต่ในปัจจุบันสามารถอนุมัติเรื่องต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ได้ พร้อมดูข้อมูลต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจแบบเรียลไทม์ได้อีกด้วยเรื่องพื้นฐาน เช่นการจองห้องประชุมหรือการทำนัดหมายข้ามแผนกก็สามารถทำได้ง่ายดายผ่านระบบออนไลน์ของบริษัท นั่นหมายความว่าพนักงานของคุณจะไม่เสียเวลาอันมีค่าไปกับการเดินเอกสารและยังมีเวลาสำหรับการสร้างคุณค่าอื่นๆ ให้กับบริษัทมากยิ่งขึ้น3. ดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถการใช้งาน Smart Office ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดูมีความทันสมัย ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ให้มาร่วมทำงานกับองค์กรอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือในการทำงานด้านต่างๆ ทั้งในและนอกออฟฟิศ ยิ่งออฟฟิศมีคุณภาพ ก็จะเป็นแรงบันดาลใจ และแรงขับเคลื่อนในการทำงาน รวมถึงสร้างบรรยากาศในการทำงานทุกวันให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย4. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าSmart Office ไม่ได้มีแค่ความทันสมัย แต่ยังดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าออฟฟิศทั่วไปอีกด้วย เพราะโดยพื้นฐานแล้ว Smart Office จะมีการเก็บข้อมูลและประมวลผลต่างๆ ผ่านคอมพิวเตอร์และคลาวด์เป็นหลัก ทำให้ลดการใช้งานกระดาษ ลดขยะในออฟฟิศอย่างไม่น่าเชื่อSmart Office ในปัจจุบันมีการวางระบบต่างๆ เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการตัดไฟอัตโนมัติในห้องที่ไม่ใช้แล้ว ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ เป็นต้น โดยทางผู้บริหารสามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลการใช้พลังงานย้อนหลัง เพื่อทำการปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับการทำงานมากขึ้นได้อีกด้วย 5. ลดต้นทุนค่าสถานที่Smart Office ที่ดีจะมีการจัดสรรพื้นที่เป็นสัดเป็นส่วนตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้เกิดการใช้งานพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ใช้ประโยชน์จากสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างคุ้มค่าการมี Smart Office สำหรับบริษัทที่มีการ Hybrid Working กันเป็นหลักยิ่งเป็นสิ่งที่เหมาะสม เพราะทางบริษัทไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ แต่เป็นการใช้พื้นที่บริษัทเล็กๆ แต่เน้นให้พนักงานหมุนเวียนกันเข้ามาทำงานในออฟฟิศตามความเหมาะสม โดยใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนการจองพื้นที่ต่างๆ จะช่วยลดต้นทุนค่าสถานที่ได้มากพอสมควรทีเดียว6. จัดการข้อมูลภายในของบริษัทได้ดีกว่าหากพูดถึง Smart Office ย่อมต้องนึกถึงการใช้งานระบบคลาวด์อย่างไม่ต้องสงสัย การเก็บรักษาข้อมูลบนระบบดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้การเรียกใช้งานเอกสารต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลความลับทางการค้าต่างๆ ของบริษัทอีกด้วยเพราะระบบคลาวด์มีความสามารถในการจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานผู้ทำงานในหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ และสามารถบริหารจัดการได้ง่ายดายกว่าการใช้กระดาษเช่น พนักงานซ่อมบำรุงผู้ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของฝ่ายขายจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลรายชื่อซัพพลายเออร์คู่ค้าเหมือนกับพนักงานฝ่ายบัญชี การจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของพนักงานที่ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสำคัญจึงช่วยให้การจัดการข้อมูลภายในของบริษัทมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นและทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าไม่รั่วไหลได้โดยง่าย 7. พร้อมรับทุกการเติบโตของสังคมดิจิทัลการใช้งาน Smart Office ซึ่งมีการปรับใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาอำนวยความสะดวกชีวิตการทำงานให้กับพนักงานในทุกรายละเอียดย่อมช่วยให้พนักงานทุกคนภายในบริษัทเกิดความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมองค์กรที่มีความสมาร์ท ทำให้ทุกคนสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีล้ำสมัยที่จะมาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างง่ายดาย และยังมีความยืดหยุ่นพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะกลายเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับทุกการเติบโตของบริษัทในยุคดิจิทัลสรุปSmart Office เป็นแนวคิดใหม่ที่ช่วยพัฒนาและแก้ไขปัญหาของบริษัทได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริม Productivity การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ไปจนถึงการลดต้นทุนของบริษัทในระยะยาว ทำให้บริษัทยุคใหม่ต้องใส่ใจเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งซึ่งแน่นอนว่าการจัด Smart Office จะขาดเครื่องมือสุดสมาร์ทที่ช่วยให้การจัดการภายในบริษัทเป็นไปอย่างราบรื่นไปไม่ได้ ซึ่ง True VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์ชั้นนำที่น่าสนใจเพื่อการทำงานในยุคดิจิทัลที่ครบ จบทุกฟังก์ชัน ทั้งการประชุมและการทำงานต่างๆ ในออฟฟิศ โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORKอ้างอิง businessnewsdailyhubstarmeetintouchtoppanprosoftimpressionconsultejournals.swu
September 29, 2022
2 mins read
ภาวะผู้นำ (Leadership skill) เป็นทักษะสำคัญที่องค์กรมองหาเพื่อให้คุณสามารถตั้งรับกับทุกปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นมืออาชีพและได้รับความน่าเชื่อถือจากทั้งในและนอกองค์กร ทว่าทักษะดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีติดตัวแต่แรก แต่สามารถเพิ่มพูนได้ด้วยประสบการณ์การทำงาน และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหากอยากมีภาวะผู้นำที่ดีจำเป็นต้องฝึกกันอย่างไร ? นี่คือ 7 วิธีเพิ่มภาวะผู้นำที่ดีที่จะทำให้คุณกลายเป็นคนที่องค์กรต้องการ Table of Contents 1. พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เป็นทักษะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้นำอย่างมาก เพราะคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงมีโอกาสที่จะบริหารจัดการความคิดของตัวเองภายใต้ความกดดันได้ดี โดยไม่ทำลายบรรยากาศในการทำงาน และสามารถผลักดันทีมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้ความฉลาดทางอารมณ์ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และสื่อสารกับลูกค้า เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทั้งในและนอกองค์กรทีเดียวคุณสามารถเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ได้ง่ายๆ ด้วยการจินตนาการว่าหากตนเองเป็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งเจอกับสถานการณ์ต่างๆ จะรู้สึกและแสดงออกอย่างไร หรือลองคิดว่าทำไมฝ่ายตรงข้ามถึงแสดงออกในรูปแบบนั้นๆ และสามารถศึกษาเชิงลึกด้วยการฟังพอตแคสต์ หรือลงเรียนคอร์สจิตวิทยา เพื่อให้เข้าใจข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้น 2. ฝึกฝนการคิดให้ยืดหยุ่นในโลกของการทำงานจริงที่ผู้นำต้องกล้าเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ความยืดหยุ่นในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่สามารถพาคุณออกนอกกรอบแนวคิดเดิมๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการมองมุมใหม่เพื่อเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ดีขึ้น การพลิกแพลงเครื่องมือที่มีอยู่เพื่อแก้ไขปัญหา ไปจนถึงการปรับตัวเข้ากับทีมใหม่ การฝึกความคิดให้ยืดหยุ่นนั้นย่อมสนับสนุนให้คุณสามารถแก้ปัญหาได้หลากหลายและลุ่มลึกมากยิ่งขึ้นจนอาจพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้วิธีฝึกฝนการคิดให้ยืดหยุ่นอย่างง่าย คือ การเลือกทำกิจกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น ที่นอกจากจะช่วยให้คุณมีแนวความคิดที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเข้าใจวิธีการคิดของผู้อื่นอีกด้วย3. สังเกตและสร้างแรงบันดาลใจแบบภาวะผู้นำการสังเกตความสามารถของเพื่อนร่วมงานแต่ละคนจะช่วยให้ทราบว่าใครมีความถนัดในเรื่องอะไรเป็นพิเศษทำให้สามารถ Put the right man on the right job ได้ นอกจากจะช่วยให้บรรยากาศในที่ทำงานดีขึ้นแล้วยังเป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ Performance ของทีมอีกด้วยแน่นอนว่าการมอบหมายสิ่งต่างๆ ผ่านการสังเกตอาจไม่ได้รับความยินยอมจากคนในทีมเสมอไป ผู้ที่มีภาวะผู้นำจึงต้องมีส่วนในการสร้างแรงบันดาลในใจการทำสิ่งต่างๆ รวมถึงแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ทีมรับรู้คุณอาจเริ่มสังเกตและสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมจากการใส่ใจทำความรู้จักตัวตนของพนักงานแต่ละคนให้มากขึ้น ลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่าง รวมไปถึงสนับสนุนการนำเสนอความคิดเห็นของพนักงานก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจว่าการแสดงออกในการทำงานไม่ใช่เรื่องผิด และพวกเขาสามารถสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ที่ยอดเยี่ยมได้ด้วยตนเอง4. เข้าสังคมให้เป็นการทำงานใหญ่ไม่สามารถลุล่วงได้ด้วยคนเดียว จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้คนมากมายซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย และผู้นำคือคนที่ต้องเชื่อมโยงทุกคนในทีมให้ร่วมมือกันเพื่อให้งานลุล่วงไปได้ด้วยดี รวมถึงสามารถติดต่อพูดคุยกับลูกค้าเพื่อเจรจาต่อรองได้อย่างเหมาะสมพื้นฐานของการเข้าสังคมที่คุณสามารถฝึกได้ทุกวันคือ การยิ้มและพยักหน้าตอบรับคู่สนทนา ซึ่งเป็นวิธีการแสดงออกว่าคุณกำลังตั้งใจทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารจริงๆ หลังจากนั้นค่อยดำเนินการขยับเป็นการเสวนาเรื่องต่างๆ ที่ซับซ้อนขึ้น พร้อมกับควรสังเกตพฤติกรรมของคู่สนทนา เพื่อความเข้าใจเจตนาในการสื่อสารในวงธุรกิจ 5. จัดการเวลาตามลำดับความสำคัญการจัดการเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพคือเรื่องสำคัญที่ผู้นำต้องมี โดยการนำทฤษฎีต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้จะช่วยให้การจัดการเวลามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทฤษฎีโถแก้วแห่งชีวิต (Jar of Life) เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้ โดยคุณสามารถฝึกการบริหารจัดการได้ด้วยการเรียบเรียงความสำคัญเปรียบกับก้อนหินใหญ่ กรวด และเม็ดทราย และใช้สิ่งเหล่านั้นเติมลงในโถ (เวลาในแต่ละวันของคุณ)ซึ่งคุณต้องทำการใส่หินก้อนใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตเป็นอันดับแรก แล้วค่อยตามด้วยกรวดเล็กๆ ที่สำคัญรองลงมา และปิดท้ายด้วยการใส่ทรายซึ่งเป็นตัวแทนของเรื่องที่ไม่ค่อยสำคัญในชีวิตเพื่อให้ทุกนาทีของคุณถูกใช้ไปอย่างมีคุณค่าสูงสุด 6. ฝึกฝนการสื่อสารอีกหนึ่งทักษะสำคัญในการนำทีมให้ประสบความสำเร็จคือทักษะการสื่อสาร ซึ่งผู้นำที่ดีควรจะถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้คนอื่นๆ เข้าใจได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น ถูกกาลเทศะและไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดการเข้าใจในเจตนาที่ผิด โดยสามารถทำได้ทั้ง คำสั่ง คำถาม รวมถึงการพูดเชิงชี้นำคุณสามารถนำทักษะการสื่อสารมาใช้ในการทำงานได้อย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น การจูงใจให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกมุ่งมั่นในการทำงานหรือการตำหนิพนักงานเมื่อทำผิดให้มีความไม่รู้สึกผิดใจกันการฝึกฝนการสื่อสารสามารถทำได้ด้วยการฝึกเรียบเรียงคำพูดให้กระชับ ได้ใจความ ใช้ความสุภาพเป็นหลัก เพื่อลดความเข้าใจผิดของคู่สนทนา อาจฝึกฝนเพิ่มเติมด้วยการสอบถามคนในทีมเกี่ยวกับวิธีการพูดและการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การสื่อสารต่างๆ ครบถ้วน และได้ใจของคนในทีมไปในเวลาเดียวกัน7. เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆการไม่หยุดพัฒนาตนเองด้วยการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนหรือการพัฒนาทักษะเดิมให้เชี่ยวชาญเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง นอกจากจะช่วยให้คุณเก่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้คุณเป็นตัวอย่างที่ดีของทีม ทำให้คุณสามารถรับมือกับกระแสของธุรกิจที่เปลี่ยนไปในทุกวันได้อย่างรวดเร็ว และอาจนำกุญแจสู่ความสำเร็จที่ไม่เหมือนใครมาไว้ในมือคุณก็ได้โดยคุณสามารถเริ่มต้นเรื่องนี้ได้ด้วยการลงเรียนคอร์สต่างๆ ที่คุณสนใจ ฟังพอตแคสต์เพื่อพัฒนาตนเอง ไปจนถึงอ่านหนังสือหมวดที่คุณไม่เคยลิ้มลองมาก่อน จะช่วยให้คุณเข้าถึงสิ่งใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้นสรุป“ผู้นำ” ไม่ใช่เพียงแค่คำเรียกตำแหน่งหน้าที่แต่เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องมี วิสัยทัศน์ และพฤติกรรมที่เหมาะสมกับองค์กร จึงสามารถกล่าวได้ว่าคนผู้นั้นมีภาวะผู้นำได้ ซึ่งนอกจากการพัฒนาตัวผู้นำองค์กรให้ดีแล้ว ก็ควรมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการทำงานเพื่อให้ทุกคนสามารถดำเนินสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพTrue VWORK เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดีๆ ที่ตอบสนองทุกการทำงานในยุคดิจิทัล ที่รวมครบทุกฟังก์ชันจำเป็นในการทำงานไว้ในที่เดียว ตั้งแต่การเช็กอินเริ่มงาน การจัดประชุมออนไลน์ การสื่อสารภายในทีม กำหนดแผนงานไปจนถึงการส่งแบบฟอร์มอนุมัติ จะเป็นงานแบบไหนก็พร้อมใช้งาน โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK อ้างอิงteambuildingmissiontothemoonth.hrnote.asiaadeccomarketingoopsdrfish.training
September 29, 2022
2 mins read
Blended Learning เป็นอีกหนึ่งเทรนด์การเรียนแบบใหม่ในยุค New Normal ที่ตอบโจทย์ความทันสมัยและมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ด้วยการผสมผสานการเรียนแบบออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน กลยุทธ์นี้มีความโดดเด่นแค่ไหน และสามารถประยุกต์ใช้กับการศึกษาปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ไปดูพร้อมๆ กันเลย! Table of Contents รู้จักกับ Blended LearningBlended Learning คือ การเรียนรู้แบบผสมผสานที่นำการเรียนรู้แบบออนไลน์และการเรียนในห้องเรียนแบบดั้งเดิมเข้าด้วยกัน ซึ่งการเรียนรู้แบบ Blended นี้มีการประยุกต์ใช้มานับสิบปีแล้ว แต่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ในช่วงยุค Digital Transformation ที่ผ่านมานี่เองBlended Learning หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Hybrid Learning มีการวางสัดส่วนในการเรียนออนไลน์ไว้ตั้งแต่ 30-70% ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละวิชา โดยมีการใช้สื่อการสอนแบบออนไลน์เป็นหลักที่เน้นความยืดหยุ่นและเข้าถึงง่ายของผู้เรียน แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การทดลองต่างๆ เพื่อให้นักเรียนเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดเด่นของ Blended Learning1. มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายอ้างอิงจากทฤษฎีพีระมิดแห่งการเรียนรู้ (Learning Pyramid) จากงานวิจัยของ NTL Institute มีการระบุไว้ว่าวิธีการเรียนรู้แต่ละวิธีจะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำและเรียนรู้เนื้อหาการเรียนได้มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน อย่างเช่นการอ่านจะช่วยให้จำได้ 10% การฟังจะช่วยให้จำได้ 20% และการได้ลองปฏิบัติด้วยตัวเองจะช่วยให้จำได้ 75%การเรียนออนไลน์เพียงแค่อย่างเดียวจึงอาจไม่ตอบโจทย์การเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากขาดการปฏิบัติจริง และการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวก็อาจมีความรู้ไม่ทันสมัย รวมไปถึงขาดสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นเท่าที่ควร Blended Learning มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย จึงเป็นรูปแบบการศึกษาที่น่าสนใจกว่า เพราะสามารถนำเสนอสิ่งต่างๆ ผ่านสื่อมากมาย พร้อมมีตัวอย่างจริง รวมถึงการลงมือทำกิจกรรมจริงๆ ดังนั้นการเรียนรู้แบบผสมผสานนี้จึงเป็นคำตอบที่ลงตัวที่สุดสำหรับการเรียนแบบใหม่ในยุค New Normal2. สภาพแวดล้อมในการเรียนที่ดีกว่าBlended Learning เป็นรูปแบบการเรียนที่ยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากกว่าการเรียนแบบออนไลน์ โดยการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนจะช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการร่วมกันหาคำตอบภายในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี และเมื่อเทียบกับการเรียนแบบออนไลน์หรือการเรียนแบบดั้งเดิมแล้ว Blended Learning ยังช่วยขยายระยะเวลาโฟกัสในการเรียนให้มีความยาวมากขึ้นได้ ซึ่งนอกจากผลดีที่ผู้เรียนจะได้รับแล้ว Blended Learning ยังเอื้อต่อการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรของผู้สอนให้เหมาะกับกลุ่มผู้เรียนอีกด้วย 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองคุณประโยชน์อีกข้อของ Blended Learning ที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย คือการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการแนะนำของผู้สอน โดยผู้เรียนสามารถค้นคว้าหัวข้อที่ตนเองยังไม่เข้าใจหรือมีความสนใจมากเป็นพิเศษได้อย่างรวดเร็วผ่านสื่อการสอนออนไลน์โดยไม่ต้องรู้สึกกดดันเหมือนการเรียนพร้อมกันกับผู้เรียนคนอื่นๆ นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับแต่งความเร็วในการเรียนให้เหมาะกับตัวเองแล้ว Blended Learning ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการเชื่อมโยงความรู้จากการศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกอีกด้วยจัดการการเรียนรู้แบบผสมผสานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพใช้การเรียนออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าการเรียนแบบ Blended Learning จะต้องมีสัดส่วนของเนื้อหาที่นำเสนอผ่านระบบออนไลน์ระหว่าง 30-70% แต่ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ด้วยตัวเองของผู้เรียนแล้ว โครงสร้างสัดส่วนการเลคเชอร์แบบออนไลน์ของ Blended Learning อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นอ้างอิงจากงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การปรับตัวเลขการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้ขยับขึ้นมาที่ 60% และใช้การทำกิจกรรมและการเรียนในห้อง 40% จะส่งผลดีต่อผู้เรียนมากที่สุด กระนั้นตัวเลขดังกล่าวก็ยังสามารถรปรับเปลี่ยนได้ตามสไตล์การสอนและความเหมาะสมของแต่ละวิชาเช่นกันใช้การแนะนำแบบโค้ชมากกว่าเลคเชอร์ (coaching) การสอนแบบบรรยายเนื้อหาหรือเลคเชอร์จะเป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่พบเห็นได้เป็นปกติ แต่สำหรับการเรียนแบบ Blended Learning แล้ว การโค้ช (Coaching) ผ่านการตั้งคำถามที่น่าสนใจให้ผู้เรียนได้ขบคิดและค้นคว้าคำตอบอาจเป็นวิธีการสอนที่ดึงประสิทธิภาพในตัวผู้เรียนออกมาได้มากกว่าเพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองผ่านเว็บช่วยสอนและเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ อยู่แล้ว การโค้ชจะช่วยเสริมในส่วนของการขบคิดและแลกเปลี่ยนความเห็นผ่านการตอบคำถามภายในชั้นเรียนให้มากขึ้น และส่งผลในการผลักดันทักษะการคิดวิเคราะห์วิพากษ์หรือ Critical Thinking ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการต่อยอดไปสู่การศึกษาในอนาคตของผู้เรียนนั่นเองใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ Blended Learning เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ควรใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีเพื่อการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อวิดีโอการเรียนต่างๆ แพลตฟอร์มการส่งงานของผู้เรียนหรือห้องสนทนาออนไลน์ก็ล้วนอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้เรียนและผู้สอน อีกทั้งการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังสามารถขยายขอบเขตการเรียนรู้ของผู้เรียนให้กว้างขึ้นกว่าเก่า ช่วยลดความเครียดและภาระงานที่ไม่จำเป็นต่างๆ ของครูผู้สอนลง ทำให้ผู้สอนมีเวลาในส่วนนี้ที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบวิธีการสอนและแผนกิจกรรมดีๆ ให้กับผู้เรียนได้มากขึ้นอีกด้วย สรุปBlended Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนออนไซต์ที่มีจุดเด่นในการถ่ายทอดประสบการณ์จากการลงมือทำกิจกรรม ร่วมกับการเรียนแบบออนไลน์ ที่มีความยืดหยุ่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในจุดต่างๆ ตอบโจทย์ยุคสมัย ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงTrue VLEARN แพลตฟอร์มห้องเรียนดิจิทัลจาก TRUE VWORLD เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่น่าสนใจ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการเรียนรู้ในมิติใหม่กลายเป็นเรื่องง่าย มีฟังก์ชันครบครันเหมาะสำหรับการเรียนยุค New Normal เช่นเดียวกับ True VROOM ที่เป็นแพลตฟอร์มห้องประชุมยุคใหม่ ตอบโจทย์ทั้งการเรียนและการทำงานจากที่ไหนก็ได้ได้ โดยคุณสามารถดูรายละเอียดของทั้งสองแพลตฟอร์มได้ที่ True VLEARN และ True VROOM อ้างอิงlimitlesseducationfaithandbaconlib.edu.chulaedujournal.bsruenglishgangaksorncore.ac.uk
September 29, 2022
2 mins read
ประชุมทางไกล เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับยุคดิจิทัลที่ทุกคนเน้นการทำงานออนไลน์เป็นหลัก ทุกบริษัทต่างต้องมีการปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการประชุมแบบนี้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือรายละเอียดของการประชุมทางไกลที่ผู้บริหารองค์กรรุ่นใหม่ไม่ควรพลาดประชุมทางไกล หนทางของการทำงานยุคอนาคตการประชุมทางไกล คือ รูปแบบการประชุมที่ผู้เข้าประชุมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการสนับสนุน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการประชุมทางไกลไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ก่อนที่จะมีสมาร์ทโฟน หลายบริษัทก็มีการประชุมทางไกลกันผ่านโทรศัพท์อยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าด้วยเทคโนโลยีที่ยังไม่พัฒนาทำให้การประชุมรูปแบบดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพมากนักจนมาถึงปัจจุบันที่เทคโนโลยีต่างๆ มีการพัฒนาไปไกล เราสามารถเห็นภาพ เสียง ของคู่สนทนา รวมถึงการดูข้อมูลต่างๆ ที่กำลังถูกนำเสนอได้ผ่านจอภาพ ดังนั้นการประชุมทางไกลจึงได้แปรเปลี่ยนเป็น “เรื่องธรรมดา” และนี่คือ 5 องค์ประกอบสำคัญสำหรับการประชุมที่คุณควรรู้ Table of Contents 1. แผนการประชุมหนึ่งในปัญหาที่ผู้เข้าร่วมประชุมแทบทุกคนต้องเคยเจอ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมระยะไกลหรือการประชุมแบบเจอหน้า คือปัญหาเรื่องการประชุมยืดเยื้อ ไม่ตรงประเด็น ไม่รู้ว่าตนเองต้องเข้าร่วมประชุมทำไม รวมถึงการประชุมที่ถี่เกินความจำเป็นงานวิจัย The Psychology Behind Meeting Overload จาก Harvard Business Review มีการระบุว่าพนักงานระดับ Manager ราว 83% มองการประชุมว่าไม่ได้ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญหาในเรื่องการประชุมและการทำงานเป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยขนาดไหน ดังนั้นสิ่งแรกที่คุณควรมีก่อนการประชุมคือ “แผน” ที่ดี2. อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระบบอินเทอร์เน็ตคุณภาพเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้การส่งข้อมูลทั้งภาพและเสียงสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ที่เข้าร่วมการประชุมทางไกลควรมีระบบอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รวดเร็ว มีความเสถียร รวมถึงมีผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้สามารถประชุมได้ลื่นไหล ไม่มีติดขัดหากบริษัทต้องมีการประชุมทางไกลบ่อยครั้ง การติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือมีการสนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ตในแง่มุมต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญ 3. ระบบภาพและเสียงภาพ เสียง และการนำเสนอต่างๆ เป็นจุดเด่นของการประชุมออนไลน์ในยุคนี้ ดังนั้นผู้ประชุมควรมีอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ กล้อง ลำโพง ไมค์ รวมไปถึงจอภาพเพื่อการนำเสนอในที่ประชุม เพื่อช่วยให้การนำเสนอและการสนทนามีความสมบูรณ์ที่สุดโดยระบบภาพและเสียงนี้จะมีความแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบริษัท หากเป็นบริษัทขนาดเล็กซึ่งมีการประชุมแยกรายบุคคล การใช้คอมพิวเตอร์แล็บท็อปพร้อมหูฟังอาจเป็นตัวเลือกในการประชุมที่ดี แต่ถ้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีการประชุมหลายฝ่ายพร้อมกัน การมีห้องประชุมสำหรับพูดคุยและนำเสนองานผสมผสานกับการประชุมออนไลน์ อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า4. แพลตฟอร์มที่ใช้ในการประชุมปฏิเสธไม่ได้ว่าหากพูดถึงการประชุมทางไกลในปัจจุบันย่อมนึกถึงการประชุมออนไลน์ และการประชุมประเภทนี้จำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มการประชุมที่เหมาะสม โดยแพลตฟอร์มต่างๆ จะมีความโดดเด่นแตกต่างกันออกไปตามผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับปริมาณผู้ร่วมประชุม คุณภาพของภาพและเสียง ไปจนถึงความ Local ที่ผู้ให้บริการอยู่ในพื้นที่เดียวกับผู้รับบริการตัวอย่างแพลตฟอร์มที่ใช้ความ Local ได้ดีคือ True VROOM ที่นอกจากจะมีการแสดงผลทั้งภาพและเสียงที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีฝ่ายซัพพอร์ตภายในประเทศไทย สามารถติดต่อและให้บริการเป็นภาษาไทยได้ง่าย5. ความรู้พื้นฐานของพนักงานเรื่องสุดท้ายที่สำคัญที่สุดในการประชุมทางไกลคือความรู้พื้นฐานของพนักงานทุกคน ก่อนการดำเนินการประชุมทางไกล ทุกบริษัทควรมีการสอบถามความรู้พื้นฐานในการใช้งานอุปกรณ์ และโปรแกรมต่างๆ รวมถึงการ Training พนักงาน เพื่อให้สามารถใช้งานและแก้ปัญหาการสื่อสารเบื้องต้นได้ ทำให้การประชุมดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีปัญหาเกิดขึ้นน้อยที่สุดแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ที่น่าสนใจ 1. True VROOMแพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่มีจุดเด่นในความ Local ดังที่มีการระบุไว้ก่อนหน้า รองรับทุกระบบปฏิบัติการ สามารถเข้าประชุมผ่านเว็บเบราเซอร์ได้ในทันที ครบครันทุกเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการสื่อสารทางไกลTrue VROOM เวอร์ชันใหม่ยังรองรับการประชุมแบบ Global ด้วยการแบ่งห้องสำหรับล่ามผู้แปลภาษาโดยเฉพาะ เพื่อให้การประชุมของคุณมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น! สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM2. Google Meetแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่มีจุดเด่นในด้านการรองรับคนได้มากมาย รวมถึงมีฟังก์ชันพื้นฐานอย่างครบครัน ได้รับความเชื่อถือจากองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก มีจุดเด่นในการทำงานร่วมกับบริการต่างๆ ของ Google ได้เป็นอย่างดี3. Zoomอีกหนึ่งแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์มีชื่อเสียง Zoom มีจุดเด่นในความลื่นไหลของการสื่อสาร และฟังก์ชันพื้นฐานต่างๆ สำหรับการประชุม เพียงแต่ผู้ใช้งานอาจต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น เนื่องจากการใช้งานให้ครบทุกฟังก์ชันจำเป็นมีการตั้งค่าและขั้นตอนการติดตั้งต่างๆ ค่อนข้างเยอะสรุปการประชุมระยะไกลกลายเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทต้องเผชิญ ซึ่งผู้จัดการประชุมควรมีแผนการประชุมที่ดี มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบที่เพียบพร้อม แพลตฟอร์มคุณภาพ และการเทรนพนักงานให้มีความรู้พื้นฐาน เพื่อการประชุมที่สมบูรณ์ที่สุดTrue VROOM เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับการประชุมที่น่าสนใจ ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาฟังก์ชันต่างๆ ให้ง่ายต่อการใช้งานยิ่งขึ้น ตอบโจทย์การประชุมทางไกลทั้งแบบ 1-1 ไปจนถึงการประชุมทั้งบริษัท สามารถสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานฟรีที่ True VROOMอ้างอิงlivewebinarbluejeanshbrmissiontothemoon
September 29, 2022
2 mins read
ต้องสัมภาษณ์งานแบบไหนบริษัทจึงจะรับเข้าทำงาน ? ประเด็นนี้เป็นคำถามที่คนจำนวนมากสงสัย แม้ว่าโปรไฟล์ดีหรือมีบุคคลรองรับก็อาจสะดุดได้ เพราะในยุคนี้การทำงานอาจต้องการมากกว่า Hard Skill แต่ต้องมีทักษะในชีวิตประจำวันอย่าง Soft Skill ด้วย ในวันนี้เราจึงจะพาไปรู้จักหนึ่งในเคล็ดลับการสัมภาษณ์อย่าง STAR Model ตัวช่วยชั้นดีสำหรับการตอบคำถามเพื่อการเข้างาน ช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณได้งานตามที่ต้องการมากขึ้น!! Table of Contents รู้จักกับ STAR Model เทคนิคสำคัญในการสัมภาษณ์งาน การสัมภาษณ์งาน คือ การพูดคุยสอบถามเพื่อที่ทำให้ฝ่ายบุคคลได้รู้จักตัวตนของผู้ที่สมัครเข้ามาทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่แฝงอยู่ในการสัมภาษณ์หลายครั้งจะเป็นการทดสอบต่างๆ ทั้งการสื่อสาร การแก้ปัญหา ไปจนถึงการพรีเซนต์งาน แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่สามารถรับมือกับคำถามประเภทนั้นได้ดี STAR Model หรือ STAR Technique เป็นโมเดลการตอบคำถามที่ช่วยทำให้การตอบคำถามของคุณกระชับและตรงประเด็นมากขึ้น ใช้สำหรับการตอบคำถามประเภทอธิบายหรือบรรยายสถานการณ์ ซึ่งเป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่ต้องเผชิญเมื่อเข้าสู่การสัมภาษณ์งาน โดยส่วนประกอบของ STAR Model นั้นมีดังต่อไปนี้ S: Situation สถานการณ์ เลือกสถานการณ์ของเรื่องราวให้เหมาะสม เพราะการระบุเหตุการณ์ต่างๆ เป็นการปูพื้นฐานที่ดีสำหรับการเล่าเรื่อง T: Task เป้าหมาย ระบุเป้าหมายสำหรับเรื่องราวดังกล่าว เพื่อบ่งบอกว่าหน้าที่ของเรา ณ เวลานั้นต้องแก้ปัญหาสิ่งใด ทำให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นถึงความท้าทายที่เราต้องเผชิญ A: Action การกระทำ บอกว่าเรามีการแก้ปัญหาอย่างไร อธิบายว่าหลังจากเรามีเป้าหมาย เราได้ทำอย่างไรต่อ ควรเป็นการระบุชี้ชัดว่าทำอย่างไร มีการวางแผนอะไรบ้าง เป็นขั้นตอนไป อย่าตอบแค่ว่าเราพยายามหรือทำงานอย่างหนักเพียงอย่างเดียว R: Result ผลลัพธ์ อธิบายผลลัพธ์จากการกระทำของเรา ว่าหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวสิ่งที่เกิดขึ้นได้ส่งผลอย่างไรบ้าง จะดีมากหากคำตอบของเราเป็นสิ่งที่วัดผลได้ และอาจเพิ่มเติมสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการปิดท้าย ตัวอย่างการตอบคำถามด้วย STAR Model คำถาม คุณลองยกตัวอย่างการทำงานที่ตัวเองภูมิใจให้เราฟังหน่อย คำตอบที่อ้างอิง STAR Model ในช่วงที่ผมเริ่มทำงานใหม่ๆ ทางบริษัทเก่ามีการติดต่อสื่อสารกับลูค้าที่ล่าช้า ทำให้บางครั้งเราสูญเสียรายได้อย่างที่ไม่ควรเป็น (Situation) ทางผมเลยต้องหาทางออกเกี่ยวกับการสื่อสารกับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น (Task) และดำเนินการประชุมกับทีมงานเพื่อใช้ซอฟต์แวร์ CRM (Customer Relationship Management) ควบคู่ไปกับการปรับปรุงตำแหน่ง Admin ประจำ Social Media ของบริษัท (Action) ผลของการแก้ไขปัญหานั้นทำให้เราสามารถรักษาลูกค้าเก่าได้มากกว่าเดิมถึง 50% และมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก 20% (Result) จะสังเกตได้เลยว่าคำตอบจะมีความกระชับ เข้าถึงประเด็นของคำถามได้รวดเร็ว และมีการอธิบายทุกอย่างอย่างครบถ้วน ไม่เวิ่นเว้อ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสัมภาษณ์ที่อาจมีเวลาจำกัด คนถามอยากรู้อะไร ? เจาะลึกเพื่อตอบคำถามให้ได้งาน สิ่งที่ควรสังเกตควบคู่ไปกับการใช้งาน STAR Model คือก่อนตอบคำถามคุณอาจต้องพิจารณาก่อนว่าคนถามกำลังมองหาอะไรจากคุณ เนื่องจากองค์กรในปัจจุบันไม่ได้ต้องการคนที่เก่งเฉพาะสายงานของตนเอง แต่ต้องการคนที่มีคววามสามารถหลากหลายเพียงพอที่จะตอบสนองการเติบโตอันรวดเร็วของโลกอีกด้วย โดยเบื้องต้นคำถามของการสัมภาษณ์มักมีจุดประสงค์ดังนี้ 1. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นกะทันหันได้ดีแค่ไหน ซึ่งอาจมาในรูปแบบของคำถามจิตวิทยา การตั้งโจทย์การทำงานให้ลองแก้ไข หากเจอคำถามประเภท “คุณจะทำอย่างไร” ควรคาดเดาไว้เลยว่าเขาต้องการทดสอบความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของคุณ 2. ความสามารถในการสื่อสารกับผู้คน องค์กรแต่ละที่มักมีวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป และบทสัมภาษณ์ก็มักมีการหยั่งเชิงในส่วนนี้อยู่เสมอ บางองค์กรก็มีการดึงคนจากตำแหน่งใกล้เคียงกับที่เราสมัคร ไปจนถึงสมาชิกในทีมมานั่งร่วมการสัมภาษณ์ด้วย 3. ความสามารถเฉพาะด้านสำหรับสายงานต่างๆ คำถามนี้มักเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตำแหน่ง ข้อมูลใน Resume และ Portfolio โดยผู้สัมภาษณ์อาจใช้คำถามเชิงวิชาการถามมาแบบตรงๆ เพื่อวัด Hard Skill ซึ่งในบางบริษัทจะมีแบบทดสอบให้ทำควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์ ดังนั้นหากตอบอะไรไปควรมี “เหตุผล” สำหรับคำตอบดังกล่าวด้วยเพื่อรองรับคำถามที่จะตามมา 4. ความสามารถสอดคล้องกับเงินเดือน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับเงินเป็นหลัก ที่ทั้งตัวผู้สัมภาษณ์และองค์กรต่างต้องประเมินความสามารถของพนักงานให้สอดคล้องกับเงินเดือนที่ได้รับ ดังนั้นคำถาม “คุณต้องการเงินเดือนเท่าไร” มักมาพร้อมกับคำถามเกี่ยวกับอายุงานอยู่เสมอ 5. คำถามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงปลายการสัมภาษณ์ มักเป็นการชวนคุยเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการถามคำถามย้ำว่า “มีอะไรอยากสอบถามเพิ่มเติมไหม” ซึ่งสิ่งเหล่านั้นบางส่วนก็เป็นการทดสอบทัศนคติ ไปจนถึงความกล้าแสดงออกของผู้ถูกสัมภาษณ์ ดังนั้นอย่าเผลอลืมตัวพูดออกนอกประเด็นหรือตัดบทไปเสียทีเดียว อาจใช้วิธีการพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในบริษัทก่อนจบการสัมภาษณ์จะเป็นตัวเลือกที่ทำให้คุณดูน่าสนใจยิ่งขึ้น การเตรียมสัมภาษณ์อย่างมืออาชีพ 1. ตรวจสอบความต้องการขั้นต้นของสายงาน ในส่วนนี้เป็นสิ่งที่ผู้สมัครจำเป็นต้องตรวจสอบก่อนสมัครงาน แต่สำหรับคนที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ หรือคนที่ต้องการทำงานนอกสายงาน อาจต้องมีการเตรียมตัวเพิ่ม เช่น การเรียนคอร์สออนไลน์ การฝึกงานต่างๆ เพื่อทำให้มีใบรับรองความสามารถและความรู้เพียงพอสำหรับการสัมภาษณ์ 2. การเตรียม Resume และ Portfolio เบื้องต้น การเตรียม Resume และ Portfolio ควรมีการนำเสนอข้อมูลให้ตอบโจทย์กับสายงานต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนของความสามารถ เช่น งาน Marketing คุณจำเป็นต้องนำเสนอในส่วนของการตลาดเป็นหลัก 3. ซ้อมสัมภาษณ์งานจริง สำหรับคนที่ไม่เคยสัมภาษณ์มาก่อน ขอแนะนำว่าควรลองซ้อมตอบคำถามการสัมภาษณ์ อาจใช้กระจก เพื่อน หรือคนในครอบครัวมาสมมติ เพื่อลดความตื่นเต้นในการสัมภาษณ์จริง สรุป STAR Model เป็นอีกหนึ่งโมเดลการตอบคำถามสำหรับสัมภาษณ์งานเพื่อทำให้ตอบคำถามได้กระชับ สมเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น แม้แต่คนสัมภาษณ์เองก็ยังสามารถใช้โมเดลนี้เพื่อตั้งคำถามหรือประเมินการตอบคำถามของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อีกด้วย แน่นอนว่าการสัมภาษณ์ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ รองรับการพูดคุยได้อย่างลื่นไหล True VROOM เป็นแพลตฟอร์การประชุมที่น่าสนใจซึ่งกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่ทำให้คุณสามารถพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับทั้งการสัมภาษณ์และการทำงานในองค์กร ตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ และทดลองใช้งานได้ฟรีที่ True VROOM อ้างอิง betterup uk.indeed.com thebalancecareers thebalancecareers
September 29, 2022
2 mins read
ธุรกิจในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเจ้าใหญ่หรือเจ้าเล็ก ต่างก็ต้องปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอนว่า มีธุรกิจเกิดใหม่มากมายนับไม่ถ้วนจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แล้วในปีนี้จะมีธุรกิจออนไลน์อะไรเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจบ้างลองมาดูกันเลย! Table of Contents เทรนด์ธุรกิจออนไลน์ที่น่าสนใจหลัง Covid 1. ธุรกิจ E-Commerce ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการคาดเดาว่าตลาด E-Commerce ไทยจะมีมูลค่าราว 5.65 แสนล้านบาท โดยมีการขยายตัวราว 13.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าการค้าขายสินค้าออนไลน์ยังคงได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย ซึ่งธุรกิจ E-Commerce นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการขายของอย่างเดียวเสมอไป ยังมีธุรกิจอีกมากมายเช่น การรับจ้างสร้างแพลตฟอร์ม E-Commerce การรับจัดการระบบหลังบ้านของร้านค้า การรับโฆษณาผ่านโลกออนไลน์ ธุรกิจเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าภายใต้การเติบโตของการซื้อขาย ยังมีช่องทางในการทำธุรกิจของผู้คนอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว 2. ธุรกิจการสอนออนไลน์ “ความรู้” ไม่ว่าจะด้านไหนก็สามารถนำไปต่อยอดได้ด้วยการ “สอน” และสำหรับยุคปัจจุบันมีแพลตฟอร์มคุณภาพมากมายที่เป็นช่องทางสำหรับการสอน หลายคนจึงผันตัวมาเป็นโค้ชและอาจารย์ที่สอนในสิ่งที่ตนเองถนัดหรือสิ่งที่สังคมสนใจ ตั้งแต่การทำอาหาร แต่งหน้า การเขียนบทความ ไปจนถึงการทำการตลาด ที่ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มการสอนมากมายเปิดให้บริการ แน่นอนว่าคนทำธุรกิจการสอนออนไลน์บางคนก็ไม่ได้เลือกสอนผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าว แต่ใช้การโปรโมตผ่านโซเชียลมีเดียแทน และทำการสอนผ่านแพลตฟอร์มสำหรับประชุมออนไลน์คุณภาพสูง ซึ่งมีให้เลือกมากมายในตลาด หากใครกำลังมองหาแพลตฟอร์มสำหรับประชุมออนไลน์มาใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนสุดครบครัน True VROOM ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยมีจุดเด่นที่ให้นักเรียนในคลาสสามารถเข้ามาเรียนได้ด้วยการกำหนดรหัสผ่าน ทำให้คนที่สนใจสามารถเข้าถึงคลาสนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น และยังสามารถแชร์หน้าจอพร้อมกันได้หลายคนอีกด้วย 3. ธุรกิจการทำคอนเทนต์ “ใครๆ ก็สามารถทำคอนเทนต์ได้” ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไปในยุคสมัยนี้ ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้สรรค์สร้างผลงานของตัวเอง ตั้งแต่ภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ ไปจนถึงคอนเทนต์วิดีโอยาวหลายชั่วโมง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ปัจจุบันเราจะได้เห็น Youtuber, Tiktoker และ Influencer หน้าใหม่มากมายปรากฎขึ้น และคนเหล่านี้มีการทำคอนเทนต์เป็นธุรกิจ โฆษณาสินค้าของตนเอง ทำการขายของต่างๆ ภายใต้คอนเทนต์ที่สร้างขึ้น ต่อยอดด้วยการรับสปอนเซอร์ โดยธุรกิจการทำคอนเทนต์สร้างรายได้ให้คนจำนวนมาก 4. ธุรกิจอาหาร การเข้ามาของโลกออนไลน์เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอาหารเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแอปพลิเคชันสำหรับสั่งอาหารต่างๆ เช่น Grab, Lineman หรือ Robinhood ช่วยให้ร้านจำนวนมากสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ด้วยบริการ Food Delivery เหล่านี้ ทุกคนสามารถขายอาหารได้แม้ไม่มีหน้าร้าน ธุรกิจร้านอาหารจำนวนไม่น้อยได้ทำการใส่ข้อมูลร้านลงใน Search Engine เพื่อให้สามารถเข้าถึงร้านได้ง่ายจากโลกออนไลน์ และมีการต่อยอดด้วยการเปิดโซเชียลมีเดียของตัวเอง ที่สามารถเปิดรับออเดอร์ โฆษณา และติดต่อสื่อสารกับลูกค้า จนหลายๆ ร้านไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน เน้นขายแบบออนไลน์ก็สามารถทำกำไรได้ไม่น้อยทีเดียว 5. ธุรกิจสุขภาพ เทรนด์ของการดูแลสุขภาพเป็นกระแสที่มาแรงก่อน Covid-19 จะมาเสียอีก สามารถสังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของฟิตเนสจำนวนมากและปริมาณคนที่ไปออกกำลังกายตามที่สาธารณะต่างๆ โดยเมื่อคนออกจากบ้านไม่ได้จึงกระตุ้นให้การดูแลสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาท เช่น ธุรกิจตรวจรักษากับแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ ธุรกิจสอนฟิตเนส โยคะ ออนไลน์ ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ ธุรกิจประกันสุขภาพ การเข้ามาของระบบออนไลน์ได้กระตุ้นให้ธุรกิจต่างๆ มีการปรับตัวเข้าหาลูกค้าได้อย่างรวดเร็วผ่านแอปพลิเคชันและโซเชียลมีเดีย นับว่าเป็นประเภทธุรกิจที่เติบโตได้ดีจนน่าตกใจเลยทีเดียว 6. ธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ธุรกิจออนไลน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่กว้างและใหม่มากๆ สำหรับสังคมไทย แม้จะเป็นรูปแบบธุรกิจที่ค่อยๆ เติบโตอย่างแช่มช้าแต่มั่นคงตามเทรนด์ความรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม สำหรับธุรกิจที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ ธุรกิจด้านพลังงานสะอาด ธุรกิจบริหารจัดการขยะ ธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ ธุรกิจเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ ทำสวน ธุรกิจเหล่านี้ไม่ใช่แค่การรับจ้างในรูปแบบออนไลน์ หลายได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ของตัวเอง เช่น แอปพลิเคชันช่วยแยกขยะ หรือแอปพลิเคชันการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า เป็นที่น่าจับตามองอย่างมากว่าธุรกิจออนไลน์ประเภทนี้จะเติบโตไปในแนวทางใดในอนาคต 7. ธุรกิจด้านงานศิลปะ เมื่อพูดถึงงานศิลปะบนโลกออนไลน์ หลายคนอาจนึกถึง NFT Art ซึ่งเป็นศิลปะที่ซื้อขายกันบน Blockchain ทว่าในความเป็นจริงศิลปะออนไลน์ไม่ได้มีแค่นั้น ศิลปินในยุคปัจจุบันมีวิธีหลากหลายในการทำธุรกิจ ตั้งแต่การเปิดให้ซื้อ-ขายภาพถ่ายหรือภาพวาดผ่านเว็บตัวกลาง การรับจ้างทำงานศิลปะให้กับบริษัทต่างๆ หรือทำแกลเลอรีออนไลน์เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ และแน่นอนว่า NFT Art ก็เป็นตัวเลือกฮิตสำหรับศิลปินในยุคปัจจุบันเช่นกัน โดย NFT Art ชื่อดังอย่าง Everydays : The First 5000 Days ของศิลปิน Beeple ก็สามารถขายได้ในราคาเทียบเท่า 69.3 ล้านดอลลาร์ (2.4 พันล้านบาท) เลยทีเดียว ศิลปะรูปแบบอื่นๆ เช่นงานปั้น งานเพลง หรือแม้แต่งานเขียนเองก็มีบทบาทไม่แพ้งานภาพ ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถผสมผสานกับการทำคอนเทนต์เพื่อเพิ่มมูลค่าของงานศิลปะ หรือทำให้เข้าถึงผู้คนจำนวนมากได้เช่นกัน 8. ธุรกิจด้านการตลาดแบบ Affiliate สมัยนี้แม้ไม่มีสินค้าก็สามารถสร้างรายได้ขึ้นมาได้ โดยใช้การทำ Affiliate เคยสังเกตไหมว่าตามกลุ่มในโซเชียลมีเดียต่างๆ บ่อยครั้งมักมีการลงลิงก์เพื่อให้กดไปยังหน้าสั่งซื้อ และมีคำเขียนกำกับว่า “ลิงก์ Aff” ซึ่งลิงก์ Aff นั้นย่อมาจาก Affiliate นั่นเอง การตลาดแบบ Affiliate การเปิดให้คนทั่วไปมารีวิว เชิญชวน หรือแนะนำสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านลิงก์ที่กำหนดไว้ หากมีคนกดเข้าไปซื้อสินค้าและบริการดังกล่าว คนที่แนะนำก็จะได้ค่า Commision มากน้อยแล้วแต่การตกลง ทำให้มันกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่คนทั่วไปสามารถทำได้แม้ไม่มีทุนทรัพย์มาก็ตาม 9. ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ วงการอสังหาริมทรัพย์นั้นผูกพันธ์กับโลกออนไลน์มานาน เมื่อก่อนมีการโพสต์หรือลงขายที่ดินผ่านอินเทอร์เน็ต จนตอนนี้วงการอสังหาริมทรัพย์ได้หลอมรวมโลกออนไลน์อย่างไม่น่าเชื่อ โดยในปัจจุบันเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สามารถเปิดจอง ให้เช่า หรือขายอสังหาริมทรัพย์ได้ผ่านโลกออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องติดป้ายข้างที่ของตนเองอีกต่อไป รวมถึงมีการประยุกต์ใช้ Virtual Reality เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการขาย ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงบ้านที่ต้องการขายด้วยอุปกรณ์ VR สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้ธุรกิจออนไลน์ด้านอสังหาริมทรัพย์เติบโตได้อย่างน่าสนใจ 10. ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี เมื่อพูดถึงโลกออนไลน์แล้ว สุดท้ายย่อมขาด “เทคโนโลยี” ที่เป็นส่วนประกอบหลักไปไม่ได้เลย เพราะไม่ว่าธุรกิจใดก็ตามจาก 9 ข้อที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐานแทบทั้งสิ้น โดยธุรกิจเทคโนโลยีออนไลน์ในปัจจุบันมีมากมายตั้งแต่ การซื้อ-ขายสินค้าไอที การรับติดตั้งโปรแกรมและแอปพลิเคชันสำหรับทำงาน การรับจัดการฮาร์ดแวร์เสื่อมสภาพที่ไม่ใช้แล้ว การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในการทำงาน การพัฒนาแชทบอตเพื่อรองรับลูกค้าในธุรกิจต่างๆ ซึ่งยังมีธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกมากมายที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง แต่ก็สามารถยืนยันได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มาแรงสม่ำเสมอและยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดจนปัจจุบัน สรุป...
September 29, 2022
< 1 min read
ระบบเศรษฐกิจแบบ Gig Economy เกิดขึ้นจากการจ้างงานแบบเป็นครั้งคราวที่มากขึ้นในสังคมปัจจุบัน สอดคล้องกับทัศนคติการทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูงของคนรุ่นใหม่เพื่ออิสระที่มากยิ่งขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลของ Mastercard พบว่า Gig Economy ทั่วโลกจะเติบโตจากราวๆ 204,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 7 ล้านล้านบาท) ในปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 455,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 16 ล้านล้านบาท) ในปี 2023 ทำให้การจ้างงานแบบอิสระเป็นเทรนด์สำคัญของคนทำงานยุคใหม่ และนี่คือข้อมูลของ Gig Economy ที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ Table of Contents รู้จักกับ Gig EconomyGig Economy คือ ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบตลาดแรงงานเสรี ซึ่งมีผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เรียกว่า Gig Worker ที่รับจ้างทำงานจบเป็นงานๆ ไป โดยผู้รับจ้างส่วนใหญ่มักถูกเรียกว่าพนักงานพาร์ทไทม์หรือ Freelance แต่จริงๆ แล้วงานทั้งสองประเภทมีความแตกต่างที่มักถูกมองข้ามอยู่เล็กน้อย คือGig Worker เป็นเหมือนกับลูกจ้างชั่วคราวที่คอยทำงานให้กับแพลตฟอร์มตัวกลางFreelance เป็นเหมือนกับบริษัทที่ต้องบริหารลูกค้าและหาลูกค้ามาเติมให้กับธุรกิจด้วยตัวเองซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Gig Economy ถูกสนับสนุนด้วยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเป็นผลให้บริษัทต่างๆ พยายามตัดค่าใช้จ่ายด้านผลประโยชน์ของพนักงานออก บวกกับสภาวะการทำงานในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็วและยืดหยุ่น หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างแพลตฟอร์มตัวกลางต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จ้างและคนทำงานเข้าด้วยกัน เช่น Uber, Airbnb และ Fiverr เป็นต้น ทำไมต้อง Gig Economy1. ช่วยธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่ายKelly Services พบว่า 43% ของบริษัทที่จ้างงาน Gig Worker แทนการจ้างงานพนักงานประจำสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแรงงานได้ถึง 20% ในขณะที่การจ้างงานแบบเดิมๆ อาจสิ้นเปลืองมากกว่าถึง 30-40% ด้วยค่าใช้จ่ายระยะยาวอย่างผลประโยชน์พนักงาน ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการ ประกันสุขภาพหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมต่างๆ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวน Gig Worker ยังทำให้ธุรกิจมีอำนาจต่อรองในการจ้างแรงงานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย2. ยืดหยุ่นยิ่งกว่าไม่ว่าจะเป็นในแง่ของคนทำงานหรือผู้จ้างงาน Gig Economy จะช่วยให้การทำงานจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะ Gig Worker สามารถรับงานจำนวนไม่จำกัดในตารางเวลาที่ต้องการได้อย่างอิสระ เพียงแค่ต้องส่งงานให้ได้ในกำหนดระยะเวลาของภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาเท่านั้น และหากไม่พอใจกับงานที่ทำก็สามารถเปลี่ยนไปทำงานอื่นได้ทันทีเมื่อจบงาน ส่วนด้านผู้จ้างก็สามารถเปลี่ยน Gig Worker ให้เหมาะกับแต่ละโปรเจกต์ซึ่งมีความท้าทายแตกต่างกันได้อย่างอิสระ และหากผลงานของ Gig Worker ที่เคยจ้างไม่เป็นที่น่าพอใจก็สามารถเปลี่ยนคนทำงานได้ในเวลาไม่นานเช่นเดียวกัน3. ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นแต่ละโปรเจกต์ต่างมีความต้องการในความสามารถเฉพาะทางของผู้ทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งการจ้างงานแบบอิสระก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก เพราะบริษัทสามารถเลือกจ้าง Gig Worker ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมาะกับความต้องการของแต่ละโปรเจกต์ได้ ซึ่งแตกต่างไปจากการจ้างงานแบบประจำที่ต้องมอบหมายงานให้กับพนักงานที่อาจไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับการทำงานมากนัก ความท้าทายที่องค์กรต้องใส่ใจ1. การจัดทรัพยากรบุคคลที่ยากขึ้นการจ้างพนักงานชั่วคราวทำให้ผู้จ้างงานต้องแบกรับความท้าทายในการจัดหาทรัพยากรบุคคลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้บริษัทสามารถจัดหาพนักงานที่เหมาะสมให้ได้จำนวนเพียงพอต่อประมาณงานภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด นอกจากนี้การผลัดเปลี่ยนพนักงานในบริษัทไปเรื่อยๆ ยังส่งผลเสียต่อการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรอีกด้วย2. กฎหมายยังไม่ครอบคลุมกฎหมายการจ้างงานชั่วคราวในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดในนโยบาย ผลประโยชน์ สิทธิ และการคุ้มครองของผู้ทำงานอิสระที่ชัดเจน ส่งผลให้ Gig worker อาจมีความรู้สึกไม่มั่นคงในทางการเงินจนต้องรับงานปริมาณมากและไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์กรจึงจำเป็นต้องกำหนดจุดสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของบริษัทและพนักงานที่เหมาะสมด้วยตนเองสรุปด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันมีแนวโน้มว่า Gig Economy จะมีการเติบโตที่น่าจับตามองอย่างมาก ทว่ายังมีข้อจำกัดอีกพอสมควรในการทำงานระยะยาว โดยหนึ่งในสิ่งที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวคือเครื่องมือในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานได้ทั้งกับคนในองค์กรและ Gig WorkerTrue VWORK จาก True VWORLD ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เหมาะกับการทำงานที่มีอิสระอย่าง Gig Economy เพราะ VWORK รวมครบทุกฟังก์ชันจำเป็นในการทำงานไว้ในที่เดียว ตั้งแต่การเช็กอินเริ่มงาน การจัดประชุมออนไลน์ การสื่อสารภายในทีม กำหนดแผนงานจนไปถึงการส่งแบบฟอร์มอนุมัติ ทำให้การจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและครบครัน! โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORKอ้างอิงbangkokbanksmeth.jobsdbth.hrnote.asiapttexpressoworkpointtodayprachachattalance.techbrandinside.asia
September 29, 2022
2 mins read
Soft Skill ได้กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับการจ้างงานในยุคปัจจุบัน ที่ส่งผลให้แนวทางการเลือกบุคลากรใหม่ๆ เข้ามาทำงานในบริษัทมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แค่เป็นคน “ทำงานเก่ง” อาจไม่พออีกต่อไป แต่คุณต้อง “มีความสามารถในเรื่องอื่นๆ” ด้วยอะไรคือ Soft Skill แล้วมี Hard Skill ไหม จะทำอย่างไรให้ประยุกต์ใช้งานสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน Table of Contents รู้จัก Soft Skill ทักษะที่มีความสำคัญมากกว่าที่คุณคาดคิดSoft Skill คือ ทักษะเกี่ยวกับอารมณ์และการเข้าสังคมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสายงานหรือสายอาชีพโดยตรง แต่สามารถประยุกต์ใช้เพื่อทำให้สามารถปฏิบัติงานต่างๆ ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น การปรึกษากันในที่ทำงาน การจัดการเวลาต่างๆ เป็นต้น มักเกิดจากประสบการณ์ในการใช้ชีวิตของคนๆ นั้น เคียงคู่ไปกับการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตSoft Skill ยังมีทักษะพี่น้องที่ใช้เคียงคู่กันมาคือ Hard Skill ที่จะเป็นทักษะสำหรับการปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ โดยตรง สามารถฝึกฝนได้ผ่านสถาบันการฝึกสอน หรือฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญในศาสตร์นั้นๆ ซึ่ง Soft Skill เริ่มปรากฏความสำคัญขึ้นมาเรื่อยๆ สอดคล้องกับช่วงเวลาที่งานต่างๆ เริ่มถูกแทนที่ด้วยระบบและปัญญาประดิษฐ์ เมื่อความสามารถในการทำงานบุคคลสามารถเสริมสร้างได้ด้วยระบบต่างๆ ความแตกต่างด้านนิสัยจึงเป็นสิ่งที่นายจ้างมากมายตามหาคนที่ทำงานด้วยได้ง่ายกว่า สื่อสารได้ดีกว่า และบุคคลผู้นั้นอาจกลายเป็นบุคลากรที่บริษัทมากมายต้องการตัวได้ไม่ยากโดย Soft Skill ที่คนรุ่นใหม่ควรใส่ใจสำหรับยุคนี้ได้แก่1. Self Management เมื่อบริษัทต่างๆ มีการปฏิรูปตนเองเข้าสู่แนวทางของการ Work from Home และ Work from Anywhere ที่พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ประเด็นสำคัญที่ตามมาคือ “แล้วพนักงานที่อยู่บ้านจะทำงานจริงหรือ”การจัดการตัวเอง หรือ Self Management จึงเป็นทักษะสำคัญลำดับต้นๆ สำหรับปี 2022 ที่หลายบริษัทให้ความสำคัญ เพื่อทำให้ทางบริษัทมั่นใจว่า “ต่อให้พนักงานเหล่านี้ทำงานที่บ้าน ก็ยังสามารถปฏิบัติงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายเฉกเช่นเดียวกับอยู่ในบริษัท”ซึ่งภายใต้หัวข้อของ Self Management ยังสามารถแบ่งย่อยออกได้มากมาย เช่นGoal Setting การตั้งเป้าหมายการทำงานในแต่ละช่วงเวลาอย่างเหมาะสมTime Management การจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพStress Management การจัดการความเครียดภายใต้ความกดดันในการทำงานซึ่งทักษะเหล่านี้ก็จะส่งผลไปยังการจัดการตนเองโดยรวม ซึ่งกลายเป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ทำบริษัทที่สามารถทำงานออนไลน์ เพราะต้องยอมรับว่านอกจากความสะดวกในการทำงานแล้ว การทำงานนอกบริษัทยังทำให้เราเจอสิ่งเร้ามากมาย ผู้ที่มี Self Management ที่ดีย่อมทำงานได้ดีกว่า 2. Critical ThinkingCritical Thinking หรือการคิดเชิงวิพากษ์ เป็นทักษะที่ฝ่ายบุคคลมักทดสอบผ่านการสัมภาษณ์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งสังเกตจากการตอบคำถาม การทำโจทย์ที่บริษัทมอบหมายให้ หรือแม้แต่การอีเมลโต้ตอบเพื่อสมัครงาน โดยฝ่ายบุคคลจะสังเกตว่าบุคลากรคนนั้นๆ สามารถ “วิเคราะห์” สิ่งที่ต้องการจะสื่อได้หรือไม่จะสังเกตได้ว่า Critical Thinking มักปรากฎในสื่อสังคมออนไลน์มากมาย โดยเฉพาะในบทบาทของการใช้ตรวจสอบข่าวปลอม ว่าผู้รับสารจำเป็นต้องคิดอย่างที่ถ้วนว่าสิ่งที่ตนเองได้รับมานั้นเป็นจริงหรือไม่Critical Thinking มีบทบาทอย่างไร ? ในการทำงานบริษัททักษะความคิดเชิงวิพากษ์จะส่งผลดังนี้ส่งผลต่อการวิเคราะห์การใช้ทักษะหรือเครื่องมือในการทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะเวลาที่เท่ากันหรือลดลงทำให้เห็นจุดบอดของระบบ สามารถบอกได้ว่าควรปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนบริษัทในด้านใดบ้างสามารถให้เหตุผลของการกระทำตนเองได้ รู้ถึงความสำคัญของงานแต่ละอย่างที่ตนเองกำลังทำอยู่หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังฝึกทักษะของตนเองอยู่ล่ะก็ ขอแนะนำว่าการฝึกฝนเรื่อง Critical Thinking จะสามารถช่วยคุณได้ไม่น้อยเลยทีเดียว3. Empathyทำไมความเห็นอกเห็นใจ หรือ Empathy จึงกลายเป็น Soft Skill ที่คนต้องการในช่วงปี 2022เรื่องนี้สามารถมองได้หลากหลายมุมเพราะจะเกี่ยวกับความนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งมี 2 ประเด็นหลักที่เราจะยกมาพูดคุยกัน คือในส่วนของความสามารถในการจัดการบุคลากรในองค์กร และความสามารถในการรับมือกับลูกค้าสำหรับความสามารถในการจัดการ ทางองค์กรจัดการการทำงานแบบไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง Catalyst มีการเปิดเผยข้อมูลผลสำรวจจากผู้คน 889 ว่ากลุ่มคนราว 86% มองว่าหากหัวหน้าของพวกตนมี Empathy ย่อมส่งผลให้ลูกน้องสามารถจัดการชีวิตตนเองได้ดีขึ้นตามไปด้วยในส่วนของการรับมือของลูกค้า แน่นอนว่าการมี Empathy จะส่งผลให้บุคลากรนั้นๆ เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น และรับมือลูกค้าได้ดี เพราะมีความเข้าใจเบื้องต้นว่าคนเหล่านั้นรู้สึกอย่างไร 4. Communicationการสื่อสารเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่แทบทุกอาชีพจำเป็นต้องใช้ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งเล็กหรือตำแหน่งใหญ่ บริษัทขนาดใดก็ตามย่อมต้องมีการสื่อสารอยู่ด้วยเสมอ ยิ่งการทำงานออนไลน์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตของทุกๆ คน ทักษะการสื่อสารที่ต้องใช้ยิ่งจำเป็นต้องหลากหลายมากขึ้น โดยทักษะการสื่อสารที่มีบทบาททั่วไปมีดังต่อไปนี้ทักษะการฟังจับใจความทักษะการนำเสนอผลงานทักษะการเขียนทักษะการให้ข้อเสนอแนะการมี Soft Skill ประเภท Communication นี้นอกจากจะทำให้คุณสามารถทำงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังมีส่วนส่งผลทางอ้อมในการพูดคุย ติดต่องานกับเพื่อนร่วมงานและลูกค้าได้ดีอีกด้วย 5. Teamworkหากต้องการประสบความสำเร็จท้ายสุดแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ “ทีม” ดังนั้นทักษะสุดท้ายที่บทความนี้จะนำเสนอคือการทำงานเป็นทีมหรือ Teamwork นั่นเองการทำงานเป็นทีมเป็นทักษะที่มีส่วนผสมของหลายสิ่งหลายอย่างเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร ความเข้าอกเข้าใจ การจัดการต่างๆ ไปจนถึงการให้ความร่วมมือเพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุดการมี Teamwork ที่ดีจะส่งผลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคนในทีมมีกำลังใจในการทำงานมากขึ้นสามารถจัดการเรื่องต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพทุกคนเห็นความสำคัญของงานลดการเกิดปัญหาภายในทีมยิ่งผู้ที่ต้องการจะก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น การสามารถสร้าง Teamwork ให้มีประสิทธิภาพทั้งกับตนเองและคนอื่นๆ ในทีมย่อมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียวสรุปการมีความสามารถย่อมทำให้คุณถูกหมายตาจากบริษัทจำนวนมาก แต่การที่คุณมี Soft Skill ที่ดี ย่อมทำให้คุณได้งานจากบริษัทที่ดียิ่งขึ้น และช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นในอนาคตแน่นอนว่า Skill ที่ดีย่อมมาพร้อมกับเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อการทำงานที่ราบรื่นไม่มีสะดุดโดยTrue VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์ชั้นนำที่น่าสนใจเพื่อการทำงานในยุคดิจิทัลที่ครบ จบทุกฟังก์ชัน ทั้งการประชุมและการทำงานต่างๆ ในออฟฟิศ โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK อ้างอิงcareers.scbnovoresumeindeedcnbccorporate.baseplayhouse
September 29, 2022
< 1 min read
Smart Office คือ ออฟฟิศที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน โดยคำนึงถึงความต้องการของพนักงานเป็นสำคัญ ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานเชิงบวกให้กับคนในออฟฟิศ ทำให้ทำงานได้รวดเร็ว มีคุณภาพยิ่งขึ้น และนี่คือ 7 เหตุผลที่ทำไมบริษัทของคุณควรมีการทำ Smart Office ของตนเองบ้าง Table of Contents 1. เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์กรSmart Office มีรูปแบบการจัดการที่หลากหลาย โดยจุดเด่นที่พบเห็นได้ชัดเจนคือความเปิดกว้างของออฟฟิศ เฟอร์นิเจอร์ทุกอย่างจะถูกจัดสรรอย่างพอเหมาะพอดีให้พนักงานสามารถสื่อสารกันได้ พร้อมกันนั้นยังมีการจัดสรรพื้นที่ส่วนกลางอย่างเป็นระบบทำให้ไม่ว่าจะนั่งอยู่ตรงไหนก็สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่การใช้งาน Smart Office ยังช่วยให้พนักงานสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่ายดายมากขึ้นผ่านระบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อมูล การประชุมร่วมกับพนักงานคนอื่นๆ ที่ทำงานอยู่ห่างไกล ทำให้การแลกเปลี่ยนความรู้และการสานความสัมพันธ์เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น 2. การประสานงานเป็นไปอย่างรวดเร็วการปรับเปลี่ยนออฟฟิศของคุณให้ล้ำสมัยและรวดเร็วกว่าเก่าด้วยเทคโนโลยีต่างๆ จะช่วยให้การประสานงานภายในบริษัทเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการประสานงานของฝ่ายต่างๆ ที่ในอดีตจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบมากมาย แต่ในปัจจุบันสามารถอนุมัติเรื่องต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ได้ พร้อมดูข้อมูลต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจแบบเรียลไทม์ได้อีกด้วยเรื่องพื้นฐาน เช่นการจองห้องประชุมหรือการทำนัดหมายข้ามแผนกก็สามารถทำได้ง่ายดายผ่านระบบออนไลน์ของบริษัท นั่นหมายความว่าพนักงานของคุณจะไม่เสียเวลาอันมีค่าไปกับการเดินเอกสารและยังมีเวลาสำหรับการสร้างคุณค่าอื่นๆ ให้กับบริษัทมากยิ่งขึ้น3. ดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถการใช้งาน Smart Office ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดูมีความทันสมัย ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ให้มาร่วมทำงานกับองค์กรอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือในการทำงานด้านต่างๆ ทั้งในและนอกออฟฟิศ ยิ่งออฟฟิศมีคุณภาพ ก็จะเป็นแรงบันดาลใจ และแรงขับเคลื่อนในการทำงาน รวมถึงสร้างบรรยากาศในการทำงานทุกวันให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย4. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าSmart Office ไม่ได้มีแค่ความทันสมัย แต่ยังดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าออฟฟิศทั่วไปอีกด้วย เพราะโดยพื้นฐานแล้ว Smart Office จะมีการเก็บข้อมูลและประมวลผลต่างๆ ผ่านคอมพิวเตอร์และคลาวด์เป็นหลัก ทำให้ลดการใช้งานกระดาษ ลดขยะในออฟฟิศอย่างไม่น่าเชื่อSmart Office ในปัจจุบันมีการวางระบบต่างๆ เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการตัดไฟอัตโนมัติในห้องที่ไม่ใช้แล้ว ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ เป็นต้น โดยทางผู้บริหารสามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลการใช้พลังงานย้อนหลัง เพื่อทำการปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับการทำงานมากขึ้นได้อีกด้วย 5. ลดต้นทุนค่าสถานที่Smart Office ที่ดีจะมีการจัดสรรพื้นที่เป็นสัดเป็นส่วนตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้เกิดการใช้งานพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ใช้ประโยชน์จากสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างคุ้มค่าการมี Smart Office สำหรับบริษัทที่มีการ Hybrid Working กันเป็นหลักยิ่งเป็นสิ่งที่เหมาะสม เพราะทางบริษัทไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ แต่เป็นการใช้พื้นที่บริษัทเล็กๆ แต่เน้นให้พนักงานหมุนเวียนกันเข้ามาทำงานในออฟฟิศตามความเหมาะสม โดยใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนการจองพื้นที่ต่างๆ จะช่วยลดต้นทุนค่าสถานที่ได้มากพอสมควรทีเดียว6. จัดการข้อมูลภายในของบริษัทได้ดีกว่าหากพูดถึง Smart Office ย่อมต้องนึกถึงการใช้งานระบบคลาวด์อย่างไม่ต้องสงสัย การเก็บรักษาข้อมูลบนระบบดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้การเรียกใช้งานเอกสารต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลความลับทางการค้าต่างๆ ของบริษัทอีกด้วยเพราะระบบคลาวด์มีความสามารถในการจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานผู้ทำงานในหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ และสามารถบริหารจัดการได้ง่ายดายกว่าการใช้กระดาษเช่น พนักงานซ่อมบำรุงผู้ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของฝ่ายขายจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลรายชื่อซัพพลายเออร์คู่ค้าเหมือนกับพนักงานฝ่ายบัญชี การจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของพนักงานที่ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสำคัญจึงช่วยให้การจัดการข้อมูลภายในของบริษัทมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นและทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าไม่รั่วไหลได้โดยง่าย 7. พร้อมรับทุกการเติบโตของสังคมดิจิทัลการใช้งาน Smart Office ซึ่งมีการปรับใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาอำนวยความสะดวกชีวิตการทำงานให้กับพนักงานในทุกรายละเอียดย่อมช่วยให้พนักงานทุกคนภายในบริษัทเกิดความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมองค์กรที่มีความสมาร์ท ทำให้ทุกคนสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีล้ำสมัยที่จะมาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างง่ายดาย และยังมีความยืดหยุ่นพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะกลายเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับทุกการเติบโตของบริษัทในยุคดิจิทัลสรุปSmart Office เป็นแนวคิดใหม่ที่ช่วยพัฒนาและแก้ไขปัญหาของบริษัทได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริม Productivity การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ไปจนถึงการลดต้นทุนของบริษัทในระยะยาว ทำให้บริษัทยุคใหม่ต้องใส่ใจเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งซึ่งแน่นอนว่าการจัด Smart Office จะขาดเครื่องมือสุดสมาร์ทที่ช่วยให้การจัดการภายในบริษัทเป็นไปอย่างราบรื่นไปไม่ได้ ซึ่ง True VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์ชั้นนำที่น่าสนใจเพื่อการทำงานในยุคดิจิทัลที่ครบ จบทุกฟังก์ชัน ทั้งการประชุมและการทำงานต่างๆ ในออฟฟิศ โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORKอ้างอิง businessnewsdailyhubstarmeetintouchtoppanprosoftimpressionconsultejournals.swu
September 29, 2022
2 mins read
ภาวะผู้นำ (Leadership skill) เป็นทักษะสำคัญที่องค์กรมองหาเพื่อให้คุณสามารถตั้งรับกับทุกปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นมืออาชีพและได้รับความน่าเชื่อถือจากทั้งในและนอกองค์กร ทว่าทักษะดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีติดตัวแต่แรก แต่สามารถเพิ่มพูนได้ด้วยประสบการณ์การทำงาน และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหากอยากมีภาวะผู้นำที่ดีจำเป็นต้องฝึกกันอย่างไร ? นี่คือ 7 วิธีเพิ่มภาวะผู้นำที่ดีที่จะทำให้คุณกลายเป็นคนที่องค์กรต้องการ Table of Contents 1. พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เป็นทักษะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้นำอย่างมาก เพราะคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงมีโอกาสที่จะบริหารจัดการความคิดของตัวเองภายใต้ความกดดันได้ดี โดยไม่ทำลายบรรยากาศในการทำงาน และสามารถผลักดันทีมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้ความฉลาดทางอารมณ์ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และสื่อสารกับลูกค้า เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทั้งในและนอกองค์กรทีเดียวคุณสามารถเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ได้ง่ายๆ ด้วยการจินตนาการว่าหากตนเองเป็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งเจอกับสถานการณ์ต่างๆ จะรู้สึกและแสดงออกอย่างไร หรือลองคิดว่าทำไมฝ่ายตรงข้ามถึงแสดงออกในรูปแบบนั้นๆ และสามารถศึกษาเชิงลึกด้วยการฟังพอตแคสต์ หรือลงเรียนคอร์สจิตวิทยา เพื่อให้เข้าใจข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้น 2. ฝึกฝนการคิดให้ยืดหยุ่นในโลกของการทำงานจริงที่ผู้นำต้องกล้าเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ความยืดหยุ่นในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่สามารถพาคุณออกนอกกรอบแนวคิดเดิมๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการมองมุมใหม่เพื่อเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ดีขึ้น การพลิกแพลงเครื่องมือที่มีอยู่เพื่อแก้ไขปัญหา ไปจนถึงการปรับตัวเข้ากับทีมใหม่ การฝึกความคิดให้ยืดหยุ่นนั้นย่อมสนับสนุนให้คุณสามารถแก้ปัญหาได้หลากหลายและลุ่มลึกมากยิ่งขึ้นจนอาจพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้วิธีฝึกฝนการคิดให้ยืดหยุ่นอย่างง่าย คือ การเลือกทำกิจกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น ที่นอกจากจะช่วยให้คุณมีแนวความคิดที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเข้าใจวิธีการคิดของผู้อื่นอีกด้วย3. สังเกตและสร้างแรงบันดาลใจแบบภาวะผู้นำการสังเกตความสามารถของเพื่อนร่วมงานแต่ละคนจะช่วยให้ทราบว่าใครมีความถนัดในเรื่องอะไรเป็นพิเศษทำให้สามารถ Put the right man on the right job ได้ นอกจากจะช่วยให้บรรยากาศในที่ทำงานดีขึ้นแล้วยังเป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ Performance ของทีมอีกด้วยแน่นอนว่าการมอบหมายสิ่งต่างๆ ผ่านการสังเกตอาจไม่ได้รับความยินยอมจากคนในทีมเสมอไป ผู้ที่มีภาวะผู้นำจึงต้องมีส่วนในการสร้างแรงบันดาลในใจการทำสิ่งต่างๆ รวมถึงแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ทีมรับรู้คุณอาจเริ่มสังเกตและสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมจากการใส่ใจทำความรู้จักตัวตนของพนักงานแต่ละคนให้มากขึ้น ลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่าง รวมไปถึงสนับสนุนการนำเสนอความคิดเห็นของพนักงานก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจว่าการแสดงออกในการทำงานไม่ใช่เรื่องผิด และพวกเขาสามารถสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ที่ยอดเยี่ยมได้ด้วยตนเอง4. เข้าสังคมให้เป็นการทำงานใหญ่ไม่สามารถลุล่วงได้ด้วยคนเดียว จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้คนมากมายซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย และผู้นำคือคนที่ต้องเชื่อมโยงทุกคนในทีมให้ร่วมมือกันเพื่อให้งานลุล่วงไปได้ด้วยดี รวมถึงสามารถติดต่อพูดคุยกับลูกค้าเพื่อเจรจาต่อรองได้อย่างเหมาะสมพื้นฐานของการเข้าสังคมที่คุณสามารถฝึกได้ทุกวันคือ การยิ้มและพยักหน้าตอบรับคู่สนทนา ซึ่งเป็นวิธีการแสดงออกว่าคุณกำลังตั้งใจทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารจริงๆ หลังจากนั้นค่อยดำเนินการขยับเป็นการเสวนาเรื่องต่างๆ ที่ซับซ้อนขึ้น พร้อมกับควรสังเกตพฤติกรรมของคู่สนทนา เพื่อความเข้าใจเจตนาในการสื่อสารในวงธุรกิจ 5. จัดการเวลาตามลำดับความสำคัญการจัดการเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพคือเรื่องสำคัญที่ผู้นำต้องมี โดยการนำทฤษฎีต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้จะช่วยให้การจัดการเวลามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทฤษฎีโถแก้วแห่งชีวิต (Jar of Life) เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้ โดยคุณสามารถฝึกการบริหารจัดการได้ด้วยการเรียบเรียงความสำคัญเปรียบกับก้อนหินใหญ่ กรวด และเม็ดทราย และใช้สิ่งเหล่านั้นเติมลงในโถ (เวลาในแต่ละวันของคุณ)ซึ่งคุณต้องทำการใส่หินก้อนใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตเป็นอันดับแรก แล้วค่อยตามด้วยกรวดเล็กๆ ที่สำคัญรองลงมา และปิดท้ายด้วยการใส่ทรายซึ่งเป็นตัวแทนของเรื่องที่ไม่ค่อยสำคัญในชีวิตเพื่อให้ทุกนาทีของคุณถูกใช้ไปอย่างมีคุณค่าสูงสุด 6. ฝึกฝนการสื่อสารอีกหนึ่งทักษะสำคัญในการนำทีมให้ประสบความสำเร็จคือทักษะการสื่อสาร ซึ่งผู้นำที่ดีควรจะถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้คนอื่นๆ เข้าใจได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น ถูกกาลเทศะและไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดการเข้าใจในเจตนาที่ผิด โดยสามารถทำได้ทั้ง คำสั่ง คำถาม รวมถึงการพูดเชิงชี้นำคุณสามารถนำทักษะการสื่อสารมาใช้ในการทำงานได้อย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น การจูงใจให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกมุ่งมั่นในการทำงานหรือการตำหนิพนักงานเมื่อทำผิดให้มีความไม่รู้สึกผิดใจกันการฝึกฝนการสื่อสารสามารถทำได้ด้วยการฝึกเรียบเรียงคำพูดให้กระชับ ได้ใจความ ใช้ความสุภาพเป็นหลัก เพื่อลดความเข้าใจผิดของคู่สนทนา อาจฝึกฝนเพิ่มเติมด้วยการสอบถามคนในทีมเกี่ยวกับวิธีการพูดและการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การสื่อสารต่างๆ ครบถ้วน และได้ใจของคนในทีมไปในเวลาเดียวกัน7. เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆการไม่หยุดพัฒนาตนเองด้วยการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนหรือการพัฒนาทักษะเดิมให้เชี่ยวชาญเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง นอกจากจะช่วยให้คุณเก่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้คุณเป็นตัวอย่างที่ดีของทีม ทำให้คุณสามารถรับมือกับกระแสของธุรกิจที่เปลี่ยนไปในทุกวันได้อย่างรวดเร็ว และอาจนำกุญแจสู่ความสำเร็จที่ไม่เหมือนใครมาไว้ในมือคุณก็ได้โดยคุณสามารถเริ่มต้นเรื่องนี้ได้ด้วยการลงเรียนคอร์สต่างๆ ที่คุณสนใจ ฟังพอตแคสต์เพื่อพัฒนาตนเอง ไปจนถึงอ่านหนังสือหมวดที่คุณไม่เคยลิ้มลองมาก่อน จะช่วยให้คุณเข้าถึงสิ่งใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้นสรุป“ผู้นำ” ไม่ใช่เพียงแค่คำเรียกตำแหน่งหน้าที่แต่เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องมี วิสัยทัศน์ และพฤติกรรมที่เหมาะสมกับองค์กร จึงสามารถกล่าวได้ว่าคนผู้นั้นมีภาวะผู้นำได้ ซึ่งนอกจากการพัฒนาตัวผู้นำองค์กรให้ดีแล้ว ก็ควรมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการทำงานเพื่อให้ทุกคนสามารถดำเนินสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพTrue VWORK เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดีๆ ที่ตอบสนองทุกการทำงานในยุคดิจิทัล ที่รวมครบทุกฟังก์ชันจำเป็นในการทำงานไว้ในที่เดียว ตั้งแต่การเช็กอินเริ่มงาน การจัดประชุมออนไลน์ การสื่อสารภายในทีม กำหนดแผนงานไปจนถึงการส่งแบบฟอร์มอนุมัติ จะเป็นงานแบบไหนก็พร้อมใช้งาน โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK อ้างอิงteambuildingmissiontothemoonth.hrnote.asiaadeccomarketingoopsdrfish.training
September 29, 2022
2 mins read
Blended Learning เป็นอีกหนึ่งเทรนด์การเรียนแบบใหม่ในยุค New Normal ที่ตอบโจทย์ความทันสมัยและมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ด้วยการผสมผสานการเรียนแบบออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน กลยุทธ์นี้มีความโดดเด่นแค่ไหน และสามารถประยุกต์ใช้กับการศึกษาปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ไปดูพร้อมๆ กันเลย! Table of Contents รู้จักกับ Blended LearningBlended Learning คือ การเรียนรู้แบบผสมผสานที่นำการเรียนรู้แบบออนไลน์และการเรียนในห้องเรียนแบบดั้งเดิมเข้าด้วยกัน ซึ่งการเรียนรู้แบบ Blended นี้มีการประยุกต์ใช้มานับสิบปีแล้ว แต่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ในช่วงยุค Digital Transformation ที่ผ่านมานี่เองBlended Learning หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Hybrid Learning มีการวางสัดส่วนในการเรียนออนไลน์ไว้ตั้งแต่ 30-70% ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละวิชา โดยมีการใช้สื่อการสอนแบบออนไลน์เป็นหลักที่เน้นความยืดหยุ่นและเข้าถึงง่ายของผู้เรียน แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การทดลองต่างๆ เพื่อให้นักเรียนเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดเด่นของ Blended Learning1. มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายอ้างอิงจากทฤษฎีพีระมิดแห่งการเรียนรู้ (Learning Pyramid) จากงานวิจัยของ NTL Institute มีการระบุไว้ว่าวิธีการเรียนรู้แต่ละวิธีจะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำและเรียนรู้เนื้อหาการเรียนได้มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน อย่างเช่นการอ่านจะช่วยให้จำได้ 10% การฟังจะช่วยให้จำได้ 20% และการได้ลองปฏิบัติด้วยตัวเองจะช่วยให้จำได้ 75%การเรียนออนไลน์เพียงแค่อย่างเดียวจึงอาจไม่ตอบโจทย์การเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากขาดการปฏิบัติจริง และการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวก็อาจมีความรู้ไม่ทันสมัย รวมไปถึงขาดสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นเท่าที่ควร Blended Learning มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย จึงเป็นรูปแบบการศึกษาที่น่าสนใจกว่า เพราะสามารถนำเสนอสิ่งต่างๆ ผ่านสื่อมากมาย พร้อมมีตัวอย่างจริง รวมถึงการลงมือทำกิจกรรมจริงๆ ดังนั้นการเรียนรู้แบบผสมผสานนี้จึงเป็นคำตอบที่ลงตัวที่สุดสำหรับการเรียนแบบใหม่ในยุค New Normal2. สภาพแวดล้อมในการเรียนที่ดีกว่าBlended Learning เป็นรูปแบบการเรียนที่ยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากกว่าการเรียนแบบออนไลน์ โดยการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนจะช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการร่วมกันหาคำตอบภายในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี และเมื่อเทียบกับการเรียนแบบออนไลน์หรือการเรียนแบบดั้งเดิมแล้ว Blended Learning ยังช่วยขยายระยะเวลาโฟกัสในการเรียนให้มีความยาวมากขึ้นได้ ซึ่งนอกจากผลดีที่ผู้เรียนจะได้รับแล้ว Blended Learning ยังเอื้อต่อการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรของผู้สอนให้เหมาะกับกลุ่มผู้เรียนอีกด้วย 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองคุณประโยชน์อีกข้อของ Blended Learning ที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย คือการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการแนะนำของผู้สอน โดยผู้เรียนสามารถค้นคว้าหัวข้อที่ตนเองยังไม่เข้าใจหรือมีความสนใจมากเป็นพิเศษได้อย่างรวดเร็วผ่านสื่อการสอนออนไลน์โดยไม่ต้องรู้สึกกดดันเหมือนการเรียนพร้อมกันกับผู้เรียนคนอื่นๆ นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับแต่งความเร็วในการเรียนให้เหมาะกับตัวเองแล้ว Blended Learning ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการเชื่อมโยงความรู้จากการศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกอีกด้วยจัดการการเรียนรู้แบบผสมผสานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพใช้การเรียนออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าการเรียนแบบ Blended Learning จะต้องมีสัดส่วนของเนื้อหาที่นำเสนอผ่านระบบออนไลน์ระหว่าง 30-70% แต่ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ด้วยตัวเองของผู้เรียนแล้ว โครงสร้างสัดส่วนการเลคเชอร์แบบออนไลน์ของ Blended Learning อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นอ้างอิงจากงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การปรับตัวเลขการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้ขยับขึ้นมาที่ 60% และใช้การทำกิจกรรมและการเรียนในห้อง 40% จะส่งผลดีต่อผู้เรียนมากที่สุด กระนั้นตัวเลขดังกล่าวก็ยังสามารถรปรับเปลี่ยนได้ตามสไตล์การสอนและความเหมาะสมของแต่ละวิชาเช่นกันใช้การแนะนำแบบโค้ชมากกว่าเลคเชอร์ (coaching) การสอนแบบบรรยายเนื้อหาหรือเลคเชอร์จะเป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่พบเห็นได้เป็นปกติ แต่สำหรับการเรียนแบบ Blended Learning แล้ว การโค้ช (Coaching) ผ่านการตั้งคำถามที่น่าสนใจให้ผู้เรียนได้ขบคิดและค้นคว้าคำตอบอาจเป็นวิธีการสอนที่ดึงประสิทธิภาพในตัวผู้เรียนออกมาได้มากกว่าเพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองผ่านเว็บช่วยสอนและเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ อยู่แล้ว การโค้ชจะช่วยเสริมในส่วนของการขบคิดและแลกเปลี่ยนความเห็นผ่านการตอบคำถามภายในชั้นเรียนให้มากขึ้น และส่งผลในการผลักดันทักษะการคิดวิเคราะห์วิพากษ์หรือ Critical Thinking ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการต่อยอดไปสู่การศึกษาในอนาคตของผู้เรียนนั่นเองใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ Blended Learning เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ควรใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีเพื่อการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อวิดีโอการเรียนต่างๆ แพลตฟอร์มการส่งงานของผู้เรียนหรือห้องสนทนาออนไลน์ก็ล้วนอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้เรียนและผู้สอน อีกทั้งการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังสามารถขยายขอบเขตการเรียนรู้ของผู้เรียนให้กว้างขึ้นกว่าเก่า ช่วยลดความเครียดและภาระงานที่ไม่จำเป็นต่างๆ ของครูผู้สอนลง ทำให้ผู้สอนมีเวลาในส่วนนี้ที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบวิธีการสอนและแผนกิจกรรมดีๆ ให้กับผู้เรียนได้มากขึ้นอีกด้วย สรุปBlended Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนออนไซต์ที่มีจุดเด่นในการถ่ายทอดประสบการณ์จากการลงมือทำกิจกรรม ร่วมกับการเรียนแบบออนไลน์ ที่มีความยืดหยุ่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในจุดต่างๆ ตอบโจทย์ยุคสมัย ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงTrue VLEARN แพลตฟอร์มห้องเรียนดิจิทัลจาก TRUE VWORLD เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่น่าสนใจ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการเรียนรู้ในมิติใหม่กลายเป็นเรื่องง่าย มีฟังก์ชันครบครันเหมาะสำหรับการเรียนยุค New Normal เช่นเดียวกับ True VROOM ที่เป็นแพลตฟอร์มห้องประชุมยุคใหม่ ตอบโจทย์ทั้งการเรียนและการทำงานจากที่ไหนก็ได้ได้ โดยคุณสามารถดูรายละเอียดของทั้งสองแพลตฟอร์มได้ที่ True VLEARN และ True VROOM อ้างอิงlimitlesseducationfaithandbaconlib.edu.chulaedujournal.bsruenglishgangaksorncore.ac.uk
September 29, 2022
2 mins read
ประชุมทางไกล เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับยุคดิจิทัลที่ทุกคนเน้นการทำงานออนไลน์เป็นหลัก ทุกบริษัทต่างต้องมีการปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการประชุมแบบนี้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือรายละเอียดของการประชุมทางไกลที่ผู้บริหารองค์กรรุ่นใหม่ไม่ควรพลาดประชุมทางไกล หนทางของการทำงานยุคอนาคตการประชุมทางไกล คือ รูปแบบการประชุมที่ผู้เข้าประชุมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการสนับสนุน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการประชุมทางไกลไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ก่อนที่จะมีสมาร์ทโฟน หลายบริษัทก็มีการประชุมทางไกลกันผ่านโทรศัพท์อยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าด้วยเทคโนโลยีที่ยังไม่พัฒนาทำให้การประชุมรูปแบบดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพมากนักจนมาถึงปัจจุบันที่เทคโนโลยีต่างๆ มีการพัฒนาไปไกล เราสามารถเห็นภาพ เสียง ของคู่สนทนา รวมถึงการดูข้อมูลต่างๆ ที่กำลังถูกนำเสนอได้ผ่านจอภาพ ดังนั้นการประชุมทางไกลจึงได้แปรเปลี่ยนเป็น “เรื่องธรรมดา” และนี่คือ 5 องค์ประกอบสำคัญสำหรับการประชุมที่คุณควรรู้ Table of Contents 1. แผนการประชุมหนึ่งในปัญหาที่ผู้เข้าร่วมประชุมแทบทุกคนต้องเคยเจอ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมระยะไกลหรือการประชุมแบบเจอหน้า คือปัญหาเรื่องการประชุมยืดเยื้อ ไม่ตรงประเด็น ไม่รู้ว่าตนเองต้องเข้าร่วมประชุมทำไม รวมถึงการประชุมที่ถี่เกินความจำเป็นงานวิจัย The Psychology Behind Meeting Overload จาก Harvard Business Review มีการระบุว่าพนักงานระดับ Manager ราว 83% มองการประชุมว่าไม่ได้ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญหาในเรื่องการประชุมและการทำงานเป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยขนาดไหน ดังนั้นสิ่งแรกที่คุณควรมีก่อนการประชุมคือ “แผน” ที่ดี2. อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระบบอินเทอร์เน็ตคุณภาพเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้การส่งข้อมูลทั้งภาพและเสียงสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ที่เข้าร่วมการประชุมทางไกลควรมีระบบอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รวดเร็ว มีความเสถียร รวมถึงมีผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้สามารถประชุมได้ลื่นไหล ไม่มีติดขัดหากบริษัทต้องมีการประชุมทางไกลบ่อยครั้ง การติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือมีการสนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ตในแง่มุมต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญ 3. ระบบภาพและเสียงภาพ เสียง และการนำเสนอต่างๆ เป็นจุดเด่นของการประชุมออนไลน์ในยุคนี้ ดังนั้นผู้ประชุมควรมีอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ กล้อง ลำโพง ไมค์ รวมไปถึงจอภาพเพื่อการนำเสนอในที่ประชุม เพื่อช่วยให้การนำเสนอและการสนทนามีความสมบูรณ์ที่สุดโดยระบบภาพและเสียงนี้จะมีความแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบริษัท หากเป็นบริษัทขนาดเล็กซึ่งมีการประชุมแยกรายบุคคล การใช้คอมพิวเตอร์แล็บท็อปพร้อมหูฟังอาจเป็นตัวเลือกในการประชุมที่ดี แต่ถ้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีการประชุมหลายฝ่ายพร้อมกัน การมีห้องประชุมสำหรับพูดคุยและนำเสนองานผสมผสานกับการประชุมออนไลน์ อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า4. แพลตฟอร์มที่ใช้ในการประชุมปฏิเสธไม่ได้ว่าหากพูดถึงการประชุมทางไกลในปัจจุบันย่อมนึกถึงการประชุมออนไลน์ และการประชุมประเภทนี้จำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มการประชุมที่เหมาะสม โดยแพลตฟอร์มต่างๆ จะมีความโดดเด่นแตกต่างกันออกไปตามผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับปริมาณผู้ร่วมประชุม คุณภาพของภาพและเสียง ไปจนถึงความ Local ที่ผู้ให้บริการอยู่ในพื้นที่เดียวกับผู้รับบริการตัวอย่างแพลตฟอร์มที่ใช้ความ Local ได้ดีคือ True VROOM ที่นอกจากจะมีการแสดงผลทั้งภาพและเสียงที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีฝ่ายซัพพอร์ตภายในประเทศไทย สามารถติดต่อและให้บริการเป็นภาษาไทยได้ง่าย5. ความรู้พื้นฐานของพนักงานเรื่องสุดท้ายที่สำคัญที่สุดในการประชุมทางไกลคือความรู้พื้นฐานของพนักงานทุกคน ก่อนการดำเนินการประชุมทางไกล ทุกบริษัทควรมีการสอบถามความรู้พื้นฐานในการใช้งานอุปกรณ์ และโปรแกรมต่างๆ รวมถึงการ Training พนักงาน เพื่อให้สามารถใช้งานและแก้ปัญหาการสื่อสารเบื้องต้นได้ ทำให้การประชุมดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีปัญหาเกิดขึ้นน้อยที่สุดแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ที่น่าสนใจ 1. True VROOMแพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่มีจุดเด่นในความ Local ดังที่มีการระบุไว้ก่อนหน้า รองรับทุกระบบปฏิบัติการ สามารถเข้าประชุมผ่านเว็บเบราเซอร์ได้ในทันที ครบครันทุกเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการสื่อสารทางไกลTrue VROOM เวอร์ชันใหม่ยังรองรับการประชุมแบบ Global ด้วยการแบ่งห้องสำหรับล่ามผู้แปลภาษาโดยเฉพาะ เพื่อให้การประชุมของคุณมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น! สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM2. Google Meetแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่มีจุดเด่นในด้านการรองรับคนได้มากมาย รวมถึงมีฟังก์ชันพื้นฐานอย่างครบครัน ได้รับความเชื่อถือจากองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก มีจุดเด่นในการทำงานร่วมกับบริการต่างๆ ของ Google ได้เป็นอย่างดี3. Zoomอีกหนึ่งแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์มีชื่อเสียง Zoom มีจุดเด่นในความลื่นไหลของการสื่อสาร และฟังก์ชันพื้นฐานต่างๆ สำหรับการประชุม เพียงแต่ผู้ใช้งานอาจต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น เนื่องจากการใช้งานให้ครบทุกฟังก์ชันจำเป็นมีการตั้งค่าและขั้นตอนการติดตั้งต่างๆ ค่อนข้างเยอะสรุปการประชุมระยะไกลกลายเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทต้องเผชิญ ซึ่งผู้จัดการประชุมควรมีแผนการประชุมที่ดี มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบที่เพียบพร้อม แพลตฟอร์มคุณภาพ และการเทรนพนักงานให้มีความรู้พื้นฐาน เพื่อการประชุมที่สมบูรณ์ที่สุดTrue VROOM เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับการประชุมที่น่าสนใจ ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาฟังก์ชันต่างๆ ให้ง่ายต่อการใช้งานยิ่งขึ้น ตอบโจทย์การประชุมทางไกลทั้งแบบ 1-1 ไปจนถึงการประชุมทั้งบริษัท สามารถสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานฟรีที่ True VROOMอ้างอิงlivewebinarbluejeanshbrmissiontothemoon
September 29, 2022
2 mins read
ต้องสัมภาษณ์งานแบบไหนบริษัทจึงจะรับเข้าทำงาน ? ประเด็นนี้เป็นคำถามที่คนจำนวนมากสงสัย แม้ว่าโปรไฟล์ดีหรือมีบุคคลรองรับก็อาจสะดุดได้ เพราะในยุคนี้การทำงานอาจต้องการมากกว่า Hard Skill แต่ต้องมีทักษะในชีวิตประจำวันอย่าง Soft Skill ด้วย ในวันนี้เราจึงจะพาไปรู้จักหนึ่งในเคล็ดลับการสัมภาษณ์อย่าง STAR Model ตัวช่วยชั้นดีสำหรับการตอบคำถามเพื่อการเข้างาน ช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณได้งานตามที่ต้องการมากขึ้น!! Table of Contents รู้จักกับ STAR Model เทคนิคสำคัญในการสัมภาษณ์งาน การสัมภาษณ์งาน คือ การพูดคุยสอบถามเพื่อที่ทำให้ฝ่ายบุคคลได้รู้จักตัวตนของผู้ที่สมัครเข้ามาทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่แฝงอยู่ในการสัมภาษณ์หลายครั้งจะเป็นการทดสอบต่างๆ ทั้งการสื่อสาร การแก้ปัญหา ไปจนถึงการพรีเซนต์งาน แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่สามารถรับมือกับคำถามประเภทนั้นได้ดี STAR Model หรือ STAR Technique เป็นโมเดลการตอบคำถามที่ช่วยทำให้การตอบคำถามของคุณกระชับและตรงประเด็นมากขึ้น ใช้สำหรับการตอบคำถามประเภทอธิบายหรือบรรยายสถานการณ์ ซึ่งเป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่ต้องเผชิญเมื่อเข้าสู่การสัมภาษณ์งาน โดยส่วนประกอบของ STAR Model นั้นมีดังต่อไปนี้ S: Situation สถานการณ์ เลือกสถานการณ์ของเรื่องราวให้เหมาะสม เพราะการระบุเหตุการณ์ต่างๆ เป็นการปูพื้นฐานที่ดีสำหรับการเล่าเรื่อง T: Task เป้าหมาย ระบุเป้าหมายสำหรับเรื่องราวดังกล่าว เพื่อบ่งบอกว่าหน้าที่ของเรา ณ เวลานั้นต้องแก้ปัญหาสิ่งใด ทำให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นถึงความท้าทายที่เราต้องเผชิญ A: Action การกระทำ บอกว่าเรามีการแก้ปัญหาอย่างไร อธิบายว่าหลังจากเรามีเป้าหมาย เราได้ทำอย่างไรต่อ ควรเป็นการระบุชี้ชัดว่าทำอย่างไร มีการวางแผนอะไรบ้าง เป็นขั้นตอนไป อย่าตอบแค่ว่าเราพยายามหรือทำงานอย่างหนักเพียงอย่างเดียว R: Result ผลลัพธ์ อธิบายผลลัพธ์จากการกระทำของเรา ว่าหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวสิ่งที่เกิดขึ้นได้ส่งผลอย่างไรบ้าง จะดีมากหากคำตอบของเราเป็นสิ่งที่วัดผลได้ และอาจเพิ่มเติมสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการปิดท้าย ตัวอย่างการตอบคำถามด้วย STAR Model คำถาม คุณลองยกตัวอย่างการทำงานที่ตัวเองภูมิใจให้เราฟังหน่อย คำตอบที่อ้างอิง STAR Model ในช่วงที่ผมเริ่มทำงานใหม่ๆ ทางบริษัทเก่ามีการติดต่อสื่อสารกับลูค้าที่ล่าช้า ทำให้บางครั้งเราสูญเสียรายได้อย่างที่ไม่ควรเป็น (Situation) ทางผมเลยต้องหาทางออกเกี่ยวกับการสื่อสารกับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น (Task) และดำเนินการประชุมกับทีมงานเพื่อใช้ซอฟต์แวร์ CRM (Customer Relationship Management) ควบคู่ไปกับการปรับปรุงตำแหน่ง Admin ประจำ Social Media ของบริษัท (Action) ผลของการแก้ไขปัญหานั้นทำให้เราสามารถรักษาลูกค้าเก่าได้มากกว่าเดิมถึง 50% และมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก 20% (Result) จะสังเกตได้เลยว่าคำตอบจะมีความกระชับ เข้าถึงประเด็นของคำถามได้รวดเร็ว และมีการอธิบายทุกอย่างอย่างครบถ้วน ไม่เวิ่นเว้อ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสัมภาษณ์ที่อาจมีเวลาจำกัด คนถามอยากรู้อะไร ? เจาะลึกเพื่อตอบคำถามให้ได้งาน สิ่งที่ควรสังเกตควบคู่ไปกับการใช้งาน STAR Model คือก่อนตอบคำถามคุณอาจต้องพิจารณาก่อนว่าคนถามกำลังมองหาอะไรจากคุณ เนื่องจากองค์กรในปัจจุบันไม่ได้ต้องการคนที่เก่งเฉพาะสายงานของตนเอง แต่ต้องการคนที่มีคววามสามารถหลากหลายเพียงพอที่จะตอบสนองการเติบโตอันรวดเร็วของโลกอีกด้วย โดยเบื้องต้นคำถามของการสัมภาษณ์มักมีจุดประสงค์ดังนี้ 1. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นกะทันหันได้ดีแค่ไหน ซึ่งอาจมาในรูปแบบของคำถามจิตวิทยา การตั้งโจทย์การทำงานให้ลองแก้ไข หากเจอคำถามประเภท “คุณจะทำอย่างไร” ควรคาดเดาไว้เลยว่าเขาต้องการทดสอบความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของคุณ 2. ความสามารถในการสื่อสารกับผู้คน องค์กรแต่ละที่มักมีวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป และบทสัมภาษณ์ก็มักมีการหยั่งเชิงในส่วนนี้อยู่เสมอ บางองค์กรก็มีการดึงคนจากตำแหน่งใกล้เคียงกับที่เราสมัคร ไปจนถึงสมาชิกในทีมมานั่งร่วมการสัมภาษณ์ด้วย 3. ความสามารถเฉพาะด้านสำหรับสายงานต่างๆ คำถามนี้มักเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตำแหน่ง ข้อมูลใน Resume และ Portfolio โดยผู้สัมภาษณ์อาจใช้คำถามเชิงวิชาการถามมาแบบตรงๆ เพื่อวัด Hard Skill ซึ่งในบางบริษัทจะมีแบบทดสอบให้ทำควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์ ดังนั้นหากตอบอะไรไปควรมี “เหตุผล” สำหรับคำตอบดังกล่าวด้วยเพื่อรองรับคำถามที่จะตามมา 4. ความสามารถสอดคล้องกับเงินเดือน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับเงินเป็นหลัก ที่ทั้งตัวผู้สัมภาษณ์และองค์กรต่างต้องประเมินความสามารถของพนักงานให้สอดคล้องกับเงินเดือนที่ได้รับ ดังนั้นคำถาม “คุณต้องการเงินเดือนเท่าไร” มักมาพร้อมกับคำถามเกี่ยวกับอายุงานอยู่เสมอ 5. คำถามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงปลายการสัมภาษณ์ มักเป็นการชวนคุยเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการถามคำถามย้ำว่า “มีอะไรอยากสอบถามเพิ่มเติมไหม” ซึ่งสิ่งเหล่านั้นบางส่วนก็เป็นการทดสอบทัศนคติ ไปจนถึงความกล้าแสดงออกของผู้ถูกสัมภาษณ์ ดังนั้นอย่าเผลอลืมตัวพูดออกนอกประเด็นหรือตัดบทไปเสียทีเดียว อาจใช้วิธีการพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในบริษัทก่อนจบการสัมภาษณ์จะเป็นตัวเลือกที่ทำให้คุณดูน่าสนใจยิ่งขึ้น การเตรียมสัมภาษณ์อย่างมืออาชีพ 1. ตรวจสอบความต้องการขั้นต้นของสายงาน ในส่วนนี้เป็นสิ่งที่ผู้สมัครจำเป็นต้องตรวจสอบก่อนสมัครงาน แต่สำหรับคนที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ หรือคนที่ต้องการทำงานนอกสายงาน อาจต้องมีการเตรียมตัวเพิ่ม เช่น การเรียนคอร์สออนไลน์ การฝึกงานต่างๆ เพื่อทำให้มีใบรับรองความสามารถและความรู้เพียงพอสำหรับการสัมภาษณ์ 2. การเตรียม Resume และ Portfolio เบื้องต้น การเตรียม Resume และ Portfolio ควรมีการนำเสนอข้อมูลให้ตอบโจทย์กับสายงานต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนของความสามารถ เช่น งาน Marketing คุณจำเป็นต้องนำเสนอในส่วนของการตลาดเป็นหลัก 3. ซ้อมสัมภาษณ์งานจริง สำหรับคนที่ไม่เคยสัมภาษณ์มาก่อน ขอแนะนำว่าควรลองซ้อมตอบคำถามการสัมภาษณ์ อาจใช้กระจก เพื่อน หรือคนในครอบครัวมาสมมติ เพื่อลดความตื่นเต้นในการสัมภาษณ์จริง สรุป STAR Model เป็นอีกหนึ่งโมเดลการตอบคำถามสำหรับสัมภาษณ์งานเพื่อทำให้ตอบคำถามได้กระชับ สมเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น แม้แต่คนสัมภาษณ์เองก็ยังสามารถใช้โมเดลนี้เพื่อตั้งคำถามหรือประเมินการตอบคำถามของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อีกด้วย แน่นอนว่าการสัมภาษณ์ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ รองรับการพูดคุยได้อย่างลื่นไหล True VROOM เป็นแพลตฟอร์การประชุมที่น่าสนใจซึ่งกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่ทำให้คุณสามารถพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับทั้งการสัมภาษณ์และการทำงานในองค์กร ตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ และทดลองใช้งานได้ฟรีที่ True VROOM อ้างอิง betterup uk.indeed.com thebalancecareers thebalancecareers
September 29, 2022
2 mins read
ธุรกิจในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเจ้าใหญ่หรือเจ้าเล็ก ต่างก็ต้องปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอนว่า มีธุรกิจเกิดใหม่มากมายนับไม่ถ้วนจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แล้วในปีนี้จะมีธุรกิจออนไลน์อะไรเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจบ้างลองมาดูกันเลย! Table of Contents เทรนด์ธุรกิจออนไลน์ที่น่าสนใจหลัง Covid 1. ธุรกิจ E-Commerce ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการคาดเดาว่าตลาด E-Commerce ไทยจะมีมูลค่าราว 5.65 แสนล้านบาท โดยมีการขยายตัวราว 13.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าการค้าขายสินค้าออนไลน์ยังคงได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย ซึ่งธุรกิจ E-Commerce นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการขายของอย่างเดียวเสมอไป ยังมีธุรกิจอีกมากมายเช่น การรับจ้างสร้างแพลตฟอร์ม E-Commerce การรับจัดการระบบหลังบ้านของร้านค้า การรับโฆษณาผ่านโลกออนไลน์ ธุรกิจเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าภายใต้การเติบโตของการซื้อขาย ยังมีช่องทางในการทำธุรกิจของผู้คนอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว 2. ธุรกิจการสอนออนไลน์ “ความรู้” ไม่ว่าจะด้านไหนก็สามารถนำไปต่อยอดได้ด้วยการ “สอน” และสำหรับยุคปัจจุบันมีแพลตฟอร์มคุณภาพมากมายที่เป็นช่องทางสำหรับการสอน หลายคนจึงผันตัวมาเป็นโค้ชและอาจารย์ที่สอนในสิ่งที่ตนเองถนัดหรือสิ่งที่สังคมสนใจ ตั้งแต่การทำอาหาร แต่งหน้า การเขียนบทความ ไปจนถึงการทำการตลาด ที่ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มการสอนมากมายเปิดให้บริการ แน่นอนว่าคนทำธุรกิจการสอนออนไลน์บางคนก็ไม่ได้เลือกสอนผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าว แต่ใช้การโปรโมตผ่านโซเชียลมีเดียแทน และทำการสอนผ่านแพลตฟอร์มสำหรับประชุมออนไลน์คุณภาพสูง ซึ่งมีให้เลือกมากมายในตลาด หากใครกำลังมองหาแพลตฟอร์มสำหรับประชุมออนไลน์มาใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนสุดครบครัน True VROOM ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยมีจุดเด่นที่ให้นักเรียนในคลาสสามารถเข้ามาเรียนได้ด้วยการกำหนดรหัสผ่าน ทำให้คนที่สนใจสามารถเข้าถึงคลาสนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น และยังสามารถแชร์หน้าจอพร้อมกันได้หลายคนอีกด้วย 3. ธุรกิจการทำคอนเทนต์ “ใครๆ ก็สามารถทำคอนเทนต์ได้” ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไปในยุคสมัยนี้ ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้สรรค์สร้างผลงานของตัวเอง ตั้งแต่ภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ ไปจนถึงคอนเทนต์วิดีโอยาวหลายชั่วโมง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ปัจจุบันเราจะได้เห็น Youtuber, Tiktoker และ Influencer หน้าใหม่มากมายปรากฎขึ้น และคนเหล่านี้มีการทำคอนเทนต์เป็นธุรกิจ โฆษณาสินค้าของตนเอง ทำการขายของต่างๆ ภายใต้คอนเทนต์ที่สร้างขึ้น ต่อยอดด้วยการรับสปอนเซอร์ โดยธุรกิจการทำคอนเทนต์สร้างรายได้ให้คนจำนวนมาก 4. ธุรกิจอาหาร การเข้ามาของโลกออนไลน์เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอาหารเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแอปพลิเคชันสำหรับสั่งอาหารต่างๆ เช่น Grab, Lineman หรือ Robinhood ช่วยให้ร้านจำนวนมากสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ด้วยบริการ Food Delivery เหล่านี้ ทุกคนสามารถขายอาหารได้แม้ไม่มีหน้าร้าน ธุรกิจร้านอาหารจำนวนไม่น้อยได้ทำการใส่ข้อมูลร้านลงใน Search Engine เพื่อให้สามารถเข้าถึงร้านได้ง่ายจากโลกออนไลน์ และมีการต่อยอดด้วยการเปิดโซเชียลมีเดียของตัวเอง ที่สามารถเปิดรับออเดอร์ โฆษณา และติดต่อสื่อสารกับลูกค้า จนหลายๆ ร้านไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน เน้นขายแบบออนไลน์ก็สามารถทำกำไรได้ไม่น้อยทีเดียว 5. ธุรกิจสุขภาพ เทรนด์ของการดูแลสุขภาพเป็นกระแสที่มาแรงก่อน Covid-19 จะมาเสียอีก สามารถสังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของฟิตเนสจำนวนมากและปริมาณคนที่ไปออกกำลังกายตามที่สาธารณะต่างๆ โดยเมื่อคนออกจากบ้านไม่ได้จึงกระตุ้นให้การดูแลสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาท เช่น ธุรกิจตรวจรักษากับแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ ธุรกิจสอนฟิตเนส โยคะ ออนไลน์ ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ ธุรกิจประกันสุขภาพ การเข้ามาของระบบออนไลน์ได้กระตุ้นให้ธุรกิจต่างๆ มีการปรับตัวเข้าหาลูกค้าได้อย่างรวดเร็วผ่านแอปพลิเคชันและโซเชียลมีเดีย นับว่าเป็นประเภทธุรกิจที่เติบโตได้ดีจนน่าตกใจเลยทีเดียว 6. ธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ธุรกิจออนไลน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่กว้างและใหม่มากๆ สำหรับสังคมไทย แม้จะเป็นรูปแบบธุรกิจที่ค่อยๆ เติบโตอย่างแช่มช้าแต่มั่นคงตามเทรนด์ความรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม สำหรับธุรกิจที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ ธุรกิจด้านพลังงานสะอาด ธุรกิจบริหารจัดการขยะ ธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ ธุรกิจเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ ทำสวน ธุรกิจเหล่านี้ไม่ใช่แค่การรับจ้างในรูปแบบออนไลน์ หลายได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ของตัวเอง เช่น แอปพลิเคชันช่วยแยกขยะ หรือแอปพลิเคชันการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า เป็นที่น่าจับตามองอย่างมากว่าธุรกิจออนไลน์ประเภทนี้จะเติบโตไปในแนวทางใดในอนาคต 7. ธุรกิจด้านงานศิลปะ เมื่อพูดถึงงานศิลปะบนโลกออนไลน์ หลายคนอาจนึกถึง NFT Art ซึ่งเป็นศิลปะที่ซื้อขายกันบน Blockchain ทว่าในความเป็นจริงศิลปะออนไลน์ไม่ได้มีแค่นั้น ศิลปินในยุคปัจจุบันมีวิธีหลากหลายในการทำธุรกิจ ตั้งแต่การเปิดให้ซื้อ-ขายภาพถ่ายหรือภาพวาดผ่านเว็บตัวกลาง การรับจ้างทำงานศิลปะให้กับบริษัทต่างๆ หรือทำแกลเลอรีออนไลน์เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ และแน่นอนว่า NFT Art ก็เป็นตัวเลือกฮิตสำหรับศิลปินในยุคปัจจุบันเช่นกัน โดย NFT Art ชื่อดังอย่าง Everydays : The First 5000 Days ของศิลปิน Beeple ก็สามารถขายได้ในราคาเทียบเท่า 69.3 ล้านดอลลาร์ (2.4 พันล้านบาท) เลยทีเดียว ศิลปะรูปแบบอื่นๆ เช่นงานปั้น งานเพลง หรือแม้แต่งานเขียนเองก็มีบทบาทไม่แพ้งานภาพ ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถผสมผสานกับการทำคอนเทนต์เพื่อเพิ่มมูลค่าของงานศิลปะ หรือทำให้เข้าถึงผู้คนจำนวนมากได้เช่นกัน 8. ธุรกิจด้านการตลาดแบบ Affiliate สมัยนี้แม้ไม่มีสินค้าก็สามารถสร้างรายได้ขึ้นมาได้ โดยใช้การทำ Affiliate เคยสังเกตไหมว่าตามกลุ่มในโซเชียลมีเดียต่างๆ บ่อยครั้งมักมีการลงลิงก์เพื่อให้กดไปยังหน้าสั่งซื้อ และมีคำเขียนกำกับว่า “ลิงก์ Aff” ซึ่งลิงก์ Aff นั้นย่อมาจาก Affiliate นั่นเอง การตลาดแบบ Affiliate การเปิดให้คนทั่วไปมารีวิว เชิญชวน หรือแนะนำสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านลิงก์ที่กำหนดไว้ หากมีคนกดเข้าไปซื้อสินค้าและบริการดังกล่าว คนที่แนะนำก็จะได้ค่า Commision มากน้อยแล้วแต่การตกลง ทำให้มันกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่คนทั่วไปสามารถทำได้แม้ไม่มีทุนทรัพย์มาก็ตาม 9. ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ วงการอสังหาริมทรัพย์นั้นผูกพันธ์กับโลกออนไลน์มานาน เมื่อก่อนมีการโพสต์หรือลงขายที่ดินผ่านอินเทอร์เน็ต จนตอนนี้วงการอสังหาริมทรัพย์ได้หลอมรวมโลกออนไลน์อย่างไม่น่าเชื่อ โดยในปัจจุบันเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สามารถเปิดจอง ให้เช่า หรือขายอสังหาริมทรัพย์ได้ผ่านโลกออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องติดป้ายข้างที่ของตนเองอีกต่อไป รวมถึงมีการประยุกต์ใช้ Virtual Reality เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการขาย ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงบ้านที่ต้องการขายด้วยอุปกรณ์ VR สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้ธุรกิจออนไลน์ด้านอสังหาริมทรัพย์เติบโตได้อย่างน่าสนใจ 10. ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี เมื่อพูดถึงโลกออนไลน์แล้ว สุดท้ายย่อมขาด “เทคโนโลยี” ที่เป็นส่วนประกอบหลักไปไม่ได้เลย เพราะไม่ว่าธุรกิจใดก็ตามจาก 9 ข้อที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐานแทบทั้งสิ้น โดยธุรกิจเทคโนโลยีออนไลน์ในปัจจุบันมีมากมายตั้งแต่ การซื้อ-ขายสินค้าไอที การรับติดตั้งโปรแกรมและแอปพลิเคชันสำหรับทำงาน การรับจัดการฮาร์ดแวร์เสื่อมสภาพที่ไม่ใช้แล้ว การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในการทำงาน การพัฒนาแชทบอตเพื่อรองรับลูกค้าในธุรกิจต่างๆ ซึ่งยังมีธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกมากมายที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง แต่ก็สามารถยืนยันได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มาแรงสม่ำเสมอและยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดจนปัจจุบัน สรุป...
Stay up to date with the latest news and updates from
True VWORLD
