Articles
ในโลกยุคโควิดที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและรักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้การติดต่อสื่อสารหรือการทำงานร่วมกันมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพกายและสุขภาพใจที่น่ากลัวเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบ Work From Home ที่ทำให้พนักงานไม่สามารถแยกชีวิตระหว่างบ้านและที่ทำงานออกจากกันได้ จนก่อให้เกิดความเครียดสะสม และภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) หรือการขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงานก็อาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น Metaverse จึงเข้ามามีบทบาทในการแบ่งแยกชีวิตที่บ้านและที่ทำงานอย่างชัดเจน ช่วยทำลายกำแพงการสื่อสารระหว่างคุณกับเพื่อร่วมงาน รวมไปถึงช่วยเสกให้ไอเดียใหม่ๆ ของคุณกลายเป็นจริงในโลกเสมือนจริงได้อีกด้วย แล้ว Metaverse คืออะไร? จะมาช่วยเปลี่ยนอนาคตของโลกการทำงานได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ Table of Contents Metaverse คืออะไร? Metaverse คือ โลกเสมือนจริง (Virtual World) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งปัน โต้ตอบ และการแสดงปฏิสัมพันธ์ต่างๆ อย่างไร้รอยต่อของผู้คนทั่วโลก ทั้งการเล่นเกม การทำงาน การสร้าง-ซื้อ-ขายสินทรัพย์เสมือน และการพูดคุยหรือแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ โดยทั้งหมดสามารถทำได้ผ่าน "อวตาร" เสมือนจริง หากยังเห็นภาพไม่ชัดเจนคุณอาจลองนึกถึง Minecraft เกมแนวโลกเสมือนจริงขวัญใจผู้เล่นทั่วโลก การันตีด้วยด้วยยอดผู้เล่นมากถึง 100 ล้านบัญชีต่อเดือน ที่ผู้เล่นสามารถจำลองอวตารของตัวเอง และเลือกทำในสิ่งที่ผู้เล่นต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจโลก 3 มิติที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้ขีดจำกัด การค้นหาและเก็บเกี่ยววัตถุดิบเพื่อคราฟต์ไอเทม การสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ การตะลุยด่านหรือแข่งขันกับอวตารคนอื่น และเนื่องจากตัวเกมไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ Minecraft เป็นเกมที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นอย่างไม่จำกัด รวมไปถึงอิสระในการดัดแปลงระบบเกมอีกด้วย หรือจะเป็น Bondee แอปโซเชียลมีเดียที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ซึ่งภายในแอปจะนำเสนอ Metaverse ในแง่ของการสร้างปฏิสัมพันธ์ และจำลองการใช้ชีวิตร่วมกันกับเพื่อน โดยสามารถสร้างอวตารที่สื่อถึงตัวตนของผู้เล่น สร้างบ้านเพื่อให้เพื่อนมาเยี่ยมชม สร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วยการกดเพิ่มเพื่อน แชท แชร์สถานะ ส่งรูปภาพ และแชร์สตอรี่ นอกจากนี้ยังสามารถหาเพื่อนใหม่ด้วยการทิ้งข้อความไว้ในขวดกลางทะเล ให้ผู้เล่นคนอื่นที่เก็บขวดได้ทำความรู้จักคุณ จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า Metaverse สามารถเชื่อมต่อโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกดิจิทัลได้อย่างไร้รอยต่อ และเป็นเทคโนโลยีที่ผู้คนยอมรับและใช้อย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่องค์กรต่างๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทในโลก Metaverse รวมไปถึงการนำ Metaverse ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอีกด้วย เพราะฉะนั้นในส่วนถัดไปเราจะมาเจาะลึกโลกของการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปหลังจากนำ Metaverse เข้ามาพัฒนากัน 3 อนาคตของโลกการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนด้วย Metaverse 1. Work From Home จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไปด้วย Metaverse Metaverse ช่วยสร้างอวตารที่สามารถเลียนแบบประสบการณ์การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการพบปะและตอบโต้ระหว่างกันแบบเรียลไทม์ การกระทำระหว่างอวตารกับวัตถุดิจิทัล หรือการจัดประชุมในโลกเสมือนจริง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้โดยไม่รู้สึกเครียด นอกจากนี้อวตารของคุณจะสื่อถึงสถานะของคุณ เช่น พักกลางวัน อยู่ในที่ประชุม หรือติดธุระอื่น ทำให้คุณไม่ต้องกดดันตัวเองให้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาจากการทำงาน Work From Home Metaverse ยังช่วยให้สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้นจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานได้ดั่งใจอีกด้วย...
All articles
September 29, 2022
2 mins read
ภาวะผู้นำ (Leadership skill) เป็นทักษะสำคัญที่องค์กรมองหาเพื่อให้คุณสามารถตั้งรับกับทุกปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นมืออาชีพและได้รับความน่าเชื่อถือจากทั้งในและนอกองค์กร ทว่าทักษะดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีติดตัวแต่แรก แต่สามารถเพิ่มพูนได้ด้วยประสบการณ์การทำงาน และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหากอยากมีภาวะผู้นำที่ดีจำเป็นต้องฝึกกันอย่างไร ? นี่คือ 7 วิธีเพิ่มภาวะผู้นำที่ดีที่จะทำให้คุณกลายเป็นคนที่องค์กรต้องการ Table of Contents 1. พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เป็นทักษะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้นำอย่างมาก เพราะคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงมีโอกาสที่จะบริหารจัดการความคิดของตัวเองภายใต้ความกดดันได้ดี โดยไม่ทำลายบรรยากาศในการทำงาน และสามารถผลักดันทีมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้ความฉลาดทางอารมณ์ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และสื่อสารกับลูกค้า เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทั้งในและนอกองค์กรทีเดียวคุณสามารถเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ได้ง่ายๆ ด้วยการจินตนาการว่าหากตนเองเป็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งเจอกับสถานการณ์ต่างๆ จะรู้สึกและแสดงออกอย่างไร หรือลองคิดว่าทำไมฝ่ายตรงข้ามถึงแสดงออกในรูปแบบนั้นๆ และสามารถศึกษาเชิงลึกด้วยการฟังพอตแคสต์ หรือลงเรียนคอร์สจิตวิทยา เพื่อให้เข้าใจข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้น 2. ฝึกฝนการคิดให้ยืดหยุ่นในโลกของการทำงานจริงที่ผู้นำต้องกล้าเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ความยืดหยุ่นในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่สามารถพาคุณออกนอกกรอบแนวคิดเดิมๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการมองมุมใหม่เพื่อเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ดีขึ้น การพลิกแพลงเครื่องมือที่มีอยู่เพื่อแก้ไขปัญหา ไปจนถึงการปรับตัวเข้ากับทีมใหม่ การฝึกความคิดให้ยืดหยุ่นนั้นย่อมสนับสนุนให้คุณสามารถแก้ปัญหาได้หลากหลายและลุ่มลึกมากยิ่งขึ้นจนอาจพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้วิธีฝึกฝนการคิดให้ยืดหยุ่นอย่างง่าย คือ การเลือกทำกิจกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น ที่นอกจากจะช่วยให้คุณมีแนวความคิดที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเข้าใจวิธีการคิดของผู้อื่นอีกด้วย3. สังเกตและสร้างแรงบันดาลใจแบบภาวะผู้นำการสังเกตความสามารถของเพื่อนร่วมงานแต่ละคนจะช่วยให้ทราบว่าใครมีความถนัดในเรื่องอะไรเป็นพิเศษทำให้สามารถ Put the right man on the right job ได้ นอกจากจะช่วยให้บรรยากาศในที่ทำงานดีขึ้นแล้วยังเป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ Performance ของทีมอีกด้วยแน่นอนว่าการมอบหมายสิ่งต่างๆ ผ่านการสังเกตอาจไม่ได้รับความยินยอมจากคนในทีมเสมอไป ผู้ที่มีภาวะผู้นำจึงต้องมีส่วนในการสร้างแรงบันดาลในใจการทำสิ่งต่างๆ รวมถึงแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ทีมรับรู้คุณอาจเริ่มสังเกตและสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมจากการใส่ใจทำความรู้จักตัวตนของพนักงานแต่ละคนให้มากขึ้น ลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่าง รวมไปถึงสนับสนุนการนำเสนอความคิดเห็นของพนักงานก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจว่าการแสดงออกในการทำงานไม่ใช่เรื่องผิด และพวกเขาสามารถสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ที่ยอดเยี่ยมได้ด้วยตนเอง4. เข้าสังคมให้เป็นการทำงานใหญ่ไม่สามารถลุล่วงได้ด้วยคนเดียว จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้คนมากมายซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย และผู้นำคือคนที่ต้องเชื่อมโยงทุกคนในทีมให้ร่วมมือกันเพื่อให้งานลุล่วงไปได้ด้วยดี รวมถึงสามารถติดต่อพูดคุยกับลูกค้าเพื่อเจรจาต่อรองได้อย่างเหมาะสมพื้นฐานของการเข้าสังคมที่คุณสามารถฝึกได้ทุกวันคือ การยิ้มและพยักหน้าตอบรับคู่สนทนา ซึ่งเป็นวิธีการแสดงออกว่าคุณกำลังตั้งใจทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารจริงๆ หลังจากนั้นค่อยดำเนินการขยับเป็นการเสวนาเรื่องต่างๆ ที่ซับซ้อนขึ้น พร้อมกับควรสังเกตพฤติกรรมของคู่สนทนา เพื่อความเข้าใจเจตนาในการสื่อสารในวงธุรกิจ 5. จัดการเวลาตามลำดับความสำคัญการจัดการเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพคือเรื่องสำคัญที่ผู้นำต้องมี โดยการนำทฤษฎีต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้จะช่วยให้การจัดการเวลามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทฤษฎีโถแก้วแห่งชีวิต (Jar of Life) เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้ โดยคุณสามารถฝึกการบริหารจัดการได้ด้วยการเรียบเรียงความสำคัญเปรียบกับก้อนหินใหญ่ กรวด และเม็ดทราย และใช้สิ่งเหล่านั้นเติมลงในโถ (เวลาในแต่ละวันของคุณ)ซึ่งคุณต้องทำการใส่หินก้อนใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตเป็นอันดับแรก แล้วค่อยตามด้วยกรวดเล็กๆ ที่สำคัญรองลงมา และปิดท้ายด้วยการใส่ทรายซึ่งเป็นตัวแทนของเรื่องที่ไม่ค่อยสำคัญในชีวิตเพื่อให้ทุกนาทีของคุณถูกใช้ไปอย่างมีคุณค่าสูงสุด 6. ฝึกฝนการสื่อสารอีกหนึ่งทักษะสำคัญในการนำทีมให้ประสบความสำเร็จคือทักษะการสื่อสาร ซึ่งผู้นำที่ดีควรจะถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้คนอื่นๆ เข้าใจได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น ถูกกาลเทศะและไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดการเข้าใจในเจตนาที่ผิด โดยสามารถทำได้ทั้ง คำสั่ง คำถาม รวมถึงการพูดเชิงชี้นำคุณสามารถนำทักษะการสื่อสารมาใช้ในการทำงานได้อย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น การจูงใจให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกมุ่งมั่นในการทำงานหรือการตำหนิพนักงานเมื่อทำผิดให้มีความไม่รู้สึกผิดใจกันการฝึกฝนการสื่อสารสามารถทำได้ด้วยการฝึกเรียบเรียงคำพูดให้กระชับ ได้ใจความ ใช้ความสุภาพเป็นหลัก เพื่อลดความเข้าใจผิดของคู่สนทนา อาจฝึกฝนเพิ่มเติมด้วยการสอบถามคนในทีมเกี่ยวกับวิธีการพูดและการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การสื่อสารต่างๆ ครบถ้วน และได้ใจของคนในทีมไปในเวลาเดียวกัน7. เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆการไม่หยุดพัฒนาตนเองด้วยการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนหรือการพัฒนาทักษะเดิมให้เชี่ยวชาญเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง นอกจากจะช่วยให้คุณเก่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้คุณเป็นตัวอย่างที่ดีของทีม ทำให้คุณสามารถรับมือกับกระแสของธุรกิจที่เปลี่ยนไปในทุกวันได้อย่างรวดเร็ว และอาจนำกุญแจสู่ความสำเร็จที่ไม่เหมือนใครมาไว้ในมือคุณก็ได้โดยคุณสามารถเริ่มต้นเรื่องนี้ได้ด้วยการลงเรียนคอร์สต่างๆ ที่คุณสนใจ ฟังพอตแคสต์เพื่อพัฒนาตนเอง ไปจนถึงอ่านหนังสือหมวดที่คุณไม่เคยลิ้มลองมาก่อน จะช่วยให้คุณเข้าถึงสิ่งใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้นสรุป“ผู้นำ” ไม่ใช่เพียงแค่คำเรียกตำแหน่งหน้าที่แต่เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องมี วิสัยทัศน์ และพฤติกรรมที่เหมาะสมกับองค์กร จึงสามารถกล่าวได้ว่าคนผู้นั้นมีภาวะผู้นำได้ ซึ่งนอกจากการพัฒนาตัวผู้นำองค์กรให้ดีแล้ว ก็ควรมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการทำงานเพื่อให้ทุกคนสามารถดำเนินสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพTrue VWORK เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดีๆ ที่ตอบสนองทุกการทำงานในยุคดิจิทัล ที่รวมครบทุกฟังก์ชันจำเป็นในการทำงานไว้ในที่เดียว ตั้งแต่การเช็กอินเริ่มงาน การจัดประชุมออนไลน์ การสื่อสารภายในทีม กำหนดแผนงานไปจนถึงการส่งแบบฟอร์มอนุมัติ จะเป็นงานแบบไหนก็พร้อมใช้งาน โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK อ้างอิงteambuildingmissiontothemoonth.hrnote.asiaadeccomarketingoopsdrfish.training
September 29, 2022
2 mins read
Blended Learning เป็นอีกหนึ่งเทรนด์การเรียนแบบใหม่ในยุค New Normal ที่ตอบโจทย์ความทันสมัยและมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ด้วยการผสมผสานการเรียนแบบออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน กลยุทธ์นี้มีความโดดเด่นแค่ไหน และสามารถประยุกต์ใช้กับการศึกษาปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ไปดูพร้อมๆ กันเลย! Table of Contents รู้จักกับ Blended LearningBlended Learning คือ การเรียนรู้แบบผสมผสานที่นำการเรียนรู้แบบออนไลน์และการเรียนในห้องเรียนแบบดั้งเดิมเข้าด้วยกัน ซึ่งการเรียนรู้แบบ Blended นี้มีการประยุกต์ใช้มานับสิบปีแล้ว แต่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ในช่วงยุค Digital Transformation ที่ผ่านมานี่เองBlended Learning หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Hybrid Learning มีการวางสัดส่วนในการเรียนออนไลน์ไว้ตั้งแต่ 30-70% ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละวิชา โดยมีการใช้สื่อการสอนแบบออนไลน์เป็นหลักที่เน้นความยืดหยุ่นและเข้าถึงง่ายของผู้เรียน แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การทดลองต่างๆ เพื่อให้นักเรียนเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดเด่นของ Blended Learning1. มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายอ้างอิงจากทฤษฎีพีระมิดแห่งการเรียนรู้ (Learning Pyramid) จากงานวิจัยของ NTL Institute มีการระบุไว้ว่าวิธีการเรียนรู้แต่ละวิธีจะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำและเรียนรู้เนื้อหาการเรียนได้มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน อย่างเช่นการอ่านจะช่วยให้จำได้ 10% การฟังจะช่วยให้จำได้ 20% และการได้ลองปฏิบัติด้วยตัวเองจะช่วยให้จำได้ 75%การเรียนออนไลน์เพียงแค่อย่างเดียวจึงอาจไม่ตอบโจทย์การเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากขาดการปฏิบัติจริง และการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวก็อาจมีความรู้ไม่ทันสมัย รวมไปถึงขาดสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นเท่าที่ควร Blended Learning มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย จึงเป็นรูปแบบการศึกษาที่น่าสนใจกว่า เพราะสามารถนำเสนอสิ่งต่างๆ ผ่านสื่อมากมาย พร้อมมีตัวอย่างจริง รวมถึงการลงมือทำกิจกรรมจริงๆ ดังนั้นการเรียนรู้แบบผสมผสานนี้จึงเป็นคำตอบที่ลงตัวที่สุดสำหรับการเรียนแบบใหม่ในยุค New Normal2. สภาพแวดล้อมในการเรียนที่ดีกว่าBlended Learning เป็นรูปแบบการเรียนที่ยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากกว่าการเรียนแบบออนไลน์ โดยการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนจะช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการร่วมกันหาคำตอบภายในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี และเมื่อเทียบกับการเรียนแบบออนไลน์หรือการเรียนแบบดั้งเดิมแล้ว Blended Learning ยังช่วยขยายระยะเวลาโฟกัสในการเรียนให้มีความยาวมากขึ้นได้ ซึ่งนอกจากผลดีที่ผู้เรียนจะได้รับแล้ว Blended Learning ยังเอื้อต่อการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรของผู้สอนให้เหมาะกับกลุ่มผู้เรียนอีกด้วย 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองคุณประโยชน์อีกข้อของ Blended Learning ที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย คือการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการแนะนำของผู้สอน โดยผู้เรียนสามารถค้นคว้าหัวข้อที่ตนเองยังไม่เข้าใจหรือมีความสนใจมากเป็นพิเศษได้อย่างรวดเร็วผ่านสื่อการสอนออนไลน์โดยไม่ต้องรู้สึกกดดันเหมือนการเรียนพร้อมกันกับผู้เรียนคนอื่นๆ นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับแต่งความเร็วในการเรียนให้เหมาะกับตัวเองแล้ว Blended Learning ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการเชื่อมโยงความรู้จากการศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกอีกด้วยจัดการการเรียนรู้แบบผสมผสานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพใช้การเรียนออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าการเรียนแบบ Blended Learning จะต้องมีสัดส่วนของเนื้อหาที่นำเสนอผ่านระบบออนไลน์ระหว่าง 30-70% แต่ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ด้วยตัวเองของผู้เรียนแล้ว โครงสร้างสัดส่วนการเลคเชอร์แบบออนไลน์ของ Blended Learning อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นอ้างอิงจากงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การปรับตัวเลขการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้ขยับขึ้นมาที่ 60% และใช้การทำกิจกรรมและการเรียนในห้อง 40% จะส่งผลดีต่อผู้เรียนมากที่สุด กระนั้นตัวเลขดังกล่าวก็ยังสามารถรปรับเปลี่ยนได้ตามสไตล์การสอนและความเหมาะสมของแต่ละวิชาเช่นกันใช้การแนะนำแบบโค้ชมากกว่าเลคเชอร์ (coaching) การสอนแบบบรรยายเนื้อหาหรือเลคเชอร์จะเป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่พบเห็นได้เป็นปกติ แต่สำหรับการเรียนแบบ Blended Learning แล้ว การโค้ช (Coaching) ผ่านการตั้งคำถามที่น่าสนใจให้ผู้เรียนได้ขบคิดและค้นคว้าคำตอบอาจเป็นวิธีการสอนที่ดึงประสิทธิภาพในตัวผู้เรียนออกมาได้มากกว่าเพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองผ่านเว็บช่วยสอนและเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ อยู่แล้ว การโค้ชจะช่วยเสริมในส่วนของการขบคิดและแลกเปลี่ยนความเห็นผ่านการตอบคำถามภายในชั้นเรียนให้มากขึ้น และส่งผลในการผลักดันทักษะการคิดวิเคราะห์วิพากษ์หรือ Critical Thinking ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการต่อยอดไปสู่การศึกษาในอนาคตของผู้เรียนนั่นเองใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ Blended Learning เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ควรใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีเพื่อการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อวิดีโอการเรียนต่างๆ แพลตฟอร์มการส่งงานของผู้เรียนหรือห้องสนทนาออนไลน์ก็ล้วนอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้เรียนและผู้สอน อีกทั้งการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังสามารถขยายขอบเขตการเรียนรู้ของผู้เรียนให้กว้างขึ้นกว่าเก่า ช่วยลดความเครียดและภาระงานที่ไม่จำเป็นต่างๆ ของครูผู้สอนลง ทำให้ผู้สอนมีเวลาในส่วนนี้ที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบวิธีการสอนและแผนกิจกรรมดีๆ ให้กับผู้เรียนได้มากขึ้นอีกด้วย สรุปBlended Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนออนไซต์ที่มีจุดเด่นในการถ่ายทอดประสบการณ์จากการลงมือทำกิจกรรม ร่วมกับการเรียนแบบออนไลน์ ที่มีความยืดหยุ่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในจุดต่างๆ ตอบโจทย์ยุคสมัย ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงTrue VLEARN แพลตฟอร์มห้องเรียนดิจิทัลจาก TRUE VWORLD เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่น่าสนใจ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการเรียนรู้ในมิติใหม่กลายเป็นเรื่องง่าย มีฟังก์ชันครบครันเหมาะสำหรับการเรียนยุค New Normal เช่นเดียวกับ True VROOM ที่เป็นแพลตฟอร์มห้องประชุมยุคใหม่ ตอบโจทย์ทั้งการเรียนและการทำงานจากที่ไหนก็ได้ได้ โดยคุณสามารถดูรายละเอียดของทั้งสองแพลตฟอร์มได้ที่ True VLEARN และ True VROOM อ้างอิงlimitlesseducationfaithandbaconlib.edu.chulaedujournal.bsruenglishgangaksorncore.ac.uk
September 29, 2022
2 mins read
ประชุมทางไกล เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับยุคดิจิทัลที่ทุกคนเน้นการทำงานออนไลน์เป็นหลัก ทุกบริษัทต่างต้องมีการปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการประชุมแบบนี้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือรายละเอียดของการประชุมทางไกลที่ผู้บริหารองค์กรรุ่นใหม่ไม่ควรพลาดประชุมทางไกล หนทางของการทำงานยุคอนาคตการประชุมทางไกล คือ รูปแบบการประชุมที่ผู้เข้าประชุมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการสนับสนุน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการประชุมทางไกลไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ก่อนที่จะมีสมาร์ทโฟน หลายบริษัทก็มีการประชุมทางไกลกันผ่านโทรศัพท์อยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าด้วยเทคโนโลยีที่ยังไม่พัฒนาทำให้การประชุมรูปแบบดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพมากนักจนมาถึงปัจจุบันที่เทคโนโลยีต่างๆ มีการพัฒนาไปไกล เราสามารถเห็นภาพ เสียง ของคู่สนทนา รวมถึงการดูข้อมูลต่างๆ ที่กำลังถูกนำเสนอได้ผ่านจอภาพ ดังนั้นการประชุมทางไกลจึงได้แปรเปลี่ยนเป็น “เรื่องธรรมดา” และนี่คือ 5 องค์ประกอบสำคัญสำหรับการประชุมที่คุณควรรู้ Table of Contents 1. แผนการประชุมหนึ่งในปัญหาที่ผู้เข้าร่วมประชุมแทบทุกคนต้องเคยเจอ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมระยะไกลหรือการประชุมแบบเจอหน้า คือปัญหาเรื่องการประชุมยืดเยื้อ ไม่ตรงประเด็น ไม่รู้ว่าตนเองต้องเข้าร่วมประชุมทำไม รวมถึงการประชุมที่ถี่เกินความจำเป็นงานวิจัย The Psychology Behind Meeting Overload จาก Harvard Business Review มีการระบุว่าพนักงานระดับ Manager ราว 83% มองการประชุมว่าไม่ได้ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญหาในเรื่องการประชุมและการทำงานเป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยขนาดไหน ดังนั้นสิ่งแรกที่คุณควรมีก่อนการประชุมคือ “แผน” ที่ดี2. อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระบบอินเทอร์เน็ตคุณภาพเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้การส่งข้อมูลทั้งภาพและเสียงสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ที่เข้าร่วมการประชุมทางไกลควรมีระบบอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รวดเร็ว มีความเสถียร รวมถึงมีผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้สามารถประชุมได้ลื่นไหล ไม่มีติดขัดหากบริษัทต้องมีการประชุมทางไกลบ่อยครั้ง การติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือมีการสนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ตในแง่มุมต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญ 3. ระบบภาพและเสียงภาพ เสียง และการนำเสนอต่างๆ เป็นจุดเด่นของการประชุมออนไลน์ในยุคนี้ ดังนั้นผู้ประชุมควรมีอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ กล้อง ลำโพง ไมค์ รวมไปถึงจอภาพเพื่อการนำเสนอในที่ประชุม เพื่อช่วยให้การนำเสนอและการสนทนามีความสมบูรณ์ที่สุดโดยระบบภาพและเสียงนี้จะมีความแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบริษัท หากเป็นบริษัทขนาดเล็กซึ่งมีการประชุมแยกรายบุคคล การใช้คอมพิวเตอร์แล็บท็อปพร้อมหูฟังอาจเป็นตัวเลือกในการประชุมที่ดี แต่ถ้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีการประชุมหลายฝ่ายพร้อมกัน การมีห้องประชุมสำหรับพูดคุยและนำเสนองานผสมผสานกับการประชุมออนไลน์ อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า4. แพลตฟอร์มที่ใช้ในการประชุมปฏิเสธไม่ได้ว่าหากพูดถึงการประชุมทางไกลในปัจจุบันย่อมนึกถึงการประชุมออนไลน์ และการประชุมประเภทนี้จำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มการประชุมที่เหมาะสม โดยแพลตฟอร์มต่างๆ จะมีความโดดเด่นแตกต่างกันออกไปตามผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับปริมาณผู้ร่วมประชุม คุณภาพของภาพและเสียง ไปจนถึงความ Local ที่ผู้ให้บริการอยู่ในพื้นที่เดียวกับผู้รับบริการตัวอย่างแพลตฟอร์มที่ใช้ความ Local ได้ดีคือ True VROOM ที่นอกจากจะมีการแสดงผลทั้งภาพและเสียงที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีฝ่ายซัพพอร์ตภายในประเทศไทย สามารถติดต่อและให้บริการเป็นภาษาไทยได้ง่าย5. ความรู้พื้นฐานของพนักงานเรื่องสุดท้ายที่สำคัญที่สุดในการประชุมทางไกลคือความรู้พื้นฐานของพนักงานทุกคน ก่อนการดำเนินการประชุมทางไกล ทุกบริษัทควรมีการสอบถามความรู้พื้นฐานในการใช้งานอุปกรณ์ และโปรแกรมต่างๆ รวมถึงการ Training พนักงาน เพื่อให้สามารถใช้งานและแก้ปัญหาการสื่อสารเบื้องต้นได้ ทำให้การประชุมดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีปัญหาเกิดขึ้นน้อยที่สุดแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ที่น่าสนใจ 1. True VROOMแพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่มีจุดเด่นในความ Local ดังที่มีการระบุไว้ก่อนหน้า รองรับทุกระบบปฏิบัติการ สามารถเข้าประชุมผ่านเว็บเบราเซอร์ได้ในทันที ครบครันทุกเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการสื่อสารทางไกลTrue VROOM เวอร์ชันใหม่ยังรองรับการประชุมแบบ Global ด้วยการแบ่งห้องสำหรับล่ามผู้แปลภาษาโดยเฉพาะ เพื่อให้การประชุมของคุณมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น! สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM2. Google Meetแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่มีจุดเด่นในด้านการรองรับคนได้มากมาย รวมถึงมีฟังก์ชันพื้นฐานอย่างครบครัน ได้รับความเชื่อถือจากองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก มีจุดเด่นในการทำงานร่วมกับบริการต่างๆ ของ Google ได้เป็นอย่างดี3. Zoomอีกหนึ่งแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์มีชื่อเสียง Zoom มีจุดเด่นในความลื่นไหลของการสื่อสาร และฟังก์ชันพื้นฐานต่างๆ สำหรับการประชุม เพียงแต่ผู้ใช้งานอาจต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น เนื่องจากการใช้งานให้ครบทุกฟังก์ชันจำเป็นมีการตั้งค่าและขั้นตอนการติดตั้งต่างๆ ค่อนข้างเยอะสรุปการประชุมระยะไกลกลายเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทต้องเผชิญ ซึ่งผู้จัดการประชุมควรมีแผนการประชุมที่ดี มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบที่เพียบพร้อม แพลตฟอร์มคุณภาพ และการเทรนพนักงานให้มีความรู้พื้นฐาน เพื่อการประชุมที่สมบูรณ์ที่สุดTrue VROOM เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับการประชุมที่น่าสนใจ ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาฟังก์ชันต่างๆ ให้ง่ายต่อการใช้งานยิ่งขึ้น ตอบโจทย์การประชุมทางไกลทั้งแบบ 1-1 ไปจนถึงการประชุมทั้งบริษัท สามารถสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานฟรีที่ True VROOMอ้างอิงlivewebinarbluejeanshbrmissiontothemoon
September 29, 2022
2 mins read
ต้องสัมภาษณ์งานแบบไหนบริษัทจึงจะรับเข้าทำงาน ? ประเด็นนี้เป็นคำถามที่คนจำนวนมากสงสัย แม้ว่าโปรไฟล์ดีหรือมีบุคคลรองรับก็อาจสะดุดได้ เพราะในยุคนี้การทำงานอาจต้องการมากกว่า Hard Skill แต่ต้องมีทักษะในชีวิตประจำวันอย่าง Soft Skill ด้วย ในวันนี้เราจึงจะพาไปรู้จักหนึ่งในเคล็ดลับการสัมภาษณ์อย่าง STAR Model ตัวช่วยชั้นดีสำหรับการตอบคำถามเพื่อการเข้างาน ช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณได้งานตามที่ต้องการมากขึ้น!! Table of Contents รู้จักกับ STAR Model เทคนิคสำคัญในการสัมภาษณ์งาน การสัมภาษณ์งาน คือ การพูดคุยสอบถามเพื่อที่ทำให้ฝ่ายบุคคลได้รู้จักตัวตนของผู้ที่สมัครเข้ามาทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่แฝงอยู่ในการสัมภาษณ์หลายครั้งจะเป็นการทดสอบต่างๆ ทั้งการสื่อสาร การแก้ปัญหา ไปจนถึงการพรีเซนต์งาน แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่สามารถรับมือกับคำถามประเภทนั้นได้ดี STAR Model หรือ STAR Technique เป็นโมเดลการตอบคำถามที่ช่วยทำให้การตอบคำถามของคุณกระชับและตรงประเด็นมากขึ้น ใช้สำหรับการตอบคำถามประเภทอธิบายหรือบรรยายสถานการณ์ ซึ่งเป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่ต้องเผชิญเมื่อเข้าสู่การสัมภาษณ์งาน โดยส่วนประกอบของ STAR Model นั้นมีดังต่อไปนี้ S: Situation สถานการณ์ เลือกสถานการณ์ของเรื่องราวให้เหมาะสม เพราะการระบุเหตุการณ์ต่างๆ เป็นการปูพื้นฐานที่ดีสำหรับการเล่าเรื่อง T: Task เป้าหมาย ระบุเป้าหมายสำหรับเรื่องราวดังกล่าว เพื่อบ่งบอกว่าหน้าที่ของเรา ณ เวลานั้นต้องแก้ปัญหาสิ่งใด ทำให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นถึงความท้าทายที่เราต้องเผชิญ A: Action การกระทำ บอกว่าเรามีการแก้ปัญหาอย่างไร อธิบายว่าหลังจากเรามีเป้าหมาย เราได้ทำอย่างไรต่อ ควรเป็นการระบุชี้ชัดว่าทำอย่างไร มีการวางแผนอะไรบ้าง เป็นขั้นตอนไป อย่าตอบแค่ว่าเราพยายามหรือทำงานอย่างหนักเพียงอย่างเดียว R: Result ผลลัพธ์ อธิบายผลลัพธ์จากการกระทำของเรา ว่าหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวสิ่งที่เกิดขึ้นได้ส่งผลอย่างไรบ้าง จะดีมากหากคำตอบของเราเป็นสิ่งที่วัดผลได้ และอาจเพิ่มเติมสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการปิดท้าย ตัวอย่างการตอบคำถามด้วย STAR Model คำถาม คุณลองยกตัวอย่างการทำงานที่ตัวเองภูมิใจให้เราฟังหน่อย คำตอบที่อ้างอิง STAR Model ในช่วงที่ผมเริ่มทำงานใหม่ๆ ทางบริษัทเก่ามีการติดต่อสื่อสารกับลูค้าที่ล่าช้า ทำให้บางครั้งเราสูญเสียรายได้อย่างที่ไม่ควรเป็น (Situation) ทางผมเลยต้องหาทางออกเกี่ยวกับการสื่อสารกับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น (Task) และดำเนินการประชุมกับทีมงานเพื่อใช้ซอฟต์แวร์ CRM (Customer Relationship Management) ควบคู่ไปกับการปรับปรุงตำแหน่ง Admin ประจำ Social Media ของบริษัท (Action) ผลของการแก้ไขปัญหานั้นทำให้เราสามารถรักษาลูกค้าเก่าได้มากกว่าเดิมถึง 50% และมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก 20% (Result) จะสังเกตได้เลยว่าคำตอบจะมีความกระชับ เข้าถึงประเด็นของคำถามได้รวดเร็ว และมีการอธิบายทุกอย่างอย่างครบถ้วน ไม่เวิ่นเว้อ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสัมภาษณ์ที่อาจมีเวลาจำกัด คนถามอยากรู้อะไร ? เจาะลึกเพื่อตอบคำถามให้ได้งาน สิ่งที่ควรสังเกตควบคู่ไปกับการใช้งาน STAR Model คือก่อนตอบคำถามคุณอาจต้องพิจารณาก่อนว่าคนถามกำลังมองหาอะไรจากคุณ เนื่องจากองค์กรในปัจจุบันไม่ได้ต้องการคนที่เก่งเฉพาะสายงานของตนเอง แต่ต้องการคนที่มีคววามสามารถหลากหลายเพียงพอที่จะตอบสนองการเติบโตอันรวดเร็วของโลกอีกด้วย โดยเบื้องต้นคำถามของการสัมภาษณ์มักมีจุดประสงค์ดังนี้ 1. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นกะทันหันได้ดีแค่ไหน ซึ่งอาจมาในรูปแบบของคำถามจิตวิทยา การตั้งโจทย์การทำงานให้ลองแก้ไข หากเจอคำถามประเภท “คุณจะทำอย่างไร” ควรคาดเดาไว้เลยว่าเขาต้องการทดสอบความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของคุณ 2. ความสามารถในการสื่อสารกับผู้คน องค์กรแต่ละที่มักมีวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป และบทสัมภาษณ์ก็มักมีการหยั่งเชิงในส่วนนี้อยู่เสมอ บางองค์กรก็มีการดึงคนจากตำแหน่งใกล้เคียงกับที่เราสมัคร ไปจนถึงสมาชิกในทีมมานั่งร่วมการสัมภาษณ์ด้วย 3. ความสามารถเฉพาะด้านสำหรับสายงานต่างๆ คำถามนี้มักเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตำแหน่ง ข้อมูลใน Resume และ Portfolio โดยผู้สัมภาษณ์อาจใช้คำถามเชิงวิชาการถามมาแบบตรงๆ เพื่อวัด Hard Skill ซึ่งในบางบริษัทจะมีแบบทดสอบให้ทำควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์ ดังนั้นหากตอบอะไรไปควรมี “เหตุผล” สำหรับคำตอบดังกล่าวด้วยเพื่อรองรับคำถามที่จะตามมา 4. ความสามารถสอดคล้องกับเงินเดือน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับเงินเป็นหลัก ที่ทั้งตัวผู้สัมภาษณ์และองค์กรต่างต้องประเมินความสามารถของพนักงานให้สอดคล้องกับเงินเดือนที่ได้รับ ดังนั้นคำถาม “คุณต้องการเงินเดือนเท่าไร” มักมาพร้อมกับคำถามเกี่ยวกับอายุงานอยู่เสมอ 5. คำถามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงปลายการสัมภาษณ์ มักเป็นการชวนคุยเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการถามคำถามย้ำว่า “มีอะไรอยากสอบถามเพิ่มเติมไหม” ซึ่งสิ่งเหล่านั้นบางส่วนก็เป็นการทดสอบทัศนคติ ไปจนถึงความกล้าแสดงออกของผู้ถูกสัมภาษณ์ ดังนั้นอย่าเผลอลืมตัวพูดออกนอกประเด็นหรือตัดบทไปเสียทีเดียว อาจใช้วิธีการพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในบริษัทก่อนจบการสัมภาษณ์จะเป็นตัวเลือกที่ทำให้คุณดูน่าสนใจยิ่งขึ้น การเตรียมสัมภาษณ์อย่างมืออาชีพ 1. ตรวจสอบความต้องการขั้นต้นของสายงาน ในส่วนนี้เป็นสิ่งที่ผู้สมัครจำเป็นต้องตรวจสอบก่อนสมัครงาน แต่สำหรับคนที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ หรือคนที่ต้องการทำงานนอกสายงาน อาจต้องมีการเตรียมตัวเพิ่ม เช่น การเรียนคอร์สออนไลน์ การฝึกงานต่างๆ เพื่อทำให้มีใบรับรองความสามารถและความรู้เพียงพอสำหรับการสัมภาษณ์ 2. การเตรียม Resume และ Portfolio เบื้องต้น การเตรียม Resume และ Portfolio ควรมีการนำเสนอข้อมูลให้ตอบโจทย์กับสายงานต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนของความสามารถ เช่น งาน Marketing คุณจำเป็นต้องนำเสนอในส่วนของการตลาดเป็นหลัก 3. ซ้อมสัมภาษณ์งานจริง สำหรับคนที่ไม่เคยสัมภาษณ์มาก่อน ขอแนะนำว่าควรลองซ้อมตอบคำถามการสัมภาษณ์ อาจใช้กระจก เพื่อน หรือคนในครอบครัวมาสมมติ เพื่อลดความตื่นเต้นในการสัมภาษณ์จริง สรุป STAR Model เป็นอีกหนึ่งโมเดลการตอบคำถามสำหรับสัมภาษณ์งานเพื่อทำให้ตอบคำถามได้กระชับ สมเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น แม้แต่คนสัมภาษณ์เองก็ยังสามารถใช้โมเดลนี้เพื่อตั้งคำถามหรือประเมินการตอบคำถามของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อีกด้วย แน่นอนว่าการสัมภาษณ์ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ รองรับการพูดคุยได้อย่างลื่นไหล True VROOM เป็นแพลตฟอร์การประชุมที่น่าสนใจซึ่งกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่ทำให้คุณสามารถพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับทั้งการสัมภาษณ์และการทำงานในองค์กร ตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ และทดลองใช้งานได้ฟรีที่ True VROOM อ้างอิง betterup uk.indeed.com thebalancecareers thebalancecareers
September 29, 2022
2 mins read
ธุรกิจในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเจ้าใหญ่หรือเจ้าเล็ก ต่างก็ต้องปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอนว่า มีธุรกิจเกิดใหม่มากมายนับไม่ถ้วนจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แล้วในปีนี้จะมีธุรกิจออนไลน์อะไรเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจบ้างลองมาดูกันเลย! Table of Contents เทรนด์ธุรกิจออนไลน์ที่น่าสนใจหลัง Covid 1. ธุรกิจ E-Commerce ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการคาดเดาว่าตลาด E-Commerce ไทยจะมีมูลค่าราว 5.65 แสนล้านบาท โดยมีการขยายตัวราว 13.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าการค้าขายสินค้าออนไลน์ยังคงได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย ซึ่งธุรกิจ E-Commerce นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการขายของอย่างเดียวเสมอไป ยังมีธุรกิจอีกมากมายเช่น การรับจ้างสร้างแพลตฟอร์ม E-Commerce การรับจัดการระบบหลังบ้านของร้านค้า การรับโฆษณาผ่านโลกออนไลน์ ธุรกิจเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าภายใต้การเติบโตของการซื้อขาย ยังมีช่องทางในการทำธุรกิจของผู้คนอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว 2. ธุรกิจการสอนออนไลน์ “ความรู้” ไม่ว่าจะด้านไหนก็สามารถนำไปต่อยอดได้ด้วยการ “สอน” และสำหรับยุคปัจจุบันมีแพลตฟอร์มคุณภาพมากมายที่เป็นช่องทางสำหรับการสอน หลายคนจึงผันตัวมาเป็นโค้ชและอาจารย์ที่สอนในสิ่งที่ตนเองถนัดหรือสิ่งที่สังคมสนใจ ตั้งแต่การทำอาหาร แต่งหน้า การเขียนบทความ ไปจนถึงการทำการตลาด ที่ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มการสอนมากมายเปิดให้บริการ แน่นอนว่าคนทำธุรกิจการสอนออนไลน์บางคนก็ไม่ได้เลือกสอนผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าว แต่ใช้การโปรโมตผ่านโซเชียลมีเดียแทน และทำการสอนผ่านแพลตฟอร์มสำหรับประชุมออนไลน์คุณภาพสูง ซึ่งมีให้เลือกมากมายในตลาด หากใครกำลังมองหาแพลตฟอร์มสำหรับประชุมออนไลน์มาใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนสุดครบครัน True VROOM ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยมีจุดเด่นที่ให้นักเรียนในคลาสสามารถเข้ามาเรียนได้ด้วยการกำหนดรหัสผ่าน ทำให้คนที่สนใจสามารถเข้าถึงคลาสนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น และยังสามารถแชร์หน้าจอพร้อมกันได้หลายคนอีกด้วย 3. ธุรกิจการทำคอนเทนต์ “ใครๆ ก็สามารถทำคอนเทนต์ได้” ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไปในยุคสมัยนี้ ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้สรรค์สร้างผลงานของตัวเอง ตั้งแต่ภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ ไปจนถึงคอนเทนต์วิดีโอยาวหลายชั่วโมง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ปัจจุบันเราจะได้เห็น Youtuber, Tiktoker และ Influencer หน้าใหม่มากมายปรากฎขึ้น และคนเหล่านี้มีการทำคอนเทนต์เป็นธุรกิจ โฆษณาสินค้าของตนเอง ทำการขายของต่างๆ ภายใต้คอนเทนต์ที่สร้างขึ้น ต่อยอดด้วยการรับสปอนเซอร์ โดยธุรกิจการทำคอนเทนต์สร้างรายได้ให้คนจำนวนมาก 4. ธุรกิจอาหาร การเข้ามาของโลกออนไลน์เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอาหารเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแอปพลิเคชันสำหรับสั่งอาหารต่างๆ เช่น Grab, Lineman หรือ Robinhood ช่วยให้ร้านจำนวนมากสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ด้วยบริการ Food Delivery เหล่านี้ ทุกคนสามารถขายอาหารได้แม้ไม่มีหน้าร้าน ธุรกิจร้านอาหารจำนวนไม่น้อยได้ทำการใส่ข้อมูลร้านลงใน Search Engine เพื่อให้สามารถเข้าถึงร้านได้ง่ายจากโลกออนไลน์ และมีการต่อยอดด้วยการเปิดโซเชียลมีเดียของตัวเอง ที่สามารถเปิดรับออเดอร์ โฆษณา และติดต่อสื่อสารกับลูกค้า จนหลายๆ ร้านไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน เน้นขายแบบออนไลน์ก็สามารถทำกำไรได้ไม่น้อยทีเดียว 5. ธุรกิจสุขภาพ เทรนด์ของการดูแลสุขภาพเป็นกระแสที่มาแรงก่อน Covid-19 จะมาเสียอีก สามารถสังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของฟิตเนสจำนวนมากและปริมาณคนที่ไปออกกำลังกายตามที่สาธารณะต่างๆ โดยเมื่อคนออกจากบ้านไม่ได้จึงกระตุ้นให้การดูแลสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาท เช่น ธุรกิจตรวจรักษากับแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ ธุรกิจสอนฟิตเนส โยคะ ออนไลน์ ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ ธุรกิจประกันสุขภาพ การเข้ามาของระบบออนไลน์ได้กระตุ้นให้ธุรกิจต่างๆ มีการปรับตัวเข้าหาลูกค้าได้อย่างรวดเร็วผ่านแอปพลิเคชันและโซเชียลมีเดีย นับว่าเป็นประเภทธุรกิจที่เติบโตได้ดีจนน่าตกใจเลยทีเดียว 6. ธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ธุรกิจออนไลน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่กว้างและใหม่มากๆ สำหรับสังคมไทย แม้จะเป็นรูปแบบธุรกิจที่ค่อยๆ เติบโตอย่างแช่มช้าแต่มั่นคงตามเทรนด์ความรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม สำหรับธุรกิจที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ ธุรกิจด้านพลังงานสะอาด ธุรกิจบริหารจัดการขยะ ธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ ธุรกิจเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ ทำสวน ธุรกิจเหล่านี้ไม่ใช่แค่การรับจ้างในรูปแบบออนไลน์ หลายได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ของตัวเอง เช่น แอปพลิเคชันช่วยแยกขยะ หรือแอปพลิเคชันการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า เป็นที่น่าจับตามองอย่างมากว่าธุรกิจออนไลน์ประเภทนี้จะเติบโตไปในแนวทางใดในอนาคต 7. ธุรกิจด้านงานศิลปะ เมื่อพูดถึงงานศิลปะบนโลกออนไลน์ หลายคนอาจนึกถึง NFT Art ซึ่งเป็นศิลปะที่ซื้อขายกันบน Blockchain ทว่าในความเป็นจริงศิลปะออนไลน์ไม่ได้มีแค่นั้น ศิลปินในยุคปัจจุบันมีวิธีหลากหลายในการทำธุรกิจ ตั้งแต่การเปิดให้ซื้อ-ขายภาพถ่ายหรือภาพวาดผ่านเว็บตัวกลาง การรับจ้างทำงานศิลปะให้กับบริษัทต่างๆ หรือทำแกลเลอรีออนไลน์เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ และแน่นอนว่า NFT Art ก็เป็นตัวเลือกฮิตสำหรับศิลปินในยุคปัจจุบันเช่นกัน โดย NFT Art ชื่อดังอย่าง Everydays : The First 5000 Days ของศิลปิน Beeple ก็สามารถขายได้ในราคาเทียบเท่า 69.3 ล้านดอลลาร์ (2.4 พันล้านบาท) เลยทีเดียว ศิลปะรูปแบบอื่นๆ เช่นงานปั้น งานเพลง หรือแม้แต่งานเขียนเองก็มีบทบาทไม่แพ้งานภาพ ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถผสมผสานกับการทำคอนเทนต์เพื่อเพิ่มมูลค่าของงานศิลปะ หรือทำให้เข้าถึงผู้คนจำนวนมากได้เช่นกัน 8. ธุรกิจด้านการตลาดแบบ Affiliate สมัยนี้แม้ไม่มีสินค้าก็สามารถสร้างรายได้ขึ้นมาได้ โดยใช้การทำ Affiliate เคยสังเกตไหมว่าตามกลุ่มในโซเชียลมีเดียต่างๆ บ่อยครั้งมักมีการลงลิงก์เพื่อให้กดไปยังหน้าสั่งซื้อ และมีคำเขียนกำกับว่า “ลิงก์ Aff” ซึ่งลิงก์ Aff นั้นย่อมาจาก Affiliate นั่นเอง การตลาดแบบ Affiliate การเปิดให้คนทั่วไปมารีวิว เชิญชวน หรือแนะนำสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านลิงก์ที่กำหนดไว้ หากมีคนกดเข้าไปซื้อสินค้าและบริการดังกล่าว คนที่แนะนำก็จะได้ค่า Commision มากน้อยแล้วแต่การตกลง ทำให้มันกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่คนทั่วไปสามารถทำได้แม้ไม่มีทุนทรัพย์มาก็ตาม 9. ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ วงการอสังหาริมทรัพย์นั้นผูกพันธ์กับโลกออนไลน์มานาน เมื่อก่อนมีการโพสต์หรือลงขายที่ดินผ่านอินเทอร์เน็ต จนตอนนี้วงการอสังหาริมทรัพย์ได้หลอมรวมโลกออนไลน์อย่างไม่น่าเชื่อ โดยในปัจจุบันเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สามารถเปิดจอง ให้เช่า หรือขายอสังหาริมทรัพย์ได้ผ่านโลกออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องติดป้ายข้างที่ของตนเองอีกต่อไป รวมถึงมีการประยุกต์ใช้ Virtual Reality เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการขาย ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงบ้านที่ต้องการขายด้วยอุปกรณ์ VR สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้ธุรกิจออนไลน์ด้านอสังหาริมทรัพย์เติบโตได้อย่างน่าสนใจ 10. ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี เมื่อพูดถึงโลกออนไลน์แล้ว สุดท้ายย่อมขาด “เทคโนโลยี” ที่เป็นส่วนประกอบหลักไปไม่ได้เลย เพราะไม่ว่าธุรกิจใดก็ตามจาก 9 ข้อที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐานแทบทั้งสิ้น โดยธุรกิจเทคโนโลยีออนไลน์ในปัจจุบันมีมากมายตั้งแต่ การซื้อ-ขายสินค้าไอที การรับติดตั้งโปรแกรมและแอปพลิเคชันสำหรับทำงาน การรับจัดการฮาร์ดแวร์เสื่อมสภาพที่ไม่ใช้แล้ว การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในการทำงาน การพัฒนาแชทบอตเพื่อรองรับลูกค้าในธุรกิจต่างๆ ซึ่งยังมีธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกมากมายที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง แต่ก็สามารถยืนยันได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มาแรงสม่ำเสมอและยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดจนปัจจุบัน สรุป...
August 4, 2022
·
August 4, 2022
2 mins read
การตั้งเป้าหมายและวัดผลเป็นกระบวนการสำคัญที่ทุกๆ ธุรกิจควรคำนึงถึง แต่วิธีการตั้งเป้าหมายแบบไหนกันที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นเหมาะกับยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ในทุกวินาที คำตอบนั้นคือ OKR (Objective and Key Results) หนึ่งในหลักการที่ได้รับความนิยมจากธุรกิจชั้นนำทั่วโลกนั่นเอง OKR สุดยอดกรอบแนวคิดที่ผู้บริหารควรเรียนรู้ รู้จักกับ OKR Objective and Key Result หรือย่อสั้นๆ ว่า OKR เป็นหลักการของตั้งเป้าหมายในการทำงาน (Objective) และตัวชี้วัดในการประเมินความสำเร็จของผลลัพธ์ที่ได้ (Key Result) เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ที่นอกจากจะสัมพันธ์กับการพัฒนาส่วนบุคคลแล้ว ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาในระดับต่างๆ ขององค์กรอีกด้วย OKR ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แนวคิดดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย แต่การที่ทำให้แนวคิดการตั้งเป้าแบบ OKR เริ่มมีชื่อเสียงจริงๆ คือ การปรับใช้หลักของ OKR เข้ากับการบริหารบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Intel Corperation โดยประธานคณะกรรมการบริหารอย่างคุณ Andrew Grove ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 OKR ยังมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีการยิบย่อยต่างๆ ในการตั้งเป้าหมายเพื่อเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ กระนั้นสิ่งที่ยังคงอยู่เสมอมา คือ “การตั้งเป้าให้เหนือกว่าความสำเร็จเดิม” ที่กระตุ้นให้บริษัทเติบโตมากขึ้น Table of Contents ประโยชน์ของการใช้ OKR 1.สร้างแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเองแก่พนักงาน กรอบแนวคิดแบบ OKR ให้ความสำคัญกับการสร้างแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเองของพนักงานที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ อยู่เสมอ OKR จึงมุ่งเน้นไปที่การทบทวนกระบวนการทำงานเพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาศักยภาพการทำงานได้อย่างรวดเร็ว 2.มองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ในกรณีที่เกิดปัญหาในกระบวนการทำงานขึ้นนั้น ผู้บริหารสามารถทราบแนวทางในการแก้ปัญหาได้จากการวิเคราะห์คะแนนประเมินผล OKR ในเชิงตัวเลขว่างานส่วนใดที่ควรปรับปรุงกระบวนการทำงานและงานส่วนไหนที่ทำได้ดีอยู่แล้ว 3.องค์กรและบุคลากรพัฒนาไปอย่างสอดคล้องกัน การสร้าง OKR ที่ดีจะช่วยให้ทุกระดับขององค์กรมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่เป้าหมายระดับบุคคลที่มีความเฉพาะเจาะจงกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เป้าหมายระดับทีมอย่างการทำโปรเจกต์ จนไปถึงเป้าหมายระดับองค์กรซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในท้ายที่สุด ตัวอย่างการใช้งาน OKR OKR สำหรับธุรกิจ Objective: ธุรกิจเติบโตขึ้น 30% Key Result: 1. ยอดขายมากกว่า 5 ล้านบาท 2. ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 5 รายการภายในไตรมาสที่ 2 3. อัตราการขอคืนสินค้าต่ำกว่า 3% OKR สำหรับฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ Objective: เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อลดอัตราการขอคืนสินค้า (สอดคล้องกับ อัตราการขอคืนสินค้าต่ำกว่า 3%) Key Result: 1. เก็บ Feedback จากลูกค้าอย่างน้อย 10 รายต่อเดือน 2. เพิ่มอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า 50% 3. ได้คะแนน NPS (Net Promoter score) เพิ่มขึ้นจาก 70 เป็น 90 คะแนน OKR สำหรับพนักงานขาย Objective: เปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์ลูกค้าสัมพันธ์เชิงรุกแทนเชิงรับ (สอดคล้องกับ เพิ่มอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า 50%) Key Result: 1. ลดอัตราการเลิกใช้บริการของลูกค้าประจำ 50% 2. ลดจำนวนคำร้องเรียนที่ไม่พึงพอใจจากลูกค้าลง 50% จะสังเกตได้ว่า OKR ทั้งสามประเภทจะสอดคล้องกันตามหลักการการตั้งเป้าหมาย โดยจะมี OKR สำหรับธุรกิจในภาพใหญ่ เพื่อกำหนด Objective ของบริษัท และใช้ OKR สำหรับทีม และ OKR คอยซัพพอร์ต ทั้งนี้ตัวอย่างด้านบนเป็นเพียงการกำหนด OKR คร่าวๆ เท่านั้น การกำหนด OKR ในบริษัทจริงๆ จะมีรายละเอียดมากกว่านี้พอสมควรทีเดียว วิธีการกำหนด OKR ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ กำหนด OKR เป็นลำดับขั้น การกำหนด OKR ที่ดีควรมีการตั้งเป็นลำดับขั้น โดยมีการกำหนด OKR ใหญ่สุดก่อน โดยอ้างอิงจากภาพรวมบริษัทเป็นหลัก แล้วจึงแยกย่อยลงมาในระดับทีม บุคคล และเพิ่มรายละเอียด เพื่อทำให้ OKR ดังกล่าวเป็นการกำหนดเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ เช่น สำหรับบริษัทประเภท Startup ควรกำหนด OKR ของบริษัทเป็นอันดับแรก และทำการแยกย่อยมาในระดับทีม ว่าแต่ละทีมมี Objective อะไรที่สามารถตอบสนอง Key Result ของบริษัทได้บ้าง สุดท้ายคือการกำหนด OKR ส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับทีมที่ตนเองสังกัด แน่นอนว่าการกำหนด Objective สามารถทำได้หลายข้อ แต่ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องประเมินทีม รวมถึงตนเองว่ามี Human Resource และ Man Hours เพียงพอและสามารถทำตาม OKR ได้หรือไม่ มีอันไหนยาก หรือง่ายเกินไป และ OKR ทุกอันจำเป็นต้องวัดผลได้จริง ไม่ใช่แค่เป้าหมายบนเมฆให้เราคว้าจับเท่านั้นเท่านั้น กำหนด OKR โดยการฟังเสียงของคนทำงาน การตั้งเป้าหมายที่มีรากฐานมาจากข้อมูลในอดีตโดยการฟังเสียงของคนทำงานจริงช่วยให้บริษัทสามารถวิเคราะห์และประมาณการตั้ง OKR ที่เหมาะสม โดยไม่ง่ายเกินไปจนสำเร็จได้ง่ายๆ หรือท้าทายเกินไปจนหาหนทางแห่งความสำเร็จไม่เจอ และหากให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนด OKR ของตัวเองจะส่งผลดีต่อมากยิ่งขึ้น นอกจากที่ OKR จะทำให้ทุกคนเห็นภาพขององค์กรและความสำเร็จร่วมกันแล้ว ยังเสริมสร้างความเข้าใจต่องานที่ได้รับมอบหมายเพื่อบรรลุ OKR อย่างสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันจนกลายเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของธุรกิจคุณอีกด้วย สรุป...
August 4, 2022
2 mins read
การตั้งเป้าหมายและวัดผลเป็นกระบวนการสำคัญที่ทุกๆ ธุรกิจควรคำนึงถึง แต่วิธีการตั้งเป้าหมายแบบไหนกันที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นเหมาะกับยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ในทุกวินาที คำตอบนั้นคือ OKR (Objective and Key Results) หนึ่งในหลักการที่ได้รับความนิยมจากธุรกิจชั้นนำทั่วโลกนั่นเอง OKR สุดยอดกรอบแนวคิดที่ผู้บริหารควรเรียนรู้ รู้จักกับ OKR Objective and Key Result หรือย่อสั้นๆ ว่า OKR เป็นหลักการของตั้งเป้าหมายในการทำงาน (Objective) และตัวชี้วัดในการประเมินความสำเร็จของผลลัพธ์ที่ได้ (Key Result) เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ที่นอกจากจะสัมพันธ์กับการพัฒนาส่วนบุคคลแล้ว ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาในระดับต่างๆ ขององค์กรอีกด้วย OKR ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แนวคิดดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย แต่การที่ทำให้แนวคิดการตั้งเป้าแบบ OKR เริ่มมีชื่อเสียงจริงๆ คือ การปรับใช้หลักของ OKR เข้ากับการบริหารบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Intel Corperation โดยประธานคณะกรรมการบริหารอย่างคุณ Andrew Grove ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 OKR ยังมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีการยิบย่อยต่างๆ ในการตั้งเป้าหมายเพื่อเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ กระนั้นสิ่งที่ยังคงอยู่เสมอมา คือ “การตั้งเป้าให้เหนือกว่าความสำเร็จเดิม” ที่กระตุ้นให้บริษัทเติบโตมากขึ้น Table of Contents ประโยชน์ของการใช้ OKR 1.สร้างแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเองแก่พนักงาน กรอบแนวคิดแบบ OKR ให้ความสำคัญกับการสร้างแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเองของพนักงานที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ อยู่เสมอ OKR จึงมุ่งเน้นไปที่การทบทวนกระบวนการทำงานเพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาศักยภาพการทำงานได้อย่างรวดเร็ว 2.มองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ในกรณีที่เกิดปัญหาในกระบวนการทำงานขึ้นนั้น ผู้บริหารสามารถทราบแนวทางในการแก้ปัญหาได้จากการวิเคราะห์คะแนนประเมินผล OKR ในเชิงตัวเลขว่างานส่วนใดที่ควรปรับปรุงกระบวนการทำงานและงานส่วนไหนที่ทำได้ดีอยู่แล้ว 3.องค์กรและบุคลากรพัฒนาไปอย่างสอดคล้องกัน การสร้าง OKR ที่ดีจะช่วยให้ทุกระดับขององค์กรมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่เป้าหมายระดับบุคคลที่มีความเฉพาะเจาะจงกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เป้าหมายระดับทีมอย่างการทำโปรเจกต์ จนไปถึงเป้าหมายระดับองค์กรซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในท้ายที่สุด ตัวอย่างการใช้งาน OKR OKR สำหรับธุรกิจ Objective: ธุรกิจเติบโตขึ้น 30% Key Result: 1. ยอดขายมากกว่า 5 ล้านบาท 2. ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 5 รายการภายในไตรมาสที่ 2 3. อัตราการขอคืนสินค้าต่ำกว่า 3% OKR สำหรับฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ Objective: เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อลดอัตราการขอคืนสินค้า (สอดคล้องกับ อัตราการขอคืนสินค้าต่ำกว่า 3%) Key Result: 1. เก็บ Feedback จากลูกค้าอย่างน้อย 10 รายต่อเดือน 2. เพิ่มอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า 50% 3. ได้คะแนน NPS (Net Promoter score) เพิ่มขึ้นจาก 70 เป็น 90 คะแนน OKR สำหรับพนักงานขาย Objective: เปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์ลูกค้าสัมพันธ์เชิงรุกแทนเชิงรับ (สอดคล้องกับ เพิ่มอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า 50%) Key Result: 1. ลดอัตราการเลิกใช้บริการของลูกค้าประจำ 50% 2. ลดจำนวนคำร้องเรียนที่ไม่พึงพอใจจากลูกค้าลง 50% จะสังเกตได้ว่า OKR ทั้งสามประเภทจะสอดคล้องกันตามหลักการการตั้งเป้าหมาย โดยจะมี OKR สำหรับธุรกิจในภาพใหญ่ เพื่อกำหนด Objective ของบริษัท และใช้ OKR สำหรับทีม และ OKR คอยซัพพอร์ต ทั้งนี้ตัวอย่างด้านบนเป็นเพียงการกำหนด OKR คร่าวๆ เท่านั้น การกำหนด OKR ในบริษัทจริงๆ จะมีรายละเอียดมากกว่านี้พอสมควรทีเดียว วิธีการกำหนด OKR ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ กำหนด OKR เป็นลำดับขั้น การกำหนด OKR ที่ดีควรมีการตั้งเป็นลำดับขั้น โดยมีการกำหนด OKR ใหญ่สุดก่อน โดยอ้างอิงจากภาพรวมบริษัทเป็นหลัก แล้วจึงแยกย่อยลงมาในระดับทีม บุคคล และเพิ่มรายละเอียด เพื่อทำให้ OKR ดังกล่าวเป็นการกำหนดเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ เช่น สำหรับบริษัทประเภท Startup ควรกำหนด OKR ของบริษัทเป็นอันดับแรก และทำการแยกย่อยมาในระดับทีม ว่าแต่ละทีมมี Objective อะไรที่สามารถตอบสนอง Key Result ของบริษัทได้บ้าง สุดท้ายคือการกำหนด OKR ส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับทีมที่ตนเองสังกัด แน่นอนว่าการกำหนด Objective สามารถทำได้หลายข้อ แต่ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องประเมินทีม รวมถึงตนเองว่ามี Human Resource และ Man Hours เพียงพอและสามารถทำตาม OKR ได้หรือไม่ มีอันไหนยาก หรือง่ายเกินไป และ OKR ทุกอันจำเป็นต้องวัดผลได้จริง ไม่ใช่แค่เป้าหมายบนเมฆให้เราคว้าจับเท่านั้นเท่านั้น กำหนด OKR โดยการฟังเสียงของคนทำงาน การตั้งเป้าหมายที่มีรากฐานมาจากข้อมูลในอดีตโดยการฟังเสียงของคนทำงานจริงช่วยให้บริษัทสามารถวิเคราะห์และประมาณการตั้ง OKR ที่เหมาะสม โดยไม่ง่ายเกินไปจนสำเร็จได้ง่ายๆ หรือท้าทายเกินไปจนหาหนทางแห่งความสำเร็จไม่เจอ และหากให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนด OKR ของตัวเองจะส่งผลดีต่อมากยิ่งขึ้น นอกจากที่ OKR จะทำให้ทุกคนเห็นภาพขององค์กรและความสำเร็จร่วมกันแล้ว ยังเสริมสร้างความเข้าใจต่องานที่ได้รับมอบหมายเพื่อบรรลุ OKR อย่างสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันจนกลายเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของธุรกิจคุณอีกด้วย สรุป...
August 4, 2022
·
August 4, 2022
< 1 min read
เมื่อพูดถึงการทำงานในยุคปัจจุบัน การเพิ่ม Productivity ให้กับตนเองกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ที่จะทำให้องค์กรเติบโตขึ้น แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าว และนี่คือ 7 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการสร้าง Productivity1.เงินเดือนเป็นสิ่งที่สะท้อน ProductivityProductivity เป็นเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และแน่นอนว่าย่อมมีเรื่องเงินเดือนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้พนักงานหรือแม้แต่ผู้บริหารองค์กรบางรายมองว่าเงินเดือนเป็นสิ่งที่สะท้อน Productivity ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกเสียทีเดียวเงินเดือนเป็นสิ่งที่มีการคำนวณจากปัจจัยต่างๆ มากมาย ทั้งตำแหน่งหน้าที่ ความคาดหวัง ไปจนถึงความสามารถ มีหลายกรณีที่พนักงานได้รับเงินเดือนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นแม้ว่าจะมี Performance ที่ดี การให้เงินเดือนสูงๆ จึงเป็นหนึ่งกลยุทธ์หลักในการรักษาไว้ซึ่งพนักงานที่มีความสามารถ แต่ไม่ว่าจะทำผลงานดีหรือไม่ พนักงานก็ยังคงได้รับเงินส่วนนี้เท่าเดิมเสมอ ดังนั้นจำนวนเงินเดือนจึงไม่ใช่เครื่องสะท้อน Productivity แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแรงจูงใจในการทำงานเท่านั้น2.Multitasking คือวิธีการทำงานที่ดีหลายคนน่าจะคุ้นชินกับการ Multitasking หรือหมายถึงการทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน แต่จากการศึกษาของ University of London พบว่าการทำงานแบบ Multitasking ไม่ได้มีส่วนช่วยให้คุณสามารถทำงานได้เสร็จไวขึ้น เพราะการทำงานแบบนี้ยังสร้างประสิทธิผลน้อยกว่าการจดจ่ออยู่กับการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้การทำงานสลับไปมาหลายงานในเวลาเดียวกันยังมีส่วนในการทำลายความคิดสร้างสรรค์และ IQ ซึ่งเป็นขุมพลังสำคัญของการสร้าง Productivity ในการทำงานอีกด้วย Table of Contents 3.Productivity เป็นสิ่งที่วัดได้ยาก“คนนั้นทำงานเก่ง คนนี้ทำงานดี” คำพูดเหล่านี้ทำให้ Productivity หรือผลิตผลมักอยู่ในรูปของนามธรรมทำให้หลายคนคิดว่าการวัดระดับ Productivity ออกมาเป็นรูปธรรมเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้อย่างเสมอภาค เพราะแต่ละตำแหน่งงานก็มีหน้าที่ สภาวะแวดล้อมและทักษะที่ใช้ในการทำงานซึ่งแตกต่างกันโดยในความจริงแล้ว การวัด Productivity เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ไม่ยากด้วยมาตราฐานการวัด Productivity แบบต่างๆ ผ่านการใช้กรอบแนวคิดที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น MBO KPI หรือ OKR ก็ล้วนเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะในการทำงานทั้งสิ้น4.คนเก่งต้องทำงานเองคนเดียวคนเก่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทุกบริษัทต้องการ แต่การเป็นคนเก่งที่ทำงานคนเดียวเท่านั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ตอบสนองต่อแนวคิด Productivity ได้ดีนัก เพราะการทำงานด้วยตัวคนเดียวมีข้อจำกัดด้านภาระงานที่สามารถรับผิดชอบได้การทำงานเป็นทีมจึงเป็นวิธีการทำงานที่ช่วยทลายข้อจำกัดในด้านของปริมาณภาระงานอันมากมายในโปรเจ็คใหญ่ๆ ซึ่งมักจะมีงานหลายประเภทและแต่ละงานก็เหมาะกับคนที่มีความถนัดแตกต่างกัน และการทำงานเป็นทีมยังช่วยพัฒนาทักษะในการบริหารความสัมพันธ์และการสื่อสาร ซึ่งต่างออกไปจากการทำงานเพียงคนเดียวอีกด้วย5.คนทำงานเก่งไม่จำเป็นต้องแสดงออกเก่งคุณเคยเจ็บใจหรือไม่เวลาเห็นคนทำงานไม่เก่งแต่มีทักษะการสื่อสารเป็นเลิศสามารถเสกงานแย่ๆ ให้กลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงได้ทันตาเห็น การแสดงออกเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจและประทับใจในงานของคุณมากยิ่งขึ้นดังนั้นหากเป็นคนที่ทำงานเก่งแล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องต่อยอดคือทักษะการพรีเซนต์ การแสดงออกต่อหน้าผู้คน และการสื่อสารอย่างมีคุณภาพเพื่อเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จต่างๆ ในอนาคต6.คนที่ทำงานมีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยสำหรับการทำงานในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ทุกคนใช้เครื่องมือช่วยเหลือในการทำงานแล้ว การไม่ใช้งานเครื่องมือช่วยอาจจะลด Productivity ในการทำงานลง เพราะเครื่องมือเหล่านี้สามารถร่นระยะเวลาในการทำงานที่มีรูปแบบตายตัวหรืองานที่ต้องทำเป็นประจำลงได้เป็นอย่างมาก ซึ่งงานซ้ำๆ จำเจพวกนี้นี่แหละ ที่ทำให้คุณไม่มีเวลาในการสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆ ดังนั้นหากมีเครื่องมือช่วยงานที่เหมาะสมกับลักษณะงานหรือสามารถเชื่อมโยงไอเดียที่แตกต่างของคุณกับทีมได้ ก็อย่ารีรอที่จะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่ม Productivity ให้กับงานของคุณเลย7.Productivity สำคัญที่สุดในการทำงานแน่นอนว่า Productivity เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้งานของคุณออกมามีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามการบริหารคุณภาพชีวิตให้มีความสมดุลและสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบตัวเอาไว้ได้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเพราะคุณภาพชีวิตที่ดี และการบริหารจัดการเวลาที่พอเหมาะจะส่งผลโดยตรงให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราดีขึ้น แน่นอนว่าสิ่งเหล่านั้นจะช่วยผลักดันคุณภาพการทำงาน ความสัมพันธ์ในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อทั้งตัวพนักงานและองค์กรในระยะยาวอีกด้วยสรุปแนวคิดการสร้าง Productivity ในแต่ละบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผลิตภาพของคนในบริษัทเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องถูกปูความเข้าใจตั้งแต่รากฐาน เพื่อทำให้เข้าใจภาพรวมตรงกันว่าเป้าหมายของบริษัทคืออะไร และทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ บุคลากรแต่ละคนจึงสามารถทำตนเองให้มี Productivity ได้อย่างเหมาะสมที่สุดแน่นอนว่าเครื่องมือเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน การมีตัวช่วยที่ดีสำหรับประชุมงานและการสื่อสารภายในทีมที่มีประสิทธิภาพจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เพิ่ม Productivity ในบริษัทได้อย่างชัดเจน ซึ่ง True VROOM เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของคุณได้มากขึ้น ตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ และทดลองใช้งานได้ฟรีที่ True VROOM
September 29, 2022
2 mins read
ภาวะผู้นำ (Leadership skill) เป็นทักษะสำคัญที่องค์กรมองหาเพื่อให้คุณสามารถตั้งรับกับทุกปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นมืออาชีพและได้รับความน่าเชื่อถือจากทั้งในและนอกองค์กร ทว่าทักษะดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีติดตัวแต่แรก แต่สามารถเพิ่มพูนได้ด้วยประสบการณ์การทำงาน และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหากอยากมีภาวะผู้นำที่ดีจำเป็นต้องฝึกกันอย่างไร ? นี่คือ 7 วิธีเพิ่มภาวะผู้นำที่ดีที่จะทำให้คุณกลายเป็นคนที่องค์กรต้องการ Table of Contents 1. พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เป็นทักษะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้นำอย่างมาก เพราะคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงมีโอกาสที่จะบริหารจัดการความคิดของตัวเองภายใต้ความกดดันได้ดี โดยไม่ทำลายบรรยากาศในการทำงาน และสามารถผลักดันทีมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้ความฉลาดทางอารมณ์ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และสื่อสารกับลูกค้า เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทั้งในและนอกองค์กรทีเดียวคุณสามารถเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ได้ง่ายๆ ด้วยการจินตนาการว่าหากตนเองเป็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งเจอกับสถานการณ์ต่างๆ จะรู้สึกและแสดงออกอย่างไร หรือลองคิดว่าทำไมฝ่ายตรงข้ามถึงแสดงออกในรูปแบบนั้นๆ และสามารถศึกษาเชิงลึกด้วยการฟังพอตแคสต์ หรือลงเรียนคอร์สจิตวิทยา เพื่อให้เข้าใจข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้น 2. ฝึกฝนการคิดให้ยืดหยุ่นในโลกของการทำงานจริงที่ผู้นำต้องกล้าเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ความยืดหยุ่นในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่สามารถพาคุณออกนอกกรอบแนวคิดเดิมๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการมองมุมใหม่เพื่อเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ดีขึ้น การพลิกแพลงเครื่องมือที่มีอยู่เพื่อแก้ไขปัญหา ไปจนถึงการปรับตัวเข้ากับทีมใหม่ การฝึกความคิดให้ยืดหยุ่นนั้นย่อมสนับสนุนให้คุณสามารถแก้ปัญหาได้หลากหลายและลุ่มลึกมากยิ่งขึ้นจนอาจพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้วิธีฝึกฝนการคิดให้ยืดหยุ่นอย่างง่าย คือ การเลือกทำกิจกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น ที่นอกจากจะช่วยให้คุณมีแนวความคิดที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเข้าใจวิธีการคิดของผู้อื่นอีกด้วย3. สังเกตและสร้างแรงบันดาลใจแบบภาวะผู้นำการสังเกตความสามารถของเพื่อนร่วมงานแต่ละคนจะช่วยให้ทราบว่าใครมีความถนัดในเรื่องอะไรเป็นพิเศษทำให้สามารถ Put the right man on the right job ได้ นอกจากจะช่วยให้บรรยากาศในที่ทำงานดีขึ้นแล้วยังเป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ Performance ของทีมอีกด้วยแน่นอนว่าการมอบหมายสิ่งต่างๆ ผ่านการสังเกตอาจไม่ได้รับความยินยอมจากคนในทีมเสมอไป ผู้ที่มีภาวะผู้นำจึงต้องมีส่วนในการสร้างแรงบันดาลในใจการทำสิ่งต่างๆ รวมถึงแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ทีมรับรู้คุณอาจเริ่มสังเกตและสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมจากการใส่ใจทำความรู้จักตัวตนของพนักงานแต่ละคนให้มากขึ้น ลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่าง รวมไปถึงสนับสนุนการนำเสนอความคิดเห็นของพนักงานก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจว่าการแสดงออกในการทำงานไม่ใช่เรื่องผิด และพวกเขาสามารถสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ที่ยอดเยี่ยมได้ด้วยตนเอง4. เข้าสังคมให้เป็นการทำงานใหญ่ไม่สามารถลุล่วงได้ด้วยคนเดียว จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้คนมากมายซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย และผู้นำคือคนที่ต้องเชื่อมโยงทุกคนในทีมให้ร่วมมือกันเพื่อให้งานลุล่วงไปได้ด้วยดี รวมถึงสามารถติดต่อพูดคุยกับลูกค้าเพื่อเจรจาต่อรองได้อย่างเหมาะสมพื้นฐานของการเข้าสังคมที่คุณสามารถฝึกได้ทุกวันคือ การยิ้มและพยักหน้าตอบรับคู่สนทนา ซึ่งเป็นวิธีการแสดงออกว่าคุณกำลังตั้งใจทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารจริงๆ หลังจากนั้นค่อยดำเนินการขยับเป็นการเสวนาเรื่องต่างๆ ที่ซับซ้อนขึ้น พร้อมกับควรสังเกตพฤติกรรมของคู่สนทนา เพื่อความเข้าใจเจตนาในการสื่อสารในวงธุรกิจ 5. จัดการเวลาตามลำดับความสำคัญการจัดการเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพคือเรื่องสำคัญที่ผู้นำต้องมี โดยการนำทฤษฎีต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้จะช่วยให้การจัดการเวลามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทฤษฎีโถแก้วแห่งชีวิต (Jar of Life) เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้ โดยคุณสามารถฝึกการบริหารจัดการได้ด้วยการเรียบเรียงความสำคัญเปรียบกับก้อนหินใหญ่ กรวด และเม็ดทราย และใช้สิ่งเหล่านั้นเติมลงในโถ (เวลาในแต่ละวันของคุณ)ซึ่งคุณต้องทำการใส่หินก้อนใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตเป็นอันดับแรก แล้วค่อยตามด้วยกรวดเล็กๆ ที่สำคัญรองลงมา และปิดท้ายด้วยการใส่ทรายซึ่งเป็นตัวแทนของเรื่องที่ไม่ค่อยสำคัญในชีวิตเพื่อให้ทุกนาทีของคุณถูกใช้ไปอย่างมีคุณค่าสูงสุด 6. ฝึกฝนการสื่อสารอีกหนึ่งทักษะสำคัญในการนำทีมให้ประสบความสำเร็จคือทักษะการสื่อสาร ซึ่งผู้นำที่ดีควรจะถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้คนอื่นๆ เข้าใจได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น ถูกกาลเทศะและไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดการเข้าใจในเจตนาที่ผิด โดยสามารถทำได้ทั้ง คำสั่ง คำถาม รวมถึงการพูดเชิงชี้นำคุณสามารถนำทักษะการสื่อสารมาใช้ในการทำงานได้อย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น การจูงใจให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกมุ่งมั่นในการทำงานหรือการตำหนิพนักงานเมื่อทำผิดให้มีความไม่รู้สึกผิดใจกันการฝึกฝนการสื่อสารสามารถทำได้ด้วยการฝึกเรียบเรียงคำพูดให้กระชับ ได้ใจความ ใช้ความสุภาพเป็นหลัก เพื่อลดความเข้าใจผิดของคู่สนทนา อาจฝึกฝนเพิ่มเติมด้วยการสอบถามคนในทีมเกี่ยวกับวิธีการพูดและการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การสื่อสารต่างๆ ครบถ้วน และได้ใจของคนในทีมไปในเวลาเดียวกัน7. เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆการไม่หยุดพัฒนาตนเองด้วยการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนหรือการพัฒนาทักษะเดิมให้เชี่ยวชาญเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง นอกจากจะช่วยให้คุณเก่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้คุณเป็นตัวอย่างที่ดีของทีม ทำให้คุณสามารถรับมือกับกระแสของธุรกิจที่เปลี่ยนไปในทุกวันได้อย่างรวดเร็ว และอาจนำกุญแจสู่ความสำเร็จที่ไม่เหมือนใครมาไว้ในมือคุณก็ได้โดยคุณสามารถเริ่มต้นเรื่องนี้ได้ด้วยการลงเรียนคอร์สต่างๆ ที่คุณสนใจ ฟังพอตแคสต์เพื่อพัฒนาตนเอง ไปจนถึงอ่านหนังสือหมวดที่คุณไม่เคยลิ้มลองมาก่อน จะช่วยให้คุณเข้าถึงสิ่งใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้นสรุป“ผู้นำ” ไม่ใช่เพียงแค่คำเรียกตำแหน่งหน้าที่แต่เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องมี วิสัยทัศน์ และพฤติกรรมที่เหมาะสมกับองค์กร จึงสามารถกล่าวได้ว่าคนผู้นั้นมีภาวะผู้นำได้ ซึ่งนอกจากการพัฒนาตัวผู้นำองค์กรให้ดีแล้ว ก็ควรมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการทำงานเพื่อให้ทุกคนสามารถดำเนินสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพTrue VWORK เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดีๆ ที่ตอบสนองทุกการทำงานในยุคดิจิทัล ที่รวมครบทุกฟังก์ชันจำเป็นในการทำงานไว้ในที่เดียว ตั้งแต่การเช็กอินเริ่มงาน การจัดประชุมออนไลน์ การสื่อสารภายในทีม กำหนดแผนงานไปจนถึงการส่งแบบฟอร์มอนุมัติ จะเป็นงานแบบไหนก็พร้อมใช้งาน โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK อ้างอิงteambuildingmissiontothemoonth.hrnote.asiaadeccomarketingoopsdrfish.training
September 29, 2022
2 mins read
Blended Learning เป็นอีกหนึ่งเทรนด์การเรียนแบบใหม่ในยุค New Normal ที่ตอบโจทย์ความทันสมัยและมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ด้วยการผสมผสานการเรียนแบบออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน กลยุทธ์นี้มีความโดดเด่นแค่ไหน และสามารถประยุกต์ใช้กับการศึกษาปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ไปดูพร้อมๆ กันเลย! Table of Contents รู้จักกับ Blended LearningBlended Learning คือ การเรียนรู้แบบผสมผสานที่นำการเรียนรู้แบบออนไลน์และการเรียนในห้องเรียนแบบดั้งเดิมเข้าด้วยกัน ซึ่งการเรียนรู้แบบ Blended นี้มีการประยุกต์ใช้มานับสิบปีแล้ว แต่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ในช่วงยุค Digital Transformation ที่ผ่านมานี่เองBlended Learning หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Hybrid Learning มีการวางสัดส่วนในการเรียนออนไลน์ไว้ตั้งแต่ 30-70% ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละวิชา โดยมีการใช้สื่อการสอนแบบออนไลน์เป็นหลักที่เน้นความยืดหยุ่นและเข้าถึงง่ายของผู้เรียน แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การทดลองต่างๆ เพื่อให้นักเรียนเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดเด่นของ Blended Learning1. มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายอ้างอิงจากทฤษฎีพีระมิดแห่งการเรียนรู้ (Learning Pyramid) จากงานวิจัยของ NTL Institute มีการระบุไว้ว่าวิธีการเรียนรู้แต่ละวิธีจะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำและเรียนรู้เนื้อหาการเรียนได้มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน อย่างเช่นการอ่านจะช่วยให้จำได้ 10% การฟังจะช่วยให้จำได้ 20% และการได้ลองปฏิบัติด้วยตัวเองจะช่วยให้จำได้ 75%การเรียนออนไลน์เพียงแค่อย่างเดียวจึงอาจไม่ตอบโจทย์การเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากขาดการปฏิบัติจริง และการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวก็อาจมีความรู้ไม่ทันสมัย รวมไปถึงขาดสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นเท่าที่ควร Blended Learning มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย จึงเป็นรูปแบบการศึกษาที่น่าสนใจกว่า เพราะสามารถนำเสนอสิ่งต่างๆ ผ่านสื่อมากมาย พร้อมมีตัวอย่างจริง รวมถึงการลงมือทำกิจกรรมจริงๆ ดังนั้นการเรียนรู้แบบผสมผสานนี้จึงเป็นคำตอบที่ลงตัวที่สุดสำหรับการเรียนแบบใหม่ในยุค New Normal2. สภาพแวดล้อมในการเรียนที่ดีกว่าBlended Learning เป็นรูปแบบการเรียนที่ยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากกว่าการเรียนแบบออนไลน์ โดยการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนจะช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการร่วมกันหาคำตอบภายในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี และเมื่อเทียบกับการเรียนแบบออนไลน์หรือการเรียนแบบดั้งเดิมแล้ว Blended Learning ยังช่วยขยายระยะเวลาโฟกัสในการเรียนให้มีความยาวมากขึ้นได้ ซึ่งนอกจากผลดีที่ผู้เรียนจะได้รับแล้ว Blended Learning ยังเอื้อต่อการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรของผู้สอนให้เหมาะกับกลุ่มผู้เรียนอีกด้วย 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองคุณประโยชน์อีกข้อของ Blended Learning ที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย คือการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการแนะนำของผู้สอน โดยผู้เรียนสามารถค้นคว้าหัวข้อที่ตนเองยังไม่เข้าใจหรือมีความสนใจมากเป็นพิเศษได้อย่างรวดเร็วผ่านสื่อการสอนออนไลน์โดยไม่ต้องรู้สึกกดดันเหมือนการเรียนพร้อมกันกับผู้เรียนคนอื่นๆ นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับแต่งความเร็วในการเรียนให้เหมาะกับตัวเองแล้ว Blended Learning ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการเชื่อมโยงความรู้จากการศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกอีกด้วยจัดการการเรียนรู้แบบผสมผสานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพใช้การเรียนออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าการเรียนแบบ Blended Learning จะต้องมีสัดส่วนของเนื้อหาที่นำเสนอผ่านระบบออนไลน์ระหว่าง 30-70% แต่ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ด้วยตัวเองของผู้เรียนแล้ว โครงสร้างสัดส่วนการเลคเชอร์แบบออนไลน์ของ Blended Learning อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นอ้างอิงจากงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การปรับตัวเลขการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้ขยับขึ้นมาที่ 60% และใช้การทำกิจกรรมและการเรียนในห้อง 40% จะส่งผลดีต่อผู้เรียนมากที่สุด กระนั้นตัวเลขดังกล่าวก็ยังสามารถรปรับเปลี่ยนได้ตามสไตล์การสอนและความเหมาะสมของแต่ละวิชาเช่นกันใช้การแนะนำแบบโค้ชมากกว่าเลคเชอร์ (coaching) การสอนแบบบรรยายเนื้อหาหรือเลคเชอร์จะเป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่พบเห็นได้เป็นปกติ แต่สำหรับการเรียนแบบ Blended Learning แล้ว การโค้ช (Coaching) ผ่านการตั้งคำถามที่น่าสนใจให้ผู้เรียนได้ขบคิดและค้นคว้าคำตอบอาจเป็นวิธีการสอนที่ดึงประสิทธิภาพในตัวผู้เรียนออกมาได้มากกว่าเพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองผ่านเว็บช่วยสอนและเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ อยู่แล้ว การโค้ชจะช่วยเสริมในส่วนของการขบคิดและแลกเปลี่ยนความเห็นผ่านการตอบคำถามภายในชั้นเรียนให้มากขึ้น และส่งผลในการผลักดันทักษะการคิดวิเคราะห์วิพากษ์หรือ Critical Thinking ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการต่อยอดไปสู่การศึกษาในอนาคตของผู้เรียนนั่นเองใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ Blended Learning เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ควรใช้เครื่องมือช่วยสอนและเทคโนโลยีเพื่อการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อวิดีโอการเรียนต่างๆ แพลตฟอร์มการส่งงานของผู้เรียนหรือห้องสนทนาออนไลน์ก็ล้วนอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้เรียนและผู้สอน อีกทั้งการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังสามารถขยายขอบเขตการเรียนรู้ของผู้เรียนให้กว้างขึ้นกว่าเก่า ช่วยลดความเครียดและภาระงานที่ไม่จำเป็นต่างๆ ของครูผู้สอนลง ทำให้ผู้สอนมีเวลาในส่วนนี้ที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบวิธีการสอนและแผนกิจกรรมดีๆ ให้กับผู้เรียนได้มากขึ้นอีกด้วย สรุปBlended Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนออนไซต์ที่มีจุดเด่นในการถ่ายทอดประสบการณ์จากการลงมือทำกิจกรรม ร่วมกับการเรียนแบบออนไลน์ ที่มีความยืดหยุ่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในจุดต่างๆ ตอบโจทย์ยุคสมัย ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงTrue VLEARN แพลตฟอร์มห้องเรียนดิจิทัลจาก TRUE VWORLD เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่น่าสนใจ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการเรียนรู้ในมิติใหม่กลายเป็นเรื่องง่าย มีฟังก์ชันครบครันเหมาะสำหรับการเรียนยุค New Normal เช่นเดียวกับ True VROOM ที่เป็นแพลตฟอร์มห้องประชุมยุคใหม่ ตอบโจทย์ทั้งการเรียนและการทำงานจากที่ไหนก็ได้ได้ โดยคุณสามารถดูรายละเอียดของทั้งสองแพลตฟอร์มได้ที่ True VLEARN และ True VROOM อ้างอิงlimitlesseducationfaithandbaconlib.edu.chulaedujournal.bsruenglishgangaksorncore.ac.uk
September 29, 2022
2 mins read
ประชุมทางไกล เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับยุคดิจิทัลที่ทุกคนเน้นการทำงานออนไลน์เป็นหลัก ทุกบริษัทต่างต้องมีการปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการประชุมแบบนี้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือรายละเอียดของการประชุมทางไกลที่ผู้บริหารองค์กรรุ่นใหม่ไม่ควรพลาดประชุมทางไกล หนทางของการทำงานยุคอนาคตการประชุมทางไกล คือ รูปแบบการประชุมที่ผู้เข้าประชุมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการสนับสนุน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการประชุมทางไกลไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ก่อนที่จะมีสมาร์ทโฟน หลายบริษัทก็มีการประชุมทางไกลกันผ่านโทรศัพท์อยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าด้วยเทคโนโลยีที่ยังไม่พัฒนาทำให้การประชุมรูปแบบดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพมากนักจนมาถึงปัจจุบันที่เทคโนโลยีต่างๆ มีการพัฒนาไปไกล เราสามารถเห็นภาพ เสียง ของคู่สนทนา รวมถึงการดูข้อมูลต่างๆ ที่กำลังถูกนำเสนอได้ผ่านจอภาพ ดังนั้นการประชุมทางไกลจึงได้แปรเปลี่ยนเป็น “เรื่องธรรมดา” และนี่คือ 5 องค์ประกอบสำคัญสำหรับการประชุมที่คุณควรรู้ Table of Contents 1. แผนการประชุมหนึ่งในปัญหาที่ผู้เข้าร่วมประชุมแทบทุกคนต้องเคยเจอ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมระยะไกลหรือการประชุมแบบเจอหน้า คือปัญหาเรื่องการประชุมยืดเยื้อ ไม่ตรงประเด็น ไม่รู้ว่าตนเองต้องเข้าร่วมประชุมทำไม รวมถึงการประชุมที่ถี่เกินความจำเป็นงานวิจัย The Psychology Behind Meeting Overload จาก Harvard Business Review มีการระบุว่าพนักงานระดับ Manager ราว 83% มองการประชุมว่าไม่ได้ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญหาในเรื่องการประชุมและการทำงานเป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยขนาดไหน ดังนั้นสิ่งแรกที่คุณควรมีก่อนการประชุมคือ “แผน” ที่ดี2. อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระบบอินเทอร์เน็ตคุณภาพเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้การส่งข้อมูลทั้งภาพและเสียงสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ที่เข้าร่วมการประชุมทางไกลควรมีระบบอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รวดเร็ว มีความเสถียร รวมถึงมีผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้สามารถประชุมได้ลื่นไหล ไม่มีติดขัดหากบริษัทต้องมีการประชุมทางไกลบ่อยครั้ง การติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือมีการสนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ตในแง่มุมต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญ 3. ระบบภาพและเสียงภาพ เสียง และการนำเสนอต่างๆ เป็นจุดเด่นของการประชุมออนไลน์ในยุคนี้ ดังนั้นผู้ประชุมควรมีอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ กล้อง ลำโพง ไมค์ รวมไปถึงจอภาพเพื่อการนำเสนอในที่ประชุม เพื่อช่วยให้การนำเสนอและการสนทนามีความสมบูรณ์ที่สุดโดยระบบภาพและเสียงนี้จะมีความแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบริษัท หากเป็นบริษัทขนาดเล็กซึ่งมีการประชุมแยกรายบุคคล การใช้คอมพิวเตอร์แล็บท็อปพร้อมหูฟังอาจเป็นตัวเลือกในการประชุมที่ดี แต่ถ้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีการประชุมหลายฝ่ายพร้อมกัน การมีห้องประชุมสำหรับพูดคุยและนำเสนองานผสมผสานกับการประชุมออนไลน์ อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า4. แพลตฟอร์มที่ใช้ในการประชุมปฏิเสธไม่ได้ว่าหากพูดถึงการประชุมทางไกลในปัจจุบันย่อมนึกถึงการประชุมออนไลน์ และการประชุมประเภทนี้จำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มการประชุมที่เหมาะสม โดยแพลตฟอร์มต่างๆ จะมีความโดดเด่นแตกต่างกันออกไปตามผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับปริมาณผู้ร่วมประชุม คุณภาพของภาพและเสียง ไปจนถึงความ Local ที่ผู้ให้บริการอยู่ในพื้นที่เดียวกับผู้รับบริการตัวอย่างแพลตฟอร์มที่ใช้ความ Local ได้ดีคือ True VROOM ที่นอกจากจะมีการแสดงผลทั้งภาพและเสียงที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีฝ่ายซัพพอร์ตภายในประเทศไทย สามารถติดต่อและให้บริการเป็นภาษาไทยได้ง่าย5. ความรู้พื้นฐานของพนักงานเรื่องสุดท้ายที่สำคัญที่สุดในการประชุมทางไกลคือความรู้พื้นฐานของพนักงานทุกคน ก่อนการดำเนินการประชุมทางไกล ทุกบริษัทควรมีการสอบถามความรู้พื้นฐานในการใช้งานอุปกรณ์ และโปรแกรมต่างๆ รวมถึงการ Training พนักงาน เพื่อให้สามารถใช้งานและแก้ปัญหาการสื่อสารเบื้องต้นได้ ทำให้การประชุมดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีปัญหาเกิดขึ้นน้อยที่สุดแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ที่น่าสนใจ 1. True VROOMแพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่มีจุดเด่นในความ Local ดังที่มีการระบุไว้ก่อนหน้า รองรับทุกระบบปฏิบัติการ สามารถเข้าประชุมผ่านเว็บเบราเซอร์ได้ในทันที ครบครันทุกเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการสื่อสารทางไกลTrue VROOM เวอร์ชันใหม่ยังรองรับการประชุมแบบ Global ด้วยการแบ่งห้องสำหรับล่ามผู้แปลภาษาโดยเฉพาะ เพื่อให้การประชุมของคุณมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น! สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM2. Google Meetแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่มีจุดเด่นในด้านการรองรับคนได้มากมาย รวมถึงมีฟังก์ชันพื้นฐานอย่างครบครัน ได้รับความเชื่อถือจากองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก มีจุดเด่นในการทำงานร่วมกับบริการต่างๆ ของ Google ได้เป็นอย่างดี3. Zoomอีกหนึ่งแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์มีชื่อเสียง Zoom มีจุดเด่นในความลื่นไหลของการสื่อสาร และฟังก์ชันพื้นฐานต่างๆ สำหรับการประชุม เพียงแต่ผู้ใช้งานอาจต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น เนื่องจากการใช้งานให้ครบทุกฟังก์ชันจำเป็นมีการตั้งค่าและขั้นตอนการติดตั้งต่างๆ ค่อนข้างเยอะสรุปการประชุมระยะไกลกลายเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทต้องเผชิญ ซึ่งผู้จัดการประชุมควรมีแผนการประชุมที่ดี มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบที่เพียบพร้อม แพลตฟอร์มคุณภาพ และการเทรนพนักงานให้มีความรู้พื้นฐาน เพื่อการประชุมที่สมบูรณ์ที่สุดTrue VROOM เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับการประชุมที่น่าสนใจ ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาฟังก์ชันต่างๆ ให้ง่ายต่อการใช้งานยิ่งขึ้น ตอบโจทย์การประชุมทางไกลทั้งแบบ 1-1 ไปจนถึงการประชุมทั้งบริษัท สามารถสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานฟรีที่ True VROOMอ้างอิงlivewebinarbluejeanshbrmissiontothemoon
September 29, 2022
2 mins read
ต้องสัมภาษณ์งานแบบไหนบริษัทจึงจะรับเข้าทำงาน ? ประเด็นนี้เป็นคำถามที่คนจำนวนมากสงสัย แม้ว่าโปรไฟล์ดีหรือมีบุคคลรองรับก็อาจสะดุดได้ เพราะในยุคนี้การทำงานอาจต้องการมากกว่า Hard Skill แต่ต้องมีทักษะในชีวิตประจำวันอย่าง Soft Skill ด้วย ในวันนี้เราจึงจะพาไปรู้จักหนึ่งในเคล็ดลับการสัมภาษณ์อย่าง STAR Model ตัวช่วยชั้นดีสำหรับการตอบคำถามเพื่อการเข้างาน ช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณได้งานตามที่ต้องการมากขึ้น!! Table of Contents รู้จักกับ STAR Model เทคนิคสำคัญในการสัมภาษณ์งาน การสัมภาษณ์งาน คือ การพูดคุยสอบถามเพื่อที่ทำให้ฝ่ายบุคคลได้รู้จักตัวตนของผู้ที่สมัครเข้ามาทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่แฝงอยู่ในการสัมภาษณ์หลายครั้งจะเป็นการทดสอบต่างๆ ทั้งการสื่อสาร การแก้ปัญหา ไปจนถึงการพรีเซนต์งาน แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่สามารถรับมือกับคำถามประเภทนั้นได้ดี STAR Model หรือ STAR Technique เป็นโมเดลการตอบคำถามที่ช่วยทำให้การตอบคำถามของคุณกระชับและตรงประเด็นมากขึ้น ใช้สำหรับการตอบคำถามประเภทอธิบายหรือบรรยายสถานการณ์ ซึ่งเป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่ต้องเผชิญเมื่อเข้าสู่การสัมภาษณ์งาน โดยส่วนประกอบของ STAR Model นั้นมีดังต่อไปนี้ S: Situation สถานการณ์ เลือกสถานการณ์ของเรื่องราวให้เหมาะสม เพราะการระบุเหตุการณ์ต่างๆ เป็นการปูพื้นฐานที่ดีสำหรับการเล่าเรื่อง T: Task เป้าหมาย ระบุเป้าหมายสำหรับเรื่องราวดังกล่าว เพื่อบ่งบอกว่าหน้าที่ของเรา ณ เวลานั้นต้องแก้ปัญหาสิ่งใด ทำให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นถึงความท้าทายที่เราต้องเผชิญ A: Action การกระทำ บอกว่าเรามีการแก้ปัญหาอย่างไร อธิบายว่าหลังจากเรามีเป้าหมาย เราได้ทำอย่างไรต่อ ควรเป็นการระบุชี้ชัดว่าทำอย่างไร มีการวางแผนอะไรบ้าง เป็นขั้นตอนไป อย่าตอบแค่ว่าเราพยายามหรือทำงานอย่างหนักเพียงอย่างเดียว R: Result ผลลัพธ์ อธิบายผลลัพธ์จากการกระทำของเรา ว่าหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวสิ่งที่เกิดขึ้นได้ส่งผลอย่างไรบ้าง จะดีมากหากคำตอบของเราเป็นสิ่งที่วัดผลได้ และอาจเพิ่มเติมสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการปิดท้าย ตัวอย่างการตอบคำถามด้วย STAR Model คำถาม คุณลองยกตัวอย่างการทำงานที่ตัวเองภูมิใจให้เราฟังหน่อย คำตอบที่อ้างอิง STAR Model ในช่วงที่ผมเริ่มทำงานใหม่ๆ ทางบริษัทเก่ามีการติดต่อสื่อสารกับลูค้าที่ล่าช้า ทำให้บางครั้งเราสูญเสียรายได้อย่างที่ไม่ควรเป็น (Situation) ทางผมเลยต้องหาทางออกเกี่ยวกับการสื่อสารกับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น (Task) และดำเนินการประชุมกับทีมงานเพื่อใช้ซอฟต์แวร์ CRM (Customer Relationship Management) ควบคู่ไปกับการปรับปรุงตำแหน่ง Admin ประจำ Social Media ของบริษัท (Action) ผลของการแก้ไขปัญหานั้นทำให้เราสามารถรักษาลูกค้าเก่าได้มากกว่าเดิมถึง 50% และมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก 20% (Result) จะสังเกตได้เลยว่าคำตอบจะมีความกระชับ เข้าถึงประเด็นของคำถามได้รวดเร็ว และมีการอธิบายทุกอย่างอย่างครบถ้วน ไม่เวิ่นเว้อ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสัมภาษณ์ที่อาจมีเวลาจำกัด คนถามอยากรู้อะไร ? เจาะลึกเพื่อตอบคำถามให้ได้งาน สิ่งที่ควรสังเกตควบคู่ไปกับการใช้งาน STAR Model คือก่อนตอบคำถามคุณอาจต้องพิจารณาก่อนว่าคนถามกำลังมองหาอะไรจากคุณ เนื่องจากองค์กรในปัจจุบันไม่ได้ต้องการคนที่เก่งเฉพาะสายงานของตนเอง แต่ต้องการคนที่มีคววามสามารถหลากหลายเพียงพอที่จะตอบสนองการเติบโตอันรวดเร็วของโลกอีกด้วย โดยเบื้องต้นคำถามของการสัมภาษณ์มักมีจุดประสงค์ดังนี้ 1. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นกะทันหันได้ดีแค่ไหน ซึ่งอาจมาในรูปแบบของคำถามจิตวิทยา การตั้งโจทย์การทำงานให้ลองแก้ไข หากเจอคำถามประเภท “คุณจะทำอย่างไร” ควรคาดเดาไว้เลยว่าเขาต้องการทดสอบความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของคุณ 2. ความสามารถในการสื่อสารกับผู้คน องค์กรแต่ละที่มักมีวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป และบทสัมภาษณ์ก็มักมีการหยั่งเชิงในส่วนนี้อยู่เสมอ บางองค์กรก็มีการดึงคนจากตำแหน่งใกล้เคียงกับที่เราสมัคร ไปจนถึงสมาชิกในทีมมานั่งร่วมการสัมภาษณ์ด้วย 3. ความสามารถเฉพาะด้านสำหรับสายงานต่างๆ คำถามนี้มักเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตำแหน่ง ข้อมูลใน Resume และ Portfolio โดยผู้สัมภาษณ์อาจใช้คำถามเชิงวิชาการถามมาแบบตรงๆ เพื่อวัด Hard Skill ซึ่งในบางบริษัทจะมีแบบทดสอบให้ทำควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์ ดังนั้นหากตอบอะไรไปควรมี “เหตุผล” สำหรับคำตอบดังกล่าวด้วยเพื่อรองรับคำถามที่จะตามมา 4. ความสามารถสอดคล้องกับเงินเดือน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับเงินเป็นหลัก ที่ทั้งตัวผู้สัมภาษณ์และองค์กรต่างต้องประเมินความสามารถของพนักงานให้สอดคล้องกับเงินเดือนที่ได้รับ ดังนั้นคำถาม “คุณต้องการเงินเดือนเท่าไร” มักมาพร้อมกับคำถามเกี่ยวกับอายุงานอยู่เสมอ 5. คำถามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงปลายการสัมภาษณ์ มักเป็นการชวนคุยเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการถามคำถามย้ำว่า “มีอะไรอยากสอบถามเพิ่มเติมไหม” ซึ่งสิ่งเหล่านั้นบางส่วนก็เป็นการทดสอบทัศนคติ ไปจนถึงความกล้าแสดงออกของผู้ถูกสัมภาษณ์ ดังนั้นอย่าเผลอลืมตัวพูดออกนอกประเด็นหรือตัดบทไปเสียทีเดียว อาจใช้วิธีการพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในบริษัทก่อนจบการสัมภาษณ์จะเป็นตัวเลือกที่ทำให้คุณดูน่าสนใจยิ่งขึ้น การเตรียมสัมภาษณ์อย่างมืออาชีพ 1. ตรวจสอบความต้องการขั้นต้นของสายงาน ในส่วนนี้เป็นสิ่งที่ผู้สมัครจำเป็นต้องตรวจสอบก่อนสมัครงาน แต่สำหรับคนที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ หรือคนที่ต้องการทำงานนอกสายงาน อาจต้องมีการเตรียมตัวเพิ่ม เช่น การเรียนคอร์สออนไลน์ การฝึกงานต่างๆ เพื่อทำให้มีใบรับรองความสามารถและความรู้เพียงพอสำหรับการสัมภาษณ์ 2. การเตรียม Resume และ Portfolio เบื้องต้น การเตรียม Resume และ Portfolio ควรมีการนำเสนอข้อมูลให้ตอบโจทย์กับสายงานต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนของความสามารถ เช่น งาน Marketing คุณจำเป็นต้องนำเสนอในส่วนของการตลาดเป็นหลัก 3. ซ้อมสัมภาษณ์งานจริง สำหรับคนที่ไม่เคยสัมภาษณ์มาก่อน ขอแนะนำว่าควรลองซ้อมตอบคำถามการสัมภาษณ์ อาจใช้กระจก เพื่อน หรือคนในครอบครัวมาสมมติ เพื่อลดความตื่นเต้นในการสัมภาษณ์จริง สรุป STAR Model เป็นอีกหนึ่งโมเดลการตอบคำถามสำหรับสัมภาษณ์งานเพื่อทำให้ตอบคำถามได้กระชับ สมเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น แม้แต่คนสัมภาษณ์เองก็ยังสามารถใช้โมเดลนี้เพื่อตั้งคำถามหรือประเมินการตอบคำถามของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อีกด้วย แน่นอนว่าการสัมภาษณ์ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ รองรับการพูดคุยได้อย่างลื่นไหล True VROOM เป็นแพลตฟอร์การประชุมที่น่าสนใจซึ่งกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่ทำให้คุณสามารถพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับทั้งการสัมภาษณ์และการทำงานในองค์กร ตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ และทดลองใช้งานได้ฟรีที่ True VROOM อ้างอิง betterup uk.indeed.com thebalancecareers thebalancecareers
September 29, 2022
2 mins read
ธุรกิจในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเจ้าใหญ่หรือเจ้าเล็ก ต่างก็ต้องปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอนว่า มีธุรกิจเกิดใหม่มากมายนับไม่ถ้วนจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แล้วในปีนี้จะมีธุรกิจออนไลน์อะไรเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจบ้างลองมาดูกันเลย! Table of Contents เทรนด์ธุรกิจออนไลน์ที่น่าสนใจหลัง Covid 1. ธุรกิจ E-Commerce ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการคาดเดาว่าตลาด E-Commerce ไทยจะมีมูลค่าราว 5.65 แสนล้านบาท โดยมีการขยายตัวราว 13.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าการค้าขายสินค้าออนไลน์ยังคงได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย ซึ่งธุรกิจ E-Commerce นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการขายของอย่างเดียวเสมอไป ยังมีธุรกิจอีกมากมายเช่น การรับจ้างสร้างแพลตฟอร์ม E-Commerce การรับจัดการระบบหลังบ้านของร้านค้า การรับโฆษณาผ่านโลกออนไลน์ ธุรกิจเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าภายใต้การเติบโตของการซื้อขาย ยังมีช่องทางในการทำธุรกิจของผู้คนอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว 2. ธุรกิจการสอนออนไลน์ “ความรู้” ไม่ว่าจะด้านไหนก็สามารถนำไปต่อยอดได้ด้วยการ “สอน” และสำหรับยุคปัจจุบันมีแพลตฟอร์มคุณภาพมากมายที่เป็นช่องทางสำหรับการสอน หลายคนจึงผันตัวมาเป็นโค้ชและอาจารย์ที่สอนในสิ่งที่ตนเองถนัดหรือสิ่งที่สังคมสนใจ ตั้งแต่การทำอาหาร แต่งหน้า การเขียนบทความ ไปจนถึงการทำการตลาด ที่ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มการสอนมากมายเปิดให้บริการ แน่นอนว่าคนทำธุรกิจการสอนออนไลน์บางคนก็ไม่ได้เลือกสอนผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าว แต่ใช้การโปรโมตผ่านโซเชียลมีเดียแทน และทำการสอนผ่านแพลตฟอร์มสำหรับประชุมออนไลน์คุณภาพสูง ซึ่งมีให้เลือกมากมายในตลาด หากใครกำลังมองหาแพลตฟอร์มสำหรับประชุมออนไลน์มาใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนสุดครบครัน True VROOM ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยมีจุดเด่นที่ให้นักเรียนในคลาสสามารถเข้ามาเรียนได้ด้วยการกำหนดรหัสผ่าน ทำให้คนที่สนใจสามารถเข้าถึงคลาสนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น และยังสามารถแชร์หน้าจอพร้อมกันได้หลายคนอีกด้วย 3. ธุรกิจการทำคอนเทนต์ “ใครๆ ก็สามารถทำคอนเทนต์ได้” ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไปในยุคสมัยนี้ ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้สรรค์สร้างผลงานของตัวเอง ตั้งแต่ภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ ไปจนถึงคอนเทนต์วิดีโอยาวหลายชั่วโมง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ปัจจุบันเราจะได้เห็น Youtuber, Tiktoker และ Influencer หน้าใหม่มากมายปรากฎขึ้น และคนเหล่านี้มีการทำคอนเทนต์เป็นธุรกิจ โฆษณาสินค้าของตนเอง ทำการขายของต่างๆ ภายใต้คอนเทนต์ที่สร้างขึ้น ต่อยอดด้วยการรับสปอนเซอร์ โดยธุรกิจการทำคอนเทนต์สร้างรายได้ให้คนจำนวนมาก 4. ธุรกิจอาหาร การเข้ามาของโลกออนไลน์เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอาหารเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแอปพลิเคชันสำหรับสั่งอาหารต่างๆ เช่น Grab, Lineman หรือ Robinhood ช่วยให้ร้านจำนวนมากสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ด้วยบริการ Food Delivery เหล่านี้ ทุกคนสามารถขายอาหารได้แม้ไม่มีหน้าร้าน ธุรกิจร้านอาหารจำนวนไม่น้อยได้ทำการใส่ข้อมูลร้านลงใน Search Engine เพื่อให้สามารถเข้าถึงร้านได้ง่ายจากโลกออนไลน์ และมีการต่อยอดด้วยการเปิดโซเชียลมีเดียของตัวเอง ที่สามารถเปิดรับออเดอร์ โฆษณา และติดต่อสื่อสารกับลูกค้า จนหลายๆ ร้านไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน เน้นขายแบบออนไลน์ก็สามารถทำกำไรได้ไม่น้อยทีเดียว 5. ธุรกิจสุขภาพ เทรนด์ของการดูแลสุขภาพเป็นกระแสที่มาแรงก่อน Covid-19 จะมาเสียอีก สามารถสังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของฟิตเนสจำนวนมากและปริมาณคนที่ไปออกกำลังกายตามที่สาธารณะต่างๆ โดยเมื่อคนออกจากบ้านไม่ได้จึงกระตุ้นให้การดูแลสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาท เช่น ธุรกิจตรวจรักษากับแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ ธุรกิจสอนฟิตเนส โยคะ ออนไลน์ ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ ธุรกิจประกันสุขภาพ การเข้ามาของระบบออนไลน์ได้กระตุ้นให้ธุรกิจต่างๆ มีการปรับตัวเข้าหาลูกค้าได้อย่างรวดเร็วผ่านแอปพลิเคชันและโซเชียลมีเดีย นับว่าเป็นประเภทธุรกิจที่เติบโตได้ดีจนน่าตกใจเลยทีเดียว 6. ธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ธุรกิจออนไลน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่กว้างและใหม่มากๆ สำหรับสังคมไทย แม้จะเป็นรูปแบบธุรกิจที่ค่อยๆ เติบโตอย่างแช่มช้าแต่มั่นคงตามเทรนด์ความรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม สำหรับธุรกิจที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ ธุรกิจด้านพลังงานสะอาด ธุรกิจบริหารจัดการขยะ ธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ ธุรกิจเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ ทำสวน ธุรกิจเหล่านี้ไม่ใช่แค่การรับจ้างในรูปแบบออนไลน์ หลายได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ของตัวเอง เช่น แอปพลิเคชันช่วยแยกขยะ หรือแอปพลิเคชันการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า เป็นที่น่าจับตามองอย่างมากว่าธุรกิจออนไลน์ประเภทนี้จะเติบโตไปในแนวทางใดในอนาคต 7. ธุรกิจด้านงานศิลปะ เมื่อพูดถึงงานศิลปะบนโลกออนไลน์ หลายคนอาจนึกถึง NFT Art ซึ่งเป็นศิลปะที่ซื้อขายกันบน Blockchain ทว่าในความเป็นจริงศิลปะออนไลน์ไม่ได้มีแค่นั้น ศิลปินในยุคปัจจุบันมีวิธีหลากหลายในการทำธุรกิจ ตั้งแต่การเปิดให้ซื้อ-ขายภาพถ่ายหรือภาพวาดผ่านเว็บตัวกลาง การรับจ้างทำงานศิลปะให้กับบริษัทต่างๆ หรือทำแกลเลอรีออนไลน์เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ และแน่นอนว่า NFT Art ก็เป็นตัวเลือกฮิตสำหรับศิลปินในยุคปัจจุบันเช่นกัน โดย NFT Art ชื่อดังอย่าง Everydays : The First 5000 Days ของศิลปิน Beeple ก็สามารถขายได้ในราคาเทียบเท่า 69.3 ล้านดอลลาร์ (2.4 พันล้านบาท) เลยทีเดียว ศิลปะรูปแบบอื่นๆ เช่นงานปั้น งานเพลง หรือแม้แต่งานเขียนเองก็มีบทบาทไม่แพ้งานภาพ ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถผสมผสานกับการทำคอนเทนต์เพื่อเพิ่มมูลค่าของงานศิลปะ หรือทำให้เข้าถึงผู้คนจำนวนมากได้เช่นกัน 8. ธุรกิจด้านการตลาดแบบ Affiliate สมัยนี้แม้ไม่มีสินค้าก็สามารถสร้างรายได้ขึ้นมาได้ โดยใช้การทำ Affiliate เคยสังเกตไหมว่าตามกลุ่มในโซเชียลมีเดียต่างๆ บ่อยครั้งมักมีการลงลิงก์เพื่อให้กดไปยังหน้าสั่งซื้อ และมีคำเขียนกำกับว่า “ลิงก์ Aff” ซึ่งลิงก์ Aff นั้นย่อมาจาก Affiliate นั่นเอง การตลาดแบบ Affiliate การเปิดให้คนทั่วไปมารีวิว เชิญชวน หรือแนะนำสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านลิงก์ที่กำหนดไว้ หากมีคนกดเข้าไปซื้อสินค้าและบริการดังกล่าว คนที่แนะนำก็จะได้ค่า Commision มากน้อยแล้วแต่การตกลง ทำให้มันกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่คนทั่วไปสามารถทำได้แม้ไม่มีทุนทรัพย์มาก็ตาม 9. ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ วงการอสังหาริมทรัพย์นั้นผูกพันธ์กับโลกออนไลน์มานาน เมื่อก่อนมีการโพสต์หรือลงขายที่ดินผ่านอินเทอร์เน็ต จนตอนนี้วงการอสังหาริมทรัพย์ได้หลอมรวมโลกออนไลน์อย่างไม่น่าเชื่อ โดยในปัจจุบันเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สามารถเปิดจอง ให้เช่า หรือขายอสังหาริมทรัพย์ได้ผ่านโลกออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องติดป้ายข้างที่ของตนเองอีกต่อไป รวมถึงมีการประยุกต์ใช้ Virtual Reality เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการขาย ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงบ้านที่ต้องการขายด้วยอุปกรณ์ VR สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้ธุรกิจออนไลน์ด้านอสังหาริมทรัพย์เติบโตได้อย่างน่าสนใจ 10. ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี เมื่อพูดถึงโลกออนไลน์แล้ว สุดท้ายย่อมขาด “เทคโนโลยี” ที่เป็นส่วนประกอบหลักไปไม่ได้เลย เพราะไม่ว่าธุรกิจใดก็ตามจาก 9 ข้อที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐานแทบทั้งสิ้น โดยธุรกิจเทคโนโลยีออนไลน์ในปัจจุบันมีมากมายตั้งแต่ การซื้อ-ขายสินค้าไอที การรับติดตั้งโปรแกรมและแอปพลิเคชันสำหรับทำงาน การรับจัดการฮาร์ดแวร์เสื่อมสภาพที่ไม่ใช้แล้ว การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในการทำงาน การพัฒนาแชทบอตเพื่อรองรับลูกค้าในธุรกิจต่างๆ ซึ่งยังมีธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกมากมายที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง แต่ก็สามารถยืนยันได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มาแรงสม่ำเสมอและยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดจนปัจจุบัน สรุป...
August 4, 2022
·
August 4, 2022
2 mins read
การตั้งเป้าหมายและวัดผลเป็นกระบวนการสำคัญที่ทุกๆ ธุรกิจควรคำนึงถึง แต่วิธีการตั้งเป้าหมายแบบไหนกันที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นเหมาะกับยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ในทุกวินาที คำตอบนั้นคือ OKR (Objective and Key Results) หนึ่งในหลักการที่ได้รับความนิยมจากธุรกิจชั้นนำทั่วโลกนั่นเอง OKR สุดยอดกรอบแนวคิดที่ผู้บริหารควรเรียนรู้ รู้จักกับ OKR Objective and Key Result หรือย่อสั้นๆ ว่า OKR เป็นหลักการของตั้งเป้าหมายในการทำงาน (Objective) และตัวชี้วัดในการประเมินความสำเร็จของผลลัพธ์ที่ได้ (Key Result) เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ที่นอกจากจะสัมพันธ์กับการพัฒนาส่วนบุคคลแล้ว ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาในระดับต่างๆ ขององค์กรอีกด้วย OKR ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แนวคิดดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย แต่การที่ทำให้แนวคิดการตั้งเป้าแบบ OKR เริ่มมีชื่อเสียงจริงๆ คือ การปรับใช้หลักของ OKR เข้ากับการบริหารบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Intel Corperation โดยประธานคณะกรรมการบริหารอย่างคุณ Andrew Grove ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 OKR ยังมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีการยิบย่อยต่างๆ ในการตั้งเป้าหมายเพื่อเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ กระนั้นสิ่งที่ยังคงอยู่เสมอมา คือ “การตั้งเป้าให้เหนือกว่าความสำเร็จเดิม” ที่กระตุ้นให้บริษัทเติบโตมากขึ้น Table of Contents ประโยชน์ของการใช้ OKR 1.สร้างแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเองแก่พนักงาน กรอบแนวคิดแบบ OKR ให้ความสำคัญกับการสร้างแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเองของพนักงานที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ อยู่เสมอ OKR จึงมุ่งเน้นไปที่การทบทวนกระบวนการทำงานเพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาศักยภาพการทำงานได้อย่างรวดเร็ว 2.มองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ในกรณีที่เกิดปัญหาในกระบวนการทำงานขึ้นนั้น ผู้บริหารสามารถทราบแนวทางในการแก้ปัญหาได้จากการวิเคราะห์คะแนนประเมินผล OKR ในเชิงตัวเลขว่างานส่วนใดที่ควรปรับปรุงกระบวนการทำงานและงานส่วนไหนที่ทำได้ดีอยู่แล้ว 3.องค์กรและบุคลากรพัฒนาไปอย่างสอดคล้องกัน การสร้าง OKR ที่ดีจะช่วยให้ทุกระดับขององค์กรมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่เป้าหมายระดับบุคคลที่มีความเฉพาะเจาะจงกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เป้าหมายระดับทีมอย่างการทำโปรเจกต์ จนไปถึงเป้าหมายระดับองค์กรซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในท้ายที่สุด ตัวอย่างการใช้งาน OKR OKR สำหรับธุรกิจ Objective: ธุรกิจเติบโตขึ้น 30% Key Result: 1. ยอดขายมากกว่า 5 ล้านบาท 2. ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 5 รายการภายในไตรมาสที่ 2 3. อัตราการขอคืนสินค้าต่ำกว่า 3% OKR สำหรับฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ Objective: เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อลดอัตราการขอคืนสินค้า (สอดคล้องกับ อัตราการขอคืนสินค้าต่ำกว่า 3%) Key Result: 1. เก็บ Feedback จากลูกค้าอย่างน้อย 10 รายต่อเดือน 2. เพิ่มอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า 50% 3. ได้คะแนน NPS (Net Promoter score) เพิ่มขึ้นจาก 70 เป็น 90 คะแนน OKR สำหรับพนักงานขาย Objective: เปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์ลูกค้าสัมพันธ์เชิงรุกแทนเชิงรับ (สอดคล้องกับ เพิ่มอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า 50%) Key Result: 1. ลดอัตราการเลิกใช้บริการของลูกค้าประจำ 50% 2. ลดจำนวนคำร้องเรียนที่ไม่พึงพอใจจากลูกค้าลง 50% จะสังเกตได้ว่า OKR ทั้งสามประเภทจะสอดคล้องกันตามหลักการการตั้งเป้าหมาย โดยจะมี OKR สำหรับธุรกิจในภาพใหญ่ เพื่อกำหนด Objective ของบริษัท และใช้ OKR สำหรับทีม และ OKR คอยซัพพอร์ต ทั้งนี้ตัวอย่างด้านบนเป็นเพียงการกำหนด OKR คร่าวๆ เท่านั้น การกำหนด OKR ในบริษัทจริงๆ จะมีรายละเอียดมากกว่านี้พอสมควรทีเดียว วิธีการกำหนด OKR ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ กำหนด OKR เป็นลำดับขั้น การกำหนด OKR ที่ดีควรมีการตั้งเป็นลำดับขั้น โดยมีการกำหนด OKR ใหญ่สุดก่อน โดยอ้างอิงจากภาพรวมบริษัทเป็นหลัก แล้วจึงแยกย่อยลงมาในระดับทีม บุคคล และเพิ่มรายละเอียด เพื่อทำให้ OKR ดังกล่าวเป็นการกำหนดเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ เช่น สำหรับบริษัทประเภท Startup ควรกำหนด OKR ของบริษัทเป็นอันดับแรก และทำการแยกย่อยมาในระดับทีม ว่าแต่ละทีมมี Objective อะไรที่สามารถตอบสนอง Key Result ของบริษัทได้บ้าง สุดท้ายคือการกำหนด OKR ส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับทีมที่ตนเองสังกัด แน่นอนว่าการกำหนด Objective สามารถทำได้หลายข้อ แต่ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องประเมินทีม รวมถึงตนเองว่ามี Human Resource และ Man Hours เพียงพอและสามารถทำตาม OKR ได้หรือไม่ มีอันไหนยาก หรือง่ายเกินไป และ OKR ทุกอันจำเป็นต้องวัดผลได้จริง ไม่ใช่แค่เป้าหมายบนเมฆให้เราคว้าจับเท่านั้นเท่านั้น กำหนด OKR โดยการฟังเสียงของคนทำงาน การตั้งเป้าหมายที่มีรากฐานมาจากข้อมูลในอดีตโดยการฟังเสียงของคนทำงานจริงช่วยให้บริษัทสามารถวิเคราะห์และประมาณการตั้ง OKR ที่เหมาะสม โดยไม่ง่ายเกินไปจนสำเร็จได้ง่ายๆ หรือท้าทายเกินไปจนหาหนทางแห่งความสำเร็จไม่เจอ และหากให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนด OKR ของตัวเองจะส่งผลดีต่อมากยิ่งขึ้น นอกจากที่ OKR จะทำให้ทุกคนเห็นภาพขององค์กรและความสำเร็จร่วมกันแล้ว ยังเสริมสร้างความเข้าใจต่องานที่ได้รับมอบหมายเพื่อบรรลุ OKR อย่างสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันจนกลายเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของธุรกิจคุณอีกด้วย สรุป...
August 4, 2022
2 mins read
การตั้งเป้าหมายและวัดผลเป็นกระบวนการสำคัญที่ทุกๆ ธุรกิจควรคำนึงถึง แต่วิธีการตั้งเป้าหมายแบบไหนกันที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นเหมาะกับยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ในทุกวินาที คำตอบนั้นคือ OKR (Objective and Key Results) หนึ่งในหลักการที่ได้รับความนิยมจากธุรกิจชั้นนำทั่วโลกนั่นเอง OKR สุดยอดกรอบแนวคิดที่ผู้บริหารควรเรียนรู้ รู้จักกับ OKR Objective and Key Result หรือย่อสั้นๆ ว่า OKR เป็นหลักการของตั้งเป้าหมายในการทำงาน (Objective) และตัวชี้วัดในการประเมินความสำเร็จของผลลัพธ์ที่ได้ (Key Result) เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ที่นอกจากจะสัมพันธ์กับการพัฒนาส่วนบุคคลแล้ว ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาในระดับต่างๆ ขององค์กรอีกด้วย OKR ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แนวคิดดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย แต่การที่ทำให้แนวคิดการตั้งเป้าแบบ OKR เริ่มมีชื่อเสียงจริงๆ คือ การปรับใช้หลักของ OKR เข้ากับการบริหารบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Intel Corperation โดยประธานคณะกรรมการบริหารอย่างคุณ Andrew Grove ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 OKR ยังมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีการยิบย่อยต่างๆ ในการตั้งเป้าหมายเพื่อเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ กระนั้นสิ่งที่ยังคงอยู่เสมอมา คือ “การตั้งเป้าให้เหนือกว่าความสำเร็จเดิม” ที่กระตุ้นให้บริษัทเติบโตมากขึ้น Table of Contents ประโยชน์ของการใช้ OKR 1.สร้างแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเองแก่พนักงาน กรอบแนวคิดแบบ OKR ให้ความสำคัญกับการสร้างแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเองของพนักงานที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ อยู่เสมอ OKR จึงมุ่งเน้นไปที่การทบทวนกระบวนการทำงานเพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาศักยภาพการทำงานได้อย่างรวดเร็ว 2.มองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ในกรณีที่เกิดปัญหาในกระบวนการทำงานขึ้นนั้น ผู้บริหารสามารถทราบแนวทางในการแก้ปัญหาได้จากการวิเคราะห์คะแนนประเมินผล OKR ในเชิงตัวเลขว่างานส่วนใดที่ควรปรับปรุงกระบวนการทำงานและงานส่วนไหนที่ทำได้ดีอยู่แล้ว 3.องค์กรและบุคลากรพัฒนาไปอย่างสอดคล้องกัน การสร้าง OKR ที่ดีจะช่วยให้ทุกระดับขององค์กรมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่เป้าหมายระดับบุคคลที่มีความเฉพาะเจาะจงกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เป้าหมายระดับทีมอย่างการทำโปรเจกต์ จนไปถึงเป้าหมายระดับองค์กรซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในท้ายที่สุด ตัวอย่างการใช้งาน OKR OKR สำหรับธุรกิจ Objective: ธุรกิจเติบโตขึ้น 30% Key Result: 1. ยอดขายมากกว่า 5 ล้านบาท 2. ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 5 รายการภายในไตรมาสที่ 2 3. อัตราการขอคืนสินค้าต่ำกว่า 3% OKR สำหรับฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ Objective: เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อลดอัตราการขอคืนสินค้า (สอดคล้องกับ อัตราการขอคืนสินค้าต่ำกว่า 3%) Key Result: 1. เก็บ Feedback จากลูกค้าอย่างน้อย 10 รายต่อเดือน 2. เพิ่มอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า 50% 3. ได้คะแนน NPS (Net Promoter score) เพิ่มขึ้นจาก 70 เป็น 90 คะแนน OKR สำหรับพนักงานขาย Objective: เปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์ลูกค้าสัมพันธ์เชิงรุกแทนเชิงรับ (สอดคล้องกับ เพิ่มอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า 50%) Key Result: 1. ลดอัตราการเลิกใช้บริการของลูกค้าประจำ 50% 2. ลดจำนวนคำร้องเรียนที่ไม่พึงพอใจจากลูกค้าลง 50% จะสังเกตได้ว่า OKR ทั้งสามประเภทจะสอดคล้องกันตามหลักการการตั้งเป้าหมาย โดยจะมี OKR สำหรับธุรกิจในภาพใหญ่ เพื่อกำหนด Objective ของบริษัท และใช้ OKR สำหรับทีม และ OKR คอยซัพพอร์ต ทั้งนี้ตัวอย่างด้านบนเป็นเพียงการกำหนด OKR คร่าวๆ เท่านั้น การกำหนด OKR ในบริษัทจริงๆ จะมีรายละเอียดมากกว่านี้พอสมควรทีเดียว วิธีการกำหนด OKR ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ กำหนด OKR เป็นลำดับขั้น การกำหนด OKR ที่ดีควรมีการตั้งเป็นลำดับขั้น โดยมีการกำหนด OKR ใหญ่สุดก่อน โดยอ้างอิงจากภาพรวมบริษัทเป็นหลัก แล้วจึงแยกย่อยลงมาในระดับทีม บุคคล และเพิ่มรายละเอียด เพื่อทำให้ OKR ดังกล่าวเป็นการกำหนดเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ เช่น สำหรับบริษัทประเภท Startup ควรกำหนด OKR ของบริษัทเป็นอันดับแรก และทำการแยกย่อยมาในระดับทีม ว่าแต่ละทีมมี Objective อะไรที่สามารถตอบสนอง Key Result ของบริษัทได้บ้าง สุดท้ายคือการกำหนด OKR ส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับทีมที่ตนเองสังกัด แน่นอนว่าการกำหนด Objective สามารถทำได้หลายข้อ แต่ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องประเมินทีม รวมถึงตนเองว่ามี Human Resource และ Man Hours เพียงพอและสามารถทำตาม OKR ได้หรือไม่ มีอันไหนยาก หรือง่ายเกินไป และ OKR ทุกอันจำเป็นต้องวัดผลได้จริง ไม่ใช่แค่เป้าหมายบนเมฆให้เราคว้าจับเท่านั้นเท่านั้น กำหนด OKR โดยการฟังเสียงของคนทำงาน การตั้งเป้าหมายที่มีรากฐานมาจากข้อมูลในอดีตโดยการฟังเสียงของคนทำงานจริงช่วยให้บริษัทสามารถวิเคราะห์และประมาณการตั้ง OKR ที่เหมาะสม โดยไม่ง่ายเกินไปจนสำเร็จได้ง่ายๆ หรือท้าทายเกินไปจนหาหนทางแห่งความสำเร็จไม่เจอ และหากให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนด OKR ของตัวเองจะส่งผลดีต่อมากยิ่งขึ้น นอกจากที่ OKR จะทำให้ทุกคนเห็นภาพขององค์กรและความสำเร็จร่วมกันแล้ว ยังเสริมสร้างความเข้าใจต่องานที่ได้รับมอบหมายเพื่อบรรลุ OKR อย่างสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันจนกลายเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของธุรกิจคุณอีกด้วย สรุป...
August 4, 2022
·
August 4, 2022
< 1 min read
เมื่อพูดถึงการทำงานในยุคปัจจุบัน การเพิ่ม Productivity ให้กับตนเองกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ที่จะทำให้องค์กรเติบโตขึ้น แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าว และนี่คือ 7 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการสร้าง Productivity1.เงินเดือนเป็นสิ่งที่สะท้อน ProductivityProductivity เป็นเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และแน่นอนว่าย่อมมีเรื่องเงินเดือนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้พนักงานหรือแม้แต่ผู้บริหารองค์กรบางรายมองว่าเงินเดือนเป็นสิ่งที่สะท้อน Productivity ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกเสียทีเดียวเงินเดือนเป็นสิ่งที่มีการคำนวณจากปัจจัยต่างๆ มากมาย ทั้งตำแหน่งหน้าที่ ความคาดหวัง ไปจนถึงความสามารถ มีหลายกรณีที่พนักงานได้รับเงินเดือนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นแม้ว่าจะมี Performance ที่ดี การให้เงินเดือนสูงๆ จึงเป็นหนึ่งกลยุทธ์หลักในการรักษาไว้ซึ่งพนักงานที่มีความสามารถ แต่ไม่ว่าจะทำผลงานดีหรือไม่ พนักงานก็ยังคงได้รับเงินส่วนนี้เท่าเดิมเสมอ ดังนั้นจำนวนเงินเดือนจึงไม่ใช่เครื่องสะท้อน Productivity แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแรงจูงใจในการทำงานเท่านั้น2.Multitasking คือวิธีการทำงานที่ดีหลายคนน่าจะคุ้นชินกับการ Multitasking หรือหมายถึงการทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน แต่จากการศึกษาของ University of London พบว่าการทำงานแบบ Multitasking ไม่ได้มีส่วนช่วยให้คุณสามารถทำงานได้เสร็จไวขึ้น เพราะการทำงานแบบนี้ยังสร้างประสิทธิผลน้อยกว่าการจดจ่ออยู่กับการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้การทำงานสลับไปมาหลายงานในเวลาเดียวกันยังมีส่วนในการทำลายความคิดสร้างสรรค์และ IQ ซึ่งเป็นขุมพลังสำคัญของการสร้าง Productivity ในการทำงานอีกด้วย Table of Contents 3.Productivity เป็นสิ่งที่วัดได้ยาก“คนนั้นทำงานเก่ง คนนี้ทำงานดี” คำพูดเหล่านี้ทำให้ Productivity หรือผลิตผลมักอยู่ในรูปของนามธรรมทำให้หลายคนคิดว่าการวัดระดับ Productivity ออกมาเป็นรูปธรรมเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้อย่างเสมอภาค เพราะแต่ละตำแหน่งงานก็มีหน้าที่ สภาวะแวดล้อมและทักษะที่ใช้ในการทำงานซึ่งแตกต่างกันโดยในความจริงแล้ว การวัด Productivity เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ไม่ยากด้วยมาตราฐานการวัด Productivity แบบต่างๆ ผ่านการใช้กรอบแนวคิดที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น MBO KPI หรือ OKR ก็ล้วนเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะในการทำงานทั้งสิ้น4.คนเก่งต้องทำงานเองคนเดียวคนเก่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทุกบริษัทต้องการ แต่การเป็นคนเก่งที่ทำงานคนเดียวเท่านั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ตอบสนองต่อแนวคิด Productivity ได้ดีนัก เพราะการทำงานด้วยตัวคนเดียวมีข้อจำกัดด้านภาระงานที่สามารถรับผิดชอบได้การทำงานเป็นทีมจึงเป็นวิธีการทำงานที่ช่วยทลายข้อจำกัดในด้านของปริมาณภาระงานอันมากมายในโปรเจ็คใหญ่ๆ ซึ่งมักจะมีงานหลายประเภทและแต่ละงานก็เหมาะกับคนที่มีความถนัดแตกต่างกัน และการทำงานเป็นทีมยังช่วยพัฒนาทักษะในการบริหารความสัมพันธ์และการสื่อสาร ซึ่งต่างออกไปจากการทำงานเพียงคนเดียวอีกด้วย5.คนทำงานเก่งไม่จำเป็นต้องแสดงออกเก่งคุณเคยเจ็บใจหรือไม่เวลาเห็นคนทำงานไม่เก่งแต่มีทักษะการสื่อสารเป็นเลิศสามารถเสกงานแย่ๆ ให้กลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงได้ทันตาเห็น การแสดงออกเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจและประทับใจในงานของคุณมากยิ่งขึ้นดังนั้นหากเป็นคนที่ทำงานเก่งแล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องต่อยอดคือทักษะการพรีเซนต์ การแสดงออกต่อหน้าผู้คน และการสื่อสารอย่างมีคุณภาพเพื่อเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จต่างๆ ในอนาคต6.คนที่ทำงานมีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยสำหรับการทำงานในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ทุกคนใช้เครื่องมือช่วยเหลือในการทำงานแล้ว การไม่ใช้งานเครื่องมือช่วยอาจจะลด Productivity ในการทำงานลง เพราะเครื่องมือเหล่านี้สามารถร่นระยะเวลาในการทำงานที่มีรูปแบบตายตัวหรืองานที่ต้องทำเป็นประจำลงได้เป็นอย่างมาก ซึ่งงานซ้ำๆ จำเจพวกนี้นี่แหละ ที่ทำให้คุณไม่มีเวลาในการสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆ ดังนั้นหากมีเครื่องมือช่วยงานที่เหมาะสมกับลักษณะงานหรือสามารถเชื่อมโยงไอเดียที่แตกต่างของคุณกับทีมได้ ก็อย่ารีรอที่จะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่ม Productivity ให้กับงานของคุณเลย7.Productivity สำคัญที่สุดในการทำงานแน่นอนว่า Productivity เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้งานของคุณออกมามีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามการบริหารคุณภาพชีวิตให้มีความสมดุลและสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบตัวเอาไว้ได้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเพราะคุณภาพชีวิตที่ดี และการบริหารจัดการเวลาที่พอเหมาะจะส่งผลโดยตรงให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราดีขึ้น แน่นอนว่าสิ่งเหล่านั้นจะช่วยผลักดันคุณภาพการทำงาน ความสัมพันธ์ในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อทั้งตัวพนักงานและองค์กรในระยะยาวอีกด้วยสรุปแนวคิดการสร้าง Productivity ในแต่ละบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผลิตภาพของคนในบริษัทเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องถูกปูความเข้าใจตั้งแต่รากฐาน เพื่อทำให้เข้าใจภาพรวมตรงกันว่าเป้าหมายของบริษัทคืออะไร และทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ บุคลากรแต่ละคนจึงสามารถทำตนเองให้มี Productivity ได้อย่างเหมาะสมที่สุดแน่นอนว่าเครื่องมือเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน การมีตัวช่วยที่ดีสำหรับประชุมงานและการสื่อสารภายในทีมที่มีประสิทธิภาพจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เพิ่ม Productivity ในบริษัทได้อย่างชัดเจน ซึ่ง True VROOM เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของคุณได้มากขึ้น ตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ และทดลองใช้งานได้ฟรีที่ True VROOM