Articles
ในโลกยุคโควิดที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและรักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้การติดต่อสื่อสารหรือการทำงานร่วมกันมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพกายและสุขภาพใจที่น่ากลัวเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบ Work From Home ที่ทำให้พนักงานไม่สามารถแยกชีวิตระหว่างบ้านและที่ทำงานออกจากกันได้ จนก่อให้เกิดความเครียดสะสม และภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) หรือการขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงานก็อาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น Metaverse จึงเข้ามามีบทบาทในการแบ่งแยกชีวิตที่บ้านและที่ทำงานอย่างชัดเจน ช่วยทำลายกำแพงการสื่อสารระหว่างคุณกับเพื่อร่วมงาน รวมไปถึงช่วยเสกให้ไอเดียใหม่ๆ ของคุณกลายเป็นจริงในโลกเสมือนจริงได้อีกด้วย แล้ว Metaverse คืออะไร? จะมาช่วยเปลี่ยนอนาคตของโลกการทำงานได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ Table of Contents Metaverse คืออะไร? Metaverse คือ โลกเสมือนจริง (Virtual World) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งปัน โต้ตอบ และการแสดงปฏิสัมพันธ์ต่างๆ อย่างไร้รอยต่อของผู้คนทั่วโลก ทั้งการเล่นเกม การทำงาน การสร้าง-ซื้อ-ขายสินทรัพย์เสมือน และการพูดคุยหรือแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ โดยทั้งหมดสามารถทำได้ผ่าน "อวตาร" เสมือนจริง หากยังเห็นภาพไม่ชัดเจนคุณอาจลองนึกถึง Minecraft เกมแนวโลกเสมือนจริงขวัญใจผู้เล่นทั่วโลก การันตีด้วยด้วยยอดผู้เล่นมากถึง 100 ล้านบัญชีต่อเดือน ที่ผู้เล่นสามารถจำลองอวตารของตัวเอง และเลือกทำในสิ่งที่ผู้เล่นต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจโลก 3 มิติที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้ขีดจำกัด การค้นหาและเก็บเกี่ยววัตถุดิบเพื่อคราฟต์ไอเทม การสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ การตะลุยด่านหรือแข่งขันกับอวตารคนอื่น และเนื่องจากตัวเกมไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ Minecraft เป็นเกมที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นอย่างไม่จำกัด รวมไปถึงอิสระในการดัดแปลงระบบเกมอีกด้วย หรือจะเป็น Bondee แอปโซเชียลมีเดียที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ซึ่งภายในแอปจะนำเสนอ Metaverse ในแง่ของการสร้างปฏิสัมพันธ์ และจำลองการใช้ชีวิตร่วมกันกับเพื่อน โดยสามารถสร้างอวตารที่สื่อถึงตัวตนของผู้เล่น สร้างบ้านเพื่อให้เพื่อนมาเยี่ยมชม สร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วยการกดเพิ่มเพื่อน แชท แชร์สถานะ ส่งรูปภาพ และแชร์สตอรี่ นอกจากนี้ยังสามารถหาเพื่อนใหม่ด้วยการทิ้งข้อความไว้ในขวดกลางทะเล ให้ผู้เล่นคนอื่นที่เก็บขวดได้ทำความรู้จักคุณ จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า Metaverse สามารถเชื่อมต่อโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกดิจิทัลได้อย่างไร้รอยต่อ และเป็นเทคโนโลยีที่ผู้คนยอมรับและใช้อย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่องค์กรต่างๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทในโลก Metaverse รวมไปถึงการนำ Metaverse ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอีกด้วย เพราะฉะนั้นในส่วนถัดไปเราจะมาเจาะลึกโลกของการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปหลังจากนำ Metaverse เข้ามาพัฒนากัน 3 อนาคตของโลกการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนด้วย Metaverse 1. Work From Home จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไปด้วย Metaverse Metaverse ช่วยสร้างอวตารที่สามารถเลียนแบบประสบการณ์การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการพบปะและตอบโต้ระหว่างกันแบบเรียลไทม์ การกระทำระหว่างอวตารกับวัตถุดิจิทัล หรือการจัดประชุมในโลกเสมือนจริง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้โดยไม่รู้สึกเครียด นอกจากนี้อวตารของคุณจะสื่อถึงสถานะของคุณ เช่น พักกลางวัน อยู่ในที่ประชุม หรือติดธุระอื่น ทำให้คุณไม่ต้องกดดันตัวเองให้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาจากการทำงาน Work From Home Metaverse ยังช่วยให้สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้นจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานได้ดั่งใจอีกด้วย...
All articles
April 25, 2023
2 mins read
ในโลกยุคโควิดที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและรักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้การติดต่อสื่อสารหรือการทำงานร่วมกันมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพกายและสุขภาพใจที่น่ากลัวเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบ Work From Home ที่ทำให้พนักงานไม่สามารถแยกชีวิตระหว่างบ้านและที่ทำงานออกจากกันได้ จนก่อให้เกิดความเครียดสะสม และภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) หรือการขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงานก็อาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น Metaverse จึงเข้ามามีบทบาทในการแบ่งแยกชีวิตที่บ้านและที่ทำงานอย่างชัดเจน ช่วยทำลายกำแพงการสื่อสารระหว่างคุณกับเพื่อร่วมงาน รวมไปถึงช่วยเสกให้ไอเดียใหม่ๆ ของคุณกลายเป็นจริงในโลกเสมือนจริงได้อีกด้วย แล้ว Metaverse คืออะไร? จะมาช่วยเปลี่ยนอนาคตของโลกการทำงานได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ Table of Contents Metaverse คืออะไร? Metaverse คือ โลกเสมือนจริง (Virtual World) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งปัน โต้ตอบ และการแสดงปฏิสัมพันธ์ต่างๆ อย่างไร้รอยต่อของผู้คนทั่วโลก ทั้งการเล่นเกม การทำงาน การสร้าง-ซื้อ-ขายสินทรัพย์เสมือน และการพูดคุยหรือแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ โดยทั้งหมดสามารถทำได้ผ่าน "อวตาร" เสมือนจริง หากยังเห็นภาพไม่ชัดเจนคุณอาจลองนึกถึง Minecraft เกมแนวโลกเสมือนจริงขวัญใจผู้เล่นทั่วโลก การันตีด้วยด้วยยอดผู้เล่นมากถึง 100 ล้านบัญชีต่อเดือน ที่ผู้เล่นสามารถจำลองอวตารของตัวเอง และเลือกทำในสิ่งที่ผู้เล่นต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจโลก 3 มิติที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้ขีดจำกัด การค้นหาและเก็บเกี่ยววัตถุดิบเพื่อคราฟต์ไอเทม การสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ การตะลุยด่านหรือแข่งขันกับอวตารคนอื่น และเนื่องจากตัวเกมไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ Minecraft เป็นเกมที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นอย่างไม่จำกัด รวมไปถึงอิสระในการดัดแปลงระบบเกมอีกด้วย หรือจะเป็น Bondee แอปโซเชียลมีเดียที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ซึ่งภายในแอปจะนำเสนอ Metaverse ในแง่ของการสร้างปฏิสัมพันธ์ และจำลองการใช้ชีวิตร่วมกันกับเพื่อน โดยสามารถสร้างอวตารที่สื่อถึงตัวตนของผู้เล่น สร้างบ้านเพื่อให้เพื่อนมาเยี่ยมชม สร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วยการกดเพิ่มเพื่อน แชท แชร์สถานะ ส่งรูปภาพ และแชร์สตอรี่ นอกจากนี้ยังสามารถหาเพื่อนใหม่ด้วยการทิ้งข้อความไว้ในขวดกลางทะเล ให้ผู้เล่นคนอื่นที่เก็บขวดได้ทำความรู้จักคุณ จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า Metaverse สามารถเชื่อมต่อโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกดิจิทัลได้อย่างไร้รอยต่อ และเป็นเทคโนโลยีที่ผู้คนยอมรับและใช้อย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่องค์กรต่างๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทในโลก Metaverse รวมไปถึงการนำ Metaverse ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอีกด้วย เพราะฉะนั้นในส่วนถัดไปเราจะมาเจาะลึกโลกของการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปหลังจากนำ Metaverse เข้ามาพัฒนากัน 3 อนาคตของโลกการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนด้วย Metaverse 1. Work From Home จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไปด้วย Metaverse Metaverse ช่วยสร้างอวตารที่สามารถเลียนแบบประสบการณ์การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการพบปะและตอบโต้ระหว่างกันแบบเรียลไทม์ การกระทำระหว่างอวตารกับวัตถุดิจิทัล หรือการจัดประชุมในโลกเสมือนจริง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้โดยไม่รู้สึกเครียด นอกจากนี้อวตารของคุณจะสื่อถึงสถานะของคุณ เช่น พักกลางวัน อยู่ในที่ประชุม หรือติดธุระอื่น ทำให้คุณไม่ต้องกดดันตัวเองให้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาจากการทำงาน Work From Home Metaverse ยังช่วยให้สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้นจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานได้ดั่งใจอีกด้วย ลองจินตนาการว่าคุณเดินเข้าไปทำงานในโลกเสมือนจริง หลังจากนั้นก็เริ่มพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานริมชายหาด แวะไปทานอาหารกลางวันที่โตเกียว แล้วกลับมาประชุมกับหัวหน้าที่สถานีอวกาศ เท่านี้ก็ทำให้การทำงานในแต่ละวันของคุณไม่น่าเบื่ออีกต่อไป หากคุณต้องการการประชุมที่สะดวกสบายแม้ว่าเพื่อนำมาปรับใช้ในองค์กร True VROOM ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดี เพราะเป็นแพลตฟอร์มห้องประชุมเสมือนจริงที่ถูกสร้างมาเพื่อตอบโจทย์คนไทย ใช้งานง่าย มีฟีเจอร์มากมายที่จะช่วยให้คุณประชุมไม่สะดุด ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ไอเดียด้วยไวท์บอร์ดเสมือนจริง การแชร์เอกสารหรืองานนำเสนอผ่านหน้าจอ ห้องล่ามแปลภาษา และช่องแชตแบบเรียลไทม์ ช่วยให้คุณทำงานราบรื่นขึ้น และเปลี่ยนออฟฟิศคุณสู่ Hybrid Workplace อย่างเต็มตัว 2. Metaverse ช่วยให้พนักงานทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น การทำงานในช่วงโรคระบาดส่งผลให้พนักงานต้องทำงานจากที่บ้าน ไม่สามารถพบปะเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวและถูกตัดขาดทางสังคม เพราะฉะนั้น Metaverse จึงเข้ามามีบทบาทในการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย และลูกน้อง โดยยกระดับการเชื่อมต่อทางสังคมด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันในโลกเสมือนจริง และการแบ่งปันความคิดเห็นในสังคมออฟฟิศเสมือนจริง ซึ่งสามารถสร้างโอกาศการมีส่วนร่วมได้มากกว่าการทำงานระยะไกลทั่วไป โดยเฉพาะพนักงานบางคนที่ไม่ชอบการปรากฎตัวบนกล้องเวลาประชุม หากต้องถูกบังคับให้เปิดกล้องเพื่อมีส่วนร่วมก็อาจสร้างความไม่พอใจแก่พนักงานคนนั้นได้ การสร้างอวตารบน Metaverse จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับปัญหานี้ นอกจากนี้ Metaverse ยังสนับสนุนการทำงานแบบเปิดกว้าง ไร้ขอบเขตอีกด้วย เช่น หากคุณและทีมได้รับโจทย์ให้ออกแบบแพคเกจผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท คุณและทีมสามารถเทเลพอร์ตอวตารไปยังพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Musée du Louvre) เพื่อหาแรงบันดาลใจได้ วิธีนี้ยังนำไปสู่การออกแบบและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงสร้างทีมเวิร์กที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น 3. เรียนรู้และพัฒนาทักษะได้เร็วขึ้นใน Metaverse Metaverse สามารถใช้สำหรับฝึกอบรมหรือพัฒนาทักษะทางไกลได้ โดยพนักงานจะได้ฝึกฝนในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงและปลอดภัย ส่งผลให้พนักงานเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายอุตสาหกรรมที่รับเทคโนโลยี Metaverse มาปรับใช้กับการฝึกอบรมบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีการผ่าตัด Medivis ที่กำลังใช้เทคโนโลยี HoloLens ของ Microsoft มาฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ หรือบริษัทผลิตยานยนต์ Ford Motor Company ที่บุกเบิกเครื่องมือฝึกอบรม VR โดยใช้ชุดหูฟัง Oculus Quest ฝึกอบรมช่างเทคนิคเกี่ยวกับการบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้การฝึกอบรมบน Metaverse ยังเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำเสมือนจริง ส่งผลให้ผู้อบรมมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมมากยิ่งขึ้น ได้พัฒนาทักษะใหม่ๆ จากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าการฝึกอบรมในชั้นเรียน สรุป Metaverse คือ โลกเสมือนจริงที่ช่วยขยายขีดจำกัดในการทำงานไปอีกขั้น ช่วยให้การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณและเพื่อร่วมงานราบรื่นแม้ไม่ได้เห็นหน้ากัน ลดความตึงเครียดระหว่างการทำงานด้วยการจำลองสภาพแวดล้อมที่น่าตื่นตา และช่วยเร่งพัฒนาทักษะอาชีพผ่านเกมหรือการฝึกอบรมเสมือนจริงที่ปลอดภัย จะเห็นได้ว่า Metaverse ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงและเชื่อมโยงชีวิตประจำวันกับชีวิตการทำงานได้อย่างแนบเนียนจนได้รับความนิยมในวงกว้าง นอกจากนี้ยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายเริ่มนำ Metaverse มาใช้ในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบแล้ว เพราะฉะนั้นคุณจะเป็นคน “เริ่ม” หรือจะเป็นคน “รอ” การเปลี่ยนแปลงนี้? หากคุณต้องการให้พนักงานขององค์กรคุ้นชินกับเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบใหม่ การนำแพลตฟอร์มการสื่อสารและการทำงานบนโลกออนไลน์ไปปรับใช้ในการทำงานจริงย่อมเป็นสิ่งจำเป็น โดย True VWORK และ True VROOM เป็นสองแพลตฟอร์มการทำงานสำคัญ ที่ครอบคลุมทั้งการจัดการการทำงาน การสื่อสารองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้ชีวิตคุณง่าย ไม่มีสะดุด พร้อมบริการซัพพอร์ตต่างๆ มากมาย...
April 24, 2023
2 mins read
AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเรียนรู้ วิเคราะห์ จนไปถึงคาดการณ์ข้อมูลที่มีความซับซ้อนเกินกว่าขีดจำกัดของมนุษย์กำลังเข้ามามีบทบาทในโลกธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ โดย International Data Corporation (IDC) ได้คาดการณ์ว่าบริษัทต่างๆ จะมีการใช้งานปัญญาประดิษฐ์มากถึง 500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราวๆ 16,365 พันล้านบาท) ภายในปี 2024 เพื่อรับมือกับการเข้ามาของเทคโนโลยีเหล่านี้ Tyler Weitzman ประธานบริษัทและหัวหน้าฝ่าย AI บริษัท Speechify ได้ให้สัมภาษณ์ถึง 5 สิ่งที่ผู้บริหารควรรู้ เมื่อ AI จะเข้ามาพลิกโฉมธุรกิจปี 2023 Table of Contents 1. พนักงานไม่ต้องทำงานรูทีนอีกต่อไป งานรูทีนหรืองานเล็กๆ น้อยๆ ที่ซ้ำซากและไม่ค่อยมีความสำคัญจะถูกทำโดย AI ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรมีเวลาในการทุ่มเทกับงานที่ต้องใช้ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะงานฝ่ายบริการลูกค้าซึ่งโดยปกติแล้วจำเป็นต้องมีพนักงานคอยให้บริการตอบข้อสงสัยของลูกค้าทีละคน แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยี Chatbot ที่สามารถโต้ตอบกับลูกค้าพร้อมกันหลายๆ คนได้อย่างเป็นธรรมชาติตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจากการศึกษาของ American Marketing Association พบว่าการใช้งาน Chatbot นั้นสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้จริง จนนำมาสู่ผลประกอบการณ์ที่ดีขึ้น 2. ตัดสินใจได้เฉียบยิ่งขึ้นด้วยการวิเคราะห์จาก AI ข้อมูลจากการทำงานขององค์กรสามารถสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มต่างๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่ด้วยปริมาณข้อมูลมหาศาล การคิดวิเคราะห์ของมนุษย์เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถมองเห็นความเป็นไปได้ต่างๆ ได้ครอบคลุมและละเอียดแม่นยำเท่ากับการใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วย การใช้งาน AI เพื่อวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ร่วมกับวิจารณญาณของผู้บริหารจึงช่วยให้การตัดสินใจขององค์กรมีความแม่นยำ รวดเร็วและทันต่อยุคสมัยมากยิ่งขึ้น 3. Productivity ในการทำงานที่สูงขึ้น ด้วยการสนับสนุนของ AI ที่ช่วยจัดการกับงานรูทีนมากมาย กระบวนการทำงานโดยรวมขององค์กรจะมีความราบรื่นและมี Productivity ที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านปริมาณงานที่สำเร็จมากขึ้นภายใต้เวลาเท่าเดิม หรือด้านคุณภาพงานที่สูงขึ้นจากการที่พนักงานสามารถทุ่มเทให้กับงานยากๆ ได้มากกว่าเดิม ซึ่งองค์กรสามารถนำปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้มาช่วยงานได้ในหลายแง่มุม ตัวอย่างเช่นบริษัท Dtac ซึ่งนอกจากจะนำแชทบอทมาช่วยในการบริการลูกค้าแล้ว ยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของลูกค้าจากประวัติการสั่งซื้อเพื่อให้สามารถเสนอขายบริการที่ตรงใจลูกค้าได้มากขึ้น จนไปถึงการใช้ AI ตรวจสอบเอกสารสำคัญที่ใช้ในการยืนยันตัวตนลูกค้าเพื่อการเก็บฐานข้อมูลลูกค้าที่รวดเร็วและแม่นยำอีกด้วย 4. AI ช่วยเลือกคนที่ใช่สำหรับองค์กร การคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานแบบดั้งเดิมนั้น HR จำเป็นที่จะต้องทำงานหลายขั้นตอน ทั้งการประกาศรับผู้สมัคร การอ่านเรซูเม่ที่มีความแตกต่างหลากหลาย จนไปถึงการสัมภาษณ์รายบุคคลเพื่อให้ได้ผู้สมัครที่มีความสามารถและเข้ากับองค์กรมากที่สุด ซึ่งวิธีการเดิมๆ เหล่านี้นอกจากจะใช้ทรัพยากรเวลามากแล้วยังอาจก่อให้เกิดการอคติส่วนบุคคลได้ง่ายอีกด้วย การเข้ามาของ AI ด้าน HR ที่สามารถช่วย HR ในกระบวนการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของผู้สมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นหนึ่งตัวช่วยที่เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดหาพนักงานเป็นอย่างมาก โดยปัญญาประดิษฐ์สามารถรวบรวมและหารูปแบบของข้อมูลต่างๆ ของผู้สมัครให้ออกมาในรูปแบบที่ HR สามารถเข้าใจได้ง่ายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในเรซูเม่ ในโซเชียลมีเดียหรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ผู้สมัครแต่ละคนโต้ตอบกับ HR Chatbot ประจำองค์กร ส่งผลให้ HR ใช้เวลาในการคัดเลือกผู้สมัครที่เหมาะสมสั้นลง ซึ่งหมายความว่าช่วงเวลาที่กระบวนการทำงานติดขัดเพราะขาดคนทำงานก็จะน้อยลงเช่นกัน 5. มุ่งสู่ Customer-Centric Approach Customer-Centric Approach (การทำธุรกิจโดยมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง) เป็นแนวทางการทำธุรกิจที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ด้วยการทำความเข้าใจความต้องการของพวกเขาและให้บริการในสิ่งที่ตอบโจทย์ กลยุทธ์ทางธุรกิจแบบนี้ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากลูกค้าได้รับการเติมเต็มความต้องการที่ตรงจุดและเกิดความพึงพอใจจนกลับมาใช้บริการซ้ำ จากการศึกษาของ Qualtrics XM Institute 2021 มากกว่า 60% ของผู้บริโภคต้องการให้ธุรกิจให้ความสำคัญกับความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค และพวกเขายินดีที่จะซื้อสินค้าและใช้บริการจากแบรนด์ที่ยอมทำ Customer-Centric Approach ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ พยายามมุ่งสู่ Customer-Centric Approach โดย AI ก็เป็นเทคโนโลยีหลักที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคนผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การนำเสนอวิดิโอของ TikTok ที่จะเลือกแนะนำคลิปตามประวัติการรับชมและข้อมูลของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น หรือการยิงโฆษณาสินค้าในแอพพลิเคชั่น Lazada ที่ลูกค้าจะได้เห็นสินค้าที่เคยกดค้นหาหรือกดใส่ตระกร้าเอาไว้ซ้ำๆ เพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อ สรุป การเข้ามาของ AI มีประโยชน์ต่อการทำงานในหลากหลายแง่มุม ในฐานะผู้บริหารแล้ว หากสามารถเตรียมรับมือกับการเข้ามาของเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อมาปรับใช้กับการบริหารองค์กรได้ ก็จะช่วยให้คุณก้าวไปอีกขั้นสู่ความสำเร็จในโลกธุรกิจ โดยการเลือกแพลตฟอร์มการทำงานที่มีคุณภาพตั้งแต่เริ่มต้นย่อมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเรื่องนี้ True VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มการทำงานที่ครบครันในทุกฟังก์ชัน ช่วยสนับสนุนทุกการก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภายในองค์กรของคุณในยุคสมัยของ AI พร้อมตอบสนองทุกความต้องการในการใช้งานไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กหรือองค์กรใหญ่ สามารถเข้าดูรายละเอียดของเราได้ที่ True VWORK อ้างอิง forbes pttexpresso aigencorp marketeeronline longtunman thaiwinner
April 24, 2023
< 1 min read
Retrospective เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการประชุมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงบ่อยครั้งในยุคสมัยที่การสื่อสารเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนเริ่มมีทัศนคติที่เปิดกว้างมากขึ้น ยอมรับปัญหามากขึ้น การประชุมแบบ “เจาะลึก” ไปถึงแกนของปัญหาและทำการแก้ไขจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญทำความรู้จักกับการประชุมประเภทนี้แบบสั้นๆ พร้อมกับวิธีเตรียมการประชุมอย่างง่ายที่สามารถปรับใช้ในทีมได้ทันที ที่นี่! Table of Contents เจาะลึกเกี่ยวกับการประชุม RetrospectiveRetrospective คือ แนวทางการประชุมที่เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยน feedback การทำงานของทีมภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาเพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปอย่างซื่อตรงมากที่สุด โดยมีเป้าหมายในการประชุมเป็นการค้นหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมการประชุม Retrospective มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในทีมจะได้ทบทวนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของทีมในช่วงเวลาที่ผ่านมาร่วมกันอย่างเป็นระบบภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety)โดยในแต่ละการประชุมจะประกอบไปด้วยผู้ทำงานและบุคคลที่มีตำแหน่ง Scrum Master ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มาจากแนวคิดแบบ Scrum ที่มักจะมาคู่กับกรอบแนวคิดแบบ Agile เป็นผู้ควบคุมทิศทางการสนทนาให้อยู่ในเชิงบวก คอยตั้งประเด็นคำถาม จนไปถึงอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้กับการประชุม ส่งผลให้ทีมสามารถช่วยกันวางแผนเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานได้ตรงจุดและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น5 ขั้นตอน ประชุม Retrospective เพื่อการใช้งานจริง1. เตรียมความพร้อมขั้นตอนแรกในการประชุม Retrospective เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด คือการเตรียมความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ สถานที่และผู้เข้าร่วมการประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเตรียมบรรยากาศให้มีความผ่อนคลายและเหมาะกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้คน สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการเล่าเรื่องราวน่าสนุกหรือการเล่นเกมสบายๆ เพื่อลดช่องว่างระหว่างบุคคลและสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ ช่วยให้ผู้คนกล้าที่จะกล่าวถึงปัญหาที่พบในการทำงานอย่างตรงไปตรงมา กล้าขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ไม่สามารถรับมือได้ จนไปถึงกล้านำเสนอไอเดียแปลกใหม่อย่างไม่กลัวคำวิจารณ์ระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 15 นาที2. รวมรวมข้อมูลการรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี จะเป็นการสอบถามความคิดเห็นของผู้ทำงานแต่ละคนโดยตรงแล้วจึงให้ตอบด้วยปากเปล่า หรือจะสอบถามด้วยการแจก Post-it แล้วให้เวลาพวกเขาในการเรียบเรียงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในมุมมองของตัวเองพร้อมๆ กัน เพื่อตอบแต่ละคำถามที่ได้รับจาก Scrum Master (ผู้ดำเนินกิจกรรม และอำนวยความสะดวกของทีม) ลงในกระดาษก็สามารถทำได้ประเด็นสำคัญคือจะต้องใช้ชุดคำถามที่ทรงพลังหมายความว่าต้องกระชับแต่สื่อความหมายได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น ชุดคำถาม Four Ls ซึ่งประกอบไปด้วยWe liked: สิ่งที่ชอบและอยากให้เกิดขึ้นอีกWe learned: การเรียนรู้ใหม่และบทเรียนสำคัญที่ผ่านมาWe longed for: สิ่งที่ปราถนาจะให้เกิดขึ้น แต่ยังไม่เกิดWe loathed: สิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นและไม่อยากให้เกิดขึ้นซ้ำระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 30 นาที3. คัดเลือกประเด็นสำคัญขั้นตอนต่อมาหลังจากการรวบรวมกระดาษ Post-it ที่มีคำตอบ คือการจัดหมวดหมู่ปัญหาที่มีความใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน โดย Scrum Master จะเป็นผู้อธิบายปัญหาแต่ละกลุ่ม แล้วจึงเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยในรายละเอียดของแต่ละประเด็นปัญหาก่อนการโหวตเลือกปัญหาที่ทีมต้องการให้ความสำคัญมากที่สุด เพื่อที่จะหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันในขั้นตอนต่อไประยะเวลาที่ใช้ประมาณ 20 นาที 4. หาวิธีแก้ไขปัญหาและตัดสินใจร่วมกันเมื่อเลือกปัญหาที่ต้องการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว สมาชิกทุกคนในทีมจึงช่วยกันระดมสมอง (Brainstorm) เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาจแจกโพสอิทอีกหนึ่งรอบเพื่อให้ทุกคนได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง คิดและเขียนวิธีการแก้ปัญหาออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการระดมสมองแบบนี้นอกจากจะทำให้สมาชิกทุกคนมีสิทธิในการออกความคิดเห็นได้เท่ากันแล้ว งานวิจัยจาก Northwestern University ยังได้กล่าวว่าการระดมสมองผ่านการเขียนยังสามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าการระดมสมองทั่วไปถึง 42% อีกด้วย จากนั้นจึงเปิดโหวตเพื่อเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดมาเป็น Action item ของทีมระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 20 นาที5. สรุปการประชุมในช่วงสุดท้ายของการประชุม ผู้ที่เป็น Scrum Master ควรสรุปการประชุมทั้งหมดอีกครั้งว่าอะไรคือประเด็นที่ทีมเลือกจะพัฒนาในการทำงานรอบต่อไป ทีมมีแนวทางการแก้ไขอย่างไรและใครในทีมรับผิดชอบหน้าที่ใดเพิ่มเติมบ้าง จากนั้นจึงกล่าวปิดการประชุมด้วยการขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกคนที่เปิดใจในการแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการทำงานของทีมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 5 นาที เก็บ Insight ด้วยเทคนิคการประชุม Retrospectiveการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยทางจิตใจถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากสำหรับการประชุม Retrospective โดยหนึ่งเคล็ดลับในการประชุมที่ช่วยสร้างความสบายใจให้ผู้เข้าร่วม คือให้เชิญเฉพาะคนทำงานภายในทีมเท่านั้น ไม่ควรสร้างความกดดันในการแสดงความคิดเห็นให้กับผู้เข้าร่วมด้วยการพาหัวหน้างานมาประชุม และไม่ควรข้ามขั้นตอนการละลายพฤติกรรม ณ ตอนต้นการประชุมเพื่อประหยัดระยะเวลา เพราะอาจทำให้การประชุมครั้งนั้นไม่มีประสิทธิผลมากเท่าที่ควรจะเป็นสรุปการประชุม Retrospective เป็นหนึ่งวิธีการง่ายๆ แต่ทรงพลังที่นอกจากจะช่วยให้ทีมมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังทำให้ทราบปัญหาในการทำงานจริงที่ทำให้แก้ไขปัญหาได้ถูกจุดอีกด้วย และสำหรับยุคสมัยที่ต้องการการประชุมแบบมีประสิทธิภาพTrue VROOM จาก True VWORLD ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการประชุมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีฟังก์ชันครบครัน สะดวกรวดเร็ว พร้อมตอบสนองทุกความต้องการของคนในทีม ช่วยให้คุณจัดการประชุม Retrospective อย่างราบรื่น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM บริการการประชุมยุคใหม่เพื่อคุณโดยเฉพาะ อ้างอิงmedium.combrightsidepeople
April 24, 2023
2 mins read
หากบริษัทต้องการประสบความสำเร็จในแวดวงธุรกิจ แน่นอนว่าจะต้องมีการตั้งเป้าหมายเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จนั้น แต่จุดมุ่งหมายของความสำเร็จคืออะไร? และแผนปฎิบัติเพื่อประสบความสำเร็จนั้นมีอะไรบ้าง? สิ่งเหล่านี้คือสิ่งสำคัญและต้องทำให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดเพื่อให้คนในบริษัทเห็นภาพชัดเจนและเข้าใจตรงกัน การตั้ง SMART Goal จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนบริษัทให้บรรลุเป้าหมายในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จัก SMART Goal ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งความหมายและประโยชน์ของ SMART Goal รวมไปถึงวิธีการทำ SMART Goal ของบริษัทกัน Table of Contents SMART Goal คืออะไร? SMART Goal คือ การตั้งเป้าหมายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ โดยมีกรอบอ้างอิง (Framwork) เพื่อช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายและบรรลุผลลัพธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งที่ชี้เฉพาะ (Specific), สามารถวัดผลได้ (Measurable), มีความเป็นไปได้ (Achievable), สอดคล้องกับเป้าหมาย (Relevant), และมีระยะเวลาที่ชัดเจน (Time-based) ทำไมบริษัทควรนำ SMART Goal มาปฏิบัติ บางครั้งคุณอาจเคยเจอการตั้งเป้าหมายของบริษัทที่คลุมเครือและไม่มีทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการเพิ่มผลประกอบการ หรือการขยายสาขาเพิ่ม ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ไม่มีกลยุทธ์นี้ส่งผลให้บริษัทพบกับความล้มเหลวมานับไม่ถ้วน ดังนั้นบริษัทจึงควรตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goal เพื่อช่วยให้คุณและทีมสามารถขัดเกลาแนวคิด รู้แนวทางปฏิบัติ และสามารถจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย รวมไปถึงยังสามารถระบุจุดแข็ง-จุดอ่อนในการทำงาน และช่วยจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย นอกจากนี้ SMART Goal ยังช่วยส่งเสริมความโปร่งใสในการทำงาน ช่วยให้พนักงานทุกคนเข้าใจความรับผิดชอบของตนเอง และเมื่อพนักงานมีจุดโฟกัสที่ชัดเจนและสามารถติดตามความคืบหน้าได้แล้วก็จะมีแรงจูงใจในการทำงานมากยิ่งขึ้นนั่นเอง เมื่อรู้แล้วว่า SMART Goal มีประโยชน์อย่างไร ในส่วนถัดไปเราจะมาพูดถึงองค์ประกอบการตั้ง SMART Goal กันว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด องค์ประกอบ 5 ประการของ SMART Goal 1. S - Specific เป้าหมายของคุณควรเป็นสิ่งที่ชี้เฉพาะ ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ และมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์เฉพาะเจาะจง เพราะฉะนั้นก่อนตั้งเป้าหมายคุณควรตอบคำถามให้ได้ว่าคุณต้องการบรรลุผลลัพธ์อะไร และเพื่อช่วยให้คำตอบของคุณชัดเจนยิ่งขึ้น หลักการ 5W จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่คุณควรพิจารณาควบคู่ไปกับการกำหนดคำตอบของคุณอยู่เสมอ ซึ่งประกอบไปด้วย Who (ใคร) - ใครมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายนี้? คำถามนี้สำคัญมากหากคุณมีทีมงานเข้ามาเกี่ยวข้อง What (อะไร) - คุณต้องการทำอะไรให้สำเร็จ? ควรระบุได้อย่างแม่นยำและชัดเจน Where (ที่ไหน) - เป้าหมายนี้สามารถทำให้สำเร็จได้ที่ไหนบ้าง? When (เมื่อไร) - ช่วงระยะเวลาในการทำเป้าหมายให้ประสบความสำเร็จ โดยคุณควรมีกรอบเวลาอย่างชัดเจน Why (ทำไม) - ทำไมถึงต้องการทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ? ตัวอย่างการระบุเป้าหมายแบบ SMART Goal: แทนที่จะกำหนดว่า “บริษัทต้องการเพิ่มอัตราความพึงพอใจในการใช้บริการของลูกค้า” ควรเปลี่ยนมาเป็นเป้าหมายที่ SMART มากยิ่งขึ้นด้วยการกำหนดว่า “บริษัทต้องการเพิ่มคุณภาพการบริการลูกค้า ทั้งในด้านความรวดเร็วและความสุภาพของพนักงาน รวมไปถึงอบรมให้พนักงานเข้าใจในงานบริการของบริษัทให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราความพึงพอใจของลูกค้า 90% ภายในระยะเวลา 6 เดือน” 2. M - Measurable SMART Goal จะต้องวัดผลได้ โดยต้องระบุวิธีการและเกณฑ์ในการประเมินความคืบหน้า เพื่อให้คุณและทีมสามารถติดตามผลงานได้ครบถ้วน ในขณะเดียวกันการวัดผลนี้ยังช่วยให้คุณและทีมมั่นใจได้ว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้สามารถจับต้องและทำให้สำเร็จได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้การประเมินความคืบหน้ายังช่วยให้คุณและทีมมองเห็นงานย่อยที่คุณหรือทีมต้องทำในจุดต่างๆ ด้วย 3. A - Achievable SMART Goal ต้องเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย แต่สามารถเป็นจริงได้ เพื่อกระตุ้นคุณและทีมให้คิดหาแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยคุณสามารถประเมินว่าเป้าหมายจะบรรลุผลได้หรือไม่จากระยะเวลาของเป้าหมาย งบประมาณ และความพร้อมของทรัพยากร 4. R - Relevant เป้าหมายควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจ และสอดคล้องกับพันธกิจของบริษัท โดยการตั้งเป้าหมายที่ดีไม่ควรเป็นเพียงโจทย์ที่ต้องทำ แต่ควรเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้แก่บริษัทได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่คุณกำหนดเป้าหมายแบบ SMART Goal คุณควรคำนึงถึงความคุ้มค่าในการทำ จำนวนทรัพยากรและเวลาที่จะทำให้เป้าหมายออกมาสำเร็จ รวมไปถึงสถานการณ์ ณ ตอนนั้นว่าเหมาะสมที่จะลงมือทำหรือไม่ เช่น หากคุณต้องการเพิ่มยอดขาย 50% ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เป้าหมายนี้ก็อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ ทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนและไม่สร้างประโยชน์ใดๆ ให้แก่บริษัท 5. Time-based การตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goal ควรมีกรอบเวลาที่ชัดเจน และเป็นระยะเวลาที่เป็นจริงได้ โดยต้องประเมินควบคู่ไปกับทรัพยากรที่คุณมี หากคุณไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เป้าหมายนั้นก็จะกลายเป็นเป้าหมายที่เลื่อนลอย คุณจะผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ และจะกลายเป็นเป้าหมายที่ไม่สำคัญในที่สุด เพราะคุณไม่มีแรงจูงใจในการทำให้สำเร็จตามกรอบเวลา เพราะฉะนั้นการกำหนดกรอบเวลาในการทำจึงเป็นตัวช่วยพลักดันให้คุณกระตือรือร้นและรู้สึกต้องทำมันอย่างเร่งด่วน ซึ่งจะส่งผลให้คุณเข้าใกล้ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น เทคนิคการกำหนดกรอบเวลาแบบ SMART Goal: นอกจากจะกำหนดกรอบเวลาใหญ่ในการทำให้เป้าหมายบรรลุผลแล้ว คุณควรกำหนดกรอบเวลาเล็กๆ สำหรับเป้าหมายเล็กๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ด้วย เพื่อให้คุณสามารถติดตามผลการดำเนินการได้อย่างใกล้ชิด และมีกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายใหญ่ของคุณต้องใช้เวลา 1 ปีในการบรรลุผล คุณควรกำหนดเป้าหมายเล็กเพิ่มเติมว่าภายใน 4 เดือน หรือ 8 เดือนคุณต้องทำอะไรให้สำเร็จก่อน สรุป SMART Goal ไม่ใช่แค่การตั้งเป้าหมายธรรมดาๆ แต่เป็นการตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ผ่านกระบวนการชี้เฉพาะเป้าหมาย การประเมินและการวัดผล การพิจารณาความสอดคล้องและความคุ้มค่า และการกำหนดกรอบเวลาแห่งความสำเร็จ ซึ่งแน่นอนว่าการทำ SMART Goal ของบริษัทเป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้นจากการกำหนดหรือตัดสินใจของบุคคลเพียงคนเดียว เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการระดมความคิดจากคนในทีม และมีการประสานงานที่ราบรื่น ซึ่ง True VWORK ก็มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี โดยช่วยให้คุณและทีมแชทหรือวิดีโอคอลได้ตลอดเวลา บรอดแคสต์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างไม่มีสะดุด มอบหมายและติดตามสถานะการทำงานของทีมได้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมายที่เป็นตัวช่วยให้คุณสามารถทำงานร่วมกับทีมได้อย่าง SMART อีกด้วย...
April 19, 2023
·
April 19, 2023
5 mins read
Transform Idea Pitching Online with Virtual Space powered by SPOT The Society of Medical Students of Thailand (SMST), under the patronage of His Majesty the King, utilized the Virtual Space platform powered by SPOT from True VWORLD to organize an online event aimed at enhancing the skill set of medical students throughout Thailand. This platform offers exceptional features that enable participants to create their avatars, decorate their workspace, communicate with others, and share their screen in real-time using their camera. Founded: 1991 Location: Thailand Industry: Non-Profit Challenges: The Society of Medical Students of Thailand (SMST) under the patronage of His Majesty the King decided to organize an online event to develop skills for medical students across the country with no restrictions on locations. The team was looking for a solution that included features that would allow participants to communicate with each other just like in a physical seminar. In the past year, they had organized online activities during the pandemic but encountered a problem the participants left the video open but did not really participate in the online event. Therefore, the team has organized the seminar as parallel sessions at the same time. The chosen platform must also be able to meet this issue. Solution: The Virtual Space powered by SPOT, supported by True VWorld, was chosen as the primary event space for the seminars, allowing participants to actively engage with each other. Benefits: The use of Virtual...
March 29, 2023
2 mins read
ในยุคที่มีการแข่งขันทางการตลาดอย่างเข้มข้น แน่นอนว่าแต่ละแบรนด์พยายามหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า และเพิ่มกำไรให้องค์กรของตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ยอดฮิตที่หลายๆ แบรนด์หันมาใช้กันก็คือการขยายช่องทางการขายผ่านไลฟ์สดนั่นเอง เพราะการไลฟ์สดช่วยให้แบรนด์ลงทุนน้อยลง แต่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสะดวกต่อการโปรโมต การขยายไลน์สินค้า และนำเสนอสินค้าใหม่ให้กับลูกค้าอีกด้วย แต่การไลฟ์สดให้ปังไม่ใช่แค่การกดปุ่ม "ถ่ายทอดสด" เท่านั้น เพราะฉะนั้นบทความนี้จึงมีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่สนามแห่งการไลฟ์สด และคว้าชัยชนะมาไว้ในมือได้อย่างมั่นใจ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูเคล็ด(ไม่)ลับ ที่จะช่วยให้คุณดึงดูดผู้ชมได้อยู่หมัด พร้อมสร้างยอดขายให้เติบโตผ่านการไลฟ์สดกันเลย Table of Contents เคล็ดลับที่ 1 : ทีมเวิร์กช่วยให้ไลฟ์สดประสบความสำเร็จ ทุกคนมีส่วนช่วยให้งานออกมาสำเร็จ เพราะฉะนั้นคุณจึงควรให้ความสำคัญกับทีมเวิร์กและการประสานงานที่ราบรื่นตลอดการทำงาน โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผน, การกำหนดหน้าที่และผู้รับผิดชอบส่วนต่างๆ, การสื่อสารเพื่ออัปเดตความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดประชุมทีมเพื่อเน้นย้ำแผนและสิ่งสำคัญอื่นๆ, การรายงานปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและวิธีขอความช่วยเหลือหากต้องการ รวมไปถึงการตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการไลฟ์สดทุกคนไม่ได้ลาหยุดหรือลาพักร้อนในวันไลฟ์สด ซึ่งการจะทำงานและประสานงานอย่างราบรื่นได้คุณควรมีเครื่องมือในการประสานงาน เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสารไร้รอยต่อ ไม่ว่าทีมจะทำงานจากที่บ้านหรือที่ทำงานก็สามารถพูดคุยอัปเดตสถานการณ์ได้แบบเรียลไทม์ โดย True VWORK เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะมีทั้งฟีเจอร์ Communication Hub ที่จะช่วยให้คุณและทีมคุยหรือวิดีโอคอลหากันได้ทุกที่, Task Management ที่สามารถมอบหมายและติดตามสถานะการทำงานของทีมได้ และ Staff Directory ที่ช่วยบริการจัดการทีมจากระยะไกล ซึ่งรวมไปถึงบริหารวันลาหยุดด้วย เคล็ดลับที่ 2 : วางแผนคอนเทนต์ดี ไลฟ์สดก็มีชัยไปกว่าครึ่ง แน่นอนว่าการเริ่มไลฟ์สดในแต่ละครั้ง ผู้ดำเนินการไลฟ์ต้องมีเป้าหมายในการไลฟ์อยู่แล้ว แต่จะสื่อสารไปถึงผู้ชมได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการวางแผนคอนเทนต์ว่าครอบคลุม ชัดเจน และตอบโจทย์เป้าหมายที่ตั้งไว้หรือยัง? เพราะฉะนั้นเราจึงมีหลักการง่ายๆ 3 ข้อที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ในการวางแผน สร้างคอนเทนต์ปังๆ ในแบบฉบับของคุณ ดังนี้ Who: รู้จักกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง คุณต้องการสื่อสารให้ใครฟัง? ผู้ชมของคุณต้องการอะไร? ผู้ชมของคุณอยู่ที่ไหน? เป็นคนท้องถิ่นหรือชาวต่างชาติ? หากเป็นชาวต่างชาติ คุณต้องคำนึงเรื่องการใช้ภาษาที่สอง รวมไปถึงวันที่และเวลาในการไลฟ์สดเพราะผู้ชมอาจไม่ได้อยู่ Time zone เดียวกับคุณก็ได้ What: เมื่อรู้แล้วว่าต้องการสื่อสารกับ “ใคร” ต่อมาก็ต้องวางแผนว่าคุณต้องการนำเสนออะไร? จะเล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงแบบไหน? ซึ่งการนำเสนอที่ดีจะต้อง สั้น กระชับ สร้าง Impact ได้ มีความเป็นธรรมชาติ และมีเอกลักษณ์ของตัวเอง เพื่อให้การไลฟ์สดของคุณไม่เหมือนใคร นอกจากนี้คุณควรคำนึงถึงสิ่งที่ผู้ชมจะได้รับจากคอนเทนต์ที่คุณส่งไปอีกด้วย Where: ต่อมาคือการเลือกแพลตฟอร์มที่ใช่ ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับผู้ชมเป็นหลัก โดยผู้ชมที่มีความสนใจหรืออายุที่แตกต่างกัน มักจะมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียแตกต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นคุณจึงควรเลือกแพลตฟอร์มที่สามารถดึงดูดผู้ชมที่คุณต้องการสื่อสารมากที่สุด ซึ่งเราจะบอกความแตกต่างและวิธีการเลือกแพลตฟอร์มในการไลฟ์สดในส่วนถัดไป เคล็ดลับที่ 3 : เลือกแพลตฟอร์มสำหรับไลฟ์สดให้ปัง หลังจากที่คุณรู้แล้วว่าจะทำคอนเทนต์อะไร และจะสื่อสารให้ใครฟัง ต่อมาคือการเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่ให้บริการสตรีมวิดีโอ และถ้าให้เราอธิบายทุกแพลตฟอร์มก็อาจจะทำให้บทความนี้ยาวเกินไป เพราะฉะนั้นเราจึงคัดเลือก 4 แพลตฟอร์มยอดนิยมมาให้คุณเลือกตัดสินใจใช้ดังนี้ True VROOM Live Streaming บริการไลฟ์สดคุณภาพสูงจากทาง True ที่เชื่อมต่อคนทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน พร้อมฟังก์ชันที่ครบถ้วนในการสนับสนุนการนำเสนอการไลฟ์อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนำเสนองาน ประชุมกลุ่มทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จนถึงโฆษณาสินค้า True VROOM ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ตอบโจทย์เป็นอย่างดี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM Live Streaming Facebook Live Facebook Live เป็นหนึ่งในบริการถ่ายทอดสดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก ทำให้คุณมีโอกาสที่จะเข้าถึงกลุ่มคนในวงกว้าง คุณสามารถไลฟ์สดได้ง่ายๆ เพียงแค่กดปุ่มสตรีมวิดีโอไปยังหน้า Facebook ของตัวเอง และ Facebook Live ก็ยังสามารถบันทึกวิดีโอระหว่างไลฟ์สด ทำให้ผู้ชมสามารถเข้ามาดูไลฟ์ย้อนหลัง และกำหนดผู้ชมที่สามารถเข้ามาชมไลฟ์ของคุณได้อีกด้วย Instagram Live เนื่องจากเจ้าของ Instagram คือบริษัท Meta ซึ่งเป็นเจ้าของ Facebook ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นการไลฟ์สดบน Instagram Live จึงง่ายและสะดวกสบายเหมือนการไลฟ์สดบน Facebook Live โดยผู้ติดตามคุณที่กำลังออนไลน์อยู่จะได้รับการแจ้งเตือนเมื่อคุณไลฟ์ ทำให้ผู้ติดดามของคุณไม่พลาดทุกการไลฟ์สด นอกจากนี้ยังมีฟิลเตอร์ช่วยเพิ่มกิมมิคในการตกแต่งวิดีโอให้น่าสนใจอีกด้วย แต่ข้อจำกัดของ Instagram Live คือ สามารถไลฟ์ได้สูงสุด 60 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ YouTube Live เนื่องจาก YouTube เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอคอนเทนต์อยู่แล้ว ทำให้ผู้ชมมีแนวโน้มที่จะดูไลฟ์สดของคุณนานกว่าแฟลตฟอร์มอื่นๆ ข้อดีอีกประการของ YouTube Live คือคุณสามารถหารายได้จากค่าโฆษณา ผ่าน Google Adsense ซึ่งจะมาในรูปแบบโฆษณาที่ขึ้นก่อนที่เราจะดูวีดีโอได้ TikTok Live หากกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการจะสื่อสารคือกลุ่ม Millennials และ Gen Z การใช้ TikTok Live ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจาก TikTok เป็นโซเชียลมีเดียที่กลุ่ม Millennials และ Gen Z นิยมใช้งานมาก นอกจากนี้ไลฟ์สดของ Tiktok ยังมีฟีเจอร์ให้ผู้ชมสามารถส่ง “ของขวัญ" ซึ่งเป็นรางวัลดิจิทัลที่สตรีมเมอร์สามารถแลกเป็นเงินจริงได้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้เลยทีเดียว เคล็ดลับที่ 4 : เลือกช่วงเวลาไลฟ์สดให้ดี ควรเลือกช่วงเวลาในการไลฟ์โดยพิจารณาปัจจัยโดยรอบ เพราะบางทีช่วงเวลาการออนไลน์ของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน เช่น กลุ่มแม่บ้านอาจมีช่วงเวลาที่สนใจไลฟ์หลัง 2 ทุ่ม หรือ กลุ่มพนักงานอาจสนใจเปิดไลฟ์หลัง 6 โมงเย็น โดยข้อมูลต่างๆ สามารถประเมินได้จากเว็บไซต์รวบรวมสถิติไปจนถึงการทำงานหลังบ้านของแต่ละแพลตฟอร์ม เพราะคุณไม่ได้ไลฟ์สดอยู่คนเดียว แต่กำลังแข่งขันกับไลฟ์สดของคนอื่นๆ ทั่วโลก เพราะฉะนั้นการเลือกช่วงเวลาไลฟ์สดที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เคล็ดลับที่ 5...
March 29, 2023
2 mins read
ทุกวันนี้ Design หรือ การออกแบบ ไม่ได้ถูกจำกัดว่าต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กลายเป็นวัตถุที่จับต้องได้เท่านั้น แต่สามารถนำไปประยุกต์กับกระบวนการคิด เพื่อให้เกิดเป็นการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ที่สามารถเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาขององค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ได้นับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Airbnb, Oral-B และองค์กรอื่นๆ อีกมากมาย โดยบทความนี้จะอธิบายความหมายของ Design Thinking พร้อมขั้นตอนการเริ่มลงมือทำและเคล็ดลับเด็ดที่นำไปใช้ได้จริง ถ้าพร้อมแล้ว มาทำความรู้จักกับ Design Thinking กันเลย Table of Contents Design Thinking คืออะไร? Design Thinking คือ กระบวนการคิดที่เน้นการออกแบบสิ่งต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปจนถึงออกแบบสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดผ่านการทำความเข้าใจความต้องการของคนเหล่านั้น การ Design Thinking จะมุ่งเน้นที่โซลูชันและการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการตั้งคำถามกับสมมติฐาน การทำงานร่วมกัน การระดมสมอง และการสร้างต้นแบบ (Prototype) เพื่อทดสอบแนวคิดและรับคำติชม นอกจากนี้การคิดแบบ Design Thinking ยังสนับสนุนการคิดนอกกรอบ เปิดกว้าง สร้างสรรค์และไร้ขีดจำกัด เพื่อรวบรวมไอเดียใหม่ๆ ทั้งหมดมาพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่คนส่วนมากคิดว่าทำไม่ได้ หนึ่งในแบรนด์ที่สามารถใช้ Design Thinking ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ Netflix แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งชื่อดังนั่นเอง โดยในช่วงก่อตั้งบริษัท Netflix มีคู่แข่งหลักคือ Blockbuster ซึ่งทำธุรกิจเช่าภาพยนตร์ที่ครองอับดับหนึ่งของโลกมานานถึง 28 ปี โดยลูกค้าที่ต้องการเช่าและคืนภาพยนต์จะต้องเดินทางไปรับหรือคืนดีวีดีที่หน้าร้าน ซึ่งเป็นปัญหาหลักสำหรับหลายๆ คนที่ไม่สะดวกเดินทาง Netflix ที่มองเห็นและเข้าใจปัญหาดังกล่าวจึงแก้ไขปัญหานั้นด้วยการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถดูภาพยนต์ที่บ้านได้ง่ายๆ โดยการจัดส่งดีวีดีถึงบ้านลูกค้าโดยตรง ผ่านรูปแบบการรับสมัครข้อมูล (Subscription Model) วิธีการนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ปฏิวัติวงการภาพยนตร์เป็นอย่างมาก แต่ Netflix ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น Netflix ได้พัฒนานวัตกรรมต่างๆ โดยเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ เช่น บริการสตรีมมิ่งแบบออนดีมานด์ (On-Demand Streaming Service) เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถดูภาพยนต์ที่ไหน เมื่อไรก็ได้ โดยไม่ต้องรอการจัดส่งดีวีดีอีกต่อไป เรียกได้ว่า Netflix สามารถนำกระบวนการคิดแบบ Design Thinking มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้ปัจจุบันมีผู้ใช้งานทั่วโลกทั้งสิ้น 223.09 ล้านคน ทำไม Design Thinking ถึงมีความสำคัญกับ Digital Workplace ก่อนที่จะทำความเข้าใจว่า Design Thinking มีประโยชน์อย่างไรในการทำงานแบบ Digital Workplace เรามารู้จักกับ Digital Workplace กันก่อนดีกว่าว่า Digital Workplace คืออะไร? เพื่อที่จะได้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้มากยิ่งขึ้น Digital Workplace คือ การทำงานรูปแบบใหม่ที่นำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้งานในทุกขั้นตอน เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยหัวใจหลักของการทำ Digital Workplace คือการที่ทุกคนสามารถสื่อสารกันได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม เพราะบางครั้งไอเดียเล็กๆ จากพนักงานก็อาจสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ได้ แต่หากองค์กรทอดทิ้งไอเดียนั้นเพียงเพราะส่งเสียงไปไม่ถึงก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเช่นกัน เพราะฉะนั้นหากนำรูปแบบการคิดแบบ Design Thinking ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการดำเนินการ มารวมกับการทำงานแบบ Digital Workplace ซึ่งเน้นการทำงานที่คล่องตัว ช่วยให้พนักงานทำงานร่วมกันได้ง่าย ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายต่อองค์กร ดังนี้ 1. ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน บริษัทส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญและลงทุนไปกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเปิดตัวแนวคิด ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่หากลงทุนไปโดยไม่ได้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานตั้งแต่แรก ก็อาจทำให้บริษัทไม่ประสบผลสำเร็จได้ เพราะฉะนั้น Design Thinking จึงช่วยลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงในการลงทุนนวัตกรรมผ่านการสร้างตัวต้นแบบ (Prototype) เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน และองค์กรได้ร่วมเรียนรู้ ทดสอบ และพัฒนาจากความผิดพลาด วิธีนี้จึงช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนไป (ล้มเหลวบ่อย แต่ประสบความสำเร็จเร็ว) การนำ Design Thinking มาใช้ในองค์กรส่งผลให้วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนแปลงไปด้วยตัวของมันเอง เนื่องจากการคิดเชิงออกแบบจะทำให้พนักงานได้ทำงานร่วมกัน เคารพความคิดเห็นของกันและกัน เปิดกว้างและแสวงหาไอเดียใหม่ๆ เสมอ เพื่อหาวิธีการที่ดีกว่าและเพื่อให้งานออกมาประสบผลสำเร็จ Design Thinking ยังมีแนวคิดการสร้างต้นแบบ (Prototype) เพื่อทดสอบว่าสิ่งที่พนักงานคิดนั้นใช้ได้จริงหรือไม่ ซึ่งนอกจากการสร้าง Prototype จะถือว่าเป็นองค์ประกอบหลักของ Design Thinking แล้ว ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม (Culture of Innovation) อีกด้วย พนักงานจะสามารถจำลองแนวคิดใหม่ๆ และเริ่มทดสอบได้ทันทีเพื่อให้เห็นผลลัพธ์และรับคำติชมได้อย่างรวดเร็ว และถึงแม้ว่าพวกเขาอาจจะต้องล้มเหลวบ่อยครั้ง แต่ประสบการณ์เหล่านั้นจะกลายเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่ทรงพลัง และเป็นเกราะป้องกันให้พวกเขาไม่กลัวที่จะล้มเหลวอีกต่อไป นำมาซึ่งเส้นทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจนและประสบความสำเร็จเร็วกว่าคู่แข่งคนอื่นๆ 3. สามารถจัดการกับปัญหาที่ไม่ทราบสาเหตุได้เป็นอย่างดี Design Thinking ช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหาที่ไม่ชัดเจนหรือไม่ทราบสาเหตุได้ เนื่องจากองค์กรจะให้ความสำคัญกับผู้ใช้เป็นหลัก และมุ่งเน้นไปที่สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้ ทำให้สามารถเข้าใจปัญหาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะสนับสนุนให้ทีม “คิดนอกกรอบ” เพื่อดึงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานออกมาให้มากที่สุด นำไปสู่การค้นพบวิธีการและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี เริ่มคิดและลงมือทำ Design Thinking ใน 5 ขั้นตอน 1. Empathize – เข้าใจปัญหาด้วยการตั้งคำถาม ขั้นตอนแรกของ Design Thinking คือการทำความเข้าใจผู้ใช้งาน โดยคุณจะต้องเป็นคนหูไวตาไว ชอบตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบที่เป็นไอเดียใหม่ๆ โดยการตั้งคำถามควรคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง หลังจากนั้นจึงเริ่มค้นหาคำตอบด้วยการเห็นอกเห็นใจผู้ใช้ คุณอาจจะคอยสังเกตการณ์หรือเอาตนเองไปอยู่ในสถานการณ์นั้นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและทำความเข้าใจปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง วิธีการนี้จะทำให้คุณได้ข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริง รู้ความต้องการและแรงจูงใจของผู้ใช้ และเข้าใจปัญหาที่เป็นรากฐานของการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คุณต้องการสร้าง 2. Define - กำหนดปัญหาและความต้องการให้ชัดเจน...
March 20, 2023
2 mins read
การทำงานจากหลากหลายกลุ่มย่อยไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Startup ขนาดเล็กหรือบริษัทใหญ่ระดับโลกต่างต้องประสบกับปัญหาของลำดับขั้นการสั่งการ การตรวจสอบงานที่ยุ่งยาก การประยุกต์ใช้แนวคิด Agile ซึ่งเป็นหนึ่งในการทำงานที่เน้นความยืดหยุ่น กระจายงานต่างๆ ในทีม ลดลำดับขั้นตอน จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจเพื่อประยุกต์ใช้ในยุคปัจจุบัน Agile มีแนวคิดและแนวทางการทำงานอย่างไร มีบริษัทใดได้ทดลองใช้แล้วบ้าง เราได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาเพื่อให้คุณเข้าใจได้ง่ายๆ ที่นี่ Table of Contents Agile คืออะไร? Agile คือ กระบวนการทำงานที่ลดขั้นตอนการทำงานแบบบัญชาการเป็นขั้นๆ และขั้นตอนการใช้เอกสารอนุมัติลง เน้นการทำงานร่วมกันในแนวราบระหว่างทีม กระจายงานอย่างทั่วถึงมากขึ้น ทำให้สามารถทำงานต่างๆ ได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องรอการอนุมัติการสั่งการจากคนที่มีตำแหน่งสูงกว่า ภายใต้รูปแบบการทำงานนี้ยังมีการแบ่งแผนงานเป็นระยะสั้นๆ หลายๆ แผน มากกว่าแผนงานระยะยาวเพียงแผนเดียวซึ่งปรับเปลี่ยนได้ยาก ซึ่งตอบโจทย์สำหรับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ในจุดเริ่มต้น Agile นั้นเกิดจากทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการกระบวนการทำงานที่รวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และมันก็ถูกปรับใช้อย่างแพร่หลายในวงการสตาร์ทอัพ และสุดท้ายก็กระจายไปทั่วโลกในฐานะหนึ่งในกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่สุด Agile มักถูกพูดถึงพร้อมๆ กับกรอบการทำงาน (Framework) อย่าง Scrum ที่เป็นการลดตำแหน่งภายในทีมลง ให้ความสำคัญว่าทุกคนคือ “คนทำงาน” มากขึ้น เน้นการส่งงานเร็ว และบ่อย โดยมีตำแหน่งที่เรียกว่า Product Owner คอยดูแลภาพรวมเป็นหลัก ว่าจะต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ควรปรับปรุงจุดไหนบ้าง คำแถลงการณ์ของ Agile คำแถลงการณ์นี้เกิดขึ้นจากกลุ่มคน 17 คนที่ตั้งกระบวนการ Agile ขึ้น เป็นการระบุ ชี้นำ ว่าผู้ที่ต้องการทำงานกระบวนการ Agile ต้องเป็นไปตามนี้ คือ คนและการมีปฏิสัมพันธ์ สำคัญกว่าขั้นตอนและเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ (สำหรับบริษัททั่วไปคือ งาน) ที่ใช้ได้จริง อยู่เหนือกว่าเอกสารที่ครบถ้วน ร่วมมือทำงานกับลูกค้า มากกว่าการต่อรองในสัญญา ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการทำตามแผนที่วางเอาไว้ แน่นอนว่าเนื้อหาภายใต้คำแถลงการณ์ยังมีสิ่งยิบย่อยลงไป แต่หลักใหญ่ใจความก็จะถูกอ้างอิงตามนี้แทบทั้งสิ้น และหากพิจารณาในคำแถลงดังกล่าวก็นับได้ว่า Agile เป็นหนึ่งในวิธีการทำงานที่เน้นความยืดหยุ่น ไม่ยึดติดกับกรอบเท่าใดนัก แต่ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากเป็นบริษัทที่มีความยึดมั่นในแผนแหละกฎเกณฑ์สูง วิธีนี้อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก ข้อดีของ Agile 1. ความยืดหยุ่นสูง ความยืดหยุ่น เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่ชัดเจนที่สุดสำหรับ Agile เพราะกระบวนการทำงานที่ต้องผ่านการอนุมัติจากเบื้องบนจะลดลง เน้นการพูดคุย ปรึกษาในทีมเป็นหลักสำคัญ ทำให้สามารถโยกย้ายงานตามความเหมาะสมได้ จัดการงานตามหลักความเร่งด่วนได้ง่าย 2. สามารถทำงานแยกกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อที่แล้ว การทำงานแบบ Agile จะเน้นการทำงานแบบทีมย่อยมากกว่าการสร้างทีมใหญ่แล้วส่งข้อมูลหาคนๆ เดียว ทำให้ในแต่ละทีมสามารถทำงานแยกกันได้ แต่ยังคงต้องมีการสื่อสารระหว่างทีมที่ดี เนื่องจากการทำงานแบบ Agile จะเน้นทำทุกอย่างไปในเวลาเดียวกัน พร้อมๆ กัน หากมีทีมใดทีมหนึ่งช้า อาจทำให้เกิดการเสียกระบวนการทำงานได้ 3. จัดการปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว การใช้งาน Agile จะเป็นกระบวนการที่ทำให้การทำงาน และการจัดการปัญหาต่างๆ เร็วขึ้นในระยะยาว เนื่องจากลดกระบวนการในการอนุมัติจากหลากหลายตำแหน่งลง ทุกคนสามารถเห็นปัญหา นำเสนอปัญหา และใช้กระบวนการต่างๆ ในการแก้ไขโดยไม่จำเป็นต้องผ่านการการอนุมัติแบบซ้ำซ้อน เน้นการสื่อสารและความเข้าใจของคนในทีมเป็นหลัก สิ่งสำคัญในการสร้าง Agile คืออาจกินเวลาในช่วงแรก เนื่องจากคนไม่คุ้นเคยกับการทำงานแบบองค์รวม ยังติดการทำงานแบบ Water Fall หรือการรอรับคำสั่งแบบเดิมๆ อยู่ การทำงานแบบ Agile ของบริษัทใหญ่ Microsoft บริษัทระดับโลกอย่าง Microsoft เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการกล่าวถึง Agile อยู่บ่อยครั้ง และมองว่าเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่มีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ โดยทาง Microsoft มีการใช้กระบวนการดังกล่าวในการสร้างซอฟต์แวร์ราวปี 2008 โดยการศีกษาช่วงแรกมีการระบุว่าแม้แต่ตัว Microsoft เองก็ยังต้องปรับตัวพอสมควรเช่นกัน Aaron Bjork หนึ่งในทีม Management ของ Microsoft ได้มีการแชร์ความรู้เกี่ยวกับการทำ Agile ช่วงเริ่มแรกไว้ว่า ทางฝ่ายบริหารของบริษัทจะใช้การกำหนดสโคปและเป้าหมาย ให้ทุกคนในบริษัทรู้ทั่วกัน ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวมีทิศทางเป็นอย่างไร ก่อนจะเปิดกว้างให้คนในทีมสามารถนำเสนองานอย่างอิสระ และทำงานอย่างเสรีมากกว่าการสั่งงานแบบเป็นลำดับขั้นเหมือนกับอดีต และเน้นให้แต่ละทีมมีการจัดการกันเอง Google อีกหนึ่งบริษัทที่น่าสนใจสำหรับการประยุกต์ใช้ Agile คือ Google ที่เป็นบริษัทที่ขึ้นชื่อด้านความไว และความยืดหยุ่นอยู่แล้ว โดยหนึ่งใน Case Study ที่พบได้บ่อยคือการสร้าง Google Chrome นั่นเอง ในช่วงต้นทาง Google ได้มีการกำหนดระยะเวลา 6 สัปดาห์ ในการปล่อยฟีเจอร์ใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ และมีการแบ่งทีมต่างๆ ให้ย่อยลงเพื่อทำให้การจัดการอยู่ในแนวระนาบมากขึ้น มากกว่าการสั่งการจากบนลงล่าง ซึ่งแน่นอนว่าพนักงานบางคนภายใน Google ก็มองว่าวิธีนี้ไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และมีความรีบเร่งแข่งขันเกินไป ในภายหลัง Google จึงมีการประยุกต์ Agile ควบคู่ไปกับวิธีการอื่นๆ เพื่อใช้งานทั้งกับโปรเจ็คระยะสั้น และระยะยาว ทำให้ได้ผลงานที่หลากหลาย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะทำอย่างไรหากอยากทำงานแบบ Agile วิธีการทำงานด้วยแนวคิด Agile ไม่ใช่สิ่งที่ครอบคลุมทุกอย่าง และตัว Agile เองก็มีจุดบอดดังที่ระบุไว้ ว่าหากทีมใดทีมหนึ่งมีความล่าช้า หรือการติดต่อสื่อสารนั้นไม่เป็นไปตามที่ควร การทำงานแบบ Agile เองก็สามารถล้มเหลวได้ ดังนั้นคำแนะนำในการทำงานแบบ Agile ในบทความนี้จึงเริ่มจากคำแนะนำง่ายๆ ที่คุณสามารถปฏิบัติได้ 1. วางแผนการทำงานแบบทีมเล็กๆ จากตัวอย่างข้างต้น ชัดเจนว่า Agile อาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะหากประยุกต์ใช้กับบริษัท ดังนั้นจุดเริ่มต้นควรอยู่ในระดับทีมเล็กๆ โดยวางแผนการทำงานที่ไม่เน้นการสั่งการจากบนลงล่าง แต่เน้นการแชร์ความรู้ เป้าหมาย และมอบหมายการจัดการเพื่อนำเสนอสิ่งต่างๆ จากล่างขึ้นบนว่าควรทำอย่างไร...
April 25, 2023
2 mins read
ในโลกยุคโควิดที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและรักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้การติดต่อสื่อสารหรือการทำงานร่วมกันมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพกายและสุขภาพใจที่น่ากลัวเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบ Work From Home ที่ทำให้พนักงานไม่สามารถแยกชีวิตระหว่างบ้านและที่ทำงานออกจากกันได้ จนก่อให้เกิดความเครียดสะสม และภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) หรือการขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงานก็อาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น Metaverse จึงเข้ามามีบทบาทในการแบ่งแยกชีวิตที่บ้านและที่ทำงานอย่างชัดเจน ช่วยทำลายกำแพงการสื่อสารระหว่างคุณกับเพื่อร่วมงาน รวมไปถึงช่วยเสกให้ไอเดียใหม่ๆ ของคุณกลายเป็นจริงในโลกเสมือนจริงได้อีกด้วย แล้ว Metaverse คืออะไร? จะมาช่วยเปลี่ยนอนาคตของโลกการทำงานได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ Table of Contents Metaverse คืออะไร? Metaverse คือ โลกเสมือนจริง (Virtual World) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งปัน โต้ตอบ และการแสดงปฏิสัมพันธ์ต่างๆ อย่างไร้รอยต่อของผู้คนทั่วโลก ทั้งการเล่นเกม การทำงาน การสร้าง-ซื้อ-ขายสินทรัพย์เสมือน และการพูดคุยหรือแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ โดยทั้งหมดสามารถทำได้ผ่าน "อวตาร" เสมือนจริง หากยังเห็นภาพไม่ชัดเจนคุณอาจลองนึกถึง Minecraft เกมแนวโลกเสมือนจริงขวัญใจผู้เล่นทั่วโลก การันตีด้วยด้วยยอดผู้เล่นมากถึง 100 ล้านบัญชีต่อเดือน ที่ผู้เล่นสามารถจำลองอวตารของตัวเอง และเลือกทำในสิ่งที่ผู้เล่นต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจโลก 3 มิติที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้ขีดจำกัด การค้นหาและเก็บเกี่ยววัตถุดิบเพื่อคราฟต์ไอเทม การสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ การตะลุยด่านหรือแข่งขันกับอวตารคนอื่น และเนื่องจากตัวเกมไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ Minecraft เป็นเกมที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นอย่างไม่จำกัด รวมไปถึงอิสระในการดัดแปลงระบบเกมอีกด้วย หรือจะเป็น Bondee แอปโซเชียลมีเดียที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ซึ่งภายในแอปจะนำเสนอ Metaverse ในแง่ของการสร้างปฏิสัมพันธ์ และจำลองการใช้ชีวิตร่วมกันกับเพื่อน โดยสามารถสร้างอวตารที่สื่อถึงตัวตนของผู้เล่น สร้างบ้านเพื่อให้เพื่อนมาเยี่ยมชม สร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วยการกดเพิ่มเพื่อน แชท แชร์สถานะ ส่งรูปภาพ และแชร์สตอรี่ นอกจากนี้ยังสามารถหาเพื่อนใหม่ด้วยการทิ้งข้อความไว้ในขวดกลางทะเล ให้ผู้เล่นคนอื่นที่เก็บขวดได้ทำความรู้จักคุณ จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า Metaverse สามารถเชื่อมต่อโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกดิจิทัลได้อย่างไร้รอยต่อ และเป็นเทคโนโลยีที่ผู้คนยอมรับและใช้อย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่องค์กรต่างๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทในโลก Metaverse รวมไปถึงการนำ Metaverse ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอีกด้วย เพราะฉะนั้นในส่วนถัดไปเราจะมาเจาะลึกโลกของการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปหลังจากนำ Metaverse เข้ามาพัฒนากัน 3 อนาคตของโลกการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนด้วย Metaverse 1. Work From Home จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไปด้วย Metaverse Metaverse ช่วยสร้างอวตารที่สามารถเลียนแบบประสบการณ์การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการพบปะและตอบโต้ระหว่างกันแบบเรียลไทม์ การกระทำระหว่างอวตารกับวัตถุดิจิทัล หรือการจัดประชุมในโลกเสมือนจริง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้โดยไม่รู้สึกเครียด นอกจากนี้อวตารของคุณจะสื่อถึงสถานะของคุณ เช่น พักกลางวัน อยู่ในที่ประชุม หรือติดธุระอื่น ทำให้คุณไม่ต้องกดดันตัวเองให้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาจากการทำงาน Work From Home Metaverse ยังช่วยให้สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้นจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานได้ดั่งใจอีกด้วย ลองจินตนาการว่าคุณเดินเข้าไปทำงานในโลกเสมือนจริง หลังจากนั้นก็เริ่มพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานริมชายหาด แวะไปทานอาหารกลางวันที่โตเกียว แล้วกลับมาประชุมกับหัวหน้าที่สถานีอวกาศ เท่านี้ก็ทำให้การทำงานในแต่ละวันของคุณไม่น่าเบื่ออีกต่อไป หากคุณต้องการการประชุมที่สะดวกสบายแม้ว่าเพื่อนำมาปรับใช้ในองค์กร True VROOM ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดี เพราะเป็นแพลตฟอร์มห้องประชุมเสมือนจริงที่ถูกสร้างมาเพื่อตอบโจทย์คนไทย ใช้งานง่าย มีฟีเจอร์มากมายที่จะช่วยให้คุณประชุมไม่สะดุด ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ไอเดียด้วยไวท์บอร์ดเสมือนจริง การแชร์เอกสารหรืองานนำเสนอผ่านหน้าจอ ห้องล่ามแปลภาษา และช่องแชตแบบเรียลไทม์ ช่วยให้คุณทำงานราบรื่นขึ้น และเปลี่ยนออฟฟิศคุณสู่ Hybrid Workplace อย่างเต็มตัว 2. Metaverse ช่วยให้พนักงานทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น การทำงานในช่วงโรคระบาดส่งผลให้พนักงานต้องทำงานจากที่บ้าน ไม่สามารถพบปะเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวและถูกตัดขาดทางสังคม เพราะฉะนั้น Metaverse จึงเข้ามามีบทบาทในการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย และลูกน้อง โดยยกระดับการเชื่อมต่อทางสังคมด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันในโลกเสมือนจริง และการแบ่งปันความคิดเห็นในสังคมออฟฟิศเสมือนจริง ซึ่งสามารถสร้างโอกาศการมีส่วนร่วมได้มากกว่าการทำงานระยะไกลทั่วไป โดยเฉพาะพนักงานบางคนที่ไม่ชอบการปรากฎตัวบนกล้องเวลาประชุม หากต้องถูกบังคับให้เปิดกล้องเพื่อมีส่วนร่วมก็อาจสร้างความไม่พอใจแก่พนักงานคนนั้นได้ การสร้างอวตารบน Metaverse จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับปัญหานี้ นอกจากนี้ Metaverse ยังสนับสนุนการทำงานแบบเปิดกว้าง ไร้ขอบเขตอีกด้วย เช่น หากคุณและทีมได้รับโจทย์ให้ออกแบบแพคเกจผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท คุณและทีมสามารถเทเลพอร์ตอวตารไปยังพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Musée du Louvre) เพื่อหาแรงบันดาลใจได้ วิธีนี้ยังนำไปสู่การออกแบบและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงสร้างทีมเวิร์กที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น 3. เรียนรู้และพัฒนาทักษะได้เร็วขึ้นใน Metaverse Metaverse สามารถใช้สำหรับฝึกอบรมหรือพัฒนาทักษะทางไกลได้ โดยพนักงานจะได้ฝึกฝนในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงและปลอดภัย ส่งผลให้พนักงานเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายอุตสาหกรรมที่รับเทคโนโลยี Metaverse มาปรับใช้กับการฝึกอบรมบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีการผ่าตัด Medivis ที่กำลังใช้เทคโนโลยี HoloLens ของ Microsoft มาฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ หรือบริษัทผลิตยานยนต์ Ford Motor Company ที่บุกเบิกเครื่องมือฝึกอบรม VR โดยใช้ชุดหูฟัง Oculus Quest ฝึกอบรมช่างเทคนิคเกี่ยวกับการบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้การฝึกอบรมบน Metaverse ยังเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำเสมือนจริง ส่งผลให้ผู้อบรมมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมมากยิ่งขึ้น ได้พัฒนาทักษะใหม่ๆ จากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าการฝึกอบรมในชั้นเรียน สรุป Metaverse คือ โลกเสมือนจริงที่ช่วยขยายขีดจำกัดในการทำงานไปอีกขั้น ช่วยให้การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณและเพื่อร่วมงานราบรื่นแม้ไม่ได้เห็นหน้ากัน ลดความตึงเครียดระหว่างการทำงานด้วยการจำลองสภาพแวดล้อมที่น่าตื่นตา และช่วยเร่งพัฒนาทักษะอาชีพผ่านเกมหรือการฝึกอบรมเสมือนจริงที่ปลอดภัย จะเห็นได้ว่า Metaverse ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงและเชื่อมโยงชีวิตประจำวันกับชีวิตการทำงานได้อย่างแนบเนียนจนได้รับความนิยมในวงกว้าง นอกจากนี้ยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายเริ่มนำ Metaverse มาใช้ในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบแล้ว เพราะฉะนั้นคุณจะเป็นคน “เริ่ม” หรือจะเป็นคน “รอ” การเปลี่ยนแปลงนี้? หากคุณต้องการให้พนักงานขององค์กรคุ้นชินกับเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบใหม่ การนำแพลตฟอร์มการสื่อสารและการทำงานบนโลกออนไลน์ไปปรับใช้ในการทำงานจริงย่อมเป็นสิ่งจำเป็น โดย True VWORK และ True VROOM เป็นสองแพลตฟอร์มการทำงานสำคัญ ที่ครอบคลุมทั้งการจัดการการทำงาน การสื่อสารองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้ชีวิตคุณง่าย ไม่มีสะดุด พร้อมบริการซัพพอร์ตต่างๆ มากมาย...
April 24, 2023
2 mins read
AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเรียนรู้ วิเคราะห์ จนไปถึงคาดการณ์ข้อมูลที่มีความซับซ้อนเกินกว่าขีดจำกัดของมนุษย์กำลังเข้ามามีบทบาทในโลกธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ โดย International Data Corporation (IDC) ได้คาดการณ์ว่าบริษัทต่างๆ จะมีการใช้งานปัญญาประดิษฐ์มากถึง 500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราวๆ 16,365 พันล้านบาท) ภายในปี 2024 เพื่อรับมือกับการเข้ามาของเทคโนโลยีเหล่านี้ Tyler Weitzman ประธานบริษัทและหัวหน้าฝ่าย AI บริษัท Speechify ได้ให้สัมภาษณ์ถึง 5 สิ่งที่ผู้บริหารควรรู้ เมื่อ AI จะเข้ามาพลิกโฉมธุรกิจปี 2023 Table of Contents 1. พนักงานไม่ต้องทำงานรูทีนอีกต่อไป งานรูทีนหรืองานเล็กๆ น้อยๆ ที่ซ้ำซากและไม่ค่อยมีความสำคัญจะถูกทำโดย AI ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรมีเวลาในการทุ่มเทกับงานที่ต้องใช้ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะงานฝ่ายบริการลูกค้าซึ่งโดยปกติแล้วจำเป็นต้องมีพนักงานคอยให้บริการตอบข้อสงสัยของลูกค้าทีละคน แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยี Chatbot ที่สามารถโต้ตอบกับลูกค้าพร้อมกันหลายๆ คนได้อย่างเป็นธรรมชาติตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจากการศึกษาของ American Marketing Association พบว่าการใช้งาน Chatbot นั้นสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้จริง จนนำมาสู่ผลประกอบการณ์ที่ดีขึ้น 2. ตัดสินใจได้เฉียบยิ่งขึ้นด้วยการวิเคราะห์จาก AI ข้อมูลจากการทำงานขององค์กรสามารถสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มต่างๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่ด้วยปริมาณข้อมูลมหาศาล การคิดวิเคราะห์ของมนุษย์เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถมองเห็นความเป็นไปได้ต่างๆ ได้ครอบคลุมและละเอียดแม่นยำเท่ากับการใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วย การใช้งาน AI เพื่อวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ร่วมกับวิจารณญาณของผู้บริหารจึงช่วยให้การตัดสินใจขององค์กรมีความแม่นยำ รวดเร็วและทันต่อยุคสมัยมากยิ่งขึ้น 3. Productivity ในการทำงานที่สูงขึ้น ด้วยการสนับสนุนของ AI ที่ช่วยจัดการกับงานรูทีนมากมาย กระบวนการทำงานโดยรวมขององค์กรจะมีความราบรื่นและมี Productivity ที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านปริมาณงานที่สำเร็จมากขึ้นภายใต้เวลาเท่าเดิม หรือด้านคุณภาพงานที่สูงขึ้นจากการที่พนักงานสามารถทุ่มเทให้กับงานยากๆ ได้มากกว่าเดิม ซึ่งองค์กรสามารถนำปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้มาช่วยงานได้ในหลายแง่มุม ตัวอย่างเช่นบริษัท Dtac ซึ่งนอกจากจะนำแชทบอทมาช่วยในการบริการลูกค้าแล้ว ยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของลูกค้าจากประวัติการสั่งซื้อเพื่อให้สามารถเสนอขายบริการที่ตรงใจลูกค้าได้มากขึ้น จนไปถึงการใช้ AI ตรวจสอบเอกสารสำคัญที่ใช้ในการยืนยันตัวตนลูกค้าเพื่อการเก็บฐานข้อมูลลูกค้าที่รวดเร็วและแม่นยำอีกด้วย 4. AI ช่วยเลือกคนที่ใช่สำหรับองค์กร การคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานแบบดั้งเดิมนั้น HR จำเป็นที่จะต้องทำงานหลายขั้นตอน ทั้งการประกาศรับผู้สมัคร การอ่านเรซูเม่ที่มีความแตกต่างหลากหลาย จนไปถึงการสัมภาษณ์รายบุคคลเพื่อให้ได้ผู้สมัครที่มีความสามารถและเข้ากับองค์กรมากที่สุด ซึ่งวิธีการเดิมๆ เหล่านี้นอกจากจะใช้ทรัพยากรเวลามากแล้วยังอาจก่อให้เกิดการอคติส่วนบุคคลได้ง่ายอีกด้วย การเข้ามาของ AI ด้าน HR ที่สามารถช่วย HR ในกระบวนการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของผู้สมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นหนึ่งตัวช่วยที่เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดหาพนักงานเป็นอย่างมาก โดยปัญญาประดิษฐ์สามารถรวบรวมและหารูปแบบของข้อมูลต่างๆ ของผู้สมัครให้ออกมาในรูปแบบที่ HR สามารถเข้าใจได้ง่ายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในเรซูเม่ ในโซเชียลมีเดียหรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ผู้สมัครแต่ละคนโต้ตอบกับ HR Chatbot ประจำองค์กร ส่งผลให้ HR ใช้เวลาในการคัดเลือกผู้สมัครที่เหมาะสมสั้นลง ซึ่งหมายความว่าช่วงเวลาที่กระบวนการทำงานติดขัดเพราะขาดคนทำงานก็จะน้อยลงเช่นกัน 5. มุ่งสู่ Customer-Centric Approach Customer-Centric Approach (การทำธุรกิจโดยมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง) เป็นแนวทางการทำธุรกิจที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ด้วยการทำความเข้าใจความต้องการของพวกเขาและให้บริการในสิ่งที่ตอบโจทย์ กลยุทธ์ทางธุรกิจแบบนี้ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากลูกค้าได้รับการเติมเต็มความต้องการที่ตรงจุดและเกิดความพึงพอใจจนกลับมาใช้บริการซ้ำ จากการศึกษาของ Qualtrics XM Institute 2021 มากกว่า 60% ของผู้บริโภคต้องการให้ธุรกิจให้ความสำคัญกับความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค และพวกเขายินดีที่จะซื้อสินค้าและใช้บริการจากแบรนด์ที่ยอมทำ Customer-Centric Approach ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ พยายามมุ่งสู่ Customer-Centric Approach โดย AI ก็เป็นเทคโนโลยีหลักที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคนผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การนำเสนอวิดิโอของ TikTok ที่จะเลือกแนะนำคลิปตามประวัติการรับชมและข้อมูลของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น หรือการยิงโฆษณาสินค้าในแอพพลิเคชั่น Lazada ที่ลูกค้าจะได้เห็นสินค้าที่เคยกดค้นหาหรือกดใส่ตระกร้าเอาไว้ซ้ำๆ เพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อ สรุป การเข้ามาของ AI มีประโยชน์ต่อการทำงานในหลากหลายแง่มุม ในฐานะผู้บริหารแล้ว หากสามารถเตรียมรับมือกับการเข้ามาของเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อมาปรับใช้กับการบริหารองค์กรได้ ก็จะช่วยให้คุณก้าวไปอีกขั้นสู่ความสำเร็จในโลกธุรกิจ โดยการเลือกแพลตฟอร์มการทำงานที่มีคุณภาพตั้งแต่เริ่มต้นย่อมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเรื่องนี้ True VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มการทำงานที่ครบครันในทุกฟังก์ชัน ช่วยสนับสนุนทุกการก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภายในองค์กรของคุณในยุคสมัยของ AI พร้อมตอบสนองทุกความต้องการในการใช้งานไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กหรือองค์กรใหญ่ สามารถเข้าดูรายละเอียดของเราได้ที่ True VWORK อ้างอิง forbes pttexpresso aigencorp marketeeronline longtunman thaiwinner
April 24, 2023
< 1 min read
Retrospective เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการประชุมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงบ่อยครั้งในยุคสมัยที่การสื่อสารเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนเริ่มมีทัศนคติที่เปิดกว้างมากขึ้น ยอมรับปัญหามากขึ้น การประชุมแบบ “เจาะลึก” ไปถึงแกนของปัญหาและทำการแก้ไขจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญทำความรู้จักกับการประชุมประเภทนี้แบบสั้นๆ พร้อมกับวิธีเตรียมการประชุมอย่างง่ายที่สามารถปรับใช้ในทีมได้ทันที ที่นี่! Table of Contents เจาะลึกเกี่ยวกับการประชุม RetrospectiveRetrospective คือ แนวทางการประชุมที่เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยน feedback การทำงานของทีมภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาเพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปอย่างซื่อตรงมากที่สุด โดยมีเป้าหมายในการประชุมเป็นการค้นหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมการประชุม Retrospective มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในทีมจะได้ทบทวนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของทีมในช่วงเวลาที่ผ่านมาร่วมกันอย่างเป็นระบบภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety)โดยในแต่ละการประชุมจะประกอบไปด้วยผู้ทำงานและบุคคลที่มีตำแหน่ง Scrum Master ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มาจากแนวคิดแบบ Scrum ที่มักจะมาคู่กับกรอบแนวคิดแบบ Agile เป็นผู้ควบคุมทิศทางการสนทนาให้อยู่ในเชิงบวก คอยตั้งประเด็นคำถาม จนไปถึงอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้กับการประชุม ส่งผลให้ทีมสามารถช่วยกันวางแผนเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานได้ตรงจุดและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น5 ขั้นตอน ประชุม Retrospective เพื่อการใช้งานจริง1. เตรียมความพร้อมขั้นตอนแรกในการประชุม Retrospective เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด คือการเตรียมความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ สถานที่และผู้เข้าร่วมการประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเตรียมบรรยากาศให้มีความผ่อนคลายและเหมาะกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้คน สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการเล่าเรื่องราวน่าสนุกหรือการเล่นเกมสบายๆ เพื่อลดช่องว่างระหว่างบุคคลและสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ ช่วยให้ผู้คนกล้าที่จะกล่าวถึงปัญหาที่พบในการทำงานอย่างตรงไปตรงมา กล้าขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ไม่สามารถรับมือได้ จนไปถึงกล้านำเสนอไอเดียแปลกใหม่อย่างไม่กลัวคำวิจารณ์ระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 15 นาที2. รวมรวมข้อมูลการรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี จะเป็นการสอบถามความคิดเห็นของผู้ทำงานแต่ละคนโดยตรงแล้วจึงให้ตอบด้วยปากเปล่า หรือจะสอบถามด้วยการแจก Post-it แล้วให้เวลาพวกเขาในการเรียบเรียงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในมุมมองของตัวเองพร้อมๆ กัน เพื่อตอบแต่ละคำถามที่ได้รับจาก Scrum Master (ผู้ดำเนินกิจกรรม และอำนวยความสะดวกของทีม) ลงในกระดาษก็สามารถทำได้ประเด็นสำคัญคือจะต้องใช้ชุดคำถามที่ทรงพลังหมายความว่าต้องกระชับแต่สื่อความหมายได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น ชุดคำถาม Four Ls ซึ่งประกอบไปด้วยWe liked: สิ่งที่ชอบและอยากให้เกิดขึ้นอีกWe learned: การเรียนรู้ใหม่และบทเรียนสำคัญที่ผ่านมาWe longed for: สิ่งที่ปราถนาจะให้เกิดขึ้น แต่ยังไม่เกิดWe loathed: สิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นและไม่อยากให้เกิดขึ้นซ้ำระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 30 นาที3. คัดเลือกประเด็นสำคัญขั้นตอนต่อมาหลังจากการรวบรวมกระดาษ Post-it ที่มีคำตอบ คือการจัดหมวดหมู่ปัญหาที่มีความใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน โดย Scrum Master จะเป็นผู้อธิบายปัญหาแต่ละกลุ่ม แล้วจึงเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยในรายละเอียดของแต่ละประเด็นปัญหาก่อนการโหวตเลือกปัญหาที่ทีมต้องการให้ความสำคัญมากที่สุด เพื่อที่จะหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันในขั้นตอนต่อไประยะเวลาที่ใช้ประมาณ 20 นาที 4. หาวิธีแก้ไขปัญหาและตัดสินใจร่วมกันเมื่อเลือกปัญหาที่ต้องการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว สมาชิกทุกคนในทีมจึงช่วยกันระดมสมอง (Brainstorm) เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาจแจกโพสอิทอีกหนึ่งรอบเพื่อให้ทุกคนได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง คิดและเขียนวิธีการแก้ปัญหาออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการระดมสมองแบบนี้นอกจากจะทำให้สมาชิกทุกคนมีสิทธิในการออกความคิดเห็นได้เท่ากันแล้ว งานวิจัยจาก Northwestern University ยังได้กล่าวว่าการระดมสมองผ่านการเขียนยังสามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าการระดมสมองทั่วไปถึง 42% อีกด้วย จากนั้นจึงเปิดโหวตเพื่อเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดมาเป็น Action item ของทีมระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 20 นาที5. สรุปการประชุมในช่วงสุดท้ายของการประชุม ผู้ที่เป็น Scrum Master ควรสรุปการประชุมทั้งหมดอีกครั้งว่าอะไรคือประเด็นที่ทีมเลือกจะพัฒนาในการทำงานรอบต่อไป ทีมมีแนวทางการแก้ไขอย่างไรและใครในทีมรับผิดชอบหน้าที่ใดเพิ่มเติมบ้าง จากนั้นจึงกล่าวปิดการประชุมด้วยการขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกคนที่เปิดใจในการแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการทำงานของทีมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 5 นาที เก็บ Insight ด้วยเทคนิคการประชุม Retrospectiveการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยทางจิตใจถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากสำหรับการประชุม Retrospective โดยหนึ่งเคล็ดลับในการประชุมที่ช่วยสร้างความสบายใจให้ผู้เข้าร่วม คือให้เชิญเฉพาะคนทำงานภายในทีมเท่านั้น ไม่ควรสร้างความกดดันในการแสดงความคิดเห็นให้กับผู้เข้าร่วมด้วยการพาหัวหน้างานมาประชุม และไม่ควรข้ามขั้นตอนการละลายพฤติกรรม ณ ตอนต้นการประชุมเพื่อประหยัดระยะเวลา เพราะอาจทำให้การประชุมครั้งนั้นไม่มีประสิทธิผลมากเท่าที่ควรจะเป็นสรุปการประชุม Retrospective เป็นหนึ่งวิธีการง่ายๆ แต่ทรงพลังที่นอกจากจะช่วยให้ทีมมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังทำให้ทราบปัญหาในการทำงานจริงที่ทำให้แก้ไขปัญหาได้ถูกจุดอีกด้วย และสำหรับยุคสมัยที่ต้องการการประชุมแบบมีประสิทธิภาพTrue VROOM จาก True VWORLD ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการประชุมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีฟังก์ชันครบครัน สะดวกรวดเร็ว พร้อมตอบสนองทุกความต้องการของคนในทีม ช่วยให้คุณจัดการประชุม Retrospective อย่างราบรื่น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM บริการการประชุมยุคใหม่เพื่อคุณโดยเฉพาะ อ้างอิงmedium.combrightsidepeople
April 24, 2023
2 mins read
หากบริษัทต้องการประสบความสำเร็จในแวดวงธุรกิจ แน่นอนว่าจะต้องมีการตั้งเป้าหมายเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จนั้น แต่จุดมุ่งหมายของความสำเร็จคืออะไร? และแผนปฎิบัติเพื่อประสบความสำเร็จนั้นมีอะไรบ้าง? สิ่งเหล่านี้คือสิ่งสำคัญและต้องทำให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดเพื่อให้คนในบริษัทเห็นภาพชัดเจนและเข้าใจตรงกัน การตั้ง SMART Goal จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนบริษัทให้บรรลุเป้าหมายในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จัก SMART Goal ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งความหมายและประโยชน์ของ SMART Goal รวมไปถึงวิธีการทำ SMART Goal ของบริษัทกัน Table of Contents SMART Goal คืออะไร? SMART Goal คือ การตั้งเป้าหมายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ โดยมีกรอบอ้างอิง (Framwork) เพื่อช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายและบรรลุผลลัพธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งที่ชี้เฉพาะ (Specific), สามารถวัดผลได้ (Measurable), มีความเป็นไปได้ (Achievable), สอดคล้องกับเป้าหมาย (Relevant), และมีระยะเวลาที่ชัดเจน (Time-based) ทำไมบริษัทควรนำ SMART Goal มาปฏิบัติ บางครั้งคุณอาจเคยเจอการตั้งเป้าหมายของบริษัทที่คลุมเครือและไม่มีทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการเพิ่มผลประกอบการ หรือการขยายสาขาเพิ่ม ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ไม่มีกลยุทธ์นี้ส่งผลให้บริษัทพบกับความล้มเหลวมานับไม่ถ้วน ดังนั้นบริษัทจึงควรตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goal เพื่อช่วยให้คุณและทีมสามารถขัดเกลาแนวคิด รู้แนวทางปฏิบัติ และสามารถจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย รวมไปถึงยังสามารถระบุจุดแข็ง-จุดอ่อนในการทำงาน และช่วยจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย นอกจากนี้ SMART Goal ยังช่วยส่งเสริมความโปร่งใสในการทำงาน ช่วยให้พนักงานทุกคนเข้าใจความรับผิดชอบของตนเอง และเมื่อพนักงานมีจุดโฟกัสที่ชัดเจนและสามารถติดตามความคืบหน้าได้แล้วก็จะมีแรงจูงใจในการทำงานมากยิ่งขึ้นนั่นเอง เมื่อรู้แล้วว่า SMART Goal มีประโยชน์อย่างไร ในส่วนถัดไปเราจะมาพูดถึงองค์ประกอบการตั้ง SMART Goal กันว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด องค์ประกอบ 5 ประการของ SMART Goal 1. S - Specific เป้าหมายของคุณควรเป็นสิ่งที่ชี้เฉพาะ ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ และมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์เฉพาะเจาะจง เพราะฉะนั้นก่อนตั้งเป้าหมายคุณควรตอบคำถามให้ได้ว่าคุณต้องการบรรลุผลลัพธ์อะไร และเพื่อช่วยให้คำตอบของคุณชัดเจนยิ่งขึ้น หลักการ 5W จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่คุณควรพิจารณาควบคู่ไปกับการกำหนดคำตอบของคุณอยู่เสมอ ซึ่งประกอบไปด้วย Who (ใคร) - ใครมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายนี้? คำถามนี้สำคัญมากหากคุณมีทีมงานเข้ามาเกี่ยวข้อง What (อะไร) - คุณต้องการทำอะไรให้สำเร็จ? ควรระบุได้อย่างแม่นยำและชัดเจน Where (ที่ไหน) - เป้าหมายนี้สามารถทำให้สำเร็จได้ที่ไหนบ้าง? When (เมื่อไร) - ช่วงระยะเวลาในการทำเป้าหมายให้ประสบความสำเร็จ โดยคุณควรมีกรอบเวลาอย่างชัดเจน Why (ทำไม) - ทำไมถึงต้องการทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ? ตัวอย่างการระบุเป้าหมายแบบ SMART Goal: แทนที่จะกำหนดว่า “บริษัทต้องการเพิ่มอัตราความพึงพอใจในการใช้บริการของลูกค้า” ควรเปลี่ยนมาเป็นเป้าหมายที่ SMART มากยิ่งขึ้นด้วยการกำหนดว่า “บริษัทต้องการเพิ่มคุณภาพการบริการลูกค้า ทั้งในด้านความรวดเร็วและความสุภาพของพนักงาน รวมไปถึงอบรมให้พนักงานเข้าใจในงานบริการของบริษัทให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราความพึงพอใจของลูกค้า 90% ภายในระยะเวลา 6 เดือน” 2. M - Measurable SMART Goal จะต้องวัดผลได้ โดยต้องระบุวิธีการและเกณฑ์ในการประเมินความคืบหน้า เพื่อให้คุณและทีมสามารถติดตามผลงานได้ครบถ้วน ในขณะเดียวกันการวัดผลนี้ยังช่วยให้คุณและทีมมั่นใจได้ว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้สามารถจับต้องและทำให้สำเร็จได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้การประเมินความคืบหน้ายังช่วยให้คุณและทีมมองเห็นงานย่อยที่คุณหรือทีมต้องทำในจุดต่างๆ ด้วย 3. A - Achievable SMART Goal ต้องเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย แต่สามารถเป็นจริงได้ เพื่อกระตุ้นคุณและทีมให้คิดหาแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยคุณสามารถประเมินว่าเป้าหมายจะบรรลุผลได้หรือไม่จากระยะเวลาของเป้าหมาย งบประมาณ และความพร้อมของทรัพยากร 4. R - Relevant เป้าหมายควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจ และสอดคล้องกับพันธกิจของบริษัท โดยการตั้งเป้าหมายที่ดีไม่ควรเป็นเพียงโจทย์ที่ต้องทำ แต่ควรเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้แก่บริษัทได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่คุณกำหนดเป้าหมายแบบ SMART Goal คุณควรคำนึงถึงความคุ้มค่าในการทำ จำนวนทรัพยากรและเวลาที่จะทำให้เป้าหมายออกมาสำเร็จ รวมไปถึงสถานการณ์ ณ ตอนนั้นว่าเหมาะสมที่จะลงมือทำหรือไม่ เช่น หากคุณต้องการเพิ่มยอดขาย 50% ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เป้าหมายนี้ก็อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ ทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนและไม่สร้างประโยชน์ใดๆ ให้แก่บริษัท 5. Time-based การตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goal ควรมีกรอบเวลาที่ชัดเจน และเป็นระยะเวลาที่เป็นจริงได้ โดยต้องประเมินควบคู่ไปกับทรัพยากรที่คุณมี หากคุณไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เป้าหมายนั้นก็จะกลายเป็นเป้าหมายที่เลื่อนลอย คุณจะผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ และจะกลายเป็นเป้าหมายที่ไม่สำคัญในที่สุด เพราะคุณไม่มีแรงจูงใจในการทำให้สำเร็จตามกรอบเวลา เพราะฉะนั้นการกำหนดกรอบเวลาในการทำจึงเป็นตัวช่วยพลักดันให้คุณกระตือรือร้นและรู้สึกต้องทำมันอย่างเร่งด่วน ซึ่งจะส่งผลให้คุณเข้าใกล้ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น เทคนิคการกำหนดกรอบเวลาแบบ SMART Goal: นอกจากจะกำหนดกรอบเวลาใหญ่ในการทำให้เป้าหมายบรรลุผลแล้ว คุณควรกำหนดกรอบเวลาเล็กๆ สำหรับเป้าหมายเล็กๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ด้วย เพื่อให้คุณสามารถติดตามผลการดำเนินการได้อย่างใกล้ชิด และมีกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายใหญ่ของคุณต้องใช้เวลา 1 ปีในการบรรลุผล คุณควรกำหนดเป้าหมายเล็กเพิ่มเติมว่าภายใน 4 เดือน หรือ 8 เดือนคุณต้องทำอะไรให้สำเร็จก่อน สรุป SMART Goal ไม่ใช่แค่การตั้งเป้าหมายธรรมดาๆ แต่เป็นการตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ผ่านกระบวนการชี้เฉพาะเป้าหมาย การประเมินและการวัดผล การพิจารณาความสอดคล้องและความคุ้มค่า และการกำหนดกรอบเวลาแห่งความสำเร็จ ซึ่งแน่นอนว่าการทำ SMART Goal ของบริษัทเป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้นจากการกำหนดหรือตัดสินใจของบุคคลเพียงคนเดียว เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการระดมความคิดจากคนในทีม และมีการประสานงานที่ราบรื่น ซึ่ง True VWORK ก็มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี โดยช่วยให้คุณและทีมแชทหรือวิดีโอคอลได้ตลอดเวลา บรอดแคสต์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างไม่มีสะดุด มอบหมายและติดตามสถานะการทำงานของทีมได้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมายที่เป็นตัวช่วยให้คุณสามารถทำงานร่วมกับทีมได้อย่าง SMART อีกด้วย...
April 19, 2023
·
April 19, 2023
5 mins read
Transform Idea Pitching Online with Virtual Space powered by SPOT The Society of Medical Students of Thailand (SMST), under the patronage of His Majesty the King, utilized the Virtual Space platform powered by SPOT from True VWORLD to organize an online event aimed at enhancing the skill set of medical students throughout Thailand. This platform offers exceptional features that enable participants to create their avatars, decorate their workspace, communicate with others, and share their screen in real-time using their camera. Founded: 1991 Location: Thailand Industry: Non-Profit Challenges: The Society of Medical Students of Thailand (SMST) under the patronage of His Majesty the King decided to organize an online event to develop skills for medical students across the country with no restrictions on locations. The team was looking for a solution that included features that would allow participants to communicate with each other just like in a physical seminar. In the past year, they had organized online activities during the pandemic but encountered a problem the participants left the video open but did not really participate in the online event. Therefore, the team has organized the seminar as parallel sessions at the same time. The chosen platform must also be able to meet this issue. Solution: The Virtual Space powered by SPOT, supported by True VWorld, was chosen as the primary event space for the seminars, allowing participants to actively engage with each other. Benefits: The use of Virtual...
March 29, 2023
2 mins read
ในยุคที่มีการแข่งขันทางการตลาดอย่างเข้มข้น แน่นอนว่าแต่ละแบรนด์พยายามหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า และเพิ่มกำไรให้องค์กรของตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ยอดฮิตที่หลายๆ แบรนด์หันมาใช้กันก็คือการขยายช่องทางการขายผ่านไลฟ์สดนั่นเอง เพราะการไลฟ์สดช่วยให้แบรนด์ลงทุนน้อยลง แต่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสะดวกต่อการโปรโมต การขยายไลน์สินค้า และนำเสนอสินค้าใหม่ให้กับลูกค้าอีกด้วย แต่การไลฟ์สดให้ปังไม่ใช่แค่การกดปุ่ม "ถ่ายทอดสด" เท่านั้น เพราะฉะนั้นบทความนี้จึงมีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่สนามแห่งการไลฟ์สด และคว้าชัยชนะมาไว้ในมือได้อย่างมั่นใจ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูเคล็ด(ไม่)ลับ ที่จะช่วยให้คุณดึงดูดผู้ชมได้อยู่หมัด พร้อมสร้างยอดขายให้เติบโตผ่านการไลฟ์สดกันเลย Table of Contents เคล็ดลับที่ 1 : ทีมเวิร์กช่วยให้ไลฟ์สดประสบความสำเร็จ ทุกคนมีส่วนช่วยให้งานออกมาสำเร็จ เพราะฉะนั้นคุณจึงควรให้ความสำคัญกับทีมเวิร์กและการประสานงานที่ราบรื่นตลอดการทำงาน โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผน, การกำหนดหน้าที่และผู้รับผิดชอบส่วนต่างๆ, การสื่อสารเพื่ออัปเดตความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดประชุมทีมเพื่อเน้นย้ำแผนและสิ่งสำคัญอื่นๆ, การรายงานปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและวิธีขอความช่วยเหลือหากต้องการ รวมไปถึงการตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการไลฟ์สดทุกคนไม่ได้ลาหยุดหรือลาพักร้อนในวันไลฟ์สด ซึ่งการจะทำงานและประสานงานอย่างราบรื่นได้คุณควรมีเครื่องมือในการประสานงาน เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสารไร้รอยต่อ ไม่ว่าทีมจะทำงานจากที่บ้านหรือที่ทำงานก็สามารถพูดคุยอัปเดตสถานการณ์ได้แบบเรียลไทม์ โดย True VWORK เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะมีทั้งฟีเจอร์ Communication Hub ที่จะช่วยให้คุณและทีมคุยหรือวิดีโอคอลหากันได้ทุกที่, Task Management ที่สามารถมอบหมายและติดตามสถานะการทำงานของทีมได้ และ Staff Directory ที่ช่วยบริการจัดการทีมจากระยะไกล ซึ่งรวมไปถึงบริหารวันลาหยุดด้วย เคล็ดลับที่ 2 : วางแผนคอนเทนต์ดี ไลฟ์สดก็มีชัยไปกว่าครึ่ง แน่นอนว่าการเริ่มไลฟ์สดในแต่ละครั้ง ผู้ดำเนินการไลฟ์ต้องมีเป้าหมายในการไลฟ์อยู่แล้ว แต่จะสื่อสารไปถึงผู้ชมได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการวางแผนคอนเทนต์ว่าครอบคลุม ชัดเจน และตอบโจทย์เป้าหมายที่ตั้งไว้หรือยัง? เพราะฉะนั้นเราจึงมีหลักการง่ายๆ 3 ข้อที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ในการวางแผน สร้างคอนเทนต์ปังๆ ในแบบฉบับของคุณ ดังนี้ Who: รู้จักกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง คุณต้องการสื่อสารให้ใครฟัง? ผู้ชมของคุณต้องการอะไร? ผู้ชมของคุณอยู่ที่ไหน? เป็นคนท้องถิ่นหรือชาวต่างชาติ? หากเป็นชาวต่างชาติ คุณต้องคำนึงเรื่องการใช้ภาษาที่สอง รวมไปถึงวันที่และเวลาในการไลฟ์สดเพราะผู้ชมอาจไม่ได้อยู่ Time zone เดียวกับคุณก็ได้ What: เมื่อรู้แล้วว่าต้องการสื่อสารกับ “ใคร” ต่อมาก็ต้องวางแผนว่าคุณต้องการนำเสนออะไร? จะเล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงแบบไหน? ซึ่งการนำเสนอที่ดีจะต้อง สั้น กระชับ สร้าง Impact ได้ มีความเป็นธรรมชาติ และมีเอกลักษณ์ของตัวเอง เพื่อให้การไลฟ์สดของคุณไม่เหมือนใคร นอกจากนี้คุณควรคำนึงถึงสิ่งที่ผู้ชมจะได้รับจากคอนเทนต์ที่คุณส่งไปอีกด้วย Where: ต่อมาคือการเลือกแพลตฟอร์มที่ใช่ ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับผู้ชมเป็นหลัก โดยผู้ชมที่มีความสนใจหรืออายุที่แตกต่างกัน มักจะมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียแตกต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นคุณจึงควรเลือกแพลตฟอร์มที่สามารถดึงดูดผู้ชมที่คุณต้องการสื่อสารมากที่สุด ซึ่งเราจะบอกความแตกต่างและวิธีการเลือกแพลตฟอร์มในการไลฟ์สดในส่วนถัดไป เคล็ดลับที่ 3 : เลือกแพลตฟอร์มสำหรับไลฟ์สดให้ปัง หลังจากที่คุณรู้แล้วว่าจะทำคอนเทนต์อะไร และจะสื่อสารให้ใครฟัง ต่อมาคือการเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่ให้บริการสตรีมวิดีโอ และถ้าให้เราอธิบายทุกแพลตฟอร์มก็อาจจะทำให้บทความนี้ยาวเกินไป เพราะฉะนั้นเราจึงคัดเลือก 4 แพลตฟอร์มยอดนิยมมาให้คุณเลือกตัดสินใจใช้ดังนี้ True VROOM Live Streaming บริการไลฟ์สดคุณภาพสูงจากทาง True ที่เชื่อมต่อคนทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน พร้อมฟังก์ชันที่ครบถ้วนในการสนับสนุนการนำเสนอการไลฟ์อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนำเสนองาน ประชุมกลุ่มทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จนถึงโฆษณาสินค้า True VROOM ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ตอบโจทย์เป็นอย่างดี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM Live Streaming Facebook Live Facebook Live เป็นหนึ่งในบริการถ่ายทอดสดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก ทำให้คุณมีโอกาสที่จะเข้าถึงกลุ่มคนในวงกว้าง คุณสามารถไลฟ์สดได้ง่ายๆ เพียงแค่กดปุ่มสตรีมวิดีโอไปยังหน้า Facebook ของตัวเอง และ Facebook Live ก็ยังสามารถบันทึกวิดีโอระหว่างไลฟ์สด ทำให้ผู้ชมสามารถเข้ามาดูไลฟ์ย้อนหลัง และกำหนดผู้ชมที่สามารถเข้ามาชมไลฟ์ของคุณได้อีกด้วย Instagram Live เนื่องจากเจ้าของ Instagram คือบริษัท Meta ซึ่งเป็นเจ้าของ Facebook ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นการไลฟ์สดบน Instagram Live จึงง่ายและสะดวกสบายเหมือนการไลฟ์สดบน Facebook Live โดยผู้ติดตามคุณที่กำลังออนไลน์อยู่จะได้รับการแจ้งเตือนเมื่อคุณไลฟ์ ทำให้ผู้ติดดามของคุณไม่พลาดทุกการไลฟ์สด นอกจากนี้ยังมีฟิลเตอร์ช่วยเพิ่มกิมมิคในการตกแต่งวิดีโอให้น่าสนใจอีกด้วย แต่ข้อจำกัดของ Instagram Live คือ สามารถไลฟ์ได้สูงสุด 60 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ YouTube Live เนื่องจาก YouTube เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอคอนเทนต์อยู่แล้ว ทำให้ผู้ชมมีแนวโน้มที่จะดูไลฟ์สดของคุณนานกว่าแฟลตฟอร์มอื่นๆ ข้อดีอีกประการของ YouTube Live คือคุณสามารถหารายได้จากค่าโฆษณา ผ่าน Google Adsense ซึ่งจะมาในรูปแบบโฆษณาที่ขึ้นก่อนที่เราจะดูวีดีโอได้ TikTok Live หากกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการจะสื่อสารคือกลุ่ม Millennials และ Gen Z การใช้ TikTok Live ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจาก TikTok เป็นโซเชียลมีเดียที่กลุ่ม Millennials และ Gen Z นิยมใช้งานมาก นอกจากนี้ไลฟ์สดของ Tiktok ยังมีฟีเจอร์ให้ผู้ชมสามารถส่ง “ของขวัญ" ซึ่งเป็นรางวัลดิจิทัลที่สตรีมเมอร์สามารถแลกเป็นเงินจริงได้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้เลยทีเดียว เคล็ดลับที่ 4 : เลือกช่วงเวลาไลฟ์สดให้ดี ควรเลือกช่วงเวลาในการไลฟ์โดยพิจารณาปัจจัยโดยรอบ เพราะบางทีช่วงเวลาการออนไลน์ของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน เช่น กลุ่มแม่บ้านอาจมีช่วงเวลาที่สนใจไลฟ์หลัง 2 ทุ่ม หรือ กลุ่มพนักงานอาจสนใจเปิดไลฟ์หลัง 6 โมงเย็น โดยข้อมูลต่างๆ สามารถประเมินได้จากเว็บไซต์รวบรวมสถิติไปจนถึงการทำงานหลังบ้านของแต่ละแพลตฟอร์ม เพราะคุณไม่ได้ไลฟ์สดอยู่คนเดียว แต่กำลังแข่งขันกับไลฟ์สดของคนอื่นๆ ทั่วโลก เพราะฉะนั้นการเลือกช่วงเวลาไลฟ์สดที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เคล็ดลับที่ 5...
March 29, 2023
2 mins read
ทุกวันนี้ Design หรือ การออกแบบ ไม่ได้ถูกจำกัดว่าต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กลายเป็นวัตถุที่จับต้องได้เท่านั้น แต่สามารถนำไปประยุกต์กับกระบวนการคิด เพื่อให้เกิดเป็นการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ที่สามารถเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาขององค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ได้นับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Airbnb, Oral-B และองค์กรอื่นๆ อีกมากมาย โดยบทความนี้จะอธิบายความหมายของ Design Thinking พร้อมขั้นตอนการเริ่มลงมือทำและเคล็ดลับเด็ดที่นำไปใช้ได้จริง ถ้าพร้อมแล้ว มาทำความรู้จักกับ Design Thinking กันเลย Table of Contents Design Thinking คืออะไร? Design Thinking คือ กระบวนการคิดที่เน้นการออกแบบสิ่งต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปจนถึงออกแบบสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดผ่านการทำความเข้าใจความต้องการของคนเหล่านั้น การ Design Thinking จะมุ่งเน้นที่โซลูชันและการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการตั้งคำถามกับสมมติฐาน การทำงานร่วมกัน การระดมสมอง และการสร้างต้นแบบ (Prototype) เพื่อทดสอบแนวคิดและรับคำติชม นอกจากนี้การคิดแบบ Design Thinking ยังสนับสนุนการคิดนอกกรอบ เปิดกว้าง สร้างสรรค์และไร้ขีดจำกัด เพื่อรวบรวมไอเดียใหม่ๆ ทั้งหมดมาพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่คนส่วนมากคิดว่าทำไม่ได้ หนึ่งในแบรนด์ที่สามารถใช้ Design Thinking ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ Netflix แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งชื่อดังนั่นเอง โดยในช่วงก่อตั้งบริษัท Netflix มีคู่แข่งหลักคือ Blockbuster ซึ่งทำธุรกิจเช่าภาพยนตร์ที่ครองอับดับหนึ่งของโลกมานานถึง 28 ปี โดยลูกค้าที่ต้องการเช่าและคืนภาพยนต์จะต้องเดินทางไปรับหรือคืนดีวีดีที่หน้าร้าน ซึ่งเป็นปัญหาหลักสำหรับหลายๆ คนที่ไม่สะดวกเดินทาง Netflix ที่มองเห็นและเข้าใจปัญหาดังกล่าวจึงแก้ไขปัญหานั้นด้วยการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถดูภาพยนต์ที่บ้านได้ง่ายๆ โดยการจัดส่งดีวีดีถึงบ้านลูกค้าโดยตรง ผ่านรูปแบบการรับสมัครข้อมูล (Subscription Model) วิธีการนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ปฏิวัติวงการภาพยนตร์เป็นอย่างมาก แต่ Netflix ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น Netflix ได้พัฒนานวัตกรรมต่างๆ โดยเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ เช่น บริการสตรีมมิ่งแบบออนดีมานด์ (On-Demand Streaming Service) เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถดูภาพยนต์ที่ไหน เมื่อไรก็ได้ โดยไม่ต้องรอการจัดส่งดีวีดีอีกต่อไป เรียกได้ว่า Netflix สามารถนำกระบวนการคิดแบบ Design Thinking มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้ปัจจุบันมีผู้ใช้งานทั่วโลกทั้งสิ้น 223.09 ล้านคน ทำไม Design Thinking ถึงมีความสำคัญกับ Digital Workplace ก่อนที่จะทำความเข้าใจว่า Design Thinking มีประโยชน์อย่างไรในการทำงานแบบ Digital Workplace เรามารู้จักกับ Digital Workplace กันก่อนดีกว่าว่า Digital Workplace คืออะไร? เพื่อที่จะได้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้มากยิ่งขึ้น Digital Workplace คือ การทำงานรูปแบบใหม่ที่นำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้งานในทุกขั้นตอน เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยหัวใจหลักของการทำ Digital Workplace คือการที่ทุกคนสามารถสื่อสารกันได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม เพราะบางครั้งไอเดียเล็กๆ จากพนักงานก็อาจสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ได้ แต่หากองค์กรทอดทิ้งไอเดียนั้นเพียงเพราะส่งเสียงไปไม่ถึงก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเช่นกัน เพราะฉะนั้นหากนำรูปแบบการคิดแบบ Design Thinking ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการดำเนินการ มารวมกับการทำงานแบบ Digital Workplace ซึ่งเน้นการทำงานที่คล่องตัว ช่วยให้พนักงานทำงานร่วมกันได้ง่าย ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายต่อองค์กร ดังนี้ 1. ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน บริษัทส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญและลงทุนไปกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเปิดตัวแนวคิด ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่หากลงทุนไปโดยไม่ได้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานตั้งแต่แรก ก็อาจทำให้บริษัทไม่ประสบผลสำเร็จได้ เพราะฉะนั้น Design Thinking จึงช่วยลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงในการลงทุนนวัตกรรมผ่านการสร้างตัวต้นแบบ (Prototype) เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน และองค์กรได้ร่วมเรียนรู้ ทดสอบ และพัฒนาจากความผิดพลาด วิธีนี้จึงช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนไป (ล้มเหลวบ่อย แต่ประสบความสำเร็จเร็ว) การนำ Design Thinking มาใช้ในองค์กรส่งผลให้วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนแปลงไปด้วยตัวของมันเอง เนื่องจากการคิดเชิงออกแบบจะทำให้พนักงานได้ทำงานร่วมกัน เคารพความคิดเห็นของกันและกัน เปิดกว้างและแสวงหาไอเดียใหม่ๆ เสมอ เพื่อหาวิธีการที่ดีกว่าและเพื่อให้งานออกมาประสบผลสำเร็จ Design Thinking ยังมีแนวคิดการสร้างต้นแบบ (Prototype) เพื่อทดสอบว่าสิ่งที่พนักงานคิดนั้นใช้ได้จริงหรือไม่ ซึ่งนอกจากการสร้าง Prototype จะถือว่าเป็นองค์ประกอบหลักของ Design Thinking แล้ว ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม (Culture of Innovation) อีกด้วย พนักงานจะสามารถจำลองแนวคิดใหม่ๆ และเริ่มทดสอบได้ทันทีเพื่อให้เห็นผลลัพธ์และรับคำติชมได้อย่างรวดเร็ว และถึงแม้ว่าพวกเขาอาจจะต้องล้มเหลวบ่อยครั้ง แต่ประสบการณ์เหล่านั้นจะกลายเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่ทรงพลัง และเป็นเกราะป้องกันให้พวกเขาไม่กลัวที่จะล้มเหลวอีกต่อไป นำมาซึ่งเส้นทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจนและประสบความสำเร็จเร็วกว่าคู่แข่งคนอื่นๆ 3. สามารถจัดการกับปัญหาที่ไม่ทราบสาเหตุได้เป็นอย่างดี Design Thinking ช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหาที่ไม่ชัดเจนหรือไม่ทราบสาเหตุได้ เนื่องจากองค์กรจะให้ความสำคัญกับผู้ใช้เป็นหลัก และมุ่งเน้นไปที่สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้ ทำให้สามารถเข้าใจปัญหาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะสนับสนุนให้ทีม “คิดนอกกรอบ” เพื่อดึงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานออกมาให้มากที่สุด นำไปสู่การค้นพบวิธีการและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี เริ่มคิดและลงมือทำ Design Thinking ใน 5 ขั้นตอน 1. Empathize – เข้าใจปัญหาด้วยการตั้งคำถาม ขั้นตอนแรกของ Design Thinking คือการทำความเข้าใจผู้ใช้งาน โดยคุณจะต้องเป็นคนหูไวตาไว ชอบตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบที่เป็นไอเดียใหม่ๆ โดยการตั้งคำถามควรคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง หลังจากนั้นจึงเริ่มค้นหาคำตอบด้วยการเห็นอกเห็นใจผู้ใช้ คุณอาจจะคอยสังเกตการณ์หรือเอาตนเองไปอยู่ในสถานการณ์นั้นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและทำความเข้าใจปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง วิธีการนี้จะทำให้คุณได้ข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริง รู้ความต้องการและแรงจูงใจของผู้ใช้ และเข้าใจปัญหาที่เป็นรากฐานของการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คุณต้องการสร้าง 2. Define - กำหนดปัญหาและความต้องการให้ชัดเจน...
March 20, 2023
2 mins read
การทำงานจากหลากหลายกลุ่มย่อยไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Startup ขนาดเล็กหรือบริษัทใหญ่ระดับโลกต่างต้องประสบกับปัญหาของลำดับขั้นการสั่งการ การตรวจสอบงานที่ยุ่งยาก การประยุกต์ใช้แนวคิด Agile ซึ่งเป็นหนึ่งในการทำงานที่เน้นความยืดหยุ่น กระจายงานต่างๆ ในทีม ลดลำดับขั้นตอน จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจเพื่อประยุกต์ใช้ในยุคปัจจุบัน Agile มีแนวคิดและแนวทางการทำงานอย่างไร มีบริษัทใดได้ทดลองใช้แล้วบ้าง เราได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาเพื่อให้คุณเข้าใจได้ง่ายๆ ที่นี่ Table of Contents Agile คืออะไร? Agile คือ กระบวนการทำงานที่ลดขั้นตอนการทำงานแบบบัญชาการเป็นขั้นๆ และขั้นตอนการใช้เอกสารอนุมัติลง เน้นการทำงานร่วมกันในแนวราบระหว่างทีม กระจายงานอย่างทั่วถึงมากขึ้น ทำให้สามารถทำงานต่างๆ ได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องรอการอนุมัติการสั่งการจากคนที่มีตำแหน่งสูงกว่า ภายใต้รูปแบบการทำงานนี้ยังมีการแบ่งแผนงานเป็นระยะสั้นๆ หลายๆ แผน มากกว่าแผนงานระยะยาวเพียงแผนเดียวซึ่งปรับเปลี่ยนได้ยาก ซึ่งตอบโจทย์สำหรับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ในจุดเริ่มต้น Agile นั้นเกิดจากทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการกระบวนการทำงานที่รวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และมันก็ถูกปรับใช้อย่างแพร่หลายในวงการสตาร์ทอัพ และสุดท้ายก็กระจายไปทั่วโลกในฐานะหนึ่งในกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่สุด Agile มักถูกพูดถึงพร้อมๆ กับกรอบการทำงาน (Framework) อย่าง Scrum ที่เป็นการลดตำแหน่งภายในทีมลง ให้ความสำคัญว่าทุกคนคือ “คนทำงาน” มากขึ้น เน้นการส่งงานเร็ว และบ่อย โดยมีตำแหน่งที่เรียกว่า Product Owner คอยดูแลภาพรวมเป็นหลัก ว่าจะต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ควรปรับปรุงจุดไหนบ้าง คำแถลงการณ์ของ Agile คำแถลงการณ์นี้เกิดขึ้นจากกลุ่มคน 17 คนที่ตั้งกระบวนการ Agile ขึ้น เป็นการระบุ ชี้นำ ว่าผู้ที่ต้องการทำงานกระบวนการ Agile ต้องเป็นไปตามนี้ คือ คนและการมีปฏิสัมพันธ์ สำคัญกว่าขั้นตอนและเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ (สำหรับบริษัททั่วไปคือ งาน) ที่ใช้ได้จริง อยู่เหนือกว่าเอกสารที่ครบถ้วน ร่วมมือทำงานกับลูกค้า มากกว่าการต่อรองในสัญญา ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการทำตามแผนที่วางเอาไว้ แน่นอนว่าเนื้อหาภายใต้คำแถลงการณ์ยังมีสิ่งยิบย่อยลงไป แต่หลักใหญ่ใจความก็จะถูกอ้างอิงตามนี้แทบทั้งสิ้น และหากพิจารณาในคำแถลงดังกล่าวก็นับได้ว่า Agile เป็นหนึ่งในวิธีการทำงานที่เน้นความยืดหยุ่น ไม่ยึดติดกับกรอบเท่าใดนัก แต่ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากเป็นบริษัทที่มีความยึดมั่นในแผนแหละกฎเกณฑ์สูง วิธีนี้อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก ข้อดีของ Agile 1. ความยืดหยุ่นสูง ความยืดหยุ่น เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่ชัดเจนที่สุดสำหรับ Agile เพราะกระบวนการทำงานที่ต้องผ่านการอนุมัติจากเบื้องบนจะลดลง เน้นการพูดคุย ปรึกษาในทีมเป็นหลักสำคัญ ทำให้สามารถโยกย้ายงานตามความเหมาะสมได้ จัดการงานตามหลักความเร่งด่วนได้ง่าย 2. สามารถทำงานแยกกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อที่แล้ว การทำงานแบบ Agile จะเน้นการทำงานแบบทีมย่อยมากกว่าการสร้างทีมใหญ่แล้วส่งข้อมูลหาคนๆ เดียว ทำให้ในแต่ละทีมสามารถทำงานแยกกันได้ แต่ยังคงต้องมีการสื่อสารระหว่างทีมที่ดี เนื่องจากการทำงานแบบ Agile จะเน้นทำทุกอย่างไปในเวลาเดียวกัน พร้อมๆ กัน หากมีทีมใดทีมหนึ่งช้า อาจทำให้เกิดการเสียกระบวนการทำงานได้ 3. จัดการปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว การใช้งาน Agile จะเป็นกระบวนการที่ทำให้การทำงาน และการจัดการปัญหาต่างๆ เร็วขึ้นในระยะยาว เนื่องจากลดกระบวนการในการอนุมัติจากหลากหลายตำแหน่งลง ทุกคนสามารถเห็นปัญหา นำเสนอปัญหา และใช้กระบวนการต่างๆ ในการแก้ไขโดยไม่จำเป็นต้องผ่านการการอนุมัติแบบซ้ำซ้อน เน้นการสื่อสารและความเข้าใจของคนในทีมเป็นหลัก สิ่งสำคัญในการสร้าง Agile คืออาจกินเวลาในช่วงแรก เนื่องจากคนไม่คุ้นเคยกับการทำงานแบบองค์รวม ยังติดการทำงานแบบ Water Fall หรือการรอรับคำสั่งแบบเดิมๆ อยู่ การทำงานแบบ Agile ของบริษัทใหญ่ Microsoft บริษัทระดับโลกอย่าง Microsoft เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการกล่าวถึง Agile อยู่บ่อยครั้ง และมองว่าเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่มีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ โดยทาง Microsoft มีการใช้กระบวนการดังกล่าวในการสร้างซอฟต์แวร์ราวปี 2008 โดยการศีกษาช่วงแรกมีการระบุว่าแม้แต่ตัว Microsoft เองก็ยังต้องปรับตัวพอสมควรเช่นกัน Aaron Bjork หนึ่งในทีม Management ของ Microsoft ได้มีการแชร์ความรู้เกี่ยวกับการทำ Agile ช่วงเริ่มแรกไว้ว่า ทางฝ่ายบริหารของบริษัทจะใช้การกำหนดสโคปและเป้าหมาย ให้ทุกคนในบริษัทรู้ทั่วกัน ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวมีทิศทางเป็นอย่างไร ก่อนจะเปิดกว้างให้คนในทีมสามารถนำเสนองานอย่างอิสระ และทำงานอย่างเสรีมากกว่าการสั่งงานแบบเป็นลำดับขั้นเหมือนกับอดีต และเน้นให้แต่ละทีมมีการจัดการกันเอง Google อีกหนึ่งบริษัทที่น่าสนใจสำหรับการประยุกต์ใช้ Agile คือ Google ที่เป็นบริษัทที่ขึ้นชื่อด้านความไว และความยืดหยุ่นอยู่แล้ว โดยหนึ่งใน Case Study ที่พบได้บ่อยคือการสร้าง Google Chrome นั่นเอง ในช่วงต้นทาง Google ได้มีการกำหนดระยะเวลา 6 สัปดาห์ ในการปล่อยฟีเจอร์ใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ และมีการแบ่งทีมต่างๆ ให้ย่อยลงเพื่อทำให้การจัดการอยู่ในแนวระนาบมากขึ้น มากกว่าการสั่งการจากบนลงล่าง ซึ่งแน่นอนว่าพนักงานบางคนภายใน Google ก็มองว่าวิธีนี้ไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และมีความรีบเร่งแข่งขันเกินไป ในภายหลัง Google จึงมีการประยุกต์ Agile ควบคู่ไปกับวิธีการอื่นๆ เพื่อใช้งานทั้งกับโปรเจ็คระยะสั้น และระยะยาว ทำให้ได้ผลงานที่หลากหลาย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะทำอย่างไรหากอยากทำงานแบบ Agile วิธีการทำงานด้วยแนวคิด Agile ไม่ใช่สิ่งที่ครอบคลุมทุกอย่าง และตัว Agile เองก็มีจุดบอดดังที่ระบุไว้ ว่าหากทีมใดทีมหนึ่งมีความล่าช้า หรือการติดต่อสื่อสารนั้นไม่เป็นไปตามที่ควร การทำงานแบบ Agile เองก็สามารถล้มเหลวได้ ดังนั้นคำแนะนำในการทำงานแบบ Agile ในบทความนี้จึงเริ่มจากคำแนะนำง่ายๆ ที่คุณสามารถปฏิบัติได้ 1. วางแผนการทำงานแบบทีมเล็กๆ จากตัวอย่างข้างต้น ชัดเจนว่า Agile อาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะหากประยุกต์ใช้กับบริษัท ดังนั้นจุดเริ่มต้นควรอยู่ในระดับทีมเล็กๆ โดยวางแผนการทำงานที่ไม่เน้นการสั่งการจากบนลงล่าง แต่เน้นการแชร์ความรู้ เป้าหมาย และมอบหมายการจัดการเพื่อนำเสนอสิ่งต่างๆ จากล่างขึ้นบนว่าควรทำอย่างไร...