TRUE VIRTUAL WORLD
Products

All-in-one secure video meeting, live streaming and collaboration tool for small business and large corporations

Learn more

Virtual workspace for individuals and teams to create and share easily from anywhere

Learn more

Integrated platform offering online classes and instruction for individuals, professionals and groups.

Learn more
Solutions
All Solutions

Individual

Be productive from home, office, and anywhere in between

Enterprise

Effective remote work solutions for small businesses to large corporations

Education

Powerful hybrid learning platform for education professionals and students

Government

Secure and transparent all-in-one workspace for government offices

Pricing
Resources
FAQs

Ebooks & Checklists

Articles
Book a Demo
Sign in
Sign Up For Free
Products
VROOM

All-in-one secure video meeting, live streaming and collaboration tool for small business and large corporations

VWORK

Virtual workspace for individuals and teams to create and share easily from anywhere

VLEARN

Integrated platform offering online classes and instruction for individuals, professionals and groups.

Solutions
All Solutions

Individual

Be productive from home, office, and anywhere in between

Enterprise

Effective remote work solutions for small businesses to large corporations

Education

Powerful hybrid learning platform for education professionals and students

Government

Secure and transparent all-in-one workspace for government offices

Pricing
Resources
FAQs

Ebooks & Checklists

Articles
Book a Demo
Sign in
VROOM

VWORK

VLEARN

Sign Up For Free
VROOM

VWORK

VLEARN

March 29, 2023
·
Trends
2 mins read

ทักษะ Design Thinking สำคัญอย่างไรใน Digital Workplace

SHARE

ทุกวันนี้ Design หรือ การออกแบบ ไม่ได้ถูกจำกัดว่าต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กลายเป็นวัตถุที่จับต้องได้เท่านั้น แต่สามารถนำไปประยุกต์กับกระบวนการคิด เพื่อให้เกิดเป็นการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ที่สามารถเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาขององค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ได้นับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Airbnb, Oral-B และองค์กรอื่นๆ อีกมากมาย

โดยบทความนี้จะอธิบายความหมายของ Design Thinking พร้อมขั้นตอนการเริ่มลงมือทำและเคล็ดลับเด็ดที่นำไปใช้ได้จริง ถ้าพร้อมแล้ว มาทำความรู้จักกับ Design Thinking กันเลย

Table of Contents

Design Thinking คืออะไร?

Design Thinking คือ กระบวนการคิดที่เน้นการออกแบบสิ่งต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปจนถึงออกแบบสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดผ่านการทำความเข้าใจความต้องการของคนเหล่านั้น

การ Design Thinking จะมุ่งเน้นที่โซลูชันและการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการตั้งคำถามกับสมมติฐาน การทำงานร่วมกัน การระดมสมอง และการสร้างต้นแบบ (Prototype) เพื่อทดสอบแนวคิดและรับคำติชม นอกจากนี้การคิดแบบ Design Thinking ยังสนับสนุนการคิดนอกกรอบ เปิดกว้าง สร้างสรรค์และไร้ขีดจำกัด เพื่อรวบรวมไอเดียใหม่ๆ ทั้งหมดมาพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่คนส่วนมากคิดว่าทำไม่ได้

หนึ่งในแบรนด์ที่สามารถใช้ Design Thinking ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ Netflix แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งชื่อดังนั่นเอง โดยในช่วงก่อตั้งบริษัท Netflix มีคู่แข่งหลักคือ Blockbuster ซึ่งทำธุรกิจเช่าภาพยนตร์ที่ครองอับดับหนึ่งของโลกมานานถึง 28 ปี โดยลูกค้าที่ต้องการเช่าและคืนภาพยนต์จะต้องเดินทางไปรับหรือคืนดีวีดีที่หน้าร้าน ซึ่งเป็นปัญหาหลักสำหรับหลายๆ คนที่ไม่สะดวกเดินทาง

Netflix ที่มองเห็นและเข้าใจปัญหาดังกล่าวจึงแก้ไขปัญหานั้นด้วยการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถดูภาพยนต์ที่บ้านได้ง่ายๆ โดยการจัดส่งดีวีดีถึงบ้านลูกค้าโดยตรง ผ่านรูปแบบการรับสมัครข้อมูล (Subscription Model) วิธีการนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ปฏิวัติวงการภาพยนตร์เป็นอย่างมาก แต่ Netflix ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น Netflix ได้พัฒนานวัตกรรมต่างๆ โดยเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ เช่น บริการสตรีมมิ่งแบบออนดีมานด์ (On-Demand Streaming Service) เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถดูภาพยนต์ที่ไหน เมื่อไรก็ได้ โดยไม่ต้องรอการจัดส่งดีวีดีอีกต่อไป เรียกได้ว่า Netflix สามารถนำกระบวนการคิดแบบ Design Thinking มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้ปัจจุบันมีผู้ใช้งานทั่วโลกทั้งสิ้น 223.09 ล้านคน

design-thinking-01

ทำไม Design Thinking ถึงมีความสำคัญกับ Digital Workplace

ก่อนที่จะทำความเข้าใจว่า Design Thinking มีประโยชน์อย่างไรในการทำงานแบบ Digital Workplace เรามารู้จักกับ Digital Workplace กันก่อนดีกว่าว่า Digital Workplace คืออะไร? เพื่อที่จะได้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้มากยิ่งขึ้น

Digital Workplace คือ การทำงานรูปแบบใหม่ที่นำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้งานในทุกขั้นตอน เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยหัวใจหลักของการทำ Digital Workplace คือการที่ทุกคนสามารถสื่อสารกันได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม เพราะบางครั้งไอเดียเล็กๆ จากพนักงานก็อาจสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ได้ แต่หากองค์กรทอดทิ้งไอเดียนั้นเพียงเพราะส่งเสียงไปไม่ถึงก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเช่นกัน

เพราะฉะนั้นหากนำรูปแบบการคิดแบบ Design Thinking ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการดำเนินการ มารวมกับการทำงานแบบ Digital Workplace ซึ่งเน้นการทำงานที่คล่องตัว ช่วยให้พนักงานทำงานร่วมกันได้ง่าย ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายต่อองค์กร ดังนี้

1. ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน

บริษัทส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญและลงทุนไปกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเปิดตัวแนวคิด ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่หากลงทุนไปโดยไม่ได้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานตั้งแต่แรก ก็อาจทำให้บริษัทไม่ประสบผลสำเร็จได้ เพราะฉะนั้น Design Thinking จึงช่วยลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงในการลงทุนนวัตกรรมผ่านการสร้างตัวต้นแบบ (Prototype) เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน และองค์กรได้ร่วมเรียนรู้ ทดสอบ และพัฒนาจากความผิดพลาด วิธีนี้จึงช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนไป (ล้มเหลวบ่อย แต่ประสบความสำเร็จเร็ว)

การนำ Design Thinking มาใช้ในองค์กรส่งผลให้วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนแปลงไปด้วยตัวของมันเอง เนื่องจากการคิดเชิงออกแบบจะทำให้พนักงานได้ทำงานร่วมกัน เคารพความคิดเห็นของกันและกัน เปิดกว้างและแสวงหาไอเดียใหม่ๆ เสมอ เพื่อหาวิธีการที่ดีกว่าและเพื่อให้งานออกมาประสบผลสำเร็จ

Design Thinking ยังมีแนวคิดการสร้างต้นแบบ (Prototype) เพื่อทดสอบว่าสิ่งที่พนักงานคิดนั้นใช้ได้จริงหรือไม่ ซึ่งนอกจากการสร้าง Prototype จะถือว่าเป็นองค์ประกอบหลักของ Design Thinking แล้ว ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม (Culture of Innovation) อีกด้วย พนักงานจะสามารถจำลองแนวคิดใหม่ๆ และเริ่มทดสอบได้ทันทีเพื่อให้เห็นผลลัพธ์และรับคำติชมได้อย่างรวดเร็ว และถึงแม้ว่าพวกเขาอาจจะต้องล้มเหลวบ่อยครั้ง แต่ประสบการณ์เหล่านั้นจะกลายเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่ทรงพลัง และเป็นเกราะป้องกันให้พวกเขาไม่กลัวที่จะล้มเหลวอีกต่อไป นำมาซึ่งเส้นทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจนและประสบความสำเร็จเร็วกว่าคู่แข่งคนอื่นๆ

3. สามารถจัดการกับปัญหาที่ไม่ทราบสาเหตุได้เป็นอย่างดี

Design Thinking ช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหาที่ไม่ชัดเจนหรือไม่ทราบสาเหตุได้ เนื่องจากองค์กรจะให้ความสำคัญกับผู้ใช้เป็นหลัก และมุ่งเน้นไปที่สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้ ทำให้สามารถเข้าใจปัญหาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะสนับสนุนให้ทีม “คิดนอกกรอบ” เพื่อดึงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานออกมาให้มากที่สุด นำไปสู่การค้นพบวิธีการและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี

เริ่มคิดและลงมือทำ Design Thinking ใน 5 ขั้นตอน

1. Empathize – เข้าใจปัญหาด้วยการตั้งคำถาม

ขั้นตอนแรกของ Design Thinking คือการทำความเข้าใจผู้ใช้งาน โดยคุณจะต้องเป็นคนหูไวตาไว ชอบตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบที่เป็นไอเดียใหม่ๆ โดยการตั้งคำถามควรคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง หลังจากนั้นจึงเริ่มค้นหาคำตอบด้วยการเห็นอกเห็นใจผู้ใช้ คุณอาจจะคอยสังเกตการณ์หรือเอาตนเองไปอยู่ในสถานการณ์นั้นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและทำความเข้าใจปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง วิธีการนี้จะทำให้คุณได้ข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริง รู้ความต้องการและแรงจูงใจของผู้ใช้ และเข้าใจปัญหาที่เป็นรากฐานของการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คุณต้องการสร้าง

2. Define – กำหนดปัญหาและความต้องการให้ชัดเจน

หลังจากที่รู้ปัญหาอย่างชัดเจนแล้วก็ถึงเวลานำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อคัดกรองและหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง โดยการวิเคราะห์จะต้องยึดหลักผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้มีทิศทางและแนวทางในการปฏิบัติอย่างชัดเจนต่อไป

3. Ideate – ระดมความคิดและค้นหาไอเดียที่เป็นไปได้มากที่สุด

เมื่อเข้าใจความต้องการของผู้ใช้และวิเคราะห์ปัญหาออกมาเป็นข้อสังเกตต่างๆ แล้ว คุณสามารถเริ่มระดมความคิดเห็นกับคนในทีมได้เลย โดยแต่ละคนจะมองปัญหาจากมุมมองที่แตกต่างกัน ทำให้เห็นปัญหาได้รอบด้านและละเอียดมากขึ้น นอกจากนี้ยังเกิดการคิดนอกกรอบที่จะช่วยให้ทีมได้ไอเดียใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา และบางไอเดียอาจช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างรอบคอบอีกด้วย หลังจากนั้นจึงเลือกไอเดียที่น่าทดลอง หรือน่าจะเป็นไปได้มากที่สุดมาทดสอบจริง

4. Prototype – แปลงไอเดียให้เป็นรูปเป็นร่าง

ขั้นตอนการสร้าง Prototype หรือตัวต้นแบบ เป็นการนำไอเดียที่ถูกคัดเลือกมาสร้างจริง ก่อนที่จะนำไปทดสอบในขั้นตอนถัดไป ในขั้นตอนนี้ไม่ควรใช้งบประมาณมากเกินไปสำหรับการออกแบบและการผลิต เนื่องจากจุดประสงค์หลักคือการพิสูจน์ว่าไอเดียที่เลือกมานั้นแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ โดยอาจจะทำการทดสอบภายในองค์กร หรือกลุ่มคนเล็กๆ นอกองค์กรก็ได้

5. Test – ทดสอบก่อนนำไปใช้งานจริง

ทดลองนำ Prototype หรือต้นแบบไปใช้จริง โดยในขั้นตอนนี้อาจมีการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง หรือแก้ไขซ้ำหลายรอบ เพื่อรับคำติชม ทำความเข้าใจพฤติกรรม ความคิด และความรู้สึกของผู้ใช้อย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงเพื่อหาไอเดียที่แก้ไขปัญหาได้จริงและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด

Key Takeaways – อย่ายึดติดกับลำดับขั้นตอน

Design Thinking ไม่มีขั้นตอนที่ตายตัว เพราะเป้าหมายของ Design Thinking คือการทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้ และหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นคุณจึงไม่ควรยึดติดกับการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน 5 ขั้นตอนด้านบน แต่ควรมีความยืดหยุ่น เช่น ภายในทีมอาจทำมากกว่า 1 ขั้นตอนไปพร้อมๆ กัน หรือหากปฏิบัติครบ 5 ขั้นตอนแล้ว ทีมอาจจะได้ผลลัพธ์หรือข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับผู้ใช้ ซึ่งนำไปสู่การระดมสมองอีกครั้ง (Ideate) หรือการพัฒนาต้นแบบใหม่ (Prototype) ทำให้สามารถขยายขอบเขตของโซลูชัน กลายเป็นนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับอุดมคติของผู้ใช้มากที่สุด

สรุป

Design Thinking หรือ การคิดเชิงออกแบบ เป็นกระบวนการคิดที่ให้ความสำคัญกับผู้ใช้เป็นหลัก ทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สร้างจากแนวคิดนี้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันแนวคิดนี้จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหากองค์กรมีรูปแบบการทำงานแบบ Digital Workplace ที่ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน โดยเฉพาะการสื่อสารภายในองค์กร

และหากคุณต้องการปรับเปลี่ยนการสื่อสารภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น True VWORK สามารถช่วยคุณได้ โดย True VWORK จะช่วยให้การติดต่อสื่อสารทางไกลเป็นเรื่องง่าย พร้อมทั้งฟีเจอร์มอบหมายและติดตามสถานะการทำงานที่จะทำให้คุณและทีมได้รู้ว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนไหนของการทำ Design Thinking นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมายที่จะช่วยให้คุณและองค์กรทำงานคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VWORK

อ้างอิง

  • Claromentis
  • Cmswire
  • Brandinside
  • webportal.bangkok
  • cornerstoneondemand
  • Interaction-design
  • Online.hbs.edu

Learn more about

VWORK

Create a remote work environment with easy collaboration and high productivity Start your free trial today.
Learn more
True VWORLD

True VWORLD

Tech Insight by True VWORLD
True VWORLD

True VWORLD

Tech Insight by True VWORLD

Suggested Reading

April 25, 2023
·
Trends
April 25, 2023
2 mins read

Metaverse กับ 3 อนาคตของโลกการทำงาน

ในโลกยุคโควิดที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและรักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้การติดต่อสื่อสารหรือการทำงานร่วมกันมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพกายและสุขภาพใจที่น่ากลัวเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบ Work From Home ที่ทำให้พนักงานไม่สามารถแยกชีวิตระหว่างบ้านและที่ทำงานออกจากกันได้ จนก่อให้เกิดความเครียดสะสม และภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) หรือการขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงานก็อาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น Metaverse จึงเข้ามามีบทบาทในการแบ่งแยกชีวิตที่บ้านและที่ทำงานอย่างชัดเจน ช่วยทำลายกำแพงการสื่อสารระหว่างคุณกับเพื่อร่วมงาน รวมไปถึงช่วยเสกให้ไอเดียใหม่ๆ ของคุณกลายเป็นจริงในโลกเสมือนจริงได้อีกด้วย แล้ว Metaverse คืออะไร? จะมาช่วยเปลี่ยนอนาคตของโลกการทำงานได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ Table of Contents Metaverse คืออะไร? Metaverse คือ โลกเสมือนจริง (Virtual World) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งปัน โต้ตอบ และการแสดงปฏิสัมพันธ์ต่างๆ อย่างไร้รอยต่อของผู้คนทั่วโลก ทั้งการเล่นเกม การทำงาน การสร้าง-ซื้อ-ขายสินทรัพย์เสมือน และการพูดคุยหรือแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ โดยทั้งหมดสามารถทำได้ผ่าน "อวตาร" เสมือนจริง หากยังเห็นภาพไม่ชัดเจนคุณอาจลองนึกถึง Minecraft เกมแนวโลกเสมือนจริงขวัญใจผู้เล่นทั่วโลก การันตีด้วยด้วยยอดผู้เล่นมากถึง 100 ล้านบัญชีต่อเดือน ที่ผู้เล่นสามารถจำลองอวตารของตัวเอง และเลือกทำในสิ่งที่ผู้เล่นต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจโลก 3 มิติที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้ขีดจำกัด การค้นหาและเก็บเกี่ยววัตถุดิบเพื่อคราฟต์ไอเทม การสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ การตะลุยด่านหรือแข่งขันกับอวตารคนอื่น และเนื่องจากตัวเกมไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ Minecraft เป็นเกมที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นอย่างไม่จำกัด รวมไปถึงอิสระในการดัดแปลงระบบเกมอีกด้วย หรือจะเป็น Bondee แอปโซเชียลมีเดียที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ซึ่งภายในแอปจะนำเสนอ Metaverse ในแง่ของการสร้างปฏิสัมพันธ์ และจำลองการใช้ชีวิตร่วมกันกับเพื่อน โดยสามารถสร้างอวตารที่สื่อถึงตัวตนของผู้เล่น สร้างบ้านเพื่อให้เพื่อนมาเยี่ยมชม สร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วยการกดเพิ่มเพื่อน แชท แชร์สถานะ ส่งรูปภาพ และแชร์สตอรี่ นอกจากนี้ยังสามารถหาเพื่อนใหม่ด้วยการทิ้งข้อความไว้ในขวดกลางทะเล ให้ผู้เล่นคนอื่นที่เก็บขวดได้ทำความรู้จักคุณ จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า Metaverse สามารถเชื่อมต่อโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกดิจิทัลได้อย่างไร้รอยต่อ และเป็นเทคโนโลยีที่ผู้คนยอมรับและใช้อย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่องค์กรต่างๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทในโลก Metaverse รวมไปถึงการนำ Metaverse ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอีกด้วย เพราะฉะนั้นในส่วนถัดไปเราจะมาเจาะลึกโลกของการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปหลังจากนำ Metaverse เข้ามาพัฒนากัน 3 อนาคตของโลกการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนด้วย Metaverse 1. Work From Home จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไปด้วย Metaverse Metaverse ช่วยสร้างอวตารที่สามารถเลียนแบบประสบการณ์การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการพบปะและตอบโต้ระหว่างกันแบบเรียลไทม์ การกระทำระหว่างอวตารกับวัตถุดิจิทัล หรือการจัดประชุมในโลกเสมือนจริง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้โดยไม่รู้สึกเครียด นอกจากนี้อวตารของคุณจะสื่อถึงสถานะของคุณ เช่น พักกลางวัน อยู่ในที่ประชุม หรือติดธุระอื่น ทำให้คุณไม่ต้องกดดันตัวเองให้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาจากการทำงาน Work From Home Metaverse ยังช่วยให้สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้นจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานได้ดั่งใจอีกด้วย ลองจินตนาการว่าคุณเดินเข้าไปทำงานในโลกเสมือนจริง หลังจากนั้นก็เริ่มพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานริมชายหาด แวะไปทานอาหารกลางวันที่โตเกียว แล้วกลับมาประชุมกับหัวหน้าที่สถานีอวกาศ เท่านี้ก็ทำให้การทำงานในแต่ละวันของคุณไม่น่าเบื่ออีกต่อไป หากคุณต้องการการประชุมที่สะดวกสบายแม้ว่าเพื่อนำมาปรับใช้ในองค์กร True VROOM ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดี เพราะเป็นแพลตฟอร์มห้องประชุมเสมือนจริงที่ถูกสร้างมาเพื่อตอบโจทย์คนไทย ใช้งานง่าย มีฟีเจอร์มากมายที่จะช่วยให้คุณประชุมไม่สะดุด ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ไอเดียด้วยไวท์บอร์ดเสมือนจริง การแชร์เอกสารหรืองานนำเสนอผ่านหน้าจอ ห้องล่ามแปลภาษา และช่องแชตแบบเรียลไทม์ ช่วยให้คุณทำงานราบรื่นขึ้น และเปลี่ยนออฟฟิศคุณสู่ Hybrid Workplace อย่างเต็มตัว 2. Metaverse ช่วยให้พนักงานทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น การทำงานในช่วงโรคระบาดส่งผลให้พนักงานต้องทำงานจากที่บ้าน ไม่สามารถพบปะเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวและถูกตัดขาดทางสังคม เพราะฉะนั้น Metaverse จึงเข้ามามีบทบาทในการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย และลูกน้อง โดยยกระดับการเชื่อมต่อทางสังคมด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันในโลกเสมือนจริง และการแบ่งปันความคิดเห็นในสังคมออฟฟิศเสมือนจริง ซึ่งสามารถสร้างโอกาศการมีส่วนร่วมได้มากกว่าการทำงานระยะไกลทั่วไป โดยเฉพาะพนักงานบางคนที่ไม่ชอบการปรากฎตัวบนกล้องเวลาประชุม หากต้องถูกบังคับให้เปิดกล้องเพื่อมีส่วนร่วมก็อาจสร้างความไม่พอใจแก่พนักงานคนนั้นได้ การสร้างอวตารบน Metaverse จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับปัญหานี้ นอกจากนี้ Metaverse ยังสนับสนุนการทำงานแบบเปิดกว้าง ไร้ขอบเขตอีกด้วย เช่น หากคุณและทีมได้รับโจทย์ให้ออกแบบแพคเกจผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท คุณและทีมสามารถเทเลพอร์ตอวตารไปยังพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Musée du Louvre) เพื่อหาแรงบันดาลใจได้ วิธีนี้ยังนำไปสู่การออกแบบและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงสร้างทีมเวิร์กที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น 3. เรียนรู้และพัฒนาทักษะได้เร็วขึ้นใน Metaverse Metaverse สามารถใช้สำหรับฝึกอบรมหรือพัฒนาทักษะทางไกลได้ โดยพนักงานจะได้ฝึกฝนในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงและปลอดภัย ส่งผลให้พนักงานเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายอุตสาหกรรมที่รับเทคโนโลยี Metaverse มาปรับใช้กับการฝึกอบรมบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีการผ่าตัด Medivis ที่กำลังใช้เทคโนโลยี HoloLens ของ Microsoft มาฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ หรือบริษัทผลิตยานยนต์ Ford Motor Company ที่บุกเบิกเครื่องมือฝึกอบรม VR โดยใช้ชุดหูฟัง Oculus Quest ฝึกอบรมช่างเทคนิคเกี่ยวกับการบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้การฝึกอบรมบน Metaverse ยังเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำเสมือนจริง ส่งผลให้ผู้อบรมมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมมากยิ่งขึ้น ได้พัฒนาทักษะใหม่ๆ จากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าการฝึกอบรมในชั้นเรียน สรุป Metaverse คือ โลกเสมือนจริงที่ช่วยขยายขีดจำกัดในการทำงานไปอีกขั้น ช่วยให้การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณและเพื่อร่วมงานราบรื่นแม้ไม่ได้เห็นหน้ากัน ลดความตึงเครียดระหว่างการทำงานด้วยการจำลองสภาพแวดล้อมที่น่าตื่นตา และช่วยเร่งพัฒนาทักษะอาชีพผ่านเกมหรือการฝึกอบรมเสมือนจริงที่ปลอดภัย จะเห็นได้ว่า Metaverse ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงและเชื่อมโยงชีวิตประจำวันกับชีวิตการทำงานได้อย่างแนบเนียนจนได้รับความนิยมในวงกว้าง นอกจากนี้ยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายเริ่มนำ Metaverse มาใช้ในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบแล้ว เพราะฉะนั้นคุณจะเป็นคน “เริ่ม” หรือจะเป็นคน “รอ” การเปลี่ยนแปลงนี้? หากคุณต้องการให้พนักงานขององค์กรคุ้นชินกับเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบใหม่ การนำแพลตฟอร์มการสื่อสารและการทำงานบนโลกออนไลน์ไปปรับใช้ในการทำงานจริงย่อมเป็นสิ่งจำเป็น โดย True VWORK และ True VROOM เป็นสองแพลตฟอร์มการทำงานสำคัญ ที่ครอบคลุมทั้งการจัดการการทำงาน การสื่อสารองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้ชีวิตคุณง่าย ไม่มีสะดุด พร้อมบริการซัพพอร์ตต่างๆ มากมาย...
Read More
April 24, 2023
·
Trends
April 24, 2023
2 mins read

5 สิ่งที่ผู้บริหารควรรู้ เมื่อ AI จะเข้ามาพลิกโฉมธุรกิจ

AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเรียนรู้ วิเคราะห์ จนไปถึงคาดการณ์ข้อมูลที่มีความซับซ้อนเกินกว่าขีดจำกัดของมนุษย์กำลังเข้ามามีบทบาทในโลกธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ โดย International Data Corporation (IDC) ได้คาดการณ์ว่าบริษัทต่างๆ จะมีการใช้งานปัญญาประดิษฐ์มากถึง 500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราวๆ 16,365 พันล้านบาท) ภายในปี 2024 เพื่อรับมือกับการเข้ามาของเทคโนโลยีเหล่านี้ Tyler Weitzman ประธานบริษัทและหัวหน้าฝ่าย AI บริษัท Speechify ได้ให้สัมภาษณ์ถึง 5 สิ่งที่ผู้บริหารควรรู้ เมื่อ AI จะเข้ามาพลิกโฉมธุรกิจปี 2023 Table of Contents 1. พนักงานไม่ต้องทำงานรูทีนอีกต่อไป งานรูทีนหรืองานเล็กๆ น้อยๆ ที่ซ้ำซากและไม่ค่อยมีความสำคัญจะถูกทำโดย AI ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรมีเวลาในการทุ่มเทกับงานที่ต้องใช้ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะงานฝ่ายบริการลูกค้าซึ่งโดยปกติแล้วจำเป็นต้องมีพนักงานคอยให้บริการตอบข้อสงสัยของลูกค้าทีละคน แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยี Chatbot ที่สามารถโต้ตอบกับลูกค้าพร้อมกันหลายๆ คนได้อย่างเป็นธรรมชาติตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจากการศึกษาของ American Marketing Association พบว่าการใช้งาน Chatbot นั้นสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้จริง จนนำมาสู่ผลประกอบการณ์ที่ดีขึ้น 2. ตัดสินใจได้เฉียบยิ่งขึ้นด้วยการวิเคราะห์จาก AI ข้อมูลจากการทำงานขององค์กรสามารถสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มต่างๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่ด้วยปริมาณข้อมูลมหาศาล การคิดวิเคราะห์ของมนุษย์เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถมองเห็นความเป็นไปได้ต่างๆ ได้ครอบคลุมและละเอียดแม่นยำเท่ากับการใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วย การใช้งาน AI เพื่อวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ร่วมกับวิจารณญาณของผู้บริหารจึงช่วยให้การตัดสินใจขององค์กรมีความแม่นยำ รวดเร็วและทันต่อยุคสมัยมากยิ่งขึ้น 3. Productivity ในการทำงานที่สูงขึ้น ด้วยการสนับสนุนของ AI ที่ช่วยจัดการกับงานรูทีนมากมาย กระบวนการทำงานโดยรวมขององค์กรจะมีความราบรื่นและมี Productivity ที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านปริมาณงานที่สำเร็จมากขึ้นภายใต้เวลาเท่าเดิม หรือด้านคุณภาพงานที่สูงขึ้นจากการที่พนักงานสามารถทุ่มเทให้กับงานยากๆ ได้มากกว่าเดิม ซึ่งองค์กรสามารถนำปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้มาช่วยงานได้ในหลายแง่มุม ตัวอย่างเช่นบริษัท Dtac ซึ่งนอกจากจะนำแชทบอทมาช่วยในการบริการลูกค้าแล้ว ยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของลูกค้าจากประวัติการสั่งซื้อเพื่อให้สามารถเสนอขายบริการที่ตรงใจลูกค้าได้มากขึ้น จนไปถึงการใช้ AI ตรวจสอบเอกสารสำคัญที่ใช้ในการยืนยันตัวตนลูกค้าเพื่อการเก็บฐานข้อมูลลูกค้าที่รวดเร็วและแม่นยำอีกด้วย 4. AI ช่วยเลือกคนที่ใช่สำหรับองค์กร การคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานแบบดั้งเดิมนั้น HR จำเป็นที่จะต้องทำงานหลายขั้นตอน ทั้งการประกาศรับผู้สมัคร การอ่านเรซูเม่ที่มีความแตกต่างหลากหลาย จนไปถึงการสัมภาษณ์รายบุคคลเพื่อให้ได้ผู้สมัครที่มีความสามารถและเข้ากับองค์กรมากที่สุด ซึ่งวิธีการเดิมๆ เหล่านี้นอกจากจะใช้ทรัพยากรเวลามากแล้วยังอาจก่อให้เกิดการอคติส่วนบุคคลได้ง่ายอีกด้วย การเข้ามาของ AI ด้าน HR ที่สามารถช่วย HR ในกระบวนการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของผู้สมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นหนึ่งตัวช่วยที่เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดหาพนักงานเป็นอย่างมาก โดยปัญญาประดิษฐ์สามารถรวบรวมและหารูปแบบของข้อมูลต่างๆ ของผู้สมัครให้ออกมาในรูปแบบที่ HR สามารถเข้าใจได้ง่ายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในเรซูเม่ ในโซเชียลมีเดียหรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ผู้สมัครแต่ละคนโต้ตอบกับ HR Chatbot ประจำองค์กร ส่งผลให้ HR ใช้เวลาในการคัดเลือกผู้สมัครที่เหมาะสมสั้นลง ซึ่งหมายความว่าช่วงเวลาที่กระบวนการทำงานติดขัดเพราะขาดคนทำงานก็จะน้อยลงเช่นกัน 5. มุ่งสู่ Customer-Centric Approach Customer-Centric Approach (การทำธุรกิจโดยมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง) เป็นแนวทางการทำธุรกิจที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ด้วยการทำความเข้าใจความต้องการของพวกเขาและให้บริการในสิ่งที่ตอบโจทย์ กลยุทธ์ทางธุรกิจแบบนี้ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากลูกค้าได้รับการเติมเต็มความต้องการที่ตรงจุดและเกิดความพึงพอใจจนกลับมาใช้บริการซ้ำ จากการศึกษาของ Qualtrics XM Institute 2021 มากกว่า 60% ของผู้บริโภคต้องการให้ธุรกิจให้ความสำคัญกับความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค และพวกเขายินดีที่จะซื้อสินค้าและใช้บริการจากแบรนด์ที่ยอมทำ Customer-Centric Approach ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ พยายามมุ่งสู่ Customer-Centric Approach โดย AI ก็เป็นเทคโนโลยีหลักที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคนผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การนำเสนอวิดิโอของ TikTok ที่จะเลือกแนะนำคลิปตามประวัติการรับชมและข้อมูลของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น หรือการยิงโฆษณาสินค้าในแอพพลิเคชั่น Lazada ที่ลูกค้าจะได้เห็นสินค้าที่เคยกดค้นหาหรือกดใส่ตระกร้าเอาไว้ซ้ำๆ เพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อ สรุป การเข้ามาของ AI มีประโยชน์ต่อการทำงานในหลากหลายแง่มุม ในฐานะผู้บริหารแล้ว หากสามารถเตรียมรับมือกับการเข้ามาของเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อมาปรับใช้กับการบริหารองค์กรได้ ก็จะช่วยให้คุณก้าวไปอีกขั้นสู่ความสำเร็จในโลกธุรกิจ โดยการเลือกแพลตฟอร์มการทำงานที่มีคุณภาพตั้งแต่เริ่มต้นย่อมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเรื่องนี้ True VWORK เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มการทำงานที่ครบครันในทุกฟังก์ชัน ช่วยสนับสนุนทุกการก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภายในองค์กรของคุณในยุคสมัยของ AI พร้อมตอบสนองทุกความต้องการในการใช้งานไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กหรือองค์กรใหญ่ สามารถเข้าดูรายละเอียดของเราได้ที่ True VWORK อ้างอิง forbes pttexpresso aigencorp marketeeronline longtunman thaiwinner
Read More
May 23, 2022
·
May 23, 2022
4 mins read

VWORK Tutorial Block Extra Content

Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec...
Read More
May 23, 2022
·
May 23, 2022
2 mins read

VLEARN Tutorial Block Example

Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Table of Contents Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet.  ภาพประกอบ: Unsplash Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet.  "Showing clients analytical numbers about what happened and where isn't always enough. When I introduced visual insights into 'why' shoppers behave certain ways, specifically session recordings, I saw...
Read More

Stay up to date with the latest news and updates from
True VWORLD

  • 0-2700-8011

Monday – Sunday

8:00 a.m. to 6:00 p.m.

Products

VROOM

VWORK

VLEARN

  • VCLASS
  • VCOURSE

Solutions

Individual

Enterprise

Education

Government

Tutorials

Tutorials - VROOM

Tutorials - VWORK

Tutorials - VLEARN

Products

VROOM

VWORK

VLEARN

  • VCLASS
  • VCOURSE
Solutions

Individual

Enterprise

Education

Government

FAQs

Pricing

Articles

About us

Contact us

  • English
    • Thai

All Rights Reserved © True VWORLD.

Privacy Policy

Terms & Condition

VROOM
VWORK
VLEARN

All Rights Reserved © True VWorld.

  • English
    • Thai
We use cookies on our website. By clicking “Accept All”, you consent to the use of all the cookies.
Cookie SettingsAccept All
Manage consent

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may affect your browsing experience.
Necessary
Always Enabled
Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. These cookies ensure basic functionalities and security features of the website, anonymously.
CookieDurationDescription
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics".
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsThe cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional".
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary".
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other.
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance".
viewed_cookie_policy11 monthsThe cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data.
Functional
Functional cookies help to perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collect feedbacks, and other third-party features.
Performance
Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.
Analytics
Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.
Advertisement
Advertisement cookies are used to provide visitors with relevant ads and marketing campaigns. These cookies track visitors across websites and collect information to provide customized ads.
Others
Other uncategorized cookies are those that are being analyzed and have not been classified into a category as yet.
SAVE & ACCEPT