การตั้งเป้าหมายและวัดผลเป็นกระบวนการสำคัญที่ทุกๆ ธุรกิจควรคำนึงถึง แต่วิธีการตั้งเป้าหมายแบบไหนกันที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นเหมาะกับยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ในทุกวินาที คำตอบนั้นคือ OKR (Objective and Key Results) หนึ่งในหลักการที่ได้รับความนิยมจากธุรกิจชั้นนำทั่วโลกนั่นเอง

OKR สุดยอดกรอบแนวคิดที่ผู้บริหารควรเรียนรู้

รู้จักกับ OKR

Objective and Key Result หรือย่อสั้นๆ ว่า OKR เป็นหลักการของตั้งเป้าหมายในการทำงาน (Objective) และตัวชี้วัดในการประเมินความสำเร็จของผลลัพธ์ที่ได้ (Key Result) เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ที่นอกจากจะสัมพันธ์กับการพัฒนาส่วนบุคคลแล้ว ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาในระดับต่างๆ ขององค์กรอีกด้วย

OKR ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แนวคิดดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย แต่การที่ทำให้แนวคิดการตั้งเป้าแบบ OKR เริ่มมีชื่อเสียงจริงๆ คือ การปรับใช้หลักของ OKR เข้ากับการบริหารบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Intel Corperation โดยประธานคณะกรรมการบริหารอย่างคุณ Andrew Grove ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970

OKR ยังมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีการยิบย่อยต่างๆ ในการตั้งเป้าหมายเพื่อเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ กระนั้นสิ่งที่ยังคงอยู่เสมอมา คือ “การตั้งเป้าให้เหนือกว่าความสำเร็จเดิม” ที่กระตุ้นให้บริษัทเติบโตมากขึ้น

okr-objective-key-results-01

Table of Contents

ประโยชน์ของการใช้ OKR

1.สร้างแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเองแก่พนักงาน

กรอบแนวคิดแบบ OKR ให้ความสำคัญกับการสร้างแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเองของพนักงานที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ อยู่เสมอ OKR จึงมุ่งเน้นไปที่การทบทวนกระบวนการทำงานเพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาศักยภาพการทำงานได้อย่างรวดเร็ว

2.มองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น

ในกรณีที่เกิดปัญหาในกระบวนการทำงานขึ้นนั้น ผู้บริหารสามารถทราบแนวทางในการแก้ปัญหาได้จากการวิเคราะห์คะแนนประเมินผล OKR ในเชิงตัวเลขว่างานส่วนใดที่ควรปรับปรุงกระบวนการทำงานและงานส่วนไหนที่ทำได้ดีอยู่แล้ว

3.องค์กรและบุคลากรพัฒนาไปอย่างสอดคล้องกัน

การสร้าง OKR ที่ดีจะช่วยให้ทุกระดับขององค์กรมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่เป้าหมายระดับบุคคลที่มีความเฉพาะเจาะจงกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เป้าหมายระดับทีมอย่างการทำโปรเจกต์ จนไปถึงเป้าหมายระดับองค์กรซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในท้ายที่สุด

ตัวอย่างการใช้งาน OKR

  • OKR สำหรับธุรกิจ

Objective: ธุรกิจเติบโตขึ้น 30%
Key Result:

1. ยอดขายมากกว่า 5 ล้านบาท
2. ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 5 รายการภายในไตรมาสที่ 2
3. อัตราการขอคืนสินค้าต่ำกว่า 3%

OKR สำหรับฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์

Objective: เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อลดอัตราการขอคืนสินค้า
(สอดคล้องกับ อัตราการขอคืนสินค้าต่ำกว่า 3%)
Key Result: 1. เก็บ Feedback จากลูกค้าอย่างน้อย 10 รายต่อเดือน
2. เพิ่มอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า 50%
3. ได้คะแนน NPS (Net Promoter score) เพิ่มขึ้นจาก 70 เป็น 90 คะแนน

OKR สำหรับพนักงานขาย

Objective: เปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์ลูกค้าสัมพันธ์เชิงรุกแทนเชิงรับ
(สอดคล้องกับ เพิ่มอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า 50%)
Key Result: 1. ลดอัตราการเลิกใช้บริการของลูกค้าประจำ 50%
2. ลดจำนวนคำร้องเรียนที่ไม่พึงพอใจจากลูกค้าลง 50%

จะสังเกตได้ว่า OKR ทั้งสามประเภทจะสอดคล้องกันตามหลักการการตั้งเป้าหมาย โดยจะมี OKR สำหรับธุรกิจในภาพใหญ่ เพื่อกำหนด Objective ของบริษัท และใช้ OKR สำหรับทีม และ OKR คอยซัพพอร์ต ทั้งนี้ตัวอย่างด้านบนเป็นเพียงการกำหนด OKR คร่าวๆ เท่านั้น การกำหนด OKR ในบริษัทจริงๆ จะมีรายละเอียดมากกว่านี้พอสมควรทีเดียว

วิธีการกำหนด OKR ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ

  • กำหนด OKR เป็นลำดับขั้น

การกำหนด OKR ที่ดีควรมีการตั้งเป็นลำดับขั้น โดยมีการกำหนด OKR ใหญ่สุดก่อน โดยอ้างอิงจากภาพรวมบริษัทเป็นหลัก แล้วจึงแยกย่อยลงมาในระดับทีม บุคคล และเพิ่มรายละเอียด เพื่อทำให้ OKR ดังกล่าวเป็นการกำหนดเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ

เช่น สำหรับบริษัทประเภท Startup ควรกำหนด OKR ของบริษัทเป็นอันดับแรก และทำการแยกย่อยมาในระดับทีม ว่าแต่ละทีมมี Objective อะไรที่สามารถตอบสนอง Key Result ของบริษัทได้บ้าง สุดท้ายคือการกำหนด OKR ส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับทีมที่ตนเองสังกัด

แน่นอนว่าการกำหนด Objective สามารถทำได้หลายข้อ แต่ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องประเมินทีม รวมถึงตนเองว่ามี Human Resource และ Man Hours เพียงพอและสามารถทำตาม OKR ได้หรือไม่ มีอันไหนยาก หรือง่ายเกินไป และ OKR ทุกอันจำเป็นต้องวัดผลได้จริง ไม่ใช่แค่เป้าหมายบนเมฆให้เราคว้าจับเท่านั้นเท่านั้น

  • กำหนด OKR โดยการฟังเสียงของคนทำงาน

การตั้งเป้าหมายที่มีรากฐานมาจากข้อมูลในอดีตโดยการฟังเสียงของคนทำงานจริงช่วยให้บริษัทสามารถวิเคราะห์และประมาณการตั้ง OKR ที่เหมาะสม โดยไม่ง่ายเกินไปจนสำเร็จได้ง่ายๆ หรือท้าทายเกินไปจนหาหนทางแห่งความสำเร็จไม่เจอ และหากให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนด OKR ของตัวเองจะส่งผลดีต่อมากยิ่งขึ้น

นอกจากที่ OKR จะทำให้ทุกคนเห็นภาพขององค์กรและความสำเร็จร่วมกันแล้ว ยังเสริมสร้างความเข้าใจต่องานที่ได้รับมอบหมายเพื่อบรรลุ OKR อย่างสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันจนกลายเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของธุรกิจคุณอีกด้วย

สรุป

สำหรับการปรับใช้กรอบแนวคิดแบบ OKR ให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจในยุคออนไลน์แล้ว การสื่อสารภายในองค์กรเพื่อตั้งเป้าหมายร่วมกันถือเป็นเรื่องที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญมากที่สุด เพื่อให้การกำหนดเป้าหมายและการทำงานนั้นเป็นไปได้อย่างไหลลื่น

ซึ่งแพลตฟอร์มห้องประชุมออนไลน์อย่าง VROOM จาก True VWORLD ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดีๆ สำหรับการดำเนินธุรกิจโดยคนไทยเพื่อคนไทยโดยเฉพาะที่มีฟังก์ชันหลักๆ ครบถ้วน เปลี่ยนทุกการประชุมของธุรกิจให้เป็นเรื่องง่าย เข้ากับการทำงานในยุคใหม่เป็นอย่างยิ่ง โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM