ในยุคที่มีการแข่งขันทางการตลาดอย่างเข้มข้น แน่นอนว่าแต่ละแบรนด์พยายามหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า และเพิ่มกำไรให้องค์กรของตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ยอดฮิตที่หลายๆ แบรนด์หันมาใช้กันก็คือการขยายช่องทางการขายผ่านไลฟ์สดนั่นเอง เพราะการไลฟ์สดช่วยให้แบรนด์ลงทุนน้อยลง แต่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสะดวกต่อการโปรโมต การขยายไลน์สินค้า และนำเสนอสินค้าใหม่ให้กับลูกค้าอีกด้วย
แต่การไลฟ์สดให้ปังไม่ใช่แค่การกดปุ่ม “ถ่ายทอดสด” เท่านั้น เพราะฉะนั้นบทความนี้จึงมีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่สนามแห่งการไลฟ์สด และคว้าชัยชนะมาไว้ในมือได้อย่างมั่นใจ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูเคล็ด(ไม่)ลับ ที่จะช่วยให้คุณดึงดูดผู้ชมได้อยู่หมัด พร้อมสร้างยอดขายให้เติบโตผ่านการไลฟ์สดกันเลย
Table of Contents
เคล็ดลับที่ 1 : ทีมเวิร์กช่วยให้ไลฟ์สดประสบความสำเร็จ
ทุกคนมีส่วนช่วยให้งานออกมาสำเร็จ เพราะฉะนั้นคุณจึงควรให้ความสำคัญกับทีมเวิร์กและการประสานงานที่ราบรื่นตลอดการทำงาน โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผน, การกำหนดหน้าที่และผู้รับผิดชอบส่วนต่างๆ, การสื่อสารเพื่ออัปเดตความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดประชุมทีมเพื่อเน้นย้ำแผนและสิ่งสำคัญอื่นๆ, การรายงานปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและวิธีขอความช่วยเหลือหากต้องการ รวมไปถึงการตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการไลฟ์สดทุกคนไม่ได้ลาหยุดหรือลาพักร้อนในวันไลฟ์สด
ซึ่งการจะทำงานและประสานงานอย่างราบรื่นได้คุณควรมีเครื่องมือในการประสานงาน เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสารไร้รอยต่อ ไม่ว่าทีมจะทำงานจากที่บ้านหรือที่ทำงานก็สามารถพูดคุยอัปเดตสถานการณ์ได้แบบเรียลไทม์ โดย True VWORK เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะมีทั้งฟีเจอร์ Communication Hub ที่จะช่วยให้คุณและทีมคุยหรือวิดีโอคอลหากันได้ทุกที่, Task Management ที่สามารถมอบหมายและติดตามสถานะการทำงานของทีมได้ และ Staff Directory ที่ช่วยบริการจัดการทีมจากระยะไกล ซึ่งรวมไปถึงบริหารวันลาหยุดด้วย
เคล็ดลับที่ 2 : วางแผนคอนเทนต์ดี ไลฟ์สดก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
แน่นอนว่าการเริ่มไลฟ์สดในแต่ละครั้ง ผู้ดำเนินการไลฟ์ต้องมีเป้าหมายในการไลฟ์อยู่แล้ว แต่จะสื่อสารไปถึงผู้ชมได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการวางแผนคอนเทนต์ว่าครอบคลุม ชัดเจน และตอบโจทย์เป้าหมายที่ตั้งไว้หรือยัง? เพราะฉะนั้นเราจึงมีหลักการง่ายๆ 3 ข้อที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ในการวางแผน สร้างคอนเทนต์ปังๆ ในแบบฉบับของคุณ ดังนี้
- Who: รู้จักกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง คุณต้องการสื่อสารให้ใครฟัง? ผู้ชมของคุณต้องการอะไร? ผู้ชมของคุณอยู่ที่ไหน? เป็นคนท้องถิ่นหรือชาวต่างชาติ? หากเป็นชาวต่างชาติ คุณต้องคำนึงเรื่องการใช้ภาษาที่สอง รวมไปถึงวันที่และเวลาในการไลฟ์สดเพราะผู้ชมอาจไม่ได้อยู่ Time zone เดียวกับคุณก็ได้
- What: เมื่อรู้แล้วว่าต้องการสื่อสารกับ “ใคร” ต่อมาก็ต้องวางแผนว่าคุณต้องการนำเสนออะไร? จะเล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงแบบไหน? ซึ่งการนำเสนอที่ดีจะต้อง สั้น กระชับ สร้าง Impact ได้ มีความเป็นธรรมชาติ และมีเอกลักษณ์ของตัวเอง เพื่อให้การไลฟ์สดของคุณไม่เหมือนใคร นอกจากนี้คุณควรคำนึงถึงสิ่งที่ผู้ชมจะได้รับจากคอนเทนต์ที่คุณส่งไปอีกด้วย
- Where: ต่อมาคือการเลือกแพลตฟอร์มที่ใช่ ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับผู้ชมเป็นหลัก โดยผู้ชมที่มีความสนใจหรืออายุที่แตกต่างกัน มักจะมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียแตกต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นคุณจึงควรเลือกแพลตฟอร์มที่สามารถดึงดูดผู้ชมที่คุณต้องการสื่อสารมากที่สุด ซึ่งเราจะบอกความแตกต่างและวิธีการเลือกแพลตฟอร์มในการไลฟ์สดในส่วนถัดไป
เคล็ดลับที่ 3 : เลือกแพลตฟอร์มสำหรับไลฟ์สดให้ปัง
หลังจากที่คุณรู้แล้วว่าจะทำคอนเทนต์อะไร และจะสื่อสารให้ใครฟัง ต่อมาคือการเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่ให้บริการสตรีมวิดีโอ และถ้าให้เราอธิบายทุกแพลตฟอร์มก็อาจจะทำให้บทความนี้ยาวเกินไป เพราะฉะนั้นเราจึงคัดเลือก 4 แพลตฟอร์มยอดนิยมมาให้คุณเลือกตัดสินใจใช้ดังนี้
True VROOM Live Streaming
บริการไลฟ์สดคุณภาพสูงจากทาง True ที่เชื่อมต่อคนทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน พร้อมฟังก์ชันที่ครบถ้วนในการสนับสนุนการนำเสนอการไลฟ์อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนำเสนองาน ประชุมกลุ่มทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จนถึงโฆษณาสินค้า True VROOM ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ตอบโจทย์เป็นอย่างดี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM Live Streaming
Facebook Live
Facebook Live เป็นหนึ่งในบริการถ่ายทอดสดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก ทำให้คุณมีโอกาสที่จะเข้าถึงกลุ่มคนในวงกว้าง คุณสามารถไลฟ์สดได้ง่ายๆ เพียงแค่กดปุ่มสตรีมวิดีโอไปยังหน้า Facebook ของตัวเอง และ Facebook Live ก็ยังสามารถบันทึกวิดีโอระหว่างไลฟ์สด ทำให้ผู้ชมสามารถเข้ามาดูไลฟ์ย้อนหลัง และกำหนดผู้ชมที่สามารถเข้ามาชมไลฟ์ของคุณได้อีกด้วย
Instagram Live
เนื่องจากเจ้าของ Instagram คือบริษัท Meta ซึ่งเป็นเจ้าของ Facebook ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นการไลฟ์สดบน Instagram Live จึงง่ายและสะดวกสบายเหมือนการไลฟ์สดบน Facebook Live โดยผู้ติดตามคุณที่กำลังออนไลน์อยู่จะได้รับการแจ้งเตือนเมื่อคุณไลฟ์ ทำให้ผู้ติดดามของคุณไม่พลาดทุกการไลฟ์สด นอกจากนี้ยังมีฟิลเตอร์ช่วยเพิ่มกิมมิคในการตกแต่งวิดีโอให้น่าสนใจอีกด้วย แต่ข้อจำกัดของ Instagram Live คือ สามารถไลฟ์ได้สูงสุด 60 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ
YouTube Live
เนื่องจาก YouTube เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอคอนเทนต์อยู่แล้ว ทำให้ผู้ชมมีแนวโน้มที่จะดูไลฟ์สดของคุณนานกว่าแฟลตฟอร์มอื่นๆ ข้อดีอีกประการของ YouTube Live คือคุณสามารถหารายได้จากค่าโฆษณา ผ่าน Google Adsense ซึ่งจะมาในรูปแบบโฆษณาที่ขึ้นก่อนที่เราจะดูวีดีโอได้
TikTok Live
หากกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการจะสื่อสารคือกลุ่ม Millennials และ Gen Z การใช้ TikTok Live ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจาก TikTok เป็นโซเชียลมีเดียที่กลุ่ม Millennials และ Gen Z นิยมใช้งานมาก นอกจากนี้ไลฟ์สดของ Tiktok ยังมีฟีเจอร์ให้ผู้ชมสามารถส่ง “ของขวัญ” ซึ่งเป็นรางวัลดิจิทัลที่สตรีมเมอร์สามารถแลกเป็นเงินจริงได้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้เลยทีเดียว
เคล็ดลับที่ 4 : เลือกช่วงเวลาไลฟ์สดให้ดี
ควรเลือกช่วงเวลาในการไลฟ์โดยพิจารณาปัจจัยโดยรอบ เพราะบางทีช่วงเวลาการออนไลน์ของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน เช่น กลุ่มแม่บ้านอาจมีช่วงเวลาที่สนใจไลฟ์หลัง 2 ทุ่ม หรือ กลุ่มพนักงานอาจสนใจเปิดไลฟ์หลัง 6 โมงเย็น โดยข้อมูลต่างๆ สามารถประเมินได้จากเว็บไซต์รวบรวมสถิติไปจนถึงการทำงานหลังบ้านของแต่ละแพลตฟอร์ม เพราะคุณไม่ได้ไลฟ์สดอยู่คนเดียว แต่กำลังแข่งขันกับไลฟ์สดของคนอื่นๆ ทั่วโลก เพราะฉะนั้นการเลือกช่วงเวลาไลฟ์สดที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เคล็ดลับที่ 5 : ประกาศการไลฟ์สดบนโซเชียลมีเดียล่วงหน้าเสมอ
คุณควรประกาศวัน เวลา และหัวข้อที่จะไลฟ์สดก่อนวันไลฟ์สดเสมอ เพื่อให้ผู้ติดตามของคุณรับรู้ และดึงดูดผู้ชมหน้าใหม่เข้ามา และเมื่อถึงวันไลฟ์สดอย่าลืมเขียน Caption บนไลฟ์สดให้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร เพราะบางครั้งผู้ชมอาจจะไม่ได้เข้าชมไลฟ์สดของคุณทันที แต่ใช้เวลาในการอ่าน Caption เพื่อพิจารณาก่อนว่าควรรับชมหรือไม่
เคล็ดลับที่ 6 : ฝึกฝนและตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนไลฟ์สด
ถึงแม้ว่าการไลฟ์สดจะดูเป็นงานสบายๆ มากกว่าการการทำวิดีโอแบบเดิมๆ แต่คุณก็ควรเตรียมความพร้อมก่อนการไลฟ์ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างไลฟ์สด โดยควรฝึกฝนสิ่งที่จะพูด, ตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต, เช็กแบตเตอรี่อุปกรณ์การไลฟ์, สำรวจแสงสว่างในพื้นที่ที่ต้องการไลฟ์ และกำจัดเสียงและสิ่งรบกวนทั้งหมดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้การไลฟ์นั้นราบรื่นที่สุด
เคล็ดลับที่ 7 : อย่าลืมสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ชมระหว่างไลฟ์สด
การไลฟ์สดอาจดูเหมือนการพูดไปเรื่อยๆ แต่ความจริงแล้วสิ่งสำคัญที่สุดในการไลฟ์สดคือการมีส่วนร่วมกับผู้ชม เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชมให้อยู่หมัด คุณอาจจะเริ่มด้วยการทักทายต้อนรับผู้ชม ตอบกลับคำถามทันที หรือถามคำถามกลับไป เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สด และบางครั้งคุณอาจได้รับคำถามหรือการแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ซึ่งคุณสามารถมอบหมายหน้าที่ให้ทีมหรือผู้เกี่ยวข้องรวบรวมและกรองคำถามให้คุณได้เช่นกัน
เคล็ดลับที่ 8 : เชิญแขกรับเชิญเข้าร่วมวงสนทนา
การเชิญแขกรับเชิญสามารถเพิ่มอรรถรสในการสนทนาและเพิ่มการมีส่วนร่วมระหว่างผู้จัดและผู้ชมได้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเชิญแขกรับเชิญที่เป็นวิทยากร หรืออินฟลูเอนเซอร์ หรือจะเชิญผู้ชมของคุณให้กลายมาเป็นแขกก็ตาม วิธีการเหล่านี้สามารถสร้างความสนใจให้ผู้ชมคนอื่นๆ อยากติดตามจนจบการไลฟ์ได้เป็นอย่างดี
เคล็ดลับที่ 9 : ปิดท้ายด้วยการกระตุ้นผู้ฟัง
ก่อนจบการไลฟ์ควรพูดปิดท้ายด้วยคำกระตุ้นการตัดสินใจ เพื่อให้ผู้ชมทำในสิ่งที่คุณต้องการ (Call to Action) เช่น ซื้อสินค้า ลงทะเบียน นัดหมาย หรือติดตามคุณผ่านโซเชียลมีเดียอื่นๆ คุณยังสามารถกระตุ้นความสนใจผู้ชมได้โดยการเกริ่นล่วงหน้าว่าไลฟ์สดครั้งถัดไปจะมีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้น ซึ่งหากคุณดำเนินการไลฟ์สดอย่างราบรื่นและมีปฎิสัมพันธ์กับผู้ชมมากเพียงพอ พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะทำตามที่คุณต้องการเช่นกัน
สรุป
ไลฟ์สดเป็นหนึ่งในช่องทางการขายและการประชาสัมพันธ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้พูดและผู้ฟังสามารถตอบโต้กันได้อย่างราบรื่น การเริ่มไลฟ์ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย รวมถึงหากมีการวางแผนการไลฟ์อย่างรอบคอบแล้ว ก็สามารถสร้างความน่าสนใจ ดึงดูด และกระตุ้นให้ผู้ชมทำในสิ่งที่ผู้พูดต้องการได้อีกด้วย