แพลตฟอร์มห้องประชุมเสมือนจริง
เพื่อตอบโจทย์คนไทย
ใช้งานง่าย เครื่องมือครบครัน พร้อมประชุม แบบไม่มีสะดุดได้ทุกที่ทุกเวลา
แพลตฟอร์มการทำงานเพื่อคนไทย
ในยุคดิจิทัล ที่จะทำให้ งานไม่สะดุด
แม้เจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด
รวมครบทุกฟังค์ชันการทำงานไว้ในที่เดียว
พร้อมตอบโจทย์ work from anywhere
แพลตฟอร์มเพื่อการบริหารจัดการสถาน
ศึกษา และการเรียนการสอนแบบออนไลน์
ที่จะทำให้คนไทยเรียน ได้ทุกที่ ทุกเวลา
ทำงานจากที่บ้าน ออฟฟิศ หรือที่ไหนก็ได้
ทางออกสำหรับการทำงานจากทางไกลที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ตลอดจนองค์กรขนาดใหญ่
แพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ทรงพลังสำหรับบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน นักศึกษา
พื้นที่ทำงานแบบครบวงจรที่ปลอดภัยและโปร่งใสสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
แพลตฟอร์มห้องประชุมเสมือนจริง
เพื่อตอบโจทย์คนไทย
ใช้งานง่าย เครื่องมือครบครัน พร้อมประชุม แบบไม่มีสะดุดได้ทุกที่ทุกเวลา
แพลตฟอร์มการทำงานเพื่อคนไทย
ในยุคดิจิทัล ที่จะทำให้ งานไม่สะดุด
แม้เจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด
รวมครบทุกฟังค์ชันการทำงานไว้ในที่เดียว
พร้อมตอบโจทย์ work from anywhere
แพลตฟอร์มเพื่อการบริหารจัดการสถาน
ศึกษา และการเรียนการสอนแบบออนไลน์
ที่จะทำให้คนไทยเรียน ได้ทุกที่ ทุกเวลา
ทำงานจากที่บ้าน ออฟฟิศ หรือที่ไหนก็ได้
ทางออกสำหรับการทำงานจากทางไกลที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ตลอดจนองค์กรขนาดใหญ่
แพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ทรงพลังสำหรับบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน นักศึกษา
พื้นที่ทำงานแบบครบวงจรที่ปลอดภัยและโปร่งใสสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
ก่อตั้งเมื่อ: 2534
สถานที่ตั้ง: ประเทศไทย
ความท้าทาย:
ทีมงานสหพันธ์ฯ ตัดสินใจที่จะจัดงานในรูปแบบออนไลน์เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะพัฒนาทักษะให้กับนักศึกษาแพทย์ทั่วประเทศไทย โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ ทีมงานมองหาโซลูชันที่มีฟีเจอร์ที่ให้คนในงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ รู้สึกเข้าถึงกับเนื้อหาเทียบเท่ากับงานที่จัดในชีวิตจริง เพราะในปีที่ผ่านมาที่ได้จัดกิจกรรมออนไลน์ เคยพบปัญหาที่ผู้เข้าร่วมงานเปิดวิดิโอทิ้งไว้ เพราะเบื่อกับรูปแบบการจัดงานแบบเดิมๆนอกจากนี้ ทีมงานได้จัดวางรูปแบบของงานสัมมนาให้เป็น pararel session หรือมีหลายเวทีที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน แพลตฟอร์มที่เลือกใช้จึงต้องสามารถตอบโจทย์ในเรื่องนี้ด้วย
วิธีการแก้ปัญหา:
ทรู วีเวิร์ล ได้สนับสนุนโซลูชัน Virtual Space powered by SPOT ให้เป็นพื้นที่การจัดกิจกรรมหลักที่ผู้เข้าร่วมสามารถเข้ารับฟังการสัมมนา
ประโยชน์:
Virtual Space powered by SPOT ทำให้ workshop และแลกเปลี่ยนไอเดียระหว่างมีความอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ โดยแพลตฟอร์มนี้มีฟีเจอร์เด่นคือ ผู้เข้าร่วมสามารถสร้างอวาตาร์ของตัวเอง ตกแต่งพื้นที่การทำงาน พูดคุยสื่อสาร เปิดกล้อง ไปจนถึงการแชร์หน้าจอได้แบบเรียลไทม์
———————————
“SPOT ตอบโจทย์เรื่อง engagement ที่อยากได้ เพราะการมี avatar ทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้แสดงตัวตนในโลกออนไลน์อย่างเต็มที่ รู้สึกมีส่วนร่วมกับกิจกรรมมากขึ้นหลายเท่า”
คุณโชติภัทร พรธนมงคล (โชกุน)
นักศึกษาแพทย์และสมาชิกฝ่าย Research Activities Team ในสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย
“สำหรับผมแพลตฟอร์มมีความน่าตื่นตาตื่นใจ มีฟังก์ชันและฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ดึงดูดสายตาของผู้เข้าร่วมงาน เช่น การพูดคุยภายในงาน การออกท่าทาง (ฟีเจอร์ emoji reaction) สามารถเดินในงานได้ มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่ร่วมงานคนอื่น ๆ รวมถึงสิ่งของที่ตกแต่งอยู่ในงานได้ด้วย เหมือนเข้างานแบบ physical event จริง ๆ อย่างที่เราต้องการเลยครับ”
คุณกษิดิศ วิบูลย์เกียรติ์ (ก้อง) นักศึกษาแพทย์และสมาชิกฝ่าย Research Activities Team ในสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย
สหพันธ์นักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ (‘SMST’) จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 โดยมีจุดมุ่งหมายและวิสัยทัศน์ที่จะเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและพัฒนาศักยภาพนิสิต นักศึกษาแพทย์และนักเรียนแพทย์ทหารอย่างแท้จริง ซึ่งนิสิต นักศึกษาแพทย์ทุกคนในประเทศไทย ก็ถือว่าเป็นสมาชิกของสหพันธ์โดยอัตโนมัติ
สหพันธ์ฯ ได้จัดกิจกรรม Workshop และ Idea Pitching Online ในหัวข้อ Elderly Care สุขภาพผู้สูงอายุ โดยซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 มกราคม ถึง 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 กิจกรรมดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาสังคมอย่าง ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ และเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำวิจัย รวมไปถึงทักษะในการคิดโครงการเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต
‘SMST Research Workshop & Pitching: Elderly Care’ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นปีแรก เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำวิจัย รวมถึงทักษะในการคิดโครงการและแนวความคิดสำหรับการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยในปีการศึกษานี้ เจาะจงเป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทยเป็นหลัก ผู้เข้าร่วมเป้าหมายคือ นักเรียนในชั้นมัธยมปลาย นักศึกษาแพทย์ และนักศึกษาจากสาขาวิชาอื่นที่สนใจในปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งเราก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้ที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานทั้งสิ้น 217 คน
โดยทีมงานสหพันธ์ฯ ตัดสินใจที่จะจัดงานในรูปแบบออนไลน์เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะพัฒนาทักษะให้กับนักศึกษาแพทย์ทั่วประเทศไทย ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การจัดงานแบบออนไลน์ก็จะมั่นใจได้ว่าทุกคนสามารถเข้ามาร่วมงานได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่
ที่สำคัญมากๆ ก็คือการเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับความต้องการในงาน สามารถรองรับจำนวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมได้ถึง 217 คน และเผื่อให้กับวิทยากรและทีมงานอีกจำนวนหนึ่งด้วย
ทีมงานมองหาโซลูชันที่มีฟีเจอร์ที่ให้คนในงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ รู้สึกเข้าถึงกับเนื้อหาเทียบเท่ากับงานที่จัดในชีวิตจริง เพราะในปีที่ผ่านมาที่ได้จัดกิจกรรมออนไลน์ เคยพบปัญหาที่ผู้เข้าร่วมงานเปิดวิดิโอทิ้งไว้ เพราะเบื่อกับรูปแบบการจัดงานแบบเดิมๆ นอกจากนี้ ทีมงานได้จัดวางรูปแบบของงานสัมมนาให้เป็น pararel session หรือมีหลายเวทีที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน แพลตฟอร์มที่เลือกใช้จึงต้องสามารถตอบโจทย์ในเรื่องนี้ด้วย
ทั้งนี้ทีมงานยังต้องการยกระดับประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ โดยสามารถให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในเวทีอื่น ๆ ในเวลาเดียวกันด้วย เพื่อที่พวกเขาจะสามารถเลือกห้องเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามใจ เมื่อไหร่ก็ได้ การเห็นว่ามีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้างในห้องอื่น ๆ ก็น่าจะทำให้ผู้เข้าร่วมงานรู้สึกตื่นตัวด้วย
เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทรู วีเวิร์ล ได้สนับสนุนโซลูชัน Virtual Space powered by SPOT ให้เป็นพื้นที่การจัดกิจกรรมหลักที่ผู้เข้าร่วมสามารถเข้ารับฟังการสัมมนา ทำ workshop และแลกเปลี่ยนไอเดียระหว่างกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ โดยแพลตฟอร์มนี้มีฟีเจอร์เด่นคือ ผู้เข้าร่วมสามารถสร้างอวาตาร์ของตัวเอง ตกแต่งพื้นที่การทำงาน พูดคุยสื่อสาร เปิดกล้อง ไปจนถึงการแชร์หน้าจอได้แบบเรียลไทม์
“ข้อดีคือ SPOT มีโหมด Grid View ที่มีลักษณะการใช้งานเหมือนระบบประชุมออนไลน์ แชร์หน้าจอได้ตามปกติ วิทยากรที่คุ้นชินกับการใช้งานแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ทั่วไป จึงสามารถเข้ามาใช้งานได้โดยไม่ต้องเตรียมตัวนาน ในกรณีที่ วิทยากรหรือทีมงานต้องการใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์เสริมอื่น ๆ เช่น โหมดจับเวลา การโหวต หรือการ ice breaking โดยฟีเจอร์ emoji ทางผู้จัดงานก็จะมีการซักซ้อมกับวิทยากรก่อนเริ่มงาน ซึ่งก็ใช้เวลาเพียง 15-20 นาที เพราะหน้าตาของปุ่มต่าง ๆ ค่อนข้างเข้าใจง่าย ตรงตัว หาไม่ยากครับ” คุณกษิดิศ วิบูลย์เกียรติ์ (ก้อง) นักศึกษาแพทย์และสมาชิกฝ่าย Research Activities Team ในสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย
“สำหรับผมก็รู้สึกสนุกกับการเข้ามาใช้งานมากครับ ตื่นเต้นเลย การควบคุมต่าง ๆ มีลักษณะเหมือนเวลาเล่นเกม ทำให้ใช้เวลาไม่กี่นาทีที่จะสร้างความคุ้นชินกับแพลตฟอร์มถึงเเม้ว่าจะเพิ่งเข้ามาใช้เป็นครั้งแรก ได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ และเห็น character ของคนๆ นั้นจากตัวตน avatar ของเขาและการแสดงออกท่าทางผ่าน emoji reaction ด้วย บางช่วงของงาน ผู้เข้าร่วมงานบางคนก็ออกมานั่งคุยกันที่ห้องอื่น ๆ หรือลองวิ่งเล่นในพื้นที่ออนไลน์นี้ เล่นกับไอเท็มต่าง ๆ ที่มีการจัดวางในพื้นที่” คุณเมธาสิทธิ์ ตันศิริ (พูห์) นักศึกษาแพทย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม